การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

แนวทางการดำเนินงาน


การบริหารจัดการความเสี่ยงของบริษัทจะเริ่มจากการทบทวนแผนกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรควบคู่ไปกับการนำประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Topic) ขององค์กรมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารความเสี่ยง และใช้ระบุความเสี่ยงที่สำคัญของการประกอบธุรกิจของบริษัทให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk) ความเสี่ยงใหม่ (Emerging Risk) และความเสี่ยงภัยมืด (Black Swan) หรือความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย และสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งนี้ บริษัทกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนจัดการความเสี่ยงขององค์กร รวมถึงกำหนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ที่เหมาะสม โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานกำกับดูแล ทำหน้าที่ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับดูแลกิจการและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร พร้อมกันนี้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงยังทำหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง และนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท ปีละ 2 ครั้ง เพื่อสอบทานผลการดำเนินงานของกระบวนการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนติดตามผลและหาแนวทางแก้ไขที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประเมินตนเอง รายคณะสำหรับปี 2566 ตามแบบประเมินที่ประยุกต์มาจากแบบของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย โดยเปรียบเทียบกับกฎบัตร ปรากฎว่าได้ผลคะแนนการดำเนินงานระดับดีเยี่ยมร้อยละ 93 และผลคะแนนการดำเนินงานระดับดีร้อยละ 7 ซึ่งผลคะแนนดีกว่าปีที่ผ่านมา

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร

การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง (Risk Analysis and Assessment)

บริษัทมีการจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยมีเจ้าของความเสี่ยง (Risk Owner) เป็นผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงที่ค้นพบทั้งด้านโอกาสเกิดความเสี่ยง (Probability Rating Scale) และผลกระทบของความเสี่ยง (Impact Rating Scale) โดยใช้แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Matrix) ซึ่งมีหลักการและแนวทาง ดังนี้

แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Matrix)

ทั้งนี้ บริษัทกำหนดแนวทางและกรอบในการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤต ซึ่งประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยงในองค์กร การบริหารความเสี่ยงในระดับปฏิบัติการ และการสื่อสารให้พนักงานทุกคนรับทราบ ตลอดจน จัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายขององค์กร โดยพิจารณาและจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Prioritization) จากการวิเคราะห์แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Matrix) ที่คำนึงถึงโอกาสเกิดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละความเสี่ยง รวมถึงโอกาสที่จะเกิดการทุจริตและคอร์รัปชัน พร้อมทั้งกำหนดดัชนีชี้วัดประสิทธิผลการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญ (Risk Score) และแผนฟื้นฟูผลจากความเสียหายอย่างเหมาะสมเพื่อบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ บริษัทจัดทำแผนการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) เพื่อเตรียมความพร้อมต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และทำให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของบริษัทจะมีความต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก และในทุกๆ 6 เดือน มีการรายงานการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัททราบ พร้อมกันนี้สำนักตรวจสอบจะเป็นผู้สอบทานและตรวจสอบการดำเนินงานตามมาตรการลดความเสี่ยง ในปี 2566 บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทภายนอกเข้าตรวจประเมินการบริหารความเสี่ยงองค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management: ERM) เพื่อให้มั่นใจว่าหน่วยงานมีการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกรอบการควบคุมภายในของ The Committee of Sponsoring Organizations of Treadway Commission (COSO) และมาตรฐานสากลสำหรับการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกเิจ ISO 22301: Business Continuity Management (BCM) และเพื่อให้แน่ใจว่าความเสี่ยงของบริษัทอยู่ในระดับที่ยอมรับได้และจัดการได้ โดยบริษัทในกลุ่มได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจ (ISO 22301: BCM) จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ ซีพีแรม ลาดกระบัง, ศูนย์กระจายสินค้า DC บางบัวทอง และศูนย์กระจายสินค้า CDC บางบัวทอง ในปี 2566 มีพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าที่ได้รับการรับรองเพิ่มเติม อีก 6 พื้นที่ ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้า DC มหาชัย, ศูนย์กระจายสินค้า CDC มหาชัย, ศูนย์กระจายสินค้า DC สุวรรณภูมิ, ศูนย์กระจายสินค้า CDC สุวรรณภูมิ, ศูนย์กระจายสินค้า BDC มหาชัย และศูนย์ Logistics

กรอบการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเป้าหมาย บริษัทกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกไตรมาส พร้อมทั้งระบุกลุ่มความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk)
  • กลุ่มความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk)
  • กลุ่มความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risk)
  • กลุ่มความเสี่ยงภัยมืด (Black Swan) หรือความเสี่ยงที่คาดไม่ถึง

