การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ร้อยละ  100

ของพนักงานทุกระดับ กลุ่ม ซีพี ออลล์ ได้รับการให้ความรู้และสอบผ่านการวัดผลความรู้ ความเข้าใจหลักสูตร "สิทธิมนุษยชน"

ร้อยละ  100

ของสโตร์พาร์ตเนอร์รายใหม่ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ได้รับการให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ  100

ของคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ได้รับความรู้ และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ  100

ของพื้นที่เป้าหมายได้รับการตรับรองมาตรฐานสากล เพื่อการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001: 2018

ซีพีแรม รับรางวัลในฐานองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ในระดับดีเด่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ประเภทองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

แม็คโคร รับรางวัลชนะเลิศ สาขาสถานที่ทำงานที่มีความเท่าเทียมทางเพศ "UN Women 2565 Thailand WEPs Awards"

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


การดำเนินการทบทวนการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ประจำปี 2565 (ทบทวนทุกๆ 3 ปี) ขอบเขตการทบทวนครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจบริษัทย่อย และกิจกรรมร่วมค้า

ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนของมาตรการป้องกันและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของประเด็นที่เสี่ยงสูง

ตอกย้ำเจตนารมณ์ด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานทุกระดับของกลุ่ม ซีพี ออลล์ โดยผู้บริหารระดับสูงมีส่วนร่วมสื่อสารและเป็นแบบอย่างที่ดี

ขยายขอบเขตการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนไปยังสโตร์พาร์ตเนอร์ และคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1

เข้าร่วมประเมินองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2565 โดยบริษัท ซีพีแรม จำกัด

จัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อเนื่อง

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


คู่ค้า, ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ, พนักงาน, ลูกค้า, ชุมชน, ผู้นำทางความคิด, พันธมิตรธุรกิจ, ภาครัฐ, ผู้ให้สิทธิ์ใช้เครื่องหมายทางการค้า, ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน

การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ
การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า
การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ผ่านทางการป้องกัน การรักษา สนับสนุนสุขภาพจิต และความเป็นอยู่ที่ดี
3.6 ลดจำนวนการตายและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

SDG 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน

5.1 ยุติการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบที่มีต่อผู้หญิงและเด็กหญิงในทุกที

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพและการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน
8.8 ปกป้องสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงผู้ทำงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงต่างด้าว และผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

SDG 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

10.3 สร้างหลักประกันว่าจะมีโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมายนโยบาย และแนวปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการกระทำที่เหมาะสม

SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบและครอบคลุมในทุกระดับ

16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

  

ดำเนินการให้เกิด "การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน" อย่างต่อเนื่องตามแนวทางขององค์การสหประชาชาติ ทั้งในขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท และคู่ค้าความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

พื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท

ของ FTEs ได้รับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ของ FTEs มีความเสี่ยงสูงที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชน

ของ FTEs ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทาผลกระทบและดำเนินการแก้ไข

(นอกจากนี้ หน่วยธุรกิจทั้ง 8 หน่วยของ CPALL ได้ดำเนินการตามแผนบรรเทาผลกระทบแล้ว)

ประเด็นความเสี่ยงสูงที่สำคัญ

ความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงาน ร้าน 7-Eleven และ 24Shopping

ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากการจัดส่งสินค้า ลื่นหรือตกจากบันได สิ่งของหรือสินค้าตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยกพุ่งชน มีดบาด

ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้านิรภัย ชุดคลุมปฏิบัติงาน ห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น


คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัท

      

ได้รับการประเมินความเสี่ยง

      

ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง

      

ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงมีมาตรการบรรเทาผลกระทบ

การเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

การฝึกอบรม

พนักงานได้รับการฝึกอบรม

สโตร์พาร์ตเนอร์ได้รับการฝึกอบรม

คู่ค้าลำดับที่ 1 ของบริษัทได้รับการฝึกอบรม

ข้อร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  

การละเมิดสิทธิ
มนุษยชน

  

การเลือกปฏิบัติ

  

การล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเทศ

  

การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง

มาตรการบรรเทาผลกระทบและการดำเนินการแก้ไข

ในกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) รับรองว่าจะมีการดำเนินการแก้ไขอย่างเหมาะ โดยมีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบและรายงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทยังมีการพิจารณาการเยียวยาในทุกรูปแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าบุคคล อาทิ ผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการชดเชยและการเยียวยารูปแบบอื่นๆ ที่จะปรับปรุงผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมหรือดีขึ้น เช่น การแสดงความขอโทษ การชดใช้ความเสียหา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การชดเชยในรูปแบบของตัวเงินหรือไม่ใช่ตัวเงิน เป็นต้น การลงโทษ และการป้องกันอันตราย เช่น คำสั่งห้ามหรือการรับประกันไม่ให้เกิดกรณีซ้ำ เป็นต้น

การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียม และความหลากหลายของบุคลากร

ความหลากหลายทางเพศ

  จำนวน (คน) จำนวนเทียบ FTEs
ชาย
59367
(ร้อยละ 35.46)
57057
(ร้อยละ 36.38)
หญิง
108034
(ร้อยละ 64.54)
99797
(ร้อยละ 63.62)
 หมายเหตุ : FTEs การทำงานเต็มเวลาของพนักงาน

ความหลากหลายทางอายุ

  จำนวน (คน) จำนวนเทียบ FTEs
อายุน้อยกว่า 30 ปี
93297
(ร้อยละ 55.73)
86639
(ร้อยละ 55.24)
อายุ 30-50 ปี
70731
(ร้อยละ 42.25)
66888
(ร้อยละ 42.64)
อายุมากกว่า 50 ปี
3373
(ร้อยละ 2.02)
3327
(ร้อยละ 2.12)

ความหลากหลายทางสัญชาติ

  พนักงานทั้งหมด (ร้อยละ) ผู้บริหารทั้งหมด (ร้อยละ)
ไทย
97.73
68.57
กัมพูชา
0.75
10.38
พม่า
1.47
20.33
เกาหลี
0.00
0.01
อินเดีย
0.02
0.31
ออสเตรเลีย
0.00
0.02
อื่นๆ
0.03
0.38

ความหลากหลายทางศาสนา

  ร้อยละเทียบกับ FTEs
พุทธ
64.66
คริสต์
1.12
อิสลาม
3.68
ฮินดู
0.01
อื่นๆ
0.02
ไม่เปิดเผย
30.51

การส่งเสริมขีดความสามารถของพนักงานหญิงในองค์กร

การจ้างงานผู้พิการในองค์กร

จำนวน  1104  
ร้อยละเทียบ FTEs  0.69

เสรีภาพในการสมาคม

การดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัทครอบคลุมพนักงาน

ความเสี่ยงและโอกาส


การเติบโตของธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยแรงงานเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญทั้งกิจกรรมทางธุรกิจทางตรงและทางอ้อม อาทิ กระบวนการผลิต การขนส่ง การบริการ โดยกิจกรรมทางธุรกิจเหล่านั้น มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติด้านแรงงานได้ ทั้งนี้การปฏิบัติที่เท่าเทียมตามหลักสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมที่ดีในสถานที่ทำงาน และการได้รับการส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีสำหรับพนักงานและคู่ค้า จึงเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องตลอดจนสามารถให้องค์กรเข้าใจความเสี่ยงในระยะสั้นและในระยะยาวได้ ปัจจุบันสิทธิมนุษยชนเป็นมิติความยั่งยืนทางสังคมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นหลักการสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น บริษัทจึงมุ่งมั่นและเตรียมความพร้อมลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนผ่านการทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุม ตามหลักการสากลและกฎหมายของประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจขององค์กรกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทดำเนินงานภายใต้นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการดำเนินธุรกิจ รวมถึงคู่ค้า และพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งสอดคล้องตามหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และสิทธิชั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่าประเทศ (International Labor Organization: ILO) และกฎหมายแรงงานของแต่ละประเทศที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ เช่น การใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การเลือกปฏิบัติ และการคุกคามทางเพศ เป็นต้น

