ความยั่งยืน

การบริหารจัดการนวัตกรรม

นวัตกรรมและการสร้างคุณค่า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


676  ล้านบาท

นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวด

148  ผลงาน  9259  ล้านบาท

ผลงานนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และการปรับปรุงกระบวนการที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

598  ผลงาน

ผลงานนวัตกรรมพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2566


โครงการผักสวนครัว 24 ชั่วโมง ใกล้ๆ คุณ


โครงการพัฒนาและขยายแพลตฟอร์มธรุกิจจากออนไลน์สู่ออฟไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

การพัฒนาแอปพลิเคชัน "ALL Phama See" สำหรับคนรักสุขภาพ

โครงการความร่วมือภาครัฐ ภาคเอชน ภาคการศึกษา พัฒนานวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กในทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ ตามนิยามของแต่ละประเทศให้ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

SDG 3 สร้างหลักประกันว่าทุกมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

3.3 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมถึงการปกป้องความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการ สาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพและเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิผล มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได้

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสำหรับทุกคน

8.2 บรรลุการมีผลิตภาพทางเศรษฐกิจในะดับที่สูงขึ้นผ่านการทำให้หลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นในภาคส่วนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและใช้แรงงานเข้มข้น
8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสิรมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน
8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้มีภาวะทุพพลภาพ และให้มีการจ่ายที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ร้อยละ  20

รายได้ที่มาจากนวัตกรรมด้านสินค้า บริการ และธุรกิจใหม่ ตลอดจนนวัตกรรมด้านกระบวนการ

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

มูลค่านวัตกรรม

ผลงานวิจัยและพัฒนา

ผลงานที่ส่งเข้าประกวด

ผลงานที่ได้รับรางวัล

    2564 2565 2566
จำนวนนวัตกร (รายสะสม)
9158
12520
16507
จำนวนสิทธิบัตรสะสม
15
16
16
จำนวนอนุสิทธิบัตรสะสม
8
10
15
1472  ราย

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

45.34  ล้านบาท

งบประมาณด้านวิจัยและพัฒนา

ความเสี่ยงและโอกาส


ในยุคที่การแข่งขันด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวทางการดำเนินชีวิตและความต้องการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมเปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นการเข้าถึงสินค้าและบริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย ทำให้ผู้บริโภคหันไปเลือกซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าและการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ยังส่งกระทบต่อมูลค่าของสินค้าหรือบริการของธุรกิจรูปแบบเดิมที่มีอยู่จนนำไปสู่ "การหยุดชะงักเนื่องจากนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ (Digital Disruption)" ซึ่งอาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการลดจำนวนพนักงานเนื่องจากการปิดตัวลงของบางภาคธุรกิจ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกจำเป็นต้องยกระดับความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในตลอดการค้าออนไลน์ ทั้งนี้ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยยกระดับคุณภาพและเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจนสิทธิในการเข้าถึงมาตรฐานการครอบชีพที่เหมาะสม เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และการบริการสาธารณะ รวมทั้งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรทมด้านกระบวนการผลิต

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพิ่มส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้อยู่เสมอ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพ ขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ และความคล่องตัว เตรียมความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคผ่านช่องทางออนไลน์ ผ่านการส่งเสริมงานวิจัยและเทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านนวัตกรรมขององค์กรไปสู่การเป็นผู้นำในด้านการบริหารจัดการนวัตกรรมแห่งอนาคต โดยกำหนดกรอบและแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

กรอบแนวคิดการจัดการนวัตกรรมของ ซีพี ออลล์

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Research and Development)

บริษัทส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านอาหารที่ช่วยสร้างสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้า ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดและขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต พร้อมทั้งสร้างประโยชน์แก่สังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันบริษัทมีศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งหมด 2 แห่ง ได้แก่

สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

ดำเนินงานด้านการศึกษาและผลิตนวัตกรรมการจัดการทางด้านอาหารรวมทั้งการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีคุณภาพ ถูกหลักสุขอนามัยและสุขภาวะที่ดี ภายใต้กรอบคามสมดุลของห่วงโว่อาหารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งรับให้คำปรึกษาด้านวิชาการในเรื่องการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการ โดยมีหน้าที่หลักดังนี้