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงและสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงทีพร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร บริษัทจึงจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมาตรการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานต่างๆ โดยมีนักบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน (Risk Champion) ทำหน้าที่ให้ความรู้ทุกไตรมาส รวมถึงกำหนดกลไกการควบคุมและการตรวจติดตามความเสี่ยง ดังนี้

กลไกการควบคุมภายในและตรวจติดตามความเสี่ยง

ประเมินกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

  • ดำเนินการโดย Risk Champion
  • ความเสี่ยงที่มีการประเมิน ได้แก่
    – การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
    – การปฏิบัติตามมาตรฐาน กระบวนการ กฎหมาย กฎระเบียบบริษัท สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ไวรัสโควิด 19
    – การร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย

คัดเลือกกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง

  • ปี 2566 มีกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 74 กระบวนการ จากการประเมินทั้งหมด จำนวน 74 กระบวนการ ครอบคลุมกระบวนการของสายงานพัฒนาความยั่งยืน สายงานปฏิบัติการ สายงานกลยุทธ์องค์กร สายงาน CAFM และสายงานกระจายสินค้า





กำหนดมาตรการควบคุมความเสี่ยง

  • ปี 2566 กระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง มีการกำหนดมาตรการควบคุมทั้งหมด 3 มาตรการ ได้แก่ การทบทวนความเสี่ยงอย่างรอบด้าน การสื่อสารในภาวะวิกฤต และการจัดการฝึกซ้อม BCM ให้สอดคล้องความเสี่ยงปัจจุบัน และมีการสื่อสารมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยตรงและผ่านการสัมมนา Risk Champion รายไตรมาส

สุ่มตรวจประเมินมาตรการควบคุมโดยผู้ตรวจสอบ

  • ผู้ตรวจสอบประกอบด้วยหน่วยงานบริหารความเสี่ยง, หน่วยงาน Process Simplification และหน่วยงานตรวจสอบ











ทบทวน Internal Process Risk & Control ทุกไตรมาส

  • ทบทวนโดยนักบริหารความเสี่ยงหน่วยงาน (Risk Compion) ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของกระบวนการ (Process Owner)











ความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risks)

บริษัทกำหนดมาตรการและแนวทางในการจัดการและบริหาร เพื่อตอบสนองต่อความเสี่ยงอย่างทันท่วงที โดยทบทวนประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นประจำทุกปี เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทสามารถระบุประเด็นความเสี่ยงที่เกิดใหม่ จำนวน 3 ประเด็น พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และกำหนดมาตรการแนวทางการจัดการเบื้องต้น ดังนี้

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI ในธุรกิจ e-Commerce

แนวโน้มการขายออนไลน์ ปี 2567 มีการนำเทคโนโลยี Generative AI เข้ามาใช้มากขึ้นในธุรกิจ e-Commerce โดย “พ่อค้า-แม่ค้า” สามารถนำมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อหาสินค้าและบริการตรวจกับความต้องการมากที่สุด

เช่นเดียวกับลูกค้า ที่นำเทคโนโลยี Generative AI มาวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของร้านค้า และการขายสินค้าที่ผ่านมาได้อย่างละเอียด ช่วยให้ลูกค้าสามารถวิเคราะห์ประวัติและความน่าเชื่อถือของพ่อค้า-แม่ค้า และตรวจสอบได้ว่าสินค้าที่ขายหรือให้บริการที่ผ่านมาเคยมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจ e-Commerce ในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงมากขึ้นร้อยละ 23 จากสรุปรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Google ปีที่ผ่านมา และยังส่งผลให้ธุรกิจ e-Commerce ของ ซีพี ออลล์ เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 9.6 อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยี Generative AI ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อโครงการการลงทุนใหม่ๆ การลงทุนในบริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้า ในการดำเนินธุรกิจของ ซีพี ออลล์ มากขึ้น เพื่อรักษาและสร้างประสบการณ์ที่ดีต่อการมาใช้บริการที่ร้าน 7-Eleven อย่างยั่งยืน