ในปี 2565 บริษัทมีการทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานให้เคร่งครัดและครอบคลุมมากขึ้น ประกอบด้วยประเด็นหลัก ดังนี้

เพิ่มเติมหลักการใช้สอดคล้องตามแนวทางสากลยิ่งขึ้น ขยายขอบเขตการบังคับใช้นโยบาย พัฒนาการบริหารจัดการให้มีการระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและแนวปฏิบัติการใช้แรงงาน ระบุแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
  • ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (Ten Principles of the United Nations Global Compact)
  • อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization's Foundamental Conventions)
  • มาตรฐานจรรยาบรรณทางธุรกิจ: การแก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่ม LGBTI : (Tackling Discrimination Against Lesbian, Gay, Bi Trans & Intersex People Standard of Conduct for Business: OHCHR)
  • ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียมากขึ้น ได้แก่ คู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา พันธมิตรทางธุรกิจ กิจการร่วมค้า (Joint Venture) รวมถึงกิจการควบรวมและกิจการเเข้าซ์้อ (Merger and Acquisition)
  • เช่น การเลือกปฏิบัติ การให้ค่าตอบแทนเท่าเทียม เป็นต้น พร้อมสนับสนุนกระบวนการให้พนักงานมีสิทธิในการสมาคม เจรจาร่วมต่อรอง และเสนอแนะสวัสดิการผ่านคณะกรรมการสวัสดิการของบริษัท
  • การเคารพสิทธิอและเสรีภาพ และการแสดงความคิดเห็นของพนักงาน ชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI+) ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ชนกลุ่มน้อย ชนพื้นเมืองที่อยู่ในชุมชน เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทมีกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ ผลกระทบ และความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุก 3 ปี ในทุกพื้นที่ดำเนินการกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร และครอบคลุมการวิเคราะห์กระบวนงาน (Full time equivalent: FTE) โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีความเสี่ยง พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันและการลดผลกระทบของประเด็นที่เสี่ยงสูงแบบบูรณาการผ่านกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้

การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กร

จากการทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทได้สร้างความตระหนักรู้ด้านการเคารพและการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานทุกระดับ พร้อมทั้งผลักดันความเท่าเทียมค่าครองชีพและปัจจัยการจ้างงาน ตามนโยบายและหลักการด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์มีการพิจารณาเงินเดือนและสวัสดิการสำหรับพนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจ (สโตร์พาร์ตเนอร์) ให้ได้รับค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม โดยบริษัทมีเป้าหมายครอบคลุมพนักงานทั้งหมด ร้อยละ 100 ภายในปี 2568 พร้อมแผนขยายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมาะในอนาคต ตลอดจนยกระดับด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยมีการประเมินประเด็นความเสี่ยงครอบคลุมพื้นที่การดำเนินการของบริษัท นำมาสู่การจัดทำโครงการเพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พนักงานและครอบครัว ผ่านสวัสดิการต่างๆ เช่น การทำงานแบบยืดหยุ่น การสนับสนุนการศึกษาของบุตรหลานพนักงาน การช่วยเหลือพนักงานด้านการรักษาสุขภาพ เป็นต้น

กระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเป็นประจำทุก 3 ปี ซึ่งบริษัทมีการตรวจสอบในปี 2565 เพื่อระบุประเด็นสำคัญและผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบ ครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินการ และทุกกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท รวมถึงคู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา กิจการร่วมค้า (Joint Venture) และกิจการควบรวมและกิจการเข้าซื้อ (Mergers and Acquisition) บริษัทพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชนสำคัญที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การใช้แรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก สิทธิและเสรีภาพในการสมาคม สิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง การให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม การเลือกปฏิบัติ และการคุมคามทั้งที่เกี่ยวข้องกับทางเพศและรูปแบบอื่นๆ รวมถึงความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิลูกค้า โดยครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียที่มีความเสี่ยงอาจถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงาน ชุมชนและคนในท้องถิ่น คู่ค้า ผู้จัดหา ผู้รับเหมา ลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงกลุ่มเปราะบางที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้หญิง เด็ก ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เพศทางเลือก (LBGTQI+) ผ่านการรับฟังประเด็นจากผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของบริษัทไม่ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ความมุ่งมั่น

