ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน





ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปี 2564
ความเสี่ยงและโอกาส
พลังงานเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิตอย่างปฏิเสธไม่ได้ในปัจจุบันและยังเป็นรากฐานสำคัญต่อกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐาน อาทิ พลังงานในเครื่องใช้ไฟฟ้า พลังงานในการคมนาคม พลังงานเพื่อการผลิตและการบริการ ทั้งนี้ ความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอาศ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวมวล เป็นต้น นอกจากนี้ น้ำคือหนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งสามารถเป็นแหล่พลังงานหมุนเวียนที่สำคัญในอนาคต บริษัทจึงมุ่งบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงการใช้น้ำจากแหล่งที่มีความเสี่ยงและขาดแคลน ตลอดจนสนับสนุนโปรแกรมการเพิ่มประสิทธิภาพและอนุรักษ์น้ำ เพื่อลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร อีกทั้งลดความรุนแรงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 25
ควบคุมการเติบโตการใชัพลังงานรวมสิทธิ (Final Energy) ให้ลดลงเปรียบเทียบกรณีปกติ (Business-as-usual, BAU)

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2564
พลังงานที่ใช้ทั้งหมด (กิกะจูล)
ความเข้มข้นการใช้พลังงานต่อหน่วยรายได้ (กิกะจูลต่อล้านบาท)


ปริมาณการใช้ทั้งหมด (กิกะจูล) จำแนกตามประเภท
ปริมาณพลังงานหมุนเวียน (กิกะจูล)


ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก (กิกะจูล)
ปริมาณพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป (กิกะจูล)


แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานระดับประเทศร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคม ผ่านกลยุทธ์ “เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)” โดยยกระดับการบริหารจัดการด้านลดการใช้พลังงานและใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานให้เป็นเป้าหมายเชิงรุกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งดำเนินโครงการที่หลากหลาย ภายใต้กลยุทธ์ “เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)” ได้แก่ การบริหารจัดการร้านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Store) การดำเนินงานด้านการขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Logistic) การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Packaging) และการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Living) นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินงานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ เพิ่มสัดส่วนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำ รวมถึงการส่งเสริมการตระหนักรู้เรื่องการใช้น้ำภายในองค์กรและชุมชนโดยรอบ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้มีรายงานจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) ว่ามีการลดใช้พลังงานทั่วโลกถึงร้อยละ 6 ในช่วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่ละบริษัทยังคงมุ่งดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเดิ่มขีดความสามารถการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร
การบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน
บริษัทมุ่งดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์ “เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)” โดยได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานลดลง สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินการของบริษัทได้อีกด้วย ในปี 2564 มีการดำเนินการผ่านโครงการสำคัญ ดังนี้
ขยายผลการปรับปรุงระบบ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในร้าน 7-Eleven

ลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งและการกระจายสินค้า
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นทำให้ระบบการขนส่งและการกระจายสินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Logistic) มากขึ้นโดยมุ่งเน้นในเรื่องของการจัดการพลังงานเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงในการขนส่งและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กลยุทธ์ “เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)” โดยได้กำหนดกลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม ในปี 2564 ดำเนินการผ่านโครงการหลัก ดังนี้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อมูลอื่นๆ
ผลการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน
GRI Standared | รายการ | หน่วย | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
---|---|---|---|---|---|---|
302-1 (e) | ปริมาณพลังงานที่ใช้ทั้งหมด | กิกะจูล | 8,390,153.22 | 9,149,268.02 | 9,359,865.15 | 9,298,006.22 |
ปริมาณพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป | กิกะจูล | 501,239.88 | 544,162.86 | 556,226.90 | 546,715.39 | |
การเผาไหมอยู่กับที่ | กิกะจูล | 370,720.89 | 414,339.03 | 424,515.91 | 417,164.57 | |
– น้ำมันเตา | กิกะจูล | 23,384.76 | 0 | 0 | 0 | |
– น้ำมันดีเซล | กิกะจูล | 1,644.70 | 7,980.44 | 5,714.41 | 8,141.93 | |
– ก๊าซปิโตรเลียมเหลว | กิกะจูล | 292,398.72 | 348,141.34 | 355,268.85 | 347,682.66 | |
– ก๊าซธรรมชาติ | กิกะจูล | 53,292.70 | 58,217.25 | 63,532.65 | 61,339.98 | |
การเผาไหมที่มีการเคลื่อนที่ | กิกะจูล | 130,519.00 | 129,823.82 | 131,710.99 | 129,550.82 | |
– น้ำมันดีเซล | กิกะจูล | 115,852.21 | 114,460.20 | 117,073.99 | 115,181.47 | |
– น้ำมันเบนซิน | กิกะจูล | 14,666.67 | 15,363.62 | 14,626.19 | 10,840.60 | |
– ก๊าซปิโตรเลียมเหลว | กิกะจูล | 0 | 0 | 0 | 3,563.22 | |
– ก๊าซธรรมชาติ | กิกะจูล | 0.12 | 0.0032 | 0.82 | 1.53 | |
302-1 (b) | ปริมาณพลังงานหมุนเวียน | กิกะจูล | 15,482.29 | 15,102.14 | 16,195.78 | 13,442.01 |
– พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ | กิกะจูล | 2,759.40 | 2,798.50 | 1,796.64 | 1,796.60 | |
– พลังงานความร้อนใต้พิภพ | กิกะจูล | 12,722.89 | 12,303.64 | 14,399.14 | 11,645.41 | |
302-1 (c) | ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก | กิกะจูล | 7,873,431.05 | 8,590,003.02 | 8,787,442.48 | 8,737,848.82 |
– พลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ | กิกะจูล | 7,872,737.87 | 8,578,506.85 | 8,699,470.97 | 8,568,669.80 | |
– พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ | กิกะจูล | 893.18 | 11,496.18 | 87,971.51 | 169,179.02 | |
302-3 (a) | ความเข้มข้นการใชัพลังงานต่อหน่วยรายได้ | กิกะจูลต่อล้านบาท | 15.89 | 16.02 | 17.12 | 15.82 |