การเข้ามาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI ในธุรกิจ e-Commerce ส่งผลกระทบต่อโครงการการลงทุนใหม่ๆ การลงทุนในบริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้า ในการดำเนินธุรกิจของ ซีพี ออลล์ เพื่อรักษาและสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าที่มาใช้บริการที่ร้าน 7-Eleven อย่างยั่งยืน โดยในปี 2566 มีงบประมาณลงทุนราว 4,000-4,100 ล้านบาท พร้อมกันนี้ หากมีการนำเทคโนโลยี Generative AI เข้ามาเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์สินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค อย่างเต็มรูปแบบใน 3-5 ปีข้างหน้า จะส่งผลต่อการเพิ่มโครงการการลงทุนใหม่ๆ การลงทุนในบริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อรักษาและสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าต่อการมาใช้บริการที่ร้าน 7-Eleven อย่างยั่งยืนในอนาคต

บริษัทติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี Generative AI ที่เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจของ ซีพี ออลล์ มากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจการเติบโตจากจุดแข็ง ตอบรับวิถีชีวิตใหม่และสังคมดิจิทัล เพื่อรับมือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ผ่านการปรับปรุงรูปแบบการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค เช่น การส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นตามแต่ละพื้นที่จากผลการสำรวจของร้าน 7-Eleven การจัดให้มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการ อาทิ อาหารสด อาหารแช่เข็ง ผัก ผลไม้ และอาหารปรุงสด ตลอดจนการขยายสาขา 7-Eleven ที่สามารถสร้างการเข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้กับชุมชนที่เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้ยาก เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณค่าและส่งเสริมการเข้าถึงให้กับผู้บริโภคที่การดำเนินธุรกิจ e-Commerce อาจยังไม่สามารถตอบสนองการสร้างคุณค่าเหล่านี้ใหกับกลุ่มผู้บริโภคได้

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจ e-Commerce ที่มีเทคโนโลยี Generative AI เข้ามาเป็นส่วนสนับสนุนในการวิเคราะห์ความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของผู้บริโภคนั้น ยังเป็นประเด็นที่ ซีพี ออลล์ ต้องให้ความสำคัญเพื่อสร้างการเติบโตทั้งธุรกิจร้าน 7-Eleven และธุรกิจ e-Commerce ของบริษัท ซึ่งมีส่วนรายได้กว่าร้อยละ 10 ของรายได้บริษัท ดังนั้น ซีพี ออลล์ มุ่งลงทุนด้านเทคโนโลยี Generative AI เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของผู้บริโภค ตลอดจนวิเคราะห์แนวโน้มสินค้าที่หลากหลายเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในปัจจุบันและการเตรียมพร้อมในอนาคต นอกจากนี้ ซีพี ออลล์ ยังมุ่งขยายสาขาร้าน 7-Eleven เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีให่ที่พร้อมด้วยบริการที่ครบครัน

ความเสี่ยงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ทำให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มากยิ่งขึ้น

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป หรือ ผู้สูงวัย โดยคิดเป็น 1 ใน 5 (13 ล้านราย) ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ (66 ล้านราย) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 5-10 ปีข้างหน้า โดยคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) ที่มีประชากรสูงวัยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 28 ของจำนวประชากรทั่วประเทศ ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่อความต้องการในผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของประชากรกลุ่มสูงวัยที่มุ่งเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารโภชนาการเฉพาะ (Functional Food) และอาหารที่มีการเพิ่มหรือลดส่วนผสม ซึ่งอาจส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ของ ซีพี ออลล์ การวางแผนงบประมาณและวิจัยในผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนการจัดหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ซีพี ออลล์ ดำเนินงานบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการสนับสนุนที่หลากหลาย ตลอดจนส่งเสริมงานวิจัยในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผ่านหน่วยงานภายใต้และภายนอกองค์กร อย่างไรก็ตามภายใต้การเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) และแนวโน้มการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society) ส่งผลให้ ซีพี ออลล์ ต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถตอลสนองต่อความต้องการในอนาคต ที่อาจส่งผลต่อการสูญเสียโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งมีสัดส่วนยอดขายร้อยละ 12 เทียบกับยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven และอาจส่งผลต่อการกำหนดทิศทางและวางกลยุทธ์องค์กร นอกจากนี้ ซีพี ออลล์ ยังเตรียมพร้อมรับมือผ่านการเพิ่มงบประมาณวิจัยผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะสมกับกลุ่มสูงวัย เพื่อเตรียมจัดหาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้นกว่า 17.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของงบประมาณด้านวิจัยและพัฒนาทั้งหมด

