สนับสนุนด้านการศึกษา

การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


30765  ทุน

สนับสนุนทุนการศึกษา สร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

1116  ล้านบาท

มูลค่าการสนับสนุนทุนการศึกษา

สนับสนุน และส่งมอบโอกาศทางการศึกษา ให้กับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

180  โรงเรียน

โรงเรียน CONNEXT ED

494  โรงเรียน

สนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ให้กับพนักงาน

937  ราย

มูลค่า

40  ล้านบาท
73486  ราย

เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเปราะบางได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


โครงการต่อเนื่อง คืนคนดีสู่สังคม

โครงการเครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้ามขวาน สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของกลุ่มเปราะบาง

โครงการพีไอเอ็ม (PIM) ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของกลุ่มชาติพันธ์ุ

โครงการต่อเนื่องพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED เพิ่มอีก 111 แห่งทั่วประเทศ

โครงการ Creative AI Club มีการจัดกิจกรรม Creative AI Club Hackathon ครั้งแรก

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ
การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า
การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ

ชุมชน (เด็ก เยาวชน กลุ่มเปราะบาง)

การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการพื้นฐาน

SDG 4 สร้างหลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.3 ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพ สำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

  

สนับสนุนเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ให้มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพที่จำเป็นต่อการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

    

นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในระบบ

    

นักเรียน นักศึกษา ที่สำเร็จการศึกษา

    

นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานกับบริษัทหลังสำเร็จการศึกษา

    

สนับสนุนทุนการศึกษา

    

มูลค่าทุนการศึกษา

พัฒนาทักษะอาชีพที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

  

เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ กลุ่มเปราะบาง ที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ

  

ของนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ได้รับโอกาสเข้าร่วมทำงานกับบริษัท

    

ในกลุ่มของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมเป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven ประเภทร่วมลงทุน

สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้โครงการ "สานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)"

โรงเรียน CONNEXT ED ที่บริษัทร่วมดูแล

โรงเรียนประชารัฐที่บริษัทร่วมพัฒนา

จิตอาสาเพื่อการพัฒนา

จำนวนจิตอาสา

ชั่วโมงจิตอาสาเพื่อการพัฒนาการศึกษา

งบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียน

ความเสี่ยงและโอกาส


บริษัทตระหนักดีว่าความก้าวหน้าของธุรกิจตั้งอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม ทั้งปัจจัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน และการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และการเตรียมความพร้อมรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะช่วงภาวะวิกฤตจากโรคระบาดที่ผ่านมา ตลาดแรงงานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทักษะการเรรียนรู้ตลอดชีวิต ความสามารถในการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ล้วนเป็นความต้องการในทุกภาคธุรกิจอย่างมาก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการล้มและลุก (Resilience) ในภาวะวิกฤตอย่างยั่งยืนนั้น บริษัทมุ่งสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่พนักงาน รวมถึงการเปิดโอกาสทางสังคมให้แก่ชุมชน เด็ก และเยาวชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ได้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเท่าเทียมทั้งในระบบและนอกระบบผ่านโครงการทางการศึกษา เพื่อส่งต่อความรู้และส่งเสริมทักษะที่สำคัญในการประกอบอาชีพสำหรับปัจจุบันและอนาคต

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งผลักดันการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้เส้นทางการพัฒนาเยาวชนสู่มืออาชีพอย่างยั่งยืนตั้งแต่ปี 2538 โดยสนับสนุนให้พนักงานของบริษัท รวมถึงชุมชน เด็ก เยาวชน กลุ่มเปราะบางได้มีทักษะใหม่ มีชุดความคิดที่ดี มีความสามารถในการเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายใหม่ๆ บริษัทร่วมมือกับหน่วยงานหลายภาคส่วนจัดตั้งสถาบันการศึกษา เพื่อส่งมอบองค์ความรู้ทั้งจากในห้องเรียนและจากการปฏิบัติงานจริง มีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การปรับพื้นที่สถานศึกษาตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งมอบทุนการศึกษา บริษัทเล็งเห็นแล้วว่าการศึกษาที่มีคุณภาพจะสามารถสร้างโอกาสทางอาชีพ สร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้บุคลากรของบริษัท รวมถึงชุมชน และคนในสังคม จึงมีการดำเนินงานและการสนับสนุนโครงการด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาโดยตลอด

โปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

เป็นเวลากว่า 15 ปี ที่บริษัทดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการจัดตั้งสถานบันการศึกษา และมีการขยายขอบเขตอย่างครอบคลุม รวมถึงก่อตั้งสถานบันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ผ่านระบบออนไลน์ (VDO Conference) ได้แก่

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) เปิดโอกาสทางการศึกษาระดับอาชีวศึกษา
  • สถานบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ที่มอบโอกาสต่อยอดทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
  • โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) ครอบคลุมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
  • ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (VDO Conference) กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ

นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมอบโอกาสทางการศึกษาเป็นทุนสนับสนุนนักเรียนไทย ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2565 มีการสนับสนุนสถาบันการศึกษาและการมอบทุนการศึกษา ดังนี้

1.1 วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT)

วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) เปิดโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยมุ่งเน้นให้ความรู้แบบครบวงจร ทั้งความรู้ภาคทฤษฏี ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ควบคู่กับการปฏิบัติจริง (Work-based Learning) ผู้เรียนสามารถเข้าฝึกงานแบบมีค่าตอบแทนที่ร้าน 7-Elelven นอกจากจะได้รับโอกาสในการฝึกทักษะ สะสมประสบการณ์ตรงในสายอาชีพ ยังเป็นการสร้างรายได้เสริม ตามสโลแกน "เรียนฟรี มีงานทำ ฝึกอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน" ซึ่งมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหมด ดังนี้

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.)

สาขาธุรกิจค้าปลีก

สาขาไฟฟ้ากำลัง

หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ

สาขาเทคนิควิทยาการนาฬิกา

สาขาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

บริษัทได้จัดตั้งและยังดำเนินงานศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ที่กระจายตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ รวม 20 ศูนย์ รวมถึงการลงนามร่วมมือกับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 180 แห่ง ในการเปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนในระบบกว่า 12,000 ราย พร้อมทั้งจัดทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานองค์กร ดังนี้

โครงการบริการวิชาการวิชาชีพ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 18

นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก และสาขาไฟฟ้ากำลังของวิทยาลัยฯ ดำเนินกิจกรรมจิตอาสา บริการวิชาการ และวิชาชีพด้านธุรกิจค้าปลีกและด้านไฟฟ้า แก่ชุมชนและสังคมในจังหวัดนนทบุรี โดยบูรณาการความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนในการเผยแพร่ความรู้ผ่านกิจกรรม ดังนี้

สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก

การสอนทำบัญชี
ครัวเรือน

การร่วมมือกันทำความสะอาดชุมชน

การให้ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก

การสร้างอาชีพชุมชน


การสร้างชุมชนในการจัดทำแผนธุรกิจ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ

  

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า

สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจให้คนในชุมชน

สาขาไฟฟ้ากำลัง

งานไฟฟ้า

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

เพิ่มทักษะสำหรับประกอบอาชีพให้นักเรียนของโครงการ

สร้างความรู้เพื่อการประกอบอาชีพและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาเครื่องไฟฟ้าให้ชุมชน

ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิด และการใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็นจากการขาดการบำรุงรักษาและความรู้พื้นที่ในงานไฟฟ้า

  

ที่เข้าร่วมและรับบริการวิชาการวิชาชีพ

  

