ความยั่งยืน

การบริหารจัดการนวัตกรรม

นวัตกรรมและการสร้างคุณค่า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์

ผลงานนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และการปรับปรุงกระบวนการที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจ

โครงการ เปย์ง่าย ขายคล่อง

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


โครงการพัฒนาและขยายแพลตฟอร์มธุรกิจจากออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ (Online to Offline: O2O) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

โครงการร่วมมือภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

โครงการนวัตกรรมตู้ Open Showcase ประหยัดพลังงาน

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

SDG 3 สร้างหลักประกันว่าทุกมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

3.3 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการปกป้องความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการ สาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพและเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสำหรับทุกคน

8.2 บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในะดับที่สูงขึ้นผ่านการทำให้หลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นในภาคส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและใช้แรงงานเข้มข้น
8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสิรมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน
8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนแบบ
“ทวิสารัตถภาพ”

มิติด้านความยั่งยืน

  • มิติธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจ

ระดับผลกระทบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้
ในการดำเนินธุรกิจ

  • พื้นฐาน (Foundation Material Topics)

เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว และความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

รายได้ที่มาจากนวัตกรรมด้านสินค้า บริการ และธุรกิจใหม่ ตลอดจนนวัตกรรมด้านกระบวนการ

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2567

ผลงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรม

มูลค่านวัตกรรมจากผลงานที่ได้รับรางวัล

จำนวนผลงานจากศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม

    2565 2566 2567
จำนวนนวัตกร (รายสะสม)
12520
16507
18074
จำนวนสิทธิบัตรสะสม
16
16
18
จำนวนอนุสิทธิบัตรสะสม
10
15
24

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนา

ความเสี่ยงและโอกาส


นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคมุ่งเน้นการเข้าถึงสินค้าและบริการที่รวดเร็ว และสะดวกสบายมากขึ้น ช่องทางออนไลน์กลายเป็นตัวเลือกหลักในการซื้อสินค้าและบริการ ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงกลายเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความยั่งยืนของธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีก มากไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงยังส่งผลกระทบต่อธุรกิจรูปแบบดั้งเดิม (Traditional Business Models) โดยทำให้เกิด “การหยุดชะงักจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ (Digital Disruption)” ซึ่งอาจนำไปสู่การลดจำนวนพนักงานหรือการปิดตัวของธุรกิจบางประเภทได้ ทั้งนี้ บริษัทที่เป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีก จำเป็นต้องยกระดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน พร้อมทั้งสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดการค้าออนไลน์

นอกจากนี้ นวัตกรรมยังเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความแตกต่าง และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บริษัทจึงจำเป็นต้องลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงมาตรฐานครองชีพที่เหมาะสม เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยา รักษาโรค และการบริการสาธารณะ เป็นต้น การพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมจึงครอบคลุมทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคและองค์กร

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งเน้นในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยีที่รวดเร็ว โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่หันมาใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีในหลากหลายมิติอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จในอนาคต เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Research and Development)

บริษัท ซีพี ออลล์ ดำเนินงานวิจัย พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านอาหารที่ทันสมัยและได้คุณภาพ พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาด และผลักดันการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าแก่สังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทมีศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจำนวน 2 แห่ง เพื่อรองรับการดำเนินงานดังกล่าว

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอาหาร บริษัท ซีพี ฟู้ด จำกัด

บริษัท ซีพี ฟู้ด จำกัด ดำเนินการวิจัยและพัฒนาทางด้านอาหาร โดยใช้เทคโนโลยีอาหารที่ทันสมัย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ด้านเทคโนโลยีอาหาร โดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในหลากหลายมิติที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมุ่งเน้นผู้ช่วยด้านต่าง ๆ และผู้ที่ต้องการโภชนาการเฉพาะเจาะจง รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพในทางที่ดีขึ้น ดำเนินการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์โดยทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development: NPD) เพื่อตอบสนองความท้าทายต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งด้านอาหารสำเร็จรูปและอาหารพร้อมปรุง เพื่อช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารทั้งภาครัฐและเอกชน ปัจจุบัน ซีพี ฟู้ด เป็นศูนย์กลางข้อมูลความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา ให้บริการที่เป็นที่ปรึกษาและวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ และออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงสรรหาวัตถุดิบ พร้อมปรับปรุงกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นศูนย์กลางความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน เป็นศูนย์กลางความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งในและต่างประเทศ ในพื้นที้นวัตกรรมแบบเปิด (Food Technology Exchange Center: FTEC) ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ปี 2567 มีตัวอย่างการดำเนินงาน ดังนี้