บริษัทได้ทบทวนกลยุทธ์องค์กรอย่างต่อเนื่องและให้ความสำคัญตามหลักสิทธิในการมีสุขภาพที่ดีเป็นส่วนในสิทธิขั้นพื้นฐานและตระหนักถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย และได้มาตรฐานต่อผู้บริโภคทุกกลุ่มและโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย รวมทั้งยกระดับความสามารถและทุนวิจัยในอาหารเพื่อสุขภาพ และแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อสรรหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีโภชนาการเฉพาะกลุ่มคนรักษาสุขภาพรวมถึงผู้สูงวัย อาทิ ผลิตอาหารที่มีโภชนาการเฉพาะ (Functional Food) ในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ ผลิตภัณฑ์อาหารทีมีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต สุขภาพ และพันธุกรรมในแต่ละบุคคล (Personalized Foods) รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ อาทิ อาหารกลุ่มลดสารปรุงแต่ง สารกันบูด ลดปริมาณน้ำตาล ลดปริมาณน้ำมันปาล์ม ไม่แต่งสี ไม่มีไขมัน ผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือก และผลิตภัณฑ์ซูเปอร์ฟูด ให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้บริโภคทุกกลุ่ม ตลอดจนเพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อกลุ่มผู้สูงวัยในอนาคต และยกระดับการให้บริการเพื่อตอลสนองกลุ่มลูกค้าที่ไม่สะดวกใช้บริการที่ร้าน 7-Eleven รวมถึงผู้สูงวัย ด้วยการสั่งซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน “7APP” พร้อมบริการจัดส่งสินค้า

ความเสี่ยงจากการบังคับกฎหมายที่ส่งเสริมการลดขยะบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ

บริษัทดำเนินธุรกิจหลักค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจค้าส่ง แบบชำระเงินสดและบริการ และธุรกิจผลิตอาหาร โดยมีพื้นที่ดำเนินการหลักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูกกำหนดให้ขยายขอบเขตการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายใต้แนวทางการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ (Thai Plastic Roadmap 2018-2030) ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่และหมุนเวียน หนึ่งในเครื่องมือที่ถูกนำมาศึกษาเพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย คือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility: EPR) หรือหลักการ “ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต” ที่ผู้ผลิตจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบ กระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการบำบัดขยะบรรจุภัณฑ์หลังกระบวนการบริโภค กล่าวคือความรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ (ขยะ) ของตัวเอง โดยหลักการนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาใต้ รวมถึงประเทศในเอเชีย และมีแนวโน้มจะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมาย ในประเทศไทยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของ ซีพี ออลล์ ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องการจัดเตรียมระบบ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ต้องสร้างความร่วมมือร่วมกับคู่ค้าอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น

บริษัทมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven เฉลี่ยวันละ 13 ล้านราย มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในปี 2566 จำนวน 921,187 ล้านบาท ในแต่ละปีบริษัทมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ย 53,965.53 ต้นต่อปี การผลักดันให้มีการดำเนินงานตามกฎหมายหลักการขยายความรับผิดชอบ (Extended Producer Responsibility: EPR) ส่งผลกระทบต่อ ซีพี ออลล์ ในการปรับเปลี่ยนนโยบาย กลยทธ์ และกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็นการออกแบบชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อประกอบรวมกันเป็นชิ้นได้ง่าย (Design for Assembly) เริ่มหันมาเป็นการเลือกใช้หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาแยกชิ้นส่วนได้ง่าย (Design for Disassembly) เพื่อที่จะได้แยกวัสดุที่ต่างกันให้นำมารีไซเคิลหรือการลงทุนในกระบวนการใช้น้ำ การรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบนิเวศของการผลิตและการบริโภคในแบบใหม่ กล่าวคือเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ที่ผลิตภัณฑ์ภัณฑ์ถูกผลิตจากผู้ผลิตส่งต่อไปให้ผู้บริโภค ก่อนที่จะถูกทิ้งไปยังเทศลาลและเป็นระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้วัสดุและพลังงานถูกหมุนเวียนย้อนกลับมาสู่ผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายอีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยระบบการกระจายสินค้าและนวัตกรรมใหม่ๆ ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ซีพี ออลล์ จากการสร้างระบบหรือการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 538 ล้านบาท ใน 3-5 ปีข้างหน้า) รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการขยะให้กับองค์กรกลาง นอกจากนี้ ยังสามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทในด้านชื่อเสียงได้ หากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ดี

บริษัทมุ่งมั่นลดปริมาณขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด พร้อมแสดงจุดยืนการเป็นผู้นำ ทำให้การจัดการบรรจุภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ของ ซีพี ออลล์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยมาตรการและแนวทางการจัดการ ดังนี้