  • กำหนดมาตรการทางด้านการประกันคุณภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงผู้บริโภค เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน
  • พัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงทุกกระบวนการในวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการจัดการขยะอย่างเหมาะสม
  • พัฒนาสูตรอาหารและกระบวนการผลิตในระดับอุตสาหกรรมครอบคลุมกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของบริษัท ให้เป็นไปตามหลักโภชนาการและอนามัยของอาหารเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • ปัจจุบันมีการก่อตั้งศูนย์ All Food Tech เพื่อบริการด้านการพัฒนาสินค้าและวัตถุดิบ อีกทั้งให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ที่สนใจและผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าประเภทอาหาร โดยทำหน้าที่ให้บริการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารในด้านต่างๆ เช่น ทดสอบทางประสาทสัมผัส (Sensory Evaluation) ประเมินผลิตภัณฑ์ทางด้านประสาทสัมผัสตามหลักวิชาการสากล เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าใหม่ที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงเป็นศูนย์ปฏิบัติการทดสอบ วิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์และเคมีบางชนิดในผลิตภัณฑ์อาหาร น้ำ รวมถึงสารตกค้างต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

63  บุคลากร

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

590  ผลงาน

ผลงานวิจัยและพัฒนา

15.06  ล้านบาท

งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านอาหาร บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด

บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ดำเนินงานวิจัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้นในปัจจุบัน ผ่านการทำงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์เพื่อตอบโจทย์ประเด็นปัญหา รวมถึงความท้าทาย นอกจากนี้ ยังเป็น หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา และเป็นศูนย์กลางการทดสอบ เพื่อรองรับการวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบทางวิศวกรรมอาหารให้กับ ซีพี ออลล์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ รวมถึงบริษัทอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ อาทิ

  • การวิจัยและพัฒนาสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์สเปรย์สำหรับบรรเทาอาการอักเสบในช่องปากและลำคอ Phase || จากน้ำมันใบกะเพรา โดยร่วมมือกับศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรสถาบันวิจัยวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับกะเพรา โดยนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครืองสำอางต้นแบบในรูปแบบสเปรย์สำหรับช่องปากและลำคอ ซึ่งจะมีการต่อยอดเป็นเวชสำอาง สำหรับบรรเทาอาการอักเสบในช่องปากและลำคอในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตร
  • การวิจัยและพัฒนาอาหารสำเร็จรูปที่เหมาะสมสำหรับแต่ละช่วงวัย (Food for Age Group) เพื่อเสริมสร้างโภชนาการที่ดีสำหรับคนแต่ละกลุ่ม ได้แก่ อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เป็นต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

13  บุคลากร

บุคลากรด้านวิจัยและพัฒนา

8  ผลงาน

ผลงานวิจัยและพัฒนา (SKU)

16  ล้านบาท

งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา

ต่อยอดสินค้านวัตกรรม เพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ

บริษัทมุ่งส่งเสริมและยกระดับความสามารถของ SMEs ในการพัฒนานวัตกรรมและสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย พร้อมทั้งเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจ ในปี 2566 มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการขยายผลสลัดโรล อร่อยครบจบในกล่องเดียว

ทีมนักวิจัยพัฒนากระบวนการผลิตสลัดโรล ซึ่งเป็นสินค้าสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ให้มีอายุสินค้านานขึ้น ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีหลัการเก็บเกี่ยว (Postharvest) ที่ช่วยคงความสดของผักสลัด ร่วมกับการคิดค้นสารสุตรเฉพาะสำหรับแช่แป้ง (Only at 7-Eleven) ช่วยคงความนุ่มของแป้ง รวมทั้งการใช้วัตถุดิบที่ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้สินค้ามีอายุวางนำหน่ายได้นานถึง 5 วัน และผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สะอาด สะดวก ปลอดภัยในการบริโภค ตลอดจนช่วยสร้างรายได้ให้เกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับ SMEs

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

ลูกค้า

เพิ่มความหลากหลายของสินค้า เพิ่มทางเลือกผู้บริโภค

บริษัท

เพิ่มยอดขายกลุ่มสินค้า Ready to Eat

เกษตรกร

ส่งเสริม สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ยกระดับเกษตรกรรมของประเทศ

ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

จาก  2  วัน เป็น  5  วัน

เพิ่มโอกาสการขายสินค้า โดยการยืดอายุสินค้าเพิ่ม

จาก  36  สาขา เป็น  7987  สาขา

เพิ่มสาขาวางจำหน่าย

140  ล้านบาทต่อปี

มูลค่าเพิ่มที่ได้จากโครงการในปี 2566

แนวคิดนวัตกรรม

ค้นหา คัดเลือก ควบคุม

ค้นหาพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม/คัดเลือกวัตถุดิบที่ดี มีคุณภาพ/ควบคุมการดูแลให้เป็นไปตามกำหนด