  • ความร่วมมือกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งการพัฒนาประเทศไทย (วว.) ศึกษาแนวโน้มการนำส่วนคัดทิ้งของกะเพรามาพัฒนาเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและสมุทรไพรทางเลือกสารสกัดที่ออกฤทธิ์ อาทิผลิตภัณฑ์สเปรย์สำรหับบรรเทาอาการอักเกษบในช่องปากและลำคอจากน้ำมันใบกระเพรา การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากส่วนต่างๆ ของกระเพราโดยปราศจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการควบคุมคุณภาพข้าวผิดกระเพราหมูให้ยังคงรักษากลิ่นและใช้เป็นตัวบ่งชี้และควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบ และนำมาผลิตเป็นสมุทรไพรทางเลือกป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)
  • การวิจัยและพัฒนาอาหารสำเร็จรูปเหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงวัน (Food for Age Group) เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและโภชนาการที่ดีสำหรับผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม ได้แก่ อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติร้อยละ 100 ไม่แต่งรส กลิ่น สีสังเคราะห์และวัตถุกันเสีย มีการกระจายตัวของพนักงานที่เหมาะสม โซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อ 100 กรับของอาหาร

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

ผลงานวิจัยและพัฒนา

งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา

ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานบริหารผลิตภัณฑ์

ดำเนินงานด้านการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการอาหาร รวมถึงการบริหารจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักสุขอนามัยและสุขาภิบาลที่ดี ภายใต้แนวทางที่สมดุลทั้งห่วงโซ่อาหาร และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังให้คำปรึกษาด้านวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ โดยมีบทบาทหลัก ดังนี้

  • พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งคำนึงถึงทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่การผลิต การป้องกันการปนเปื้อน การยืดอายุการเก็บรักษา การรักษาคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนถึงการกำจัด เพื่อลดและป้องกันผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดหาระบบอาหารและสิ่งอื่น ๆ
  • พัฒนาสูตรอาหารและกระบวนการผลิตในระดับอุตสากรรมครอบคลุมกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายใต้แบรนด์ของบริษัท โดยยึดหลักโภชนาการและสุขอนามัยของอาหาร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2567 มีตัวอย่างผลงานการวิจัยและพัฒนา อาทิ การพัฒนาสารให้ความหวานจากธรรมชาติสำเร็จรูปที่รสชาตใกล้เคียงน้ำตาลมากที่สุด ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารผ่านเกณฑ์สัญลักษ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” และการลดพลังงานในเมนูสินค้าตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

ผลงานวิจัยและพัฒนาสินค้า

งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาปีละกว่า

ต่อยอดสินค้านวัตกรรม เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ

ในปี 2567 บริษัทตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเติบโต และยกระดับความสามารถของ SMEs ในการพัฒนานวัตกรรมและสรรหาสินค้าภัณฑ์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการพัฒนาสูตรต่อเนื่อง “สลัดโรล อร่อยครบจบในกล่องเดียว”

ทีมนักวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตสลัดโรล ซึ่งเป็นสินค้าสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ให้มีอายุสินค้านานขึ้น ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลัการเก็บเกี่ยว (Postharvest) ที่ช่วยคงความสดของผักสลัด ร่วมกับการคิดค้นสารสุตรเฉพาะสำหรับแช่แป้ง (Only at 7-Eleven) ช่วยคงความนุ่มของแป้ง รวมทั้งการใช้วัตถุดิบที่ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้สินค้ามีอายุวางนำหน่ายได้นานถึง 5 วัน และผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สะอาด สะดวก ปลอดภัยในการบริโภค ตลอดจนช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับ SMEs