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจไม่ต่ำกว่า


โครงการคืนคนดีสู่สังคม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

ซีพี ออลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกระทรวงยุติธรรม มอบโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนทั่วประเทศที่กระทำความผิด โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ให้โอกาสด้านการศึกษา ได้ศึกษาต่อที่สถาบัน ในหลักสูตรธุรกิจค้าปลีก และหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบทวิภาคี โดยเรียนภาคทฤษฏีที่สถานศึกษา สลับกับการฝึกอาชีพที่ร้าน 7-Elelven เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน พร้อมได้รับรายได้ระหว่างเรียนและเป็นหลักประกันการมีงานทำหลังจากสำเร็จการศึกษาฝึกอบรมอาชีพ ตลอดจนสร้างโอกาสในการเข้าถึงการมีงานทำ อบรมการฝึกอาชีพด้านกาแฟ โดยศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพกาแฟปัญญาภิวัฒน์ (P-CoT) ร่วมกับหน่วยงานคัดสรรและเบลลินี่ พรีเมียมคาเฟ่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) อบรมให้ความรู้เรื่องการทำกาแฟ ประกอบด้วย 3 หัวข้อย่อย ได้แก่ การเป็นบาริสต้า การทำเบเกอรี่ และการบริหารจัดการร้าน พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกแข่งขันบาริสต้า ภายใต้โครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนด้านวิชาชีพ" นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว และศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดจังหวัดปัตตานี เพื่อให้ผู้กระทำผิดนั้นสามารถกลับคืนสังคมได้อย่างภาคภูมิและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ

  

มอบทุนการศึกษา

  

มูลค่าการสนับสนุน


โครงการ Business for Young Program

เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนในการเลือกเรียนและเข้าทำงานในสายอาชีพทางด้านธุรกิจค้าปลีก ของศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ทั้ง 20 แห่ง สำหรับเป็นทางเลือกในการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Learn and Play) และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เข้าฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับสายอาชีพด้านธุรกิจค้าปลีก 5 หัวข้อ ได้แก่ ฐานที่ 1: มาตรฐานการให้บริการ ฐานที่ 2: บุคลิกภาพกับการให้บริการ ฐานที่ 3: การบัญชีเบื้องต้น ฐานที่ 4: การจัดแสดงสินค้า หรือการจัดเรียงสินค้า ฐานที่ 5: การออกแบบโลโก้และผลิตภัณฑ์ รวมถึงการศึกษาดูงานร้านค้าปลีกและมีการจัดรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการศึกษาต่อในสายอาชีพ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสายอาชีพด้านธุรกิจค้าปลีกมากขึ้น ปี 2565 มีนักเรียนและเยาวชนเข้าร่วมจำนวน 3,922 ราย มีสถานศึกษาเข้าร่วม จำนวน 58 แห่ง


1.2 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม : PIM)

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันสำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา หรือเทียบเท่า เพื่อส่งมอบโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และสามารถต่อยอดไปยังปริญญาโท ปริญญาเอก ผ่านระบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า Work-based Education (WBE) ภายใต้ 3 จุดแข็ง ในการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฏีเข้ากับภาคปฏิบัติแก่นักศึกษา ดังนี้

ความรู้เชิงวิชาการจากอาจารย์ผู้เชียวชาญ ผ่านความร่วมมือที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกทั่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายในประเทศและต่างประเทศ


ประสบการณ์การทำงานโดยตรงจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สอดประสานไปกับการเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจไปพร้อมกับการเป็น Network University

ทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศและทุนสนับสนุนจากภาคธุกกิจ กว่า 14,000 ทุนต่อปี ช่วยสร้างโอกาสที่หลากหลาย พร้อมแข่งขันในระดับนานาชาติ

โครงการเครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้านขวาน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

ซีพี ออลล์ สถานบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจัดหวัดชายแดนภาคใต้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมมอบทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่เสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ความรุนแรงสูง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สนับสนุนค่าครองชีพและค่าที่พักระหว่างเรียน 4,500 บาทต่อเดือน และมีรายได้ระหว่างฝึกงาน 9,000 บาทต่อเดือน ภายใต้มาตรการช่วยลดความกังวลของนักศึกษาผ่านกิจกรรมรุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องช่วยดูแลความเป็นอยู่ระหว่างเรียนและระหว่างฝึกงาน รวมถึงจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษามุสลิมดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังสามารถเลือกเรียนได้ที่สถานบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือหน่วยการเรียนทางไกลจังหวัดสงขลา หรือมหาวิทยาลัยเครือข่ายความร่วมมือของ ซีพี ออลล์ รวมถึงส่งเสริมให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษากลับไปประกอบอาชีพในพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง ทำให้เกิดการจ้างงานและเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจพื้นที่ ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ

  

นักศึกษามีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย

  

สร้างผู้ประกอบการชุมชน

      .  