1

ปลูกฝังในองค์กร

2

นโยบายสิทธิมนุษยชน

ประเมินผลกระทบ

3

การบูรณาการ

4

  • ระบุประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ ทั้งที่เกดิดขึ้นแล้วและอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
  • ระบุผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงพิจารณาสถานะของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้หญิงและเด็ก แรงงานอพยพ บุคคลทุพพลภาพและผู้สูงอายุ
  • การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Risk Assessment)
  • การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right Impact Assessment : HRIA)

ติดตามประสิทธิผล

5

การสื่อสาร

6

  • ออกแบบมาตรการป้องกันและลดผลกระทบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • นำมาตรการในเบื้องต้นไปปฏิบัติใช้สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตามผลและทบทวนกระบวนการ

มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

7

มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เช่น พนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคประชาสังคม เพื่อสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท

การเยียวยาและรับข้อร้องเรียน

8

  • การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • การจัดตั้งกลไกรับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทมีการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนแบบบูรณาการ บริษัทจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment: HRRA) เป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า จากการระบุประเด็นสำคัญและผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence HRDD) ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินธุรกิจ และคิดเป็นร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิตและการจำหน่าย การตลาดและการขาย ลูกค้าและบริการ

ในปี 2565 บริษัทมีการทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนทั้งประเด็นความเสี่ยงเดิม ประเด็นความเสี่ยงในปัจจุบัน และความเสี่ยงที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในอนาคต ครอบคลุมสิทธิของพนักงาน คู่ค้าและผู้รับเหมา สิทธิชุมชน และสิทธิลูกค้าหรือผู้บริโภค ตลอดจนครอบคลุมประเด็นด้านสภาพการทำงาน (Working Condition) ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Safety and Health) ด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม (Discrimination and Harassment) ด้านการใช้แรงงานผิดกฎหมาย (Legal of Labor Used) ด้านมาตรฐานการครองชีพ (Standard of Living) และด้านข้อมูลและความเป็นส่วนตัว (Data Privacy) พบประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ (Slient Human Rights Issues) ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ 24Shopping ได้แก่ 1) ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติ 2) ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทมีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมด ครอบคลุมคู่ค้าจำนวน 1,985 ราย ประเด็นการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติ ประเด็นการจัดอบรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ประเด็นการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงาน และอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุ รวมถึงการซักซ้อมหนีไฟ เป็นต้น ซึ่งบริาัทได้สนับสนุนให้คู่ค้าที่ตรวจพบประเด็นความเสี่ยงจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขสำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษชนที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีความเสี่ยงสูงทั้งหมด

การปฏิบัติของพนักงาน แนวทางปฏิบัติของชุมชน แนวทางปฏิบัติของลูกค้า แนวปฏิบัติของคู่ค้าและผู้รับเหมา
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การใช้แรงงานผิดกฎหมาย
  • เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิเพื่อการเจรจาต่อรองร่วมกัน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • มาตรฐานการครองชีพ
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติ
  • ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
  • สภาพการทำงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติ
  • การใช้แรงงานผิดกฎหมาย

บริษัทมีการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนแบบบูรณาการ บริษัทจัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment: HRRA) เป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่า จากการระบุประเด็นสำคัญและผู้ถือครองสิทธิ์ที่ได้รับผลกระทบ ภายใต้กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence HRDD) ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของพื้นที่ดำเนินธุรกิจ และคิดเป็นร้อยละ 100 ของกิจกรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ การจัดซื้อ การผลิตและการจำหน่าย การตลาดและการขาย ลูกค้าและบริการ

การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

ภายหลังจบกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ที่ได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องผ่านการเก็บข้อมูล การสำรวจ การสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ถือครองสิทธิ์ โดยประเมินผลกระทบครอบคลุมทุกพื้นที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง ใน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก 1) กลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ 2) กลุ่มธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก สินค้าอุปกโภคบริโภค และ 3) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ครอบคลุมบริการ ด้านการเงิน ด้านการผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่ อาหารพร้อมรับประทานและอาหารแช่แข็ง ด้านการศึกษา หากพลผลกระทบจะดำเนินดการยกระดับมาตรฐานการบรรเทาผลกระทบ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักให้กับพนักงานผ่านกิจกรรมรณรงค์ อาทิ ผู้บริหารระดับสูงส่งสารถึงพนักงานทั้งองค์กร เพื่อสื่อสารการปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน

ประเด็นความเสี่ยงและมาตรการป้องกัน ลดผลกระทบ

ภายใต้ขอบเขคความรับผิดชอบของบริษัท สโตร์พาร์ตเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ)

ผู้ถือครองสิทธิ ประเด็นที่มีความเสี่ยงสูง มาตรการป้องกันและลดผลกระทบ การบูรณาการมาตรการ
พนักงานร้าน 7-Eleven และ 24Shopping ความปลอดภัยและสุขภาพ
  • ประเด็นอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากการจัดส่งสินค้า ลื่นหรือตกจากบันได สิ่งของหรือสินค้าตกจากที่สูง อุบัติเหตุจากรถยกพุ่งชน มีดบาด
  • ประเด็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้านิรภัย ชุดคลุมปฏิบัติงานห้องควบคุมอุณหภูมิ เป็นต้น
  • คู่มือความปลอดภัย
  • ดำเนินการวิเคราะห์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
  • ใบรับรอง ISO 45001/มอก. 18001
  • อบรมด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับพนักงาน
  • อบรมการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับพนักงาน
  • จัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลและเครื่องทุ่นแรงสำหรับพนักงาน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลประจำเดือน โดยคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS&E) และตรวจสอบทุกครั้งก่อนใช้งาน โดยผู้จัดการสายงาน
  • จัดหาชุดคลุมปฏิบัติงานที่มีความหนาและวิตามินบำรุงร่างกาย สำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องควบคุมอุณหภูมิ มีช่วงเวลาให้พนักงานปรับอุณหภูมิร่างกายก่อนออกจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
  • นโยบายองค์กร (เช่น นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน นโยบายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น)
  • กฎระเบียบสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน
  • คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • ประกาศเป้าหมายการดำเนินงานความปลอดภัยยานยนต์
  • มาตรฐานการปฏิบัติงาน

กลไกรับข้อร้องเรียนและการแก้ไขเยียวยา

การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน

การอบรมหลักสูตร "สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ"

เพื่อสร้างความตระหนักและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างถูกต้องรวมถึงป้องกันการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนภายใน และภายนอกองค์กร บริษัทดำเนินโครงการจัดอบรมหลักสูตร "สิทธิมนุษยชนกับภาคธุรกิจ" สำหรับพนักงานระดับบริหารขึ้นไปของกลุ่มซีพี ออลล์ โดยหลักสูตรมีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่

มาตรฐานสากลในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

วัฒนาธรรมองค์กรกับการเคารพสิทธิมนุษยชน

ในปี 2565 มีผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 167,401 ราย พร้อมทั้งมีแผนขยายขอบเขตการสร้างความตระหนัก และความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับ ทุกพื้นที่ รวมถึง คู่ค้า และสโตร์พาร์ตเนอร์ (พันธมิตรทางธุรกิจ) ผ่านระบบออนไลน์ ภายใน 2568

สื่อสาร สร้างความตระหนักเรื่องสิทธิมนุษยชนเชิงรุก

บริษัทสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนแบบเชิงรุกไปยังพนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ (สโตร์พาร์ทเนอร์) โดยสื่อสารผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น อีเมล ระบบ CPALL Connect ป๊อปอัป (Pop-Up) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุมระบบงานหลังร้านของร้าน 7-Eleven และร้านเบลลินี่ (Bellinee's) รวมถึงร้าน SBPMALL เป็นต้น