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ลูกค้า

เพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มทางเลือกผู้บริโภค

บริษัท

เพิ่มยอดขายกลุ่มสินค้า Ready to Eat

เกษตรกร

ส่งเสริม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ยกระดับเกษตรกรรมของประเทศ

ผลลัพธ์โครงการ

เพิ่มโอกาสการขายสินค้า โดยการยืดอายุสินค้าเพิ่ม

เพิ่มสาขาวางจำหน่าย

มูลค่าเพิ่มที่ได้จากโครงการ

แนวคิดนวัตกรรม

ค้นหา คัดเลือก ควบคุม

ค้นหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม/คัดเลือกวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพ/ควบคุมการดูแลให้เป็นไปตามกำหนด



เพื่อวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน

เทคโนโลยี

Pre-Cooling/เทคนิคการตัดแต่ง/Hydro-Cooling/ลดเชื้อจุลินทรีย์/เพิ่มความแข็งแรงของเซลล์/ลดการเกิดอาหารสีน้ำตาล/Modify Atmosphere

เพื่อคงความสดของผัก

นวัตกรรม

ชนิดของแผ่นแป้ง/ส่วนประกอบของแผ่นแป้ง/สารแช่แผ่นแป้ง




เพื่อคงความนุ่มชุ่มชื่นของแผ่นแป้ง

ทักษะ และเทคนิค

การตัดแต่ง/การวางวัตถุดิบ/การแช่แป้ง/การม้วน/การควบคุมอุณหภูมิ




เพื่อคงคุณภาพของสินค้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

  • เพิ่มยอดขายสินค้าสลัดโรล
  • เพิ่มพื้นที่การวางจำหน่าย
  • สินค้ามีความหลากหลาย

ผลกระทบด้านสังคม

  • สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
  • สร้างอาชีพให้คนในชุมชน
  • ยกระดับมาตรฐานการผลิต

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

  • ประชาชนคนไทยกินของดี สุขภาพดี
  • เพิ่มพื้นที่และพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

คุณค่าทางเศรษฐกิจ

  • เพิ่มยอดขายสินค้าสลัดโรล 200 ล้านบาทต่อปี
  • เพิ่มพื้นที่การวางจำหน่าย 11,170 สาขา

คุณค่าทางสังคม

  • สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 5 ล้านบาทต่อเดือน
  • เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 265 ราย

คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม

  • เพิ่มพื้นที่และพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน รวม 200 ไร่

โครงการ “Help me for Healthy”

บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดหลุมแก้ว) พัฒนาสินค้าต่อยอดเมนูยอดนิยมให้คงความอร่อยโดยมีแนวคิดไม่ใส่ผงชูรส ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ใช้น้ำมันคาโนล่าและวัตถุดิบที่เป็นสูตรเฉพาะ ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้หลัก “High Low No Less” ร่วมกับกระบวนการผลิตสินค้าและพัฒนบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven 446 สาขาทั่วประเทศ สร้างยอดขายกลุ่มสินค้าใหม่ 22.91 ล้านบาทต่อปี

โครงการ อร่อยง่าย พร้อมปรุงในถุงเดียว

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) พัฒนาสินค้าประเภทอาหารชุดพร้อมปรุง โดยใช้ความรู้ทางด้านการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ผนวกกับนวัตกรรมในกระบวนการผลิต คัดเลือกวัตถุดิบที่เหมาะสม ดีต่อสุขภาพ รวมถึงกระบวนการผลิตที่ลดขั้นตอน แต่ยังคงรสชาติและปริมาณที่เหมาะสม ไม่เกินขีดจำกัดอาหาร (Food waste) ปัจจุบันวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ สร้างยอดขายมากกว่า 211 ล้านบาทต่อปี

