เมื่อเหล่าบล็อกเกอร์ร่วมคิด เมื่ออิทธิฤทธิ์ของ Reach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?

“หลังจากที่เฟซบุ๊คลดจำนวนการเข้าถึง หลายคนจึงหันไปพึ่งไอจีและทวิตเตอร์ แต่เมื่อดูจากข้อมูลจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คในเมืองไทยที่มีถึง 49 ล้านคน ขณะที่ผู้ใช้ไอจีและทวิตเตอร์อยู่ที่ 13 ล้านคนและ 12 ล้านคน หากรวมกันแล้วยังไม่ถึงครึ่งของผู้ใช้เฟซบุ๊ค ดังนั้นถ้าคุณอยากชนะโลกออนไลน์ในไทย คุณก็ต้องชนะเฟซบุ๊คให้ได้ก่อน แต่เราจะทำอย่างไร…?”  นี่คือคำถามที่ เอ็ม-ขจร เจียรนัยพานิชย์ หนึ่งในวิทยากรจากโครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ปีที่ 2 : บล็อกกาภิวัฒน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา” ตั้งขึ้นและเลือกที่จะบรรยายในหัวข้อ “อิทธิ Reach! เมื่ออิทธิฤทธิ์ของReach ลดลง บล็อกเกอร์จะปรับตัวยังไง?”  เพื่อกระตุ้นให้บล็อกเกอร์กว่า 60 คนที่ถูกคัดเลือกร่วมโครงการได้ขบคิด พร้อมแนะแนวทางในการทำคอนเทนต์เพื่อให้บล็อกเกอร์ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล

“เอ็ม-ขจร” อธิบายให้ฟังว่า ด้วยเหตุผลที่เฟซบุ๊คลดการเข้าถึง (Reach) นี้เอง ทำให้แต่ละเพจจำเป็นต้องหากลวิธีในการดึงดูดความน่าสนใจเพื่อเพิ่มการเข้าชมมากขึ้น  จากข้อมูลการวิจัยของหลายๆสำนัก พบว่า การสร้างความน่าสนใจให้เพจ  (Interest in the Page) นั้นมีองค์ประกอบต่างๆ อาทิ  การสร้างความแตกต่างของเนื้อหาให้มีความหลากหลาย (Type of Content)  เช่น การทำ วิดีโอ, ภาพกราฟฟิค และบทความ แต่สิ่งที่มาแรงคือ วิดีโอ ถ้าลองเลื่อนหน้าเพจที่เป็นที่นิยมจะพบว่า มากกว่า 30-40% เป็นวิดีโอ และต้องเป็นวีดีโอแนวตั้ง โดยจากสถิติของ BBC ระบุว่า ได้มีการทดสอบลองทำวิดีโอแนวตั้งทั้งหมดในทุกประเภทข่าวตลอด 1 ปี พบว่า มีผู้ชมให้ความสนใจเพิ่มขึ้น 30% แม้ว่าเฟซบุ๊คจะลดการเข้าถึงก็ตาม เนื่องจากคนที่เข้าเว็บเพจโซเชียลจำนวน 80% เข้าผ่านมือถือ ถ้าทำวิดีโอแนวนอนต้องคอยพลิกหน้าจอทำให้ไม่สะดวก สำหรับสถิติของวิดีโอที่ได้ความนิยมสูงสุดในโลกเฟซบุ๊คคือ วิดีโอที่มีความยาวประมาณ 1 นาที มีสัดส่วนถึง 70% วิดีโอความยาวเกิน 3 นาที 10% และอีก 20% เป็นวิดีโอที่มีการโต้ตอบ

อีกทั้ง ความสดใหม่ของโพส (Recency) ก็เป็นสิ่งสำคัญ  โพสเก่าจะถูกโพสใหม่ๆแทนที่เสมอ เราจึงควรมีการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง ถ้าคอนเทนต์ดีโดนใจมีคนติดตามอย่างต่อเนื่อง เฟซบุ๊คก็จะจำและเพิ่มการเข้าถึง (Reach) ให้โดยอัตโนมัติ สุดท้ายความสามารถในการโพสและคุณภาพของโพสต์ (Post Performance) ก็เป็นตัวชี้วัดที่แท้จริงว่า ใครเจ๋ง ใครไม่เจ๋ง ใครดีไม่ดี ใครมียอดเท่าไรบ้าง

นอกจากองค์ประกอบที่พึงมีในเพจแล้ว “เอ็ม” ยังเผยถึงเทรนด์ที่คาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นนั่นคือ การถ่ายวิดีโอแบบเล่าเรื่องสั้นๆ  หรือ Story ซึ่งผู้เข้าชมเพจจะเห็นได้ก่อนลงเนื้อหาในหน้าเพจเสียอีก อีกทั้งยังสามารถดูสถิติได้ด้วย และอยู่ในทุกโซเชียลไม่ว่าจะเป็น IG Facebook Messenger คาดว่าในปีหน้า LINE ก็อาจจะทำ Story เช่นกัน

ด้าน นายบัญญัติ คำนูณวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)  ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อี-เลฟเว่น ในประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “โครงการ Blogger’s Bootcamp by CP All ‘บล็อกกาภิวัฒน์ อย่าให้อนาคต Disrupt เรา’ ในปีที่ 2 นี้ ซีพี ออลล์ จะเป็นตัวกลางในการช่วยส่งต่อองค์ความรู้จากวิทยากรทั้ง 7 ท่าน ที่มีประสบการณ์จริงในแต่ละด้าน มาถ่ายทอดความรู้เพื่อช่วยให้บล็อกเกอร์รุ่นใหม่เรียนรู้วิธีในการปรับตัวจากสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกออนไลน์ที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ถูก Disrupt และปรับตัวในยุคบล็อกกาภิวัฒน์ได้อย่างยั่งยืน โดยเนื้อหาจะคลอบคลุมทั้งหมด 3 หัวข้อใหญ่ในแต่ละอาทิตย์ ได้แก่ Content Quality & Reach, Platform และ Data Analysis ซึ่งถือเป็นเนื้อหาที่มีส่วนช่วยเหล่าบล็อกเกอร์ในการปรับตัวได้ทันตามการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างไร้รอยต่อ

“จากนักเขียนที่เขียนลงหนังสือ ก็มีกลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ที่เรียกว่าบล็อกเกอร์ เป็นนักเขียนที่เผยแพร่ความรู้ ความคิดเห็นข้อมูลข่าวสารต่างๆผ่านโลกที่เรียกว่าดิจิทัลหรือโลกออนไลน์ หากเราช่วยกันส่งเสริมให้คนกลุ่มนี้ผลิตผลงานออกมาที่ประโยชน์ต่อสังคม เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน มันก็จะเป็นการช่วยกันจรรโลงสังคม ให้สังคมของประเทศเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น” นายบัญญัติ กล่าวทิ้งท้าย

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save