เมื่อเหล่าบล็อกเกอร์ร่วมคิด เมื่ออิทธิฤทธิ์ของ Reach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?

“หลังจากที่เฟซบุ๊คลดจำนวนการเข้าถึง หลายคนจึงหันไปพึ่งไอจีและทวิตเตอร์ แต่เมื่อดูจากข้อมูลจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คในเมืองไทยที่มีถึง 49 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้ไอจีและทวิตเตอร์อยู่ที่ 13 ล้านคนและ 12 ล้านคน หากรวมกันแล้วยังไม่ถึงครึ่งของผู้ใช้เฟซบุ๊ค ดังนั้นถ้าคุณอยากชนะโลกออนไลน์ในไทย คุณก็ต้องชนะเฟซบุ๊คให้ได้ก่อน แต่เราจะทำอย่างไร…?”  นี่คือคำถามที่ เอ็ม-ขจร เจียรนัยพานิชย์ หนึ่งในวิทยากรจากโครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ปีที่ 2 : บล็อกกาภิวัฒน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา” ตั้งขึ้นและเลือกที่จะบรรยายในหัวข้อ “อิทธิ Reach! เมื่ออิทธิฤทธิ์ของReach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?”  เพื่อกระตุ้นให้บล็อกเกอร์กว่า 60 คนที่ถูกคัดเลือกร่วมโครงการได้ขบคิด พร้อมแนะแนวทางในการทำคอนเทนต์เพื่อให้บล็อกเกอร์ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล

“เอ็ม-ขจร” อธิบายให้ฟังว่า ด้วยเหตุผลที่เฟซบุ๊คลดการเข้าถึง (Reach) นี้เอง ทำให้แต่ละเพจจำเป็นต้องหากลวิธีในการดึงดูดความน่าสนใจเพื่อเพิ่มการเข้าชมมากขึ้น  จากข้อมูลการวิจัยของหลายๆสำนัก พบว่า การสร้างความน่าสนใจให้เพจ  (Interest in the Page) นั้นมีองค์ประกอบต่างๆ อาทิ  การสร้างความแตกต่างของเนื้อหาให้มีความหลากหลาย (Type of Content)  เช่น การทำ วิดีโอ, ภาพกราฟฟิค และบทความ แต่สิ่งที่มาแรงคือ วิดีโอ ถ้าลองเลื่อนหน้าเพจที่เป็นที่นิยมจะพบว่า มากกว่า 30-40% เป็นวิดีโอ และต้องเป็นวีดีโอแนวตั้ง โดยจากสถิติของ BBC ระบุว่า ได้มีการทดสอบลองทำวิดีโอแนวตั้งทั้งหมดในทุกประเภทข่าวตลอด 1 ปี พบว่า มีผู้ชมให้ความสนใจเพิ่มขึ้น 30% แม้ว่าเฟซบุ๊คจะลดการเข้าถึงก็ตาม เนื่องจากคนที่เข้าเว็บเพจโซเชียลจำนวน 80% เข้าผ่านมือถือ ถ้าทำวิดีโอแนวนอนต้องคอยพลิกหน้าจอทำให้ไม่สะดวก สำหรับสถิติของวิดีโอที่ได้ความนิยมสูงสุดในโลกเฟซบุ๊คคือ วิดีโอที่มีความยาวประมาณ 1 นาที มีสัดส่วนถึง 70% วิดีโอความยาวเกิน 3 นาที 10% และอีก 20% เป็นวิดีโอที่มีการโต้ตอบ

อีกทั้ง ความสดใหม่ของโพส (Recency) ก็เป็นสิ่งสำคัญ  โพสเก่าจะถูกโพสใหม่ๆแทนที่เสมอ เราจึงควรมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง ถ้าคอนเทนต์ดีโดนใจมีคนติดตามอย่างต่อเนื่อง เฟซบุ๊คก็จะจำและเพิ่มการเข้าถึง (Reach) ให้โดยอัตโนมัติ สุดท้ายความสามารถในการโพสและคุณภาพของโพสต์ (Post Performance) ก็เป็นตัวชี้วัดที่แท้จริงว่า ใครเจ๋ง ใครไม่เจ๋ง ใครดีไม่ดี ใครมียอดเท่าไรบ้าง

นอกจากองค์ประกอบที่พึงมีในเพจแล้ว “เอ็ม” ยังเผยถึงเทรนด์ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นนั่นคือ การถ่ายวิดีโอแบบเล่าเรื่องสั้นๆ  หรือ Story ซึ่งผู้เข้าชมเพจจะเห็นได้ก่อนลงเนื้อหาในหน้าเพจเสียอีก อีกทั้งยังสามารถดูสถิติได้ด้วยและอยู่ในทุกโซเชียลไม่ว่าจะเป็น IG Facebook Messenger คาดว่าในปีหน้า LINE ก็อาจจะทำ Story เช่นกัน

ด้าน นายบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ‘บล็อกกาภิวัฒน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา’ ในปีที่ 2 นี้ ซีพี ออลล์ จะเป็นตัวกลางในการช่วยส่งต่อองค์ความรู้จากวิทยากรทั้ง 7 ท่าน ที่มีประสบการณ์จริงในแต่ละด้าน มาถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้บล็อกเกอร์รุ่นใหม่เรียนรู้วิธีในการปรับตัวจากสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกออนไลน์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ถูก Disrupt และปรับตัวในยุคบล็อกกาภิวัฒน์ได้อย่างยั่งยืน โดยเนื้อหาจะคลอบคลุมทั้งหมด 3 หัวข้อใหญ่ในแต่ละอาทิตย์ ได้แก่ Content Quality & Reach, Platform และ Data Analysis ซึ่งถือเป็นเนื้อหาที่มีส่วนช่วยเหล่าบล็อกเกอร์ในการปรับตัวได้ทันตามการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างไร้รอยต่อ

“จากนักเขียนที่เขียนลงหนังสือ ก็มีกลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ที่เรียกว่าบล็อกเกอร์ เป็นนักเขียนที่เผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็นข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านโลกที่เรียกว่าดิจิทัลหรือโลกออนไลน์ หากเราช่วยกันส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้ผลิตผลงานออกมาที่ประโยชน์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน มันก็จะเป็นการช่วยกันจรรโลงสังคม ให้สังคมของประเทศเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น” นายบัญญัติ กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า