โครงการ เบอร์เกอร์กำลัง 3

บริษัท ซีพีแรม จำกัด (ลาดหลุมแก้ว) พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตคงคุณสมบัติ ที่ดีของข้าวเหนียวให้คงอยู่หลังการอุ่นด้วยไมโครเวฟเหมือนข้าวหุงใหม่ ที่ยังคงมีความเหนียวนุ่ม หอม ตลอดอายุการเก็บรักษา 11 วัน ปัจจุบันวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven 14,303 สาขาทั่วประเทศ สร้างยอดขายมากกว่า 501 ล้านบาทต่อปี และสามารถลดต้นทุนการผลิตลงร้อยละ 95

โครงการ Collaboration Brand - by Own Brand CP Axtra

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจแม็คโคร ร่วมมือกับแบรนด์ชั้นนำ ร้านอาหารและบุคคลที่มีชื่อเสียง พัฒนา ผลิต และจำหน่ายสินค้าภายใต้ Makro house brand โดยนำจุดแข็ง ด้านชื่อเสียงของแบรนด์ ความสามารถในการผลิตสินค้าภัณฑ์ และการเป็นช่องทางจัดจำหน่ายของลูกค้าผู้ประกอบการรวมพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบัน เน้นโอกาสขยายฐานลูกค้าจาก B2B สู่ B2C ปัจจุบันมีสินค้า 9,837 สินค้า สร้างยอดขายเพิ่ม 44,888 ล้านบาทต่อปี

สร้างสรรค์นวัตกรรมบริการ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ความสะดวกแก่ผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

บริษัทวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และการบริการของผู้บริโภคที่ใช้ช่องทางออนไลน์มากขึ้น โดยบริษัทมุ่งมั่นพัฒนาและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าและบริการให้มีความหลากหลายมากขึ้น พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อขายสินค้าและบริการ ให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคโดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการต่อเนื่อง การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ Online to Offline (O2O)

บริษัทพัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน 7-Eleven บนโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงช่องทางออนไลน์กับออฟไลน์ไร้รอยต่อ ให้เป็นแพลตฟอร์มที่ส่งมอบสินค้าและบริการที่สะดวก ครบวงจร หรือ “All Convenience” เพื่อยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการซื้อสินค้าและบริการ ทั้งยังอำนวยความสะดวกในการจับจ่ายสินค้าและโปรโมชั่นที่หลากหลาย ภายใต้

  • บริการ “7Delivery” สั่งสินค้าจากร้านสาขาและส่งสินค้าถึงบ้านทันที สามารถเลือกรับสินค้าที่ร้าน หรือกำหนดเวลาในการจัดส่งได้ โดยภายในรอบปีที่ผ่านมาลูกค้าสามารถวางแผนการสั่งซื้อของได้ล่วงหน้า และรับสินค้าตามที่สะดวกขึ้น เพื่อตอบโจทย์การใช้สินค้าและไลฟ์สไตล์ อย่างครอบคลุมในการซื้อสินค้าซ้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • บริการ “ALL Online” สั่งสินค้าออนไลน์จากหน้าเว็บไซต์บนร้านสาขาได้อีกหลากหลายกว่า 2 หมื่นรายการ ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์มบนมือถือของตนเอง หรือให้พนักงานที่ร้านสาขาช่วยสั่งสินค้าในระบบออนไลน์ และเลือกรับสินค้าได้ด้วยตนเองที่ร้าน 7-Eleven ด้วยบริการที่สะดวก 24 ชั่วโมง หรือจะเลือกให้สินค้าไปส่งที่บ้าน

พร้อมกันนี้ บริษัทยังพัฒนาระบบสะสมแต้ม “ออลเมมเบอร์ (All Member)” ผ่านแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง โดยมีสมาชิกในระบบกว่า 20 ล้านคน เพื่อใช้เป็นช่องทางการสื่อสารแบบสองทางที่ใกล้ชิดกับลูกค้าแล้ว ยังช่วยให้สมาชิกได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษที่หลากหลาย พร้อมไปกับการพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันรายบุคคล เพื่อต่อยอดและพัฒนาสินค้าให้ตรงใจมากยิ่งขึ้น และนำเสนอสิทธิพิเศษพร้อมโปรโมชั่นที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการซื้อและแลกของรางวัลที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละคน ตลอดไปจนถึงให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่สะดวกสบายและการดูแลที่ตรงจุดอย่างแท้จริง