มอบทุนการศึกษา

        

นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษา


โครงการ พีไอเอ็ม (PIM) ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5

ซีพี ออลล์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค: NECTEC) และบริษัท ช้อยส์มินิสสโตร์ จำกัด ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสที่เท่าเทียมพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในพื้นที่ มอบทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่เยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ุในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงมุ่งเน้นสร้างทักษะ (Work-based Education: WBE) ด้านนวัตกรรม การนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีเอกลักษณ์มาปรับปรุงพัฒนา เพื่อยกระดับสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนด้วยระบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning) และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (Teacher-Student Relationship)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ

    สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรจังหวัดแม่ฮ่องสอน  .

นักศึกษามีรายได้ต่อเดือน

  

สร้างผู้ประกอบการชุมชน

      .  

มอบทุนการศึกษา

        

นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษา


กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดตั้ง "กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้" หรือ PIM SMART ครบรอบ 10 ปี โดยสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นทุนที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆ ปัจจุบันมีบัณฑิตจากกองทุน ทั้งหมด 9 รุ่น จำนวนบัณฑิตรวม 444 ราย ช่วยเหลือนักศึกษาแล้ว 1,699 ทุน มูลค่า 36.7 ล้านบาท


1.3 โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม)

บริษัทจัดตั้งโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) เพื่อสนับสนุนการศึกษษแก่เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นความสนใจและศักยภาพของผู้เรียนเป็นหลัก ส่งเสริมการเรียนรู้ตามความต้องการและความถนัดเฉพาะทางของผู้เรียน ซึ่งการเรียนเป็นภาษาอังกฤษใน 3 รายวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ และมีการสอนภาษาจีนเพิ่มเติมเป็นภาษาที่สาม พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนให้มีประสิทธิภาพในรูปแบบ Digital Class Room ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม ความรับผิดชอบ และความมีวินัย ให้เยาวชนเป็นทั้งคนเก่งและคนดีในสังคม ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 950 ราย

1.4 การมอบโอกาสทางการศึกษา

บริษัท ส่งเสริมการศึกษาพัฒนาเยาวชน ภายใต้กลยุทธ์ด้านสังคม "7 Go Green" สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักเรียนไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีขึ้นไป) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 14 โดยในปี 2565 ได้สนับสนุนทุนการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 28,478 ทุน คิดเป็นมูลค่า 1,114 ล้านบาท และมีผู้สำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรทั้งสิ้น 10,340 ราย

นอกจากนี้ ยังมีทุนให้นักศึกษาในกลุ่มของสถาบันปัญญาภิวัฒน์เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเข้าทำงานกับบริษัท โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการและผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาสามารถเข้าทำงานในตำแหน่งผู้จัดการในร้าน 7-Eleven ได้ทันที อีกทั้งยังมีโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมเป็นเจ้าของร้าน 7-Elelven ประเภทร่วมลงทุน (Store Business Partner: SBP) ซึ่งในปีการศึกษานี้มีจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาเข้าร่วมงานกับบริษัท จำนวน 3,816 ราย

โปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานของบริษัทที่ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสถาบันการศึกษา นอกเหนือจากองค์ความรู้พื้นฐาน บริษัทมุ่งผลักดันความสามารถและความสนใจเฉพาะทาง รวมถึงเติมเต็มทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ให้เยาวชน ชุมชน และบุคลากรของบริษัทสามารถตอบสนองต่อความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ โดยในปี 2565 มีโครงการที่โดดเด่นดังนี้

โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เฟส 4

โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED ดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ผนวกกับกรอบความยั่งยืนในการสร้างโรงเรียนที่พึ่งพาตนเองได้ ให้โรงเรียนและชุมชนมีทักษะความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ให้โรงเรียนและโครงการของโรงเรียนเดินหน้าต่อไปได้สามารถสร้างรายได้ในระยะยาว มีการบูรณาการความรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรและแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษาหรือหลักสูตรท้องถิ่น โดยในปีการศึกษา 2565 บริษัทยังดำเนินโครงการต่อเนื่องในเฟส 4 ร่วมพัฒนาโรงเรียนเพิ่มเติมอีก 111 โรงเรียน สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์การศึกษา วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อมทั้งส่งบุคลากรของบริษัทที่ผ่านกรพัฒนาทักษะและมีจิตสาธารณะเข้าไปเป็นผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) เพื่อเป็นคู่คิดช่วยเหลือโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในบริบทที่แตกต่างกัน ผ่านการดำเนินโครงการย่อยต่างๆ ในด้านวิชาชีพ ด้านเกษตรกรรม ด้านวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อมกว่า 105 โครงการ ซึ่งบริษัทได้บูรณาการองค์ความรู้ดังกล่าว เพื่อยกระดับเนื้อหาการเรียนการสอนโมเดลความสำเร็จของโรงเรียนต้นแบบสู่โรงเรียนอื่นๆ ในปี 2565 บริษัทยังคงพยายามต่อยอดให้โรงเรียนดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ Best Practice สามารถพัฒนาขึ้นมาจนเป็นโรงเรียนต้นแบบหรือ School Model ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ 1. ด้านไอซีทีและวิชาการ 2. ด้านวิชาชีพ 3. ด้านการเกษตร และ 4. ด้านสิ่งแวดล้อม มีโรงเรียนต้นแบบที่เป็นโมเดลในการส่งมอบโอกาสดีๆ ให้แก่โรงเรียนต่างๆ อาทิ

ด้านไอทีและวิชาการ

โครงการ "ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI Lab)" โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย จังหวัดขอนแก่น

การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่ทั้งหุ่นยนต์หรือ Robotics, AI (Artificial Intelligence Lab) และ IoT (Internet of Things) อย่างง่าย นำมาสู่การสร้างสรรค์ผลงาน อาทิ เครื่องจ่ายเจลล้างมืออัตโนมัติ ราวตากผ้าอัตโนมัติ ถังขยะอัจฉริยะ เป็นผลงานที่สามารใช้ในชีวิตประจำวัน

  
ด้านอาชีพ

โครงการ "ร้านกาแฟสร้างอาชีพ" โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดนนทบุรี และโรงเรียนบ้านนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

นำทักษะที่จำเป็นสำรหับนักเรียน ในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 อย่าง 3R 8C มาใช้ในการสร้างร้านกาแฟ เด็กๆ จะได้ลงมือปฏิบัติจริง จนนำไปสู่การสร้างอาชีพของตนเองและชุมชน

  

โครงการ "ท่องโลกกล้วย" โรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้สามารถเลี้ยงชีพคนในชุมชน และกลายเป็นมรดกส่งต่อไปยังลูกหลายนำการแปรรูปปาล์มกล้วย มาบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านและคนนชุมชนร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปาล์มกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า อาทิ เชือกกล้วยหูหิ้วถ้วยกาแฟ ถาดใส่อาหารทำจากใบตอง กระถางต้นไม้จากใยกล้วย พร้อมเสริมทักษะการคำนวณต้นทุนผลผลิต การคิดราคาจำหน่าย การใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้า สร้างอาชีพและรายได้กลับคืนสู่ชุมชน

  
ด้านเกษตร

โครงการ "โคกหนองนาโมเดล" โรงเรียนบ้านวังดินสอ จังหวัดปราจีนบุรี

บูรณาการชีวิตจากท้องนาสู่ห้องเรียนบนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เพื่อนำมาสู่ความยั่งยืน ภายใต้ทฤษฎีบันได 9 ขั้น พัฒนาจากพื้นฐาน (พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น) สู่ขั้นก้าวหน้า (ทำบุญ ให้ทาน เก็บไว้เมื่อขาด ค้าขาย เครือข่าย) เด็กๆ จะได้เรียนรู้หลักการการทำเกษตร รูปแบบใหม่ที่ไม่ได้นั่งอยู่ในห้องเรียน แต่เป็นการเรียนที่สามารถต่อยอดสู่ความยั่งยืน