  • ประกาศนโยบายและข้อกำหนดเป้าหมายร้อยละ 100 ของบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถย่อยสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทยภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศภายในปี 2573 รวมถึงกำหนดเป้าหมายลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ต้องนำไปสู่การฝังกลบเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยในปี 2566 บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำหรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพร้อยละ 97.74
  • จัดตั้งคณะทำงานจัดการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักการดังกล่าวที่อาจกลายเป็นข้อกฎหมายในอนาคตอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์และจัดทำแผนปฏิบัติร่วมของ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย รวมถึงตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุเป้าหมายและรายงานความคืบหน้าต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืนอย่งน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ดำเนินการระบบการนำกลับ (Take-Back System) ของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ตามความเหมาะสมรวมถึงการพัฒนาระบบรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในปี 2566 สามารถนำกลับ (Take-Back System) บรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วร้อยละ 0.16
  • ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสดงผลกำไร (NGOs) สถาบันการศึกษา ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เพื่อลดการใช้พลาสติกโดยรวม การเพิ่มอัตราการใช้ซ้ำ การนำมาใช้ใหม่ของวัสดุพลาสติก สำหรับบรรจุภัณฑ์ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ตามความจำเป็น โดยในปี 2566 สามารถลดใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ร้อยละ 45.93
  • สื่อสารและสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนให้แก่พนักงาน คู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร อาทิ โครงการ “ลด และทดแทน” พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic), โครงการต่อเนื่องร้านกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Coffee Shop), โครงการต่อเนื่อง Recycling Station และถุงคืนชีพ, โครงการรักษ์เกาะ 24 ชั่วโมง-อิฐรักษ์โลก

โครงการต่อเนื่อง ค้นหาภัยมืด

บริษัทดำเนินโครงการค้นหาภัยมืด หรือ Black Swan ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อสร้างความตระหนักด้านความเสี่ยงให้บุคลากรในองค์กร รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายขององค์กร โดยจัดกิจกรรมการส่งประเด็นความเสี่ยงเข้าประกวดผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยประเด็นความเสี่ยงที่แบ่งเป็น 6 หมวดหมู่ ดังนี้

การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

กระบวนการทำงาน

สินค้าและบริการ

การว่าจ้างหน่วยงานภายนอก

ความยั่งยืนองค์กร

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับริษัทในกลุ่ม

ทั้งนี้ ประเด็นความเสี่ยงที่ได้รับรางวัลจะถูกนำมาพิจารณาเพื่อออกมาตรการรับรองและจัดการให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2566 มีประเด็นที่พนักงานส่งเข้าประกวดทั้งสิ้นกว่า 2,465 ประเด็นความเสี่ยง โดย 5 อันดับความเสี่ยงที่มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมสูงสุด ได้แก่ 1. ความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องมาจากสุขภาพและความปลอดภัย 2. ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม 3. ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย 4. ความพึงพอใจของลูกค้า 5. การจัดการทรัพยากรบุคคล

นอกจากนี้ บริษัทจัดให้มีการประเมิน Risk Score เพื่อวัดประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานโดยรวม และรับข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารความเสี่ยงทุกพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ครอบคลุมกว่า 74 หน่วยงาน ในทุกไตรมาส รวมทั้งเปิดบริการให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านระบบออนไลน์ตลอดจนนำเสนอตัวอย่างที่ดีของการบริหารความเสี่ยง เพื่อยกระดับขีดความสามารถผ่านโครงการ Risk Score Clinic ทุกสัปดาห์ สำหรับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานที่ดีสม่ำเสมอ จะได้รับประกาศเชิดชูโดย Chief Risk Officer และประธานกรรมการบริหาร เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีขององค์ฏร และสร้างความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรด้านความเสี่ยงของหน่วยงาน

โครงการต่อเนื่อง อบรม ให้ความรู้การบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

หน่วยงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ร่วมกับ บริษัท ปัญญธารา จำกัด และ บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด จัดอบรมหลักสูตรพัฒนาทักษะนักบริหารความเสี่ยง Risk Champion เป็นประจำทุกไตรมาส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ ให้กับ Risk Champion ตลอดจนเพิ่มความสามารถในการตรวจประเมินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ตามเกณฑ์ Risk Score ให้ทันต่อสถานการณ์ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการยังต้องทำแบบทดสอบหลักการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความเข้าใจ และให้เกิดความตระหนักในการค้นหาความเสี่ยงและแนวทางป้องกัน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจโดยไม่หยุดชะงัก ในปี 2566 มี Risk Champion ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ เข้าร่วมโครงการกว่า 967 ราย

