ใส่ใจทุกสาระสำคัญเพื่อความยั่งยืน
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) จัดทำรายงานความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลการดำเนินงาน ภายใต้นโยบายและกรอบยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้รับทราบ ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2565 ครอบคลุม 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ในปี 2565 บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ 852,605 ล้านบาท ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดรายได้จากธุรกิจในกลุ่มบริษัท ซึ่งได้มีการเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี 2565 หน้า 2
รายงานฉบับนี้ถูกกำหนดเนื้อหารายงานบนพื้นฐานการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวมและประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อความยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ภายใต้มุมมองและการประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
โดยมีกรอบในการจัดทำรายงานสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำรายงานความยั่งยืนในระดับสากลฉบับปี 2565 (GRI Sustainability Reporting Standards 2021: GRI Standards) และแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของกลุ่มธุรกิจอาหาร (The Food Processing Sector Supplement) พร้อมกันนี้ บริษัทมอบหมายให้หน่วยงานรับรองอิสระที่มีความน่าเชื่อถือ ได้แก่ บริษัท แอลอาร์คิวเอ (ประเทศไทย) จำกัด [LRQA (Thailand) Limited] เป็นผู้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเปิดเผยข้อมูลของรายงานฉบับนี้
สำหรับปี 2565 ชุดข้อมูลที่ได้รับการทวนสอบประกอบด้วย GRI 302-1, GRI 302-3, GRI 303-3, GRI 305-1, GRI 305-2, GRI 305-3 (Purchased good and services, Upstream transportation and distribution, Business travel), GRI 305-4, GRI 306-3, GRI 306-4, GRI 306-5, GRI 403-9, GRI 403-10, FPSS FP6, FP7, และ GRI 405-2
กลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ
กลุ่มธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภค
กระบวนการกำหนดเนื้อหาในรายงาน
บริษัทจัดทำรายงาน โดยพิจารณาและประเมินผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มขององค์กร ครอบคลุมผลกระทบเชิงบวกและผลกระทบเชิงลบ พร้อมทั้งพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญจากปัจจัยภายในของกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยภายนอกจากแนวโน้มโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน รวมไปถึงดัชนีด้านความยั่งยืนชั้นนำต่างๆ ของโลก เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์กรตรงตามแนวทางการรายงานข้อมูล (Reporting Principles) 8 แนวทาง ดังนี้
Global Reporting Initiative Standards (GRI) | |
---|---|
1. Accuracy | ความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผย |
2. Balance | ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ |
3. Clarity | ความชัดเจนเข้าใจง่ายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม |
4. Comparability | ข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบได้เพื่อแสดงถึงแนวโน้มของการดำเนินงาน |
5. Completeness | ความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล |
6. Sustainability context | ความสมดุลของผลการดำเนินงานทั้งเชิงบวกและเชิงลบ |
7. Timeliness | ขอบเขตของเวลาในการรายงาน |
8. Verifiability | ความสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ |
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสีย ในปี 2565 บริษัทได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการและขั้นตอนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
การระบุและประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง | |
---|---|
1. การเชื่อมโยงประเด็นความยั่งยืนกิจกรรมทางธุรกิจ | พิจารณากิจกรรมการดำเนินธุรกิจ เพื่อกำหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า พร้อมทั้งเชื่อมโยงประเด็นด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ รวมทั้งประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับกิจกรรมการดำเนินธุรกิจ ผ่านการพิจารณาผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม |
2. การระบุผลกระทบจากประเด็นความยั่งยืนที่เกิดขึ้นและแนวโน้มที่จะเกิด | ระบุผลกระทบจากประเด็นความยั่งยืน ทั้งประเด็นที่เกิดขึ้นแล้วและมีแนวโน้มที่จะเกิด โดยกำหนดเปิดผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบ รวมทั้งพิจารณาผลกระทบในกระเด็นด้านความยั่งยืนต่างๆ ว่าเป็นผลกระทบในระยะสั้นหรือผลกระทบระยะยาว พร้อมทั้งกำหนดความสามารถในการฟื้นฟูและเยียวยา ซึ่งประเด็นความยั่งยืนที่ถูกระบุผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจะถูกพิจารณาขั้นต้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการประเมินความรุนแรงและโอกาสในการเกิดผลกระทบของแต่ละประเด็นความยั่งยืนในขั้นตอนต่อไป |
3. การประเมินผลกระทบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ | บริษัทนำประเด็นความยั่งยืนที่ได้รับการทบทวนขั้นต้นจากผู้เชี่ยวชาญ และพิจารณาจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบจากแต่ละประเด็นความยั่งยืนในแต่ละห่วงโซ่คุณค่า เพื่อจัดทำแบบสอบถามให้เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินตามระดับความรุนแรง (Scale) ของเขต (Scope) และความสามารถในการเยียวยาหรือการฟื้นฟู (Remediability) รวมทั้งระดับโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Likelihood) เพื่อประเมินและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน |
การพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญสำหรับจัดทำรายงานความยั่งยืน | |
4. การจัดลำดับประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญและการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง |
บริษัทนำผลการประเมินจากแบบสอบถามที่มีส่วนร่วมในการประเมินของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมาวิเคราะห์ เพื่อหาประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อความคาดหวังและมีผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งนำประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียพิจารณาทบทวนความเชื่อมโยงและประเด็นสำคัญที่เหมาะสมต่อลักษณะการดำเนินธุรกิจขององค์กร ภายใต้กระบวนการทดสอบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ (Meterial Testing) โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และความสามารถในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ (Retail) กลุ่มค้าส่งและค้าปลีกสินค้าอุปโภค บริโภค (Wholesale and Retail) และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Related Business) โดยพิจารณาจากความเชื่อมโยงและแนวโน้มโลก ตลอดจนดัชนีความยั่งยืนชั้นนำของโลก เช่น ดัชนีความยั่งยืน ESG จาก Morgan Stanley Capital International (MSCI) ดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Down Jones Sustainability Indices: DJSI) แนวโน้มของโลก (Global Trend) และคณะกรรมการว่าด้วยมาตรฐานทางบัญชีความยั่งยืน (Sustainability Accounting Standards Board: SASB) เป็นต้น ผลจากกระบวนการทดสอบประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญ จะถูกสำเสนอต่อคณะกรรมการบริหาร (ERxecutive Committee: Ex.Com) ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง เพื่อรับรองการจัดลำดับความสำคัญ ภายใต้การคำนึงระดับอิทธิผลต่อการประเมินและการจัดสินใจของผู้มีส่วนได้เสียควบคู่ไปกับระดับความสำคัญที่มีนัยต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม ธรรมาภิบาลและเศรษฐกิจ รวมถึงสิทธิมนุษยชน |
การประเมินผลกระทบของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนคุณค่าทางธุรกิจ
ซีพี ออลล์ ประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ จาก 2 มุมมอง
- ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
- ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม อันเป็นผลมาจากกิจกรรมทางธุรกิจ
ผลการประเมินผลกระทบของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ จาก 2 มุมมอง | |||
---|---|---|---|
ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ | ผลกระทบต่อสังคม/สิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนคุณค่าทางธุรกิจ | เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ/ เชิงบวก |
1. ธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต | การกำกับดูกิจการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่น ดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ตลอดจนเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กิจการ บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่โปร่งใส และไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิมนุษยชน ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ลดความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร และลดความสนใจของนักลงทุน ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย |
เกิดขึ้นแล้ว | เชิงลบ |
2. แนวปฏิบัติการใช้แรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน) | การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยที่มีประสิทธิภาพอาจลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถของบริษัท และเพิ่มความมั่นใจของพนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินงานของบริษัท ในขณะที่การจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย ที่ไม่ดีอาจทำให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักในกระบวนการผลิต ส่งผลต่อตุ้นทุนแรงงานเนื่องจากผลผลิตที่ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของพนักงาน เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจากค่าปรับ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัท นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven |
เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ |
3. การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ | การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน สามารถลดความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างความเชื่อมั่นต่อคู่ค้าทางธุรกิจในการดำเนินงานของบริษัท เพิ่มขีดความสามารถในการทำกำไร การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เกิดความเสี่ยงในการหยุดชะงักของธุรกิจ ทำให้การผลิตสินค้าไม่ได้คุณภาพ การส่งมอบสินค้าไปยังผู้บริโภคเกิดความล่าช้า ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการผลิตและการขนส่ง รวมถึงส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท อาจทำให้เกิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่สูงขึ้นจากความคาดหวังของสังคม และนักลงทุน |
เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ |
4. การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยีควบคู่ไปกับกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทสามารถลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ตอบสนองความคาดหวังของสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรทางธุรกิจที่ดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ การไม่รับรู้ถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในความผันผวนของราคาวัตถุดิบซึ่งนำไปสู่การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้นจากการที่ธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ค่าธรรมเนียม ภาษีคาร์บอน ค่าดำเนินการจากการป้องกันเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ นอกจากนี้การดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของผู้มีส่วนได้เสียตลอด ห่วงโซ่คุณค่า อาทิ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน และ ชุมชนรอบข้างในระยะยาว รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมต่อคู่ค้าในการจัดหา รวมถึงส่งมอบสินค้าและวัตถุดิบ |
เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ |
5. ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและทรัพยากร | การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ช่วยลดความรุนแรงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ การบริหารจัดการพลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการผลิตและการทำกำไรลดลง รวมถึงเป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิชุมชนในการกระจายหรือเข้าถึงทรัพยากรน้ำที่สะอาดบนพื้นที่โดยรอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท |
เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ |
6. การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน | การดำเนินธุรกิจด้านการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง ที่คำนึงถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมการลดการใช้ การนำกลับคืน (take-back systems) และการนำไปรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกได้อย่างเหมาะสมในองค์กร สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายใน และนอกองค์กร ทั้งนี้ การไม่คำนึงถึงคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ การย่อยสลายของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ นำไปสู่ปัญหาขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งผลต่อความปลอดภัยด้านโภชนาการของมนุษย์ และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ รวมถึงส่งผลต่อต้นทุนในการดำเนินการ ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร |
เกิดขึ้นแล้ว | เชิงลบ |
7. การจัดการของเสียและอาหารส่วนเกินอย่างยั่งยืน | การบริหารจัดการด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และการจัดการขยะอาหารที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดปัญหาขยะอาหารที่เกิดขึ้นจากการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็น รวมถึงการสูญเสียอาหารในขั้นตอนขนส่ง การจัดจำหน่าย และการจัดเก็บอาหาร รวมถึงการบริหารจัดการที่สามารถนำของเสียมาใช้เป็นวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยบรรเทาปัญหาขยะอาหาร รวมถึงลดต้นทุนการดำเนินของบริษัท ทั้งนี้ การบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพส่งผลให้จำนวนขยะอาหารเพิ่มขึ้น เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทในการจัดการขยะสูงขึ้น |
เกิดขึ้นแล้ว | เชิงลบ |
8. การสร้างคุณค่าทางสังคมและการสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ | การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สนับสนุนการสร้างงาน มอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ส่งผลให้เกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ได้รับการยอมรับจากชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินกิจกรรม นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตและมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับภาคประชาสังคม หากบริษัทดำเนินกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน อาจนำไปสู่การละเมิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนโดยรอบ รวมถึงเกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและองค์กร อาจส่งผลต่อฉันทานุมัติในการดำเนินธุรกิจ (License to Operate) และภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท |
เกิดขึ้นแล้ว/ มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น |
เชิงลบ |
9. การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี | การบริหารจัดการตลอดกระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดจำหน่าย การตระหนักถึงความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน ส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการส่งมอบบริการที่เข้าถึงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนสังคม ทั้งนี้ การไม่ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค อาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคระยะยาวจากโรค NCDs นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายมูลค่าความเสียหายจากการถูกฟ้องร้อง รวมถึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร อีกด้วย |
เกิดขึ้นแล้ว | เชิงลบ |