  

โครงการ "ศูนย์การเรียนรู้ข้าวหอมมะลินิลผักสวนครัว" ภายใต้ ความคิด Smart Farmer โรงเรียนบ้านโคกมะเมียน จังหวัดสุรินทร์

นำเนื้อหา Smart Farmer เข้าไปสอดแทรกในการเรียนการสอนทุกรายวิชาให้นักเรียนและคนในชุมชนมีความเข้าใจภาคเกษตรกรรมในทุกมิติ ทั้งด้านการบริหารจัดการ ด้านธุรกิจ และเทคโนโลยี และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ภาคเกษตรกรรมของไทยในอนาคต พร้อมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลินิลให้โรงเรียนและชุมชนมีรายได้

  
ด้านสิ่งแวดล้อม

โครงการ "ต้นกล้าไร้ถัง" โรงเรียนอนุบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปลูกฝังเด็ก เยาวชน พ่อค้าแม่ค้าในโรงเรียน ให้ร่วมกัน ลด ละ เลิก ใช้สิ่งของที่สามารถกลายเป็นขยะและใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้วน้ำพลาสติก หลอด จาน กระดาษ จนสามารถลดปริมาณขยะจาก 15 ตันต่อเดือน เหลือเพียง 2 กิโลกรัมต่อเดือน พร้อมทั้งมีการบูรณาการจัดการขยะเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการ ด้วยการคัดแยกวัสดุออกจากขยะจนสามารถหมุนเวียนรายได้กลับสู่โรงเรียน มีการต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

  

โครงการ "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกก สายใยรักษ์โลก" โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง

นำวัชพืชที่ขึ้นตามธรรมชาติในท้องถิ่นอย่าง "ต้นกก" และพืชเศรษฐกิจอย่าง "กระจูด" มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งของในท้องถิ่นต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน อาทิ หลักสูตร "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกกสายใยรักษ์โลก" นำเทคนิคฝีมือด้านหัตถกรรมมาประยุกต์ในการออกแบบสายหูหิ้วถ้วยกาแฟ โดยบริษัทสนับสนุนงบประมาณในโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์มาใช้กับ ออลล์ คาเฟ่ (All Cafe) ในร้าน 7-Eleven สาขาในพื้นที่ท้องถิ่น ซึ่งอยู่ในระยะทดลองและพิจารณาขยายผลไปยังร้าน 7-Eleven ที่มีการบริการกาแฟและเครื่องดื่มจากออลล์ คาเฟ่ (All Cafe) ในเขตพื้นที่อื่น

  

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

สนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED สะสมจนถึงเฟส 4

  

มูลค่าการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED

  

จำนวนเด็ก เยาวชน และครูที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ

ส่งเสริมให้นักเรียน ครู และชุมชน เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

- หลักสูตรท้องถิ่น  25  หลักสูตร  และเกิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  25  ศูนย์
- สร้างโรงเรียนต้นแบบ หรือ School Model จำนวน  16  โรงเรียน
- โรงเรียนที่ดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ Best Practice จำนวน  25  โรงเรียน
- โรงเรียนในโครงการร่วมพัฒนา หรือ Partnership School จำนวน  9  โรงเรียน

สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน


Creative AI Camp และ Creative AI Club

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมเยาวชนในทุกมิติ การเพิ่มพูดทักษะความรู้ต่างๆ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านธุรกิจ และด้านปรัชญาความคิด รวมถึงการสร้างเวทีให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพของตนในการสร้างสรรค์ผลงานด้าน AI เพื่อเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน ผ่านโครงการ Creative AI Camp (CAI Camp) และ Creative AI Club (CAI Club) โดยมี 3 วัตถุประสงค์ ดังนี้

New Learning Space

สร้างพื้นที่การเรียนรู้ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับต่อยอดด้าน AI

New Creative Community

สร้างชุมชนเพื่อแบ่งปันความรู้ สร้างสรรค์ผลงานด้าน AI และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของเยาวชนที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า