เพื่อวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน

เทคโนโลยี

Pre-Cooling/เทคนิคการตัดแต่ง/Hydro-Cooling/ลดเชื้อจุลินทรีย์/เพิ่มความแข็งแรงของเซลล์/ลดการเกิดอาหารสีน้ำตาล/Modify Atmosphere

เพื่อคงความสดของผัก

นวัตกรรม

ชนิดของแผ่นแป้ง/ส่วนประกอบของแผ่นแป้ง/สารแช่แผ่นแป้ง




เพื่อคงความนุ่มชุ่มชื่นของแผ่นแป้ง

ทักษะ และเทคนิค

การตัดแต่ง/การวางวัตถุดิบ/การแช่แป้ง/การม้วน/การควบคุมอุณหภูมิ




เพื่อคงคุณภาพของสินค้า

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

  • เพิ่มยอดขายสินค้าสลัดโรล
  • เพิ่มพื้นที่การวางจำหน่าย
  • สินค้ามีความหลากหลาย

ผลกระทบด้านสังคม

  • สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
  • สร้างอาชีพให้คนในชุมชน
  • ยกระดับมาตรฐานการผลิต

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

  • ประชาชนคนไทยกินของดี สุขภาพดี
  • เพิ่มพื้นที่และพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

คุณค่าทางเศรษฐกิจ

  • เพิ่มยอดขายสินค้าสลัดโรล มากกว่า 100 ล้านบาทต่อปี
  • เพิ่มพื้นที่การวางจำหน่าย 7,654 สาขา

คุณค่าทางสังคม

  • สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 4.5 ล้านบาทต่อเดือน
  • เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 265 ราย

คุณค่าทางสิ่งแวดล้อม

  • เพิ่มพื้นที่และพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน รวม 200 ไร่

โครงการผักสวนครัว 24 ชั่วโมง ใกล้ๆ คุณ (คัดด้วยใจ ใส่ใจทุกขั้นตอน)

ซีพี ออลล์ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อน สร้างโอกาสทางธุรกิจ ยกตลาดผักสดสวนครัวมาวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ตั้งแต่การคัดสรรผักจากแหล่งปลูกที่ดี ผ่านกระบวนการคัดและตัดแต่งให้ได้ขนาดที่เหมาะสม ความท้าทายคือการนำผักแต่ละชนิดที่ต้องการอุณภูมิแตกต่างกันมาไว้ในตู้เดียวกัน และวางร่วมกับสินค้าอื่นๆ ได้ เพื่อลดต้นทุนในการจัดการตู้แช่ผัก ทีมงานได้ใช้ความรู้ทางด้านสรีรวิทยา ผสานความรู้ทางเทคโนโลยีหลักการเก็บเกี่ยว (Postharvest) และนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์แบบแอคทีฟที่ช่วยคงความสดใหม่ของพืชผักได้นานขึ้นโดยชะลอการหายใจและการคายน้ำให้ช้าลง สามารถกับเก็บความสดของผักไว้ได้ตลอดอายุสินค้า เพื่อส่งมอบผักที่สด สะอาด สะดวก ปลอดภัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังช่วยลดขยะอาหารสู่การฝังกลบได้กว่าร้อยละ 30 ปัจจุบันมีผักสดวางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ สร้างยอดขายมากกว่า 287 ล้านบาทต่อปี

สร้างนวัติกรรมบริการ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ความสะดวกแก่ผู้บริโภคด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

เนื่องจากการเปลี่นแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ใช้ช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น บริษัทจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยี พร้อมทั้งสนัุบสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจค้าปลีก เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค โดยในปี 2566 มีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ Online to Offline (O2O)

ซีพี ออลล์ พัฒนาและปรับปรุงแพลตฟอร์ม "ออลล์ ออนไลน์ (ALL Online)" และแอปพลิเคชัน 7-Eleven บนโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการเข้าถึงรายการสินค้าและโปรโมชั่นที่หลากหลายของลูกค้าทุกระดับภายใต้แนวคิด