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ยกระดับการฝึกอบรม Risk Management สำหรับคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (RMC) 4 รูปแบบ คือจาก Guru/ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน, การฝึกปฏิบัติ Exercises (Crisis), การส่งสัญญาณ 3A (Alert, Analysis, Alarm) และการฝึกอบรมภายนอก และให้ความรู้แก่ผู้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแก่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พนักงาน และลูกค้า โดยจัดสัมมนาเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย รวมทั้งจัดประชุมให้ความรู้แก่คณะกรรมการบริษัท เรื่อง Global Sustainability Trends Update เพื่อรับทราบแนวโน้มและผลกระทบที่อาจส่งผลต่อ ซีพี ออลล์ ในอนาคต

โครงการต่อเนื่อง ส่งเสริมและสนับสนุนคู๋ค้ากลุ่ม SMEs ในการเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Prvate Sector Collective Action Against Corruption: CAC) สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (CAC SME Certification)

ซีพี ออลล์ จัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC SME) ประจำปี 2566 ในรูปแบบออนไลน์ให้แก่คู่ค้าและผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 58 ราย ตามวิธี New Normal เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงาน ตลอดจนคู่ค้า ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาลขององค์กร และสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลักสุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน รวมถึงยกระดับสถานะการเป็นสมาชิก CAC ของบริษัท สู่ระบบ Change Agent ในปีนี้มีคู่ค้าได้รับการสื่อสารและลงนามเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 26

นอกจากนี้ โลตัส ได้รับการรับรองต่ออายุสมาชิก CAC เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย รวมถึงได้รับรางวัล CAC Change Agent Award ประจำปี 2566 จาก CAC ด้วยเช่นเดียวกัน โดยในปี 2566 โลตัสสนับสนุนบริษัทคู่ค้า SME จำนวน 17 บริษัท ในการร่วมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน ยกระดับมาตรฐานการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและมีจริยธรรม

จากการดำเนินการดังกล่าวสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทสนการเป็นองค์กรค้าปลีกที่คำนึงถึงความยั่งยืนในทุกมิติของการดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG)

การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล จึงดำเนินการทบทวนนโยบายการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความสอดคล้องกับแนวปฏบิัติมาตรฐานสากลด้านระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) พร้อมทั้งได้นำกรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สากล (NIST Cybersecurity Framework) มาปฎิบัติในเชิงเทคนิคทั้งระบบ รวมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโครงการ ดังนี้

โครงการต่อเนื่อง สร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)

ปัจจุบันบริษัทต้องเผชิญความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เกือบตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ จากระบบออฟไลน์สู่ระบบออนไลน์ นำไปสู่การพึ่งพาเครื่องมือดิจิทัลของการทำธุรกิจ บริษัทจึงได้กำหนดการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี

งานสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีสุขอนามัยไซเบอร์ที่ปลอดภัย

Cyber Hygiene Culture

งานควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์

Cyber Assurance

งานปฏิบัติการ เฝ้าระวัง
และแก้ไขภัยไซเบอร์

Cyber Operation

โดยในปี 2566 บริษัทได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์จากองค์กรภายนอก (BITSIGHT Security Rating Service) สะท้อนถึงความรับผิดชอบของการบริหารและการจัดการข้อมูล ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์องค์กร พร้อมทั้งดำเนินการต่างๆ ดังนี้