โครงการ เปย์ง่าย ขายคล่อง

บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จำกัด มีแนวคิดในการสร้างประสบการณ์รับชำระเงินที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จึงได้ร่วมกับพันธมิตรสำคัญ Alipay Global พัฒนาระบบการชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยว (E-wallet) ที่ร้าน 7-Eleven ด้วยระบบเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่าย Alipay Plus โดยผู้เดินทางสามารถเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) ชั้นนำระดับโลกได้มากถึง 12 ประเทศ 12 กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ลดระยะเวลาการให้บริการในขั้นตอนการนับเงินหรือทอนเงิน ลดปัญหาการสื่อสารของพนักงานร้าน และยังช่วยลดภาระการจัดการเงินสดของร้าน 7-Eleven ได้อีกด้วย

โครงการ Smart Water Insight IoT

บริษัท ซีพี รีเทลลิงค์ จำกัด นำเทคโนโลยี IoT มาประยุกต์ใช้กับระบบสาธารณูปโภค และบริการตรวจวัด ติดตามคุณภาพน้ำอย่างอัจฉริยะ โดยหน่วยงานวิจัยและพัฒนาได้ออกแบบ IoT Board โครงสร้างชุดตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบฝังดิน ซึ่งเป็นแบบ Real time ที่สามารถบริหารจัดการตรวจวัดและติดตามคุณภาพน้ำได้แบบทันที (Real time) เมื่อพบสภาพน้ำต่ำกว่ามาตรฐานระบบจะดำเนินการแจ้งเตือน ช่วยลดความเสียหายของอุปกรณ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการลูกค้า และลดค่าชดเชย มูลค่า 900,000 บาทต่อปี ลดความเสี่ยงในการสูญเสียโอกาสการขายที่ใช้น้ำสร้างยอดขายจากผลิตภัณฑ์ มูลค่า 462,000 บาทต่อปี

ใช้นวัตกรรมเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน

ในปี 2567 บริษัทนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานให้มีความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงานของพนักงานและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการ Intelligent Planning Routes

บริษัท ซีพี แรม จำกัด ลดความซับซ้อนในการตรวจสอบและ การอนุมัติรายการในหน่วยงาน และส่งผลต่อเนื่องไปยังส่วนไฟลท์อุปทาน ทั้งระบบตั้งแต่ Data Integration เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ “NPD Status” ซึ่งเป็นระบบ Data Integration เพื่อทดแทนการตรวจสอบความพร้อมก่อนการผลิตแบบ Manual และพัฒนาโปรแกรม “Postpone” บนระบบ SAP ที่สามารถแนะนำข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนวันจัดส่งวัตถุดิบเข้าโรงงานได้แบบอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการทำงานรวดเร็วขึ้น ลูกค้าสามารถออกสินค้าใหม่ได้ทันตามแผน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ลดขั้นตอนการทำงานจาก

ลดขั้นตอนการอนุมัติได้

ยกเลิกการใช้เอกสารได้

ลดค่าใช้จ่ายได้

โครงการลดการจัดการสินค้า 3 ลด ด้วยระบบ Auto เบิก

ซีพี ออลล์ พัฒนาระบบคำนวณสินค้าและ Auto itin (อัตโนมัติ) เพื่อลดเวลาในการจัดการสินค้ากลุ่ม 3 ลด (ลดคน ลดสต็อก ลดจุด) โดยระบบคำนวณยอดขายสินค้าเพื่อคำนวณยอดสั่งผลิต และนำไปคำนวณการสั่งวัตถุดิบอัตโนมัต

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ลดเวลาในการจัดการสินค้า 3 สด

เพิ่มกำไรสินค้ากลุ่ม 3 สด

โครงการ ระบบสั่งสินค้าอัตโนมัติเพื่อเพิ่มอัตราสินค้าพร้อมขาย

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจแม็คโคร พัฒนาระบบสั่งสินค้าอัตโนมัติ โดยใช้กลยุทธ์ ใช้ระบบแสกนน์ใช้สัญญาณประดิษฐ์ ในการพยากรณ์ยอดขาย และใช้แอปพลิเคชันระบบให้ความรู้พนักงานสาขาในการใช้งานระบบสั่งสินค้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

เพิ่มอัตราสินค้าพร้อมขาย

และเพิ่มโอกาสในการขายมากกว่า

กำไรจากยอดขายที่เพิ่มขึ้น

สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ผลักดันการยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรม พร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมให้กับบุคลากรของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ตลอดจนให้คำปรึกษาและสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร เพื่อให้แนวทางและคำแนะนำในการพัฒนานวัตกรรมของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ให้มีศักยภาพการแข่งขัน รวมถึงการเชื่อมโยงสตาร์ทอัพหรือบริษัทเทคโนโลยีที่มีศักยภาพและความคล่องตัวสูงให้เกิดเป็นการสร้างเครือข่ายสำหรับแลกเปลี่ยน เผยแพร่ และแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างองค์กร เพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้ได้มีการจัดแสาดงสินค้านวัตกรรมของ ซีพี แอ็กซ์ตร้า ที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ได้แก่

น้ำมันจากเปลือกส้ม ลดปริมาณขยะ ลดความต้องการใช้พลาสติก PET ลดการสูญเสียน้ำมันหอมระเหยในการสกัดน้ำมัน สามารถนำไปผลิตน้ำยาล้างจานได้ร้อยละ 100

ซีพี ออลล์ ร่วมมือกับ 10 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.), สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA), หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมภายใต้ “โครงการความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย Thailand Synergy Innovation Awards” ผ่านการสนับสนุนและมอบรางวัลผลงานวิจัยและสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards 2024 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 เพื่อยกระดับขีดความสามารถ สร้างโอกาส และขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนประยุกต์แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อยกระดับธุรกิจ

ในปี 2567 มีผู้ประกอบการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด เพื่อชิงรางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ประจำปี 2024 รวม 180 ผลงาน และมีผลงานที่ผ่านการคัดสรรให้เข้าร่วมตัดสิน 34 รางวัล แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ครอบคลุมด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบริการ หรือด้านกระบวนการ จำนวน 19 รางวัล และรางวัลนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านสังคมสงเคราะห์ เพื่อความยั่งยืน จำนวน 15 รางวัล

โครงการนวัตกรรมตู้ Open Showcase ประหยัดพลังงาน

นวัตกรรมตู้ Open Showcase เป็นอุปกรณ์ประกอบการขายหลักที่สำคัญของบริษัท สำหรับขายอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ ในร้าน 7-Eleven ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ตลอดการใช้งานที่ผ่านมา บริษัทมีการปรับปรุง วิจัย และพัฒนานวัตกรรมประหยัดพลังงานของระบบและชิ้นส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ปี 2567

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

สามารถลดต้นทุนการใช้พลังงานจากเดิมได้มากกว่า

ยืดอายุการใช้งานอุปกรณ์ของร้านสาขาได้ยาวนานขึ้น

สร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม

บริษัทจัดการอบรมและให้ความรู้ด้านการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้พนักงานนำเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ ที่มีคุณค่าแก่องค์กร โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมภายในองค์กร ผ่านกิจกรรมประกวดโครงการนวัตกรรมภายในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ เพื่อยกย่องโครงการที่มีผลลัพธ์ที่โดดเด่นในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดผลกระทบที่ไม่จำเป็น และเพิ่มความคล่องตัวให้กับองค์กร เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งนี้ บริษัท มุ่งสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ทุกคนในองค์กร มีส่วนร่วมในการสนับสนุนคุณค่าแก่องค์กรอย่างยั่งยืน

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายนวัตกรรมและการสร้างคุณค่าดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า