  • สะดวกซื้อ เลือกสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางที่หลากหลายทั้งออฟไลน์ ออนไลน์และดิลิเวอรี
  • สะดวกจ่าย เลือกชำระค่าสินค้าได้ทั้งในรูปแบบเงินสด และไม่ใช้เงินสด (Cashless)
  • สะดวกรับ เลือกรูปแบบการรับสินค้าตามความต้องการ โดยลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า และเลือกมารับสินค้าได้ด้วยตนเองที่ร้าน 7-Eleven หรือรับบริการจัดส่งสินค้าถึงบ้านผ่านบริการ 7 Delivery

พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้พัฒนาระบบสมาชิก "ออลล์ เมเเบอร์ (ALL Member)" ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อใช้เป็นช่องทางสื่อสารและประเมินความพอใจของลูกค้า รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์พิเศษแก่สมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกในระบบกว่า 18.35 ล้านคน โดยผลการประเมินความพอใจของลูกค้าสามารถนำมาใช้งานแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการสำหรับลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โลตัสพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ชอปปิงและเปิดตัวแอปพลิเคชัน Lotus's SMART App แอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานของลูกค้าที่รวมออลไน์ชอปปิงและรีวอร์ดไว้ที่เดียวและนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล Big Data เพื่อสร้างคูปอง ส่วนลด โปรโมชัน สิทธิพิเศษ เสนอแนะสินค้าที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคนตามความต้องการที่แตกต่างกัน เชื่อมต่อการซื้อสินค้าแบบ Omni-Channel ทั้งออฟไลน์และออกไลน์เข้าด้วยกันเสริมความแข็งแกร่งในกับธุรกิจ O2O ของโลตัส โดยใช้สาขาที่มีมากกว่า 2,400 แห่งทั่วประเทศ เป็น Fulfillment Center สำหรับจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ ยังมีรีวอร์ดโปรแกรมใหม่ My Lotus's (มายโลตัส) พัฒนาการออกแบบให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานทั้งการสะสมและการแลกง่ายขึ้น ทันใจขึ้น คุ้มขึ้น และตรงใจขึ้นกว่าเดิม โดยไม่มีการส่งสเตตเมนต์และคูปองไปยังบ้านของลูกค้า ช่วยลดการใช้ทรัพยากรกระดาษได้ร้อยละ 100 รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

การพัฒนาต่อเนื่องแอพลิเคชัน "ALL PharmaSee" สำหรับคนรักสุขภาพ

ร้านยา เอ็ดซ์ต้า พลัส ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พัฒนาแอปพลิเคชัน "ALL PharmaSee" อย่างต่อเนื่อง โดยให้บริการคำปรึกษาเรื่องสุขภาพและการใช้ยาจากเภสัชกรกว่า 400 ราย โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ แชท วิดีโอคอล ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้คนรักสุขภาพสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ "ง่ายและสะดวก" พร้อมบริการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ค้นหาร้านยา เอ็กซ์ต้า พลัส ในบริเวณใกล้เคี้ยง และแอปพลิเคชัน ALL PharmaSee ยังได้รับการรับรองแพลทฟอร์มสำหรับให้บริการเภสัชชกรรมทางไกลจากสภาเภสัชกรรม

นวัตกรรมการบริการทางการเงินใกล้ชุมชน

บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีให้บริการที่หลากหลายและครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงให้กับประชาชน ยกระดับระบบธุรกิจกรรมทางการเงิน ทั้งฝาก-ถอนเงินสด อาทิ บริการ "โอนปุ๊ รับปั๊บ" ซึ่งเป็นบริการโอนเงินภายในประเทศทั่วไทยที่ไม่ต้องใช้บัญชีธนาคาร ใช้เพียงบัตรประชาชนตัวจริงในการส่งเงินและรับเงินเท่านั้น โดยฝั่งผู้รับเงินสามารถเข้าไปรับเงินสดที่ร้าน 7-Eleven กว่า 14,545 สาขา ทั่วประเทศไดทันที ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงระบบการพิสูจน์การยืนยันตัวตนเพื่อเปิดบัญชีผ่านระบบออนไลน์และเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัลได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

*หมายเหตุ: เคาน์เตอร์เซอร์วิสเป็นเพียงช่องทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนการใช้งานแอปพลิเคชันทางรัฐเท่านั้น ข้อมูลที่ผู้ใช้งานให้แก่เคาน์เตอร์เซอร์วิสเพื่อยืนยันตัวตน จะถูกเข้ารัหสแล้วส่งให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยตรงด้วยวิธีการที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง ไม่มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส

ใช้นวัตกรรมเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน

นอกจานี้ บริษัทพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามายกระดับการทำงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการทำงานสำหรับพนักงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในปี 2565 มีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

พัฒนากระบวนการรับสินค้า (All Recieve) ร้าน 7-Eleven (ต่อเนื่อง) โครงการ Inteegrate Receiving @ store

เพื่อให้ลูกค้าที่ใช้บริการเซเว่นดิลิเวอรี (7Delivery) เห็นสินค้าที่ต้องการได้ทันที รวมถึงแก้ไขปัญหาการส่งสินค้าจากซํพพลายเออร์สู่ร้าน 7-Eleven ให้สามารถรับปรุงจำนวนสินค้าเข้าระบบได้แบบเวลาจริง (Real Time) ลดปัญหาการบันทึกสินค้าผิดพลาดและใช้เวลานาน บริษัทได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับสินค้าจากการตรวจนับสินค้าโดยพนักงาน เป็นการสแกนรับสินค้าโดยใช้ Personal Digital Assestant (PDA) ของพนักงานแต่ละคน ซึ่งระบบจะส่งต่อข้อมูลไปยังระบบเก็บข้อมูลรายการสินค้าโดยอัตโนมัติ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

66  นาทีต่อสาขา

ลดเวลาการนับสินค้าที่ร้าน

จาก  2  ราย  สินค้าจาก  1  รายต่อร้าน

ลดจำนวนพนักงานในขั้นตอนตรวจนับสินค้า

39  ล้านแผ่น  เป็นมูลค่ารวม  14  ล้านบาทต่อปี

ลดการใช้กระดาษเอกสาร

พัฒนากระบวนการตรวจนับสินค้าที่ร้าน 7-Eleven โครงการตรวจนับรูปแบบ Sampling Count

ลดเวลาในวันตรวจนับของร้านสาขา ร้านจะได้นำเวลาดังกล่าวมาบริการลูกค้า ไม่ให้สูญเสียโอกาสในการขาย บริษัทพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าที่มีผลขาดสูงของแต่ละสาขา โดยใช้หลักการพาเรโตเพื่อชี้เป้ากลุ่มสินค้าที่ต้องตรวจนับ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

11  วันทำงาน ต่อสาขาต่อปี

ลดเวลาการตรวจนับสินค้าที่ร้าน

57  ล้านบาทต่อปี

ลดต้นทุนในการตรวจนับ

387  ล้านบาท

เพิ่มยอดขาย

ร่วมมือกับภาคการศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม

บริษัทร่วมมือกับสถานบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และ ออลล์ เวลเนส ธุรกิจในกลุ่มบริษัทพัฒนาหุ่นยนต์ส่งของ (Outdoor Delivery Robot) นำหุ่นยนต์ซึ่งใช้พลังงานแบตเตอรีไฟฟ้าร้อยละ 100 โดยใช้ระบบนำทางอัตโนมัติปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence) ไร้คนขับ เข้ามาช่วยไม่ให้เกิดการขนส่งที่ไม่ก่อมลภาวะ ไม่ส่งเสียงดัง สร้างขนส่งพลังงานสะอาด ช่วยแบ่งเบาภาระการทำงานของพนักงานร้าน 7-Eleven ในช่วงที่มีปัิมาณการสั่งสินค้าเข้ามาพร้อมกันจำนวนมาก รวมถึงช่วยการขนส่งเวลากลางคืน ตอบโจทย์การเป็นร้านที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง สำหรับการพัฒนาในเฟสแรกหุ่นบนต์สามารถรับส่งของได้ครั้งละ 2 ออร์เดอร์ อีกทั้งช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและพนักงาน โดยทดลองวิ่งจริงในพื้นที่ภายใต้การกำกับดูแลโดยเฉพาะ (Sandbox) บริเวณพื้นที่อาคารของพีไอเอ็ม (PIM) และพื้นที่ธาราพาร์ค เพื่อให้แน่ใจว่าการวิ่งส่งของแต่ละครั้งมีความแม่นยำบนถนน และสิ่งกีดขวางหลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนาในเฟสที่ 2 จะพิจารณาการออกแบบหุ่นยนต์ให้มีหลายขนาดมากขึ้น พร้อมตอบโจทย์การรับ-ส่งสินค้าให้เหมาะกับแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายขยายผลสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New S-Curve) สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์โลกอนาคต โดยมองโอกาสการนำหุ่นยนต์ส่งของ (Outdoor Delivery Robot) เข้าไปช่วยตอบโจทย์การส่งของให้แก่บริษัทหรือร้านค้าอื่นๆ ใกล้ 7-Eleven ไปยังผู้บริโภคด้วย