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทยึดมั่นในการเคารพสิทธิแรงงานของพนักงาน และการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายต่างๆ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทยและสากล ผ่านการสร้างความเหมาะสมด้านการจ้างงาน ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน วันหยุด และสวัสดิการ รวมถึงสถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมที่ดี ทั้งนี้ บริษัทกำหนดสวัสดิการสำหรับพนักงาน อาทิ

สวัสดิการ สิทธิตามกฎหมายกำหนด สิทธิที่บริษัทมอบให้พนักงาน
จำนวนวันเพื่อเลี้ยงดูบุตรสำหรับพนักงานหญิง
98  
120  
วันหยุดตามประเพณี ไม่น้อยกว่าปีละ
13  
14-18  
วันหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่น้อยกว่าปีละ
6  
6-15  
วันลากิจ
3  
3-7  
วันลาเพื่อดูแลบุตรที่คลอดใหม่สำหรับพนักงานชาย โดยได้รับค่าจ้าง 0  
5  
วันลากิจธุระส่วนตัว เพื่อสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว อาทิ บำเพ็ญประโยชน์ให้กับชุมชนหรือสังคมตามความสนใจของพนักงาน ดูแลบุคคลในครอบครัวที่เจ็บป่วย หรือมีภาวะทางด้านร่างกายและจิตใจ ลาเนื่องในวันคล้ายวันเกิดของตัวเอง -
7  
ลาโดยได้รับค่าจ้างและไม่นับเป็นวันหยุดที่คั่นกลางระหว่างการลา
ทางเลือกการทำงานแบบพาร์ตไทม์ (Part-time working options) สำหรับพนักงานประจำ สายสำนักงานระดับเจ้าหน้าที่ และบังคับบัญชา - เฉพาะวันหยุดของพนักงาน (ขั้นต่ำวันละ 4 ชม)

พร้อมกันนี้ บริษัทจัดสรรสวัสดิการที่หลากหลายให้กับพนักงาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัท เช่น สวัสดิการเงินกู้ฉุกเฉินจากสถาบันการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เงินช่วยเหลือบ้านเช่าบ้านพัก เงินช่วยเหลือกรณีปฏิบัติงานประจำสำนักงานต่างจังหวัด (เบี้ยกันดาร) เป็นต้น ตลอดจนสวัสดิการด้านความมั่นคงของชีวิต อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันชีวิตจากโรคและอุบัติเหตุ และประกันสุขภาพกลุ่มภาคสมัครใจที่ให้ความคุ้มครองพนักงานรวมถึงครอบครัวพนักงาน สวัสดิการเงินยืมฉุกเฉินสำหรับพนักงานและครอบครัว และเงินช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงบริการศูนย์สุขภาพ (CPALL Health Care Center) และศูนย์ออกกำลังกายสำหรับพนักงาน (The Tara Fitness Club) ฝึกสอนโดยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา พร้อมทั้งมีโครงการ Exercise My Way บริการตรวจวัดสุขภาพ โดยเภสัชกรด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของพนักงาน

หมายเหตุ: พื้นที่สำคัญในการดำเนินการให้การสนับสนุน ครอบคลุมพนักงานที่ปฏิบิัติงานในพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่ปฏิบัติการร้าน 7-Eleven

เสรีภาพในการสมาคม

บริษัทให้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นและข้อกังวล ผ่านช่องทางการรักฟังความคิดเห็นของบริษัทที่หลากหลาย เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์แจ้งข้อมูล สื่อออนไลน์ของบริษัท เคาะระฆัง ระบบ Voice of Employee เป็นต้น รวมถึงผ่านคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการ (คสส.) ที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสวัสดิการ จำนวน 2,108 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ของพนักงานทั้งหมด โดยมีการประชุมหารือร่วมกันทุกไตรมาส ในปี 2565 มีประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้รับการอนุมัติดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้

สวัสดิการแจกข้าวฟรีให้กับพนักงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องค่าครองชีพ การจ่ายค่าจ้างพนักงานหญิงที่ลาคลอด บริษัทจ่ายให้ 50 วัน จากเดิม 45 วัน (มากกว่ากฎหมายกำหนด) พนักงานชายสามารถลาเพื่อดูแลบุตรที่เกิดใหม่ได้ 5 วัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานต่างๆ เช่น เพิ่มความสว่างและตีเส้นจราจรเพื่อความชัดเจนบริเวณหน้าโรงงาน มีการสำรวจกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย เพื่อดำเนินการติดตั้งจุดกล้องให้เพียงพอ เป็นต้น