New Noonvations & Solutions

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คิดและพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาแนวทางใหม่ๆ ด้วยความรู้ AI โดยสมาชิกในคลับ

CAI Camp เป็นโครงการที่จัดขึ้นต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้ความรู้ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มพูนทักษะที่เยาวชนสามารถนำไปพัฒนา AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการส่งเสริมให้เกิดวิจารณญาณในการใช้ AI อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งในปีที่ 5 นี้ CAI Camp มาในธีม Anytime, Anywhere with AI และมีหลายผลงานที่โดดเด่น เป็นที่น่าจับตามอง อาทิ

ผลงาน "AI Ensure Worker Safety at Construction Site" ซึ่งเป็นการนำ AI มาผสานการทำงานกับกล้อง CCTV ช่วยตรวจจับสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของคนทำงานในไซต์ก่อนสร้าง

ผลงาน "AI Solving Traffic Jam" ซึ่งได้นำ AI มาช่วยบในการควบคุมสัญญาไฟจราจร



ผลงาน "Parking Occupancy Detection" ระบบการประมวลผลด้วยภาพ (Image Processing) มาผสานกับกล้อง CCTV ใช้ตรวจจับพฤติกรรมการจอดรถ

สำหรับโครงการ CAI Club ได้มีการนำโปรเจกต์จากโครงการ CAI Camp มาขยายผล พัฒนาต่อยอด และนำไปใช้จริง เช่น โปรเจกต์ DOCJuice ซึ่งเป็นการนำ AI มาตรวจสอบเอกสาร และนำข้อความเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง ไปใช้งานร่วมกับระบบอื่นต่อ เป็นต้น และในปี 2565 ที่ผ่านมา CAI Club ได้จัดกิจกรรม CAI Talk (AI-GO) ทางออนไลน์ในทุกคืนวันอังคาร กิจกรรม CAI Go Tournament สนับสนุนการแข่งขันโกะเพื่อวัดระดับและสร้างความสัมพันธ์ให้แก่เยาวชน รวมถึงสนับสนุนการจัดกิจกรรม Creative Ai Club Hackathon ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 จากทั่วประเทศได้ร่วมกันสร้างสรรค์ไอเดีย ภายใต้แนวคิด AI For Youth สู่การสร้างสรรค์ผลงานที่ "คิดโดยเยาวชน ทำโดยเยาวชน เพื่อเยาวชน" โดยดำเนินการร่วมกับการสนับสนุนจากพันธมิตรทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา และศิษย์เก่าจากโครงการ CAI Camp ซึ่งผลของการจัดงาน ทำให้เราตระหนักถึงปัญหา (Pain Point) ที่เป็นของเยาวชนอย่างแท้จริงในยุคปัจจุบัน และหลากหลายปัญหาที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึงว่าเยาวชนจะมองสิ่งนั้นเป็นปัญหา เช่น ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนออนไลน์ ปัญหาการแต่งกาย ปัญหาสิวในวัยรุ่น ปัญหาการเลือกอาชีพและคณะที่เรียนในอนาคต และที่สำคัญคือการได้แสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ของเยาวชนในการนำ AI มาแก้ปัญหาเหล่านั้น คณะกรรมการได้ร่วมพิจารณาแนวทางที่นำเสนอ รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง ทั้งทางเทคนิคและต้นทุนการดำเนินการโดยมีไอเดียที่น่าสนใจ เป็นอย่างมาก อาทิ

ผลงาน "เคี้ยงเครียด" แอปพลิเคชันที่ใช้ AI ช่วยดูแลสุขภาพจิตเยาวชน Mental Therapy

ผลงาน "Vio-Protego" แอปพลิเคชันที่ใช้ AI ทำงานควบคู่กับกล้องวงจรปิด เพื่อตรวจจับปัญหาความรุนแรงในห้องเรียน

ผลงาน "Ling Jak Jak" LINE-Bot ที่ใช้ AI ช่วยตรวจสอบและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

เยาวชนเข้าร่วมโครงการและได้รับการพัฒนาทักษะสะสม

  

มูลค่าการสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมสะสม

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า