ใส่ใจทุกสาระสำคัญเพื่อความยั่งยืน
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) จัดทำรายงานความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงาน ภายใต้นโยบายและกรอบยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ให้แก่ผู้มีส่ยนได้เสียทุกกลุ่มได้รับทราบ ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาลขององค์กร
ข้อมูลในการจัดทำรายงานความยั่งยืนเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคาคม ถึง 31 ธันวาคม 2567 ครอบ 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ในปี 2567 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ 987,794 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดรายได้จากธุรกิจในกลุ่มบริษัท ซึ่งได้มีการเปิดเผยไว้ใน 56-1 One Report รายงานประจำปี 2567 หน้า 2
เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ นำเสนอพื้นฐานการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวมและประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืน ทั้ง 3 มิติ ภายใต้มุมมองและการประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งกรอบในการจัดทำรายงานสอดคล้องกับแนวทางการจัดรายงานความยั่งยืน ในระดับสากล ฉบับปี 2565 (The Global Reporting Initiative Standards 2021: GRI Standards 2021) และแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มธุรกิจอาหาร (The Food Processing Sector Supplement) พร้อมกันนี้ บริษัทมอบหมายให้หน่วยงานรับรองอิสระที่มีความน่าเชื่อถือ ได้แก่ บริษํท แอลอาร์คิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด (LRQA (Thailand) Limited) เป็นผู้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเปิดเผยข้อมูลของรายงานฉบับนี้
สำหรับปี 2567 ชุดข้อมูลที่ได้รับการทวนสอบประกอบด้วย GRI 2-26, GRI 2-27, GRI 3-1, GRI 3O2-1, GRI 3O2-3, GRI 3O3-3, GRI 3O3-4, GRI 3O3-5, GRI 3O5-1, GRI 3O5-2, GRI 3O5-3 Other indirect (scope 3) GHG emissions (Purchased goods and services, Capital goods, Fuel and energy related activities, Upstream transport & distributions, Waste generated in operations, Business travel, Downstream transport & distributions, Use of sold products and End-of-life treatment of sold product only), GRI 3O5-4, GRI 3O6-3, GRI 3O6-4, GRI 3O6-5, GRI 3O8-1, GRI 3O8-2, GRI 4O3-9, GRI 4O3-1O, FPSS FP6, FP7, GRI 4O5-2, GRI 414-1, GRI 414-2
กลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ

บริการร้านสะดวกซื้อ
กลุ่มธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค

บริการด้านค้าส่ง

บริการด้านค้าปลีก
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ

บริการด้านการเงิน

บริการด้านสารสนเทศ

บริการผลิตและจำหน่ายเบเกอรี่
อาหารพร้อมรับประทาน อาหารแช่แข็ง

บริการด้านสื่อสารการตลาด

บริการด้านการศึกษา

บริการด้านการบริหารโลจิสติกส์
กระบวนการกำหนดเนื้อหาในรายงาน
บริษัทจัดทำรายงาน โดยพิจารณาจากผลการประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มขององค์กร ครอบคลุมผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ รวมถึงประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญจากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยภายนอกจากแนวโน้มโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมทั้งดัชนีด้านความยั่งยืนชั้นนำของโลกต่างๆ อาทิ การประเมินดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) คณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ (The Securities and Exchange Commission: SEC) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรเป็นไปตามแนวทางการรายงานข้อมูล (Reporting Principles) 8 แนวทาง ดังนี้
Global Reporting Initiative Standards (GRI) | |
---|---|
1. Accuracy | ความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย |
2. Balance | ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ |
3. Clarity | ความชัดเจนเข้าใจง่ายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม |
4. Comparability | ข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงาน |
5. Completeness | ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล |
6. Sustainability context | ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ |
7. Timeliness | ขอบเขตของเวลาในการรายงาน |
8. Verifiability | ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ |
กระบวนการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญแบบทวิสารัตถภาพ
บริษัทมีกระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality Assessment) ที่พิจารณาผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) และพิจารณาความเสี่ยงและโอกาสต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Financial Materiality) ซึ่งเป็นการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนแบบ “ทวิสารัตถภาพ” (Double Materiality Assessment) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
การระบุและประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง | |
---|---|
1. การเชื่อมโยงประเด็นความยั่งยืนกิจกรรมทางธุรกิจ | บริษัทได้ศึกษาและทำความเข้าใจกิจกรรมทางธุรกิจในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้เห็นภาพรวมของการดำเนินงานและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งระบุผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน และผู้ถือหุ้น จากนั้นได้วิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม เชื่อมโยงประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจเข้ากับกิจกรรมทางธุรกิจ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องกับแนวโน้มของโลก (Global Trends) และประเด็กสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรมทางธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า |
2. การระบุผลกระทบจากประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะเกิด |
พิจารณาบริบทและผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืนอย่างรอบด้าน โดยครอบคลุมประเด็นที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น (Actual & Potential Impact) ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) ทั้งในมิติทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ (Positive & Negative Impact) พร้อมพิจารณาผลกระทบในระบะสั้นและระยะยาว (Short Term & Long Term Impact) รวมถึงประเมินความสามารถในการฟื้นฟูและเยียวยาผลกระทบ (Irreversible & Reversible Impact) โดยประเด็นด้านความยั่งยืนเหล่านี้ได้รับการพิจารณาอย่างสอดคล้องกับลักษณะการดำเนินธุรกิจและบริบทเฉพาะขององค์กร ผ่านการสัมภาษณ์และการเก็บผลสำเร็จ (BHC และ Online Questionnaire) จากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร นอกจากนี้ บริษํทดำเนินการประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Financial Materiality) เพื่อระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความยั่งยืน โดยการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญแบบ “ทวิรัตถภาพ” (Double Materiality Assessment) โพิจารณาทั้งผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษํทที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการคำนึงถึงปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อผลประกอบการของบริษัท |
3. การประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ |
บริษัทได้นำประเด็นด้านความยั่งยืนที่ระบุผลกระทบไว้ในขั้นตอนที่ 2 มาพิจารณาร่วมกับลักษณะการดำเนินธุรกิจและบริบทขององค์กร เพื่อประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impact Materiality) โดยใช้เกณฑ์ประเมินระดับความรุนแรง (Scale) ขอบเขต (Scope) ความสามารถในการเยียวยาหรือฟื้นฟู (Remediability) และโอกาสที่จะเกิดผลกระทบ (Likelihood) รวมถึงประเมินความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ (Financial Materiality) ประกอบกับผลสำรวจจากผู้มีส่วนได้เสีย จากนั้น บริษัทได้จัดทำประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานตรวจประเมินด้านความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืนองค์กร คณะประเมินความเสี่ยงองค์กร และคณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น คณะกรรมการบริหาร (Executive Committee) และคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (Executive Officer) เพื่อประเมินระดับความรุนแรงผลกระทบ (Impact Rating Scale) และโอกาสในการเกิด (Probability Rating Scale) ก่อนจะนำมาจัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัท |
การพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญสำหรับจัดทำรายงานความยั่งยืน | |
4. การจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญและการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |
บริษัทนำผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในขั้นตอนที่ 3 มาวิเคราะห์และทบทวน เพื่อจัดลำดับประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินงาน พร้อมทั้งพิจารณาความเชื่อมโยงและความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร นอกจากนี้ บริษัทยังมีกระบวนการทดสอบประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ (Material Testing) โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมอาหาร (Expert Testing) เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจ โดยผลจากการทดสอบจะถูกนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนความยั่งยืน (Sustainability Development Subcommittee) คณธกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริษัท (Board of Directors) เพื่อรับรอง (Endorsement Process) การจัดลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึงอิทธิพลต่อการประเมินและการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่ไปกับความสำคัญต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่แวดล้อม และสิทธิมนุษยชน |
ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านความยั่งยืน
ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ซีพี ออลล์ กำลังเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนหลายประการ แต่ในขณะเดียวกันก็มีโอกาสอีกมากมายในการสร้างผลกระทบเชิงบวกและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว การให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ และการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นปัจจุบัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จและความยั่งยืนให้กับ ซีพี ออลล์ ในอนาคต ดังนี้

ปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบาย แต่หลังจากผู้บริโภคใช้งานแล้ว มักจะกลายเป็นขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีโลโก้ของบริษัท ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งจำเป็น

ประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำมากขึ้นเป็นหนึ่งในความเสี่ยง ภาคธุรกิจต้องปรับระบบดำเนินงานและโครงสร้างในกระบวนการผลิต ซึ่งอาจนำมาซึ่งต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าอาจได้รับผลกระทบน้อยจากผู้บริโภคสำหรับตลาดภายในประเทศ แต่สำหรับตลาดโลกการส่งออกและข้อกำหนดระหว่างประเทศให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำอย่างมีนัยสำคัญ

การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นปัญหาที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ซีพี ออลล์ ควรให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาด การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

บุคลากรที่มีความสามารถเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ การดึงดูด พัฒนา และรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซีพี ออลล์ ควรลงทุนในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และให้โอกาสในการเรียนรู้และเติบโต

การอนุรักษ์ธรรมชาติและระบบนิเวศเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ซีพี ออลล์ ควรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ สนับสนุนการทำเกษตรที่ยั่งยืน และลดผลกระทบต่อควาามหลากหลายทางชีวภาพ

ห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพและมีความรักผิดชอบเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ซีพี ออลล์ ควรให้ความสำคัญกับการเลือกคู่ค้าที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรักผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้แรงงานที่เป็นธรรม และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกขึ้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการจัดการวัตถุดิบอย่างยั่งยืนในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร มีความสำคัญกับความยั่งยืน ทั้งในส่วนต้นน้ำและปลายน้ำ ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

ประเด็นการสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ (Social Impact and Economic Contribution) ผู้ประกอบการรายย่อยยังมีความเหลื่อมล้ำ เรื่องความพร้อมในการได้รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร การสนับสนุนกระบวนการเกษตรและกระบวนการผลิต ให้แก่ ธุรกิจขนาดเล็ก (Local SMEs) และวิสาหกิจชุมชนให้มีความพร้อมและสามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัยและยั่งยืน

การประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ
ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ | ผลกระทบต่อสังคม/สิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนคุณค่าทางธุรกิจ | ผลกระทบที่เกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น (เชิงบวก/เชิงลบ) | การขับเคลื่อนทางธุรกิจ (ความเสี่ยง/โอกาส) |
---|---|---|---|
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ |
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีควบคู่ไปกับกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทสามารถลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตอบสนองความคาดหวังของสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรทางธุรกิจที่ดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ เช่น การสร้างนวัตกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ การใช้พลังงานทดแทน เป็นต้น |
![]() |
โอกาส |
ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน |
การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวีน ช่วยลดความรุนแรงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานทดแทน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคม เป็นต้น ทั้งนี้การบริหารจัดการพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการผลิตและการทำกำไรลดลง รวมถึงเป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในการกระจายหรือเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่สะอาดบนพื้นที่โดยรอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท |
![]() |
โอกาส |
การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน |
การดำเนินธุรกิจด้านการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง ที่คำนึงถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมลดการใช้ การนำกลับคืน (take-back systems) และการนำไปรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกได้อย่างเหมาะสมในองค์กร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการนำนวัตกรรมเพื่อากรจัดการขยะอย่างยั่งยืนเข้ามาปรับใช้ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์จากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่วัสดุไม่ใช่พลาสติก เป็นต้น ช่วยลดผลกระทบลบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้การไม่คำนึงถึงคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ การย่อยสลายของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ นำไปสู่ปัญหาขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งผลต่อความปลอดภัยด้านโภชนาการของมนุษย์ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงผลต่อต้นทุนในการดำเนินการ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ทั้งนี้ความไม่ต่อเนื่องในการต่อยอดโครงการเพื่อลดผลกระทบลบ ในการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนอาจทำให้สังคม ชุมชน รวมถึงนักลงทุนตั้งข้อสงสัยในความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท |
![]() ![]() |
โอกาส/ความเสี่ยง |
การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน |
การบริหารจัดการด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์และการจัดการขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็น รวมถึงการสูญเสียอาหารในขั้นตอนขนส่ง การจัดจำหน่าย และการจัดเก็บอาหารรวมถึงการบริหารจัดการที่สามารถนำของเสียมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยบรรเทาปัญหาขยะอาหาร รวมถึงลดต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้จำนวนขยะอาหารเพิ่มขึ้น เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทในการจัดการขยะสูงขึ้น |
![]() |
ความเสี่ยง |
การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ |
การดำเนินธุรกจิอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนการสร้างงาน มอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ส่งผลให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ได้รับการยอมรับจากชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินกิจกรรม นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุสให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตและมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับภาคประชาสังคม รวมถึงการเข้าช่วยเหลือสังคมผ่านการซื้อสินค้าภายในร้าน 7-Eleven เช่น การบริจาค M-Stamp แทนเงินสด เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม การบริจาคผ่านการซื้อสินค้าในโครงการ “Chef Cares” เป็นต้น |
![]() |
โอกาส |
การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี |
การบริหารจัดการตลอดกระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย การตระหนักถึงความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปลอยภัย และได้มาตรฐาน สามารถตรวจสอบกลับได้ ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการส่งมอบบริการที่เข้าถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนสังคม เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ลดโซเดียม ลดน้ำตาล ลดไขมัน ไขมันทรานส์ เป็นต้น ทั้งนี้การไม่ตระหนักถึงความปลอดภัของผู้บริโภค และการขาดกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์รวมถึงองค์กร ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมูลค่าความเสียหายจากการถูกฟ้องร้อง รวมถึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรอีกด้วย |
![]() ![]() |
โอกาส/ความเสี่ยง |
ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต |
หากบริษัทมีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่โปร่งใส และไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิมนุษยชน ย่อมส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ลดความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร และลดความสนใจของนักลงทุน ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีจากการละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชน เช่น การทุจริต คอร์รัปชัน การเลือกปฏิบัติ และการละเมิดสิทธิแรงงาน |
![]() |
ความเสี่ยง |
แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย | การจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐาน ก่อให้เกิดความเสี่ยงร้องแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานในทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่งไปจนถึงการบริการลูกค้าหน้าร้าน 7-Eleven ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีความหลากหลายและส่งผลต่อธุรกิจในหลายด้าน อาทิ ภาระค่าาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าชดเชย และค่าปรับต่างๆ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้ผลผลิตลดลง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนแรงงานและการขาดสภาพคล่องในการดำงาน รวมถึง สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยย่อมส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในการทำงานและอาจนำไปสู่การลาออกของพนักงานที่มีความสามารถ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัท นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven อีกด้วย |
![]() |
ความเสี่ยง |
การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ |
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสี่ยงด้านต้นทุน การขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินงานของบริษัท เพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไร และการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธฺภาพ สามารถช่วยลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ เช่น การใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้า ช่วยลดมลพิษที่อาจเกิดต่อชุมชนได้ เป็นต้น ทั้งนี้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนเกิดความเสี่ยงในการหยุดชะงักของธุรกิจ ทำให้การผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพ การส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภคเกิดความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท อาจทำให้เกิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สูงขึ้นจากความคาดหวังของสังคมและนักลงทุน |
![]() ![]() |
โอกาส/ความเสี่ยง |
การพัฒนาทุนมนุษย์ |
การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจต้องพึ่งพอแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากขึ้น เพื่อรับรองความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย แรงงานจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการเรียนรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในกระบวนการทำงาน นอกจากนี้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก อาจทำให้องค์กรต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงขึ้นในการจัหาแรงงานที่เหมาะสมกับความต้องการ |
![]() |
ความเสี่ยง |
การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
การสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาแก่สังคม ชุมชน และกลุ่มเปราะบาง เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ช่วยให้สามารถขเ้าถึงตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศ นอกจากนี้ การกระจายโอกาสทางการศึกษาไปยังชุมชนยังช่วยส่งเสริมชื่อเสียงและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กรอีกด้วย |
![]() |
โอกาส |
ผลการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญปี 2567
ประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ (Significant Material Topics)
สิ่งแวดล้อม
– การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร
– การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
– การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน
สังคม
– การสร้างคุณค่าทางสังคม และการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ
– สนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
– ธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริต
– แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล)
– การพัฒนาทุนมนุษย์
– การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ
ประเด็นความยั่งยืนพื้นฐาน (Foundational Material Topics)
สิ่งแวดล้อม
– การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวาศและความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคม
– การเข้าถึงอาหารและน้ำที่ปลอดภัย และสุขภาวะที่ดี
– ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย
ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
– นวัตกรรมและการสร้างคุณค่า
ข้อมูลติดต่อ
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ กรุณาติดต่อ สำนักบริหารความยั่งยืนองค์กร สายงานพัฒนาความยั่งยืน
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
สำนักงานใหญ่: 313 อาคารซีพีทาวเวอร์ ชั้น 24 ถ.สีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500