สร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม (Innovation Culture)

บริษัทจัดอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ รวมถึงสร้างบรรยากาศให้พนักงานได้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดนวัตกรผ่านเวทีการประกวดโครงการนวัตกรรมภายในของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ เพื่อเชิดชูเกียรติให้กับโครงการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ภายใจกลุ่ม โดยนำนวัตกรรมใหม่ไปขยายผล และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศแก่กัน พร้อมทั้งส่งเสริมการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน เพื่อลดภาระงานที่ไม่จำเป็นทำให้องค์กรเกิดความคล่องตัว และพนักงานสามารถสร้างสรรค์งาน และนวัตกรรมที่มีคุณค่าให้แก่บริษัทให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และเพื่อให้เกิดวัฒนาธรรมนวัตกรรมที่ผู้บริหาร และพนักงานได้มีส่วนร่วมในการส่งมอบคุณค่าแก่ประเทศชาติ ประชาชน และองค์กร

นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)

บริษัทได้ให้ความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับองค์กรภายนอก ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 11 องค์กรระดับประเทศ ภายใต้ "โครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศ Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย" โดยสนับสนุนผลงานวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละองค์กร รวมถึงของผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) เพื่อมอบโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำแนวปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อต่อยอดงานวิจัยนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่สร้างคุณค่าแก่องค์กร และสังคมต่อไป ในปี 2565 มีโครงการด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการธัญญโอสถ ข้าวหอมยั่งยืน บริษัท ธัญญโอสถ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

เป็นรูปแบบการส่งเสริมธุรกิจต้นแบบเพื่อสังคม ในการแปรรูปข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิกมาเป็นข้าวต้นพร้อมรับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ด้วยการรวมกลุ่มชาวนาเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวกล้องหอมะลิ 105 ตามมาตรฐานสากล ให้คงความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ได้มากที่สุด ผ่านการเก็บเกี่ยว และแปรรูปข้าวในสุขภาวะที่เหมาะสม ทั้งการบ่ม การสีและจัดเก็บข้าว ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กลุ่มชาวนาเกษตรอินทรีย์ 380 ครัวเรือน ในจังหวัดสุรินทร์ และบุรีรัมย์ สามารถสร้างรายได้กลุ่มชาวนะเกษตรอินทรีย์ เป็นเงินกว่า 180 ล้านบาท

โครงการระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเทคโนโลยีวงจรไฟฟ้าชีวภาพ บริษัท อินโน กรีน เทค จำกัด

ระบบบำบัดน้ำเสียด้วยวงจรไฟฟ้าชีวภาพ ประยุกต์มากจากเทคโนโลยีทางชีวเคมีไฟฟ้าของเซลล์เชื้อเพลิงจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงช่วยประหยัดพลังงาน ปลอดสารเคมี กากตะกอนต่ำ ใช้พื้นที่น้อย ใช้งานง่าย น้ำใส ไร้กลิ่น สามารถบำบัดน้ำเสียได้ทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในระบบเดียว ไม่เกิดแก๊สมีเทนและแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ เพิ่มคาร์บอนเครดิต

การพัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจ Online to Offline (O2O)

โลตัสพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ชอปปิงและเปิดตัวแอปพลิเคชัน Lotus's SMART App ที่รวมออนไลน์ชอปปิงและรีวอร์ด โปรแกรมใหม่อยู่ในที่เดียว เชื่อมต่อการซื้อสินค้า Omni-Channel ทั้งออฟไลน์และออนไลน์เข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ เสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ O2O ของโลตัสโดยใช้สาขาที่มีมากกว่า 2,600 แห่งทั่วประเทศ เป็น Fulfillment Center สำหรับจัดส่งสินค้าในช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อส่งมอบประสบการณ์ การชอปปิงที่ SMART โดย Lotus's SMART App เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานของลูกค้าและนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล Big Data เพื่อสร้างคูปองส่วนลด โปรโมชัน สิทธิพิเศษ เสนอแนะสินค้าที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคนตามความต้องการที่แตกต่างกัน สำหรับรีวอร์ดโปรแกรมใหม่มายโลตัส (My Lotus's) พัฒนาการออกแบบให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานทั้งการสะสมและการแลกง