การส่งเสริมโอกาสที่เท่าเทียมและความหลากหลายของบุคลากร

บริษัทมุ่งมั่นปฏิบัติกับพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม เคารพในความหลากหลายและความแตกต่างของบุคลากรบนพื้นฐานที่ไม่แบ่งแยกทางเชื้อชาติ ศาสนา เพศ สีผิว ภาษา อายุ รวมถึงผู้พิการ บริษัทส่งเสริมและพิจารณาพนักงานทุกคนได้รับการจ้างงาน ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ และการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพอย่างเท่าเทียม ตลอดจนเปิดโอกาสในการสร้างอาชีพผ่านการจัดจ้างบุคคลทุพพลภาพให้เป็นพนักงานอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ บริษํทและเครือเจริญโภคภัณฑ์ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อตอกย้ำและผลักดันสิทธิของพนักงานอย่างต่อเนื่อง ในปี 2565 มีการจัดอบรมและสัมมนาในประเด็นที่สอดคล้องกับกระแสสังคมโลกในหัวข้อ "ความสำคัญของภาคธุรกิจต่อการส่งเสริมสิทธิของกลุ่มหลากหลายทางเพศ LGBTI+" เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและดำเนินการส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายอย่างเป็นระบบ สนับสนุนทุกภาคส่วนและหน่วยงานลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสอย่างแท้จริง พร้อมทั้งสนับสนุนให้บุคลากรทุกกลุ่มแสดงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทั้งภายใน ภายนอก องค์กร เพื่อขยายวงกว้างไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่เหมาะสม ผ่านการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการที่หลากหลายของกลุ่มคนในสังคม ไม่ให้ก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติ และการคุกคามทุกรูปแบบในการดำเนินงานทางภาคธุรกิจ

ค่าครองชีพ

บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญและเป็นผู้ขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จเราจึงใส่ใจและให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอันดับแรก ด้วยเหตุนี้พนังงานของเราจะได้รับการดูแลที่เหมาะสม มีสวัสดิการ บรรยากาศในการทำงานที่ดี การสอนงาน รางวัลต่างๆ อีกทั้งสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย และยังต้องมั่นใจว่าพนักงานทุกคนได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายและหลักการด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ มีการพิจารณาเงินเดือนและสวัสดิการสำหรับพนักงานและพันธมิตรทางธุรกกิจ (สโตร์พาร์ตเนอร์) ในแต่ละพื้นที่อย่างสม่ำเสมอให้เป็นธรรมอย่างเท่าเทียม เป็นไปตามกฎหมายและเป็นค่าตอบแทนที่สามารถเทียบเคียงในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันได้ โดยบริษัทจ่ายค่าจ้างสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนมีเงินสนับสนุนและค่าตอบแทนที่เหมาะสม พร้อมทั้งช่วยเหลือเพิ่มเติม อาทิ ค่าทำงานนอกเวลา ค่าเดินทาง เบี้ยพิเศษ ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร เบี้ยขยัน เพื่อให้พนักงานได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมที่สุดในการดำรงชีพ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจ่ายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมและแข่งขันได้ บริษัทได้ดำเนินการประเมินค่าจ้างประจำปี โดยเข้าร่วมการสำรวจค่าจ้างและสวัสดิการกับ 2 บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้แก่ korn Ferry Hay Group และ Mercer อีกทั้งยังกำหนดให้มีการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพและปัจจัยการจ้างงานในแต่ละด้านของการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทมีเป้าหมายครอบคลุมพนักงานทั้งหมดร้อยละ 100 ภายในปี 2568 พร้อมแผนขยายเป้าหมายการประเมินไปยังคู่ค้าและผู้รับเหมาที่สำคัญลำดับที่ 1 ในอนาคต

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติด้านแรงงานดาวน์โหลด
คู่มือการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า