  • ส่งเสริมนโยบายสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใกล้ตัวและต้องระวัง รวมถึงแนวปฏิบัติ ข้อแนะนำเพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์บริษัท อีเมล CPALL Connect Cyber Security Portal เป็นต้น
  • ทบทวนนโยบายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) และด้านระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ISO 27701)
  • ประเมินมาตรการความมั่นคงปลอดภัยปีละ 1 ครั้ง และติดตั้งเทคโนโลยีระบบความปลอดภัยตามแผนงาน (Cyber Security Roadmap) เพื่อคงไว้ซึ่งการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของสารสนเทศทั้งหมด
  • จัดอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และสร้างความตระหนักให้กับ
    – พนักงานใหม่ ผ่าน On-Boarding Program พร้อมทั้งลงนามรับทราบนโยบายแนวปฏิบัติ 64,604 ราย
    – พนักงานปัจจุบันในทุกระดับของ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย 113,394 ราย
    – คู่ค้า : สื่อสารและส่งเสริมการใช้ข้อมูลที่เชื่อมต่อระบบไอทีของบริษัทร่วมกันอย่างปลอดภัย รวมทั้งลงนามรับทราบเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยก่อนปฏิบัติงาน 54 ราย
    – ลูกค้า : ให้ความรู้ “วัคซีนไซเบอร์ รู้ทันกลโกง ต้านภัยออนไลน์” แจ้งเตือนภัยที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้บริการออนไลน์อย่างปลอดภัย และป้องกันภัยไซเบอร์ผ่านช่องทางสื่อโซเชียวมีเดีย
  • จัดอบรม ทดสอบ และสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยผ่านการรับรองมาตรฐานสากล เช่น CISSP, CISA, CDPSE, ClHE (Certified Ethical Hacker), CompTIA Security+ เป็นต้น
  • จัดตั้งทีม IT Operation ที่พร้อมปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง ประจำศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก ทำหน้าที่เฝ้าระวังและดูแลระบบงานตลอดเวลา และผู้ใช้งานสามารถแจ้งเหตุการณ์การละเมิดความปลอดภัย (Security Incident) หรืออื่นๆ ได้ผ่านทางเจ้าหน้าที่ Call Center 1500 ได้ตลอดเวลา โดยยึดกระบวนการ Incident Management ตามมาตรฐาน ISO 20000
  • ประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง ใช้ข้อมูลเครือข่ายของบริษัท จำนวน 54 ราย กรณีที่พบ คู่ค้ามีควมเสี่ยงสูงจะร่วมพิจารณากับคู่ค้าในการจัดทำแผนมาตรการลดความเสี่ยงและดำเนินการลดความเสี่ยงตามมาตรการที่กำหนดไว้
  • จัดซ้อมการตอบสนองเหตตุการณ์ละเมิดความปลอดภัยไซเบอร์และข้อมูลรั่วไหล (Data Breach & Cyber Security Incident Response Workshop) สำหรับระดับปฏิบัติการระดับบริหารตามแผนที่กำหนดบนสถานกรณ์เสมือนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำผลลัพธ์ที่ได้จากการซ้อมมาปรับปรุงปีละ 2 ครั้ง
  • จัดทดสอบการรับมือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Phishing Test) สำหรับพนักงานทุกระดับบนสถานการณ์เหมือนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจและการตอบสนองที่ถูกต้อง ดำเนินการทุกไตรมาส
  • เข้าร่วมโครงการวัดระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2566 ของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ทราบถึงระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภายในบริษัทจากมุมมองของหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์และแผนการยกระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ร้อยละ  100

ระบบข้อมูลเครือข่ายบริษัทที่ติดตั้งและให้บริการผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (ISO 27001)

ร้อยละ  100

พนักงานที่ปฏิบัติงานด้านระบบความปลอดภัยไซเบอร์ (31 ราย) ผ่านการอบรมและทดสอบความรู้หัวข้อความปลอดภัยทางไซเบอร์

ร้อยละ  100

พนักงานผ่านการทำ Phishing Test

ร้อยละ  100

ระบบเว็บไซต์บริษัทบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ถูกค้นหาประเมินช่องโหว่ (Vulnerability Assessment) โดยบริษัทภายนอก และผ่านการพิจารณาปรับปรุงโดยทีมปฏิบัติการให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

โครงการต่อเนื่อง สร้างความตระหนักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทมุ่งสร้างความตระหนักด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่พนักงานทุกระดับ ตามแนวทางที่ระบุไว้ในกลยุทธ์และแผนงานที่สำคัญของบริษัท สามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับองค์กร โดยในปี 2566 บริษัทได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ดังนี้

  • สื่อสารและส่งเสริมความตระหนักรู้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมาย PDPA สำหรับพนักงานทุกระดับ รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมาย
  • จัดกิจกรรมสนับสนุนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับพนักงานทุกระดับ เช่น การฝึกอบรม การจัดสัมมนา พร้อมสอบวัดระดับความรู้ การจัด Workshop หรือ Webinar เป็นต้น เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ PDPA ต่อพนักงานในบริษัทและบริษัทย่อย รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
  • เผยแพร่และส่งเสริม PDPA Mindsets ให้แก่พนักงาน ประกอบด้วย 1) เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น (Respect) 2) ซื่อสัตย์ โปร่งใส (Transparency) และ 3) รับผิดชอบในการกระทำ (Accountability) ผ่านช่องทางออไไลน์และออนไลน์ เช่น โปรเตอร์ เว็บไซต์บริษัท อีเมล์ PDPA Portal CPALL Connect เป็นต้น
  • ขยายผลขอการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO 27001 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO 27701 จากข้อมูลลูกค้าออลล์เมเเบอร์ (ALL Member) ไปยับข้อมูลพนักงานของระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) และไปประยุกต์ใช้กับ 24Shopping ในขอบเขต "การซื้อขายสินค้า ผ่าน 24Shopping"
  • พัฒนาและการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้มาตรฐานการด้านความมั่นคงปลอดภัย ที่คงไว้ซึ่งการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของสารสนเทศทั้งหมด
  • ซักซ้อมเหตุละเมิดและข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลกับ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย (24Shopping และ Counter Service) ร่วมกับผู้บริหารระดับสูง และทีมปฏิบัติการตอลสนองเหตุกรณ์การละเมิดและข้อมูลรั่วไหล

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ร้อยละ  100

กิจกรรมที่มีข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ร้อยละ  100

พนักงานผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติ PDPA

ร้อยละ  100

การตอบสนองของการใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามเวลาที่กำหนด

0  ครั้ง

การร้องเรียนที่ร้ายแรง

0  ครั้ง

การรั่วไหลละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลอื่นๆ


การวิเคราะห์ความอ่อนไหว

1.Business Environment Risk

จากการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความตระหนักในการพัฒนาโครงการริเริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งโครงการที่เริ่มศึกษาทดลอง โครงการนำร่อง และโครงการที่ประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการริเริ่มโครงการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า อย่างไรก็ตามภายใต้หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้ทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายขั้นสูงด้านความยั่งยืน ในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์หรือการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ตั้งแต่ปี 2573 สืบไป ภายใต้การศึกษาดังกล่าว บริษัทได้จำลองความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้ 3 กรณี (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) โดยทุกกรณีมีความเชื่อมโยงกับการเติบโตทางธุรกิจ และกรณีเพิ่มเติมในการจำกัดปริมาณการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ไว้ที่ร้อยละ 20 ของปริมาณคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการปกติในปี 2573 สำหรับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคงเหลืออยู่ของทุกกรณี จะถูกนำมาประเมินต้นทุนการชดเชยคาร์บอนตามช่วงราคาการชดเชยคาร์บอน

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงต้นทุนในการเบาเทาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงความพยายามที่บริษัทต้องดำเนินการเตรียมความพร้อมและร่วมบรรเทาประเด็นปัญหาระดับโลกเหล่านี้

แผนภาพที่ 1 การจำลองระดับการปล่อยและชดเชยก๊าซเรือนกระจก

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว
(ปัจจัยนำเข้าและตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์)
ราคาคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ 42.72 ยูโร / หน่วย
อัตราการแลกเปลี่ยน 38.37 บาท / ยูโร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) 3,042,632.71 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 2,086,322.77 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4 ต่อปี 1,764,726.97 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ร้อยละ 1 ของรายได้ปี 2563 5,465.90 ล้านบาท

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณีการจำลองปริมาณการชดเชยคาร์บอนเทียบเป้าหมายปี 2573

หน่วย : ล้านบาท
ต้นทุนคาร์บอน -10% -5% +-0% +5% +10%
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) 4,488.64 4,738.01 4,987.38 5,236.75 5,486.12*
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 3,077.85 3,248.84 3,419.83 3,590.82 3,761.81
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี 2,603.41 2,748.05 2,892.68 3,037.32 3,181.95

* มูลค่าประเมินถึงระดับ 1% ของรายได้ปีฐาน

2.Compliance Risk and Operation Risk

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต และ อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน

งบการเงินรวม
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต 437 466 (387) (416) 1,311 1,398 (1,161) (1,248) 2,185 2,330 (1,935) (2,080)
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน (428) (468) 483 504 (1,284) (1,404) 1,449 1,512 (2,140) (2,340) 2,415 2,520

งบการเงินเฉพาะกิจการ
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต 240 227 (213) (203) 720 681 (369) (609) 1,200 1,135 (1,065) (1,015)
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน (234) (230) 266 262 (702) (690) 798 786 (1,170) (1,150) 1,330 1,310

3.Market Risk

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี อัตราการคิดลด

งบการเงินรวม
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
อัตราการคิดลด (406) (439) 443 502 (1,218) (1,317) 1,329 1,506 (2,030) (2,195) 2,215 2,510

งบการเงินเฉพาะกิจการ
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
อัตราการคิดลด (225) (205) 241 234 (675) (615) 723 702 (1,125) (1,025) 1,205 1,170

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการบริหารความเสี่ยงดาวน์โหลด
คู่มือการบริหารความเสี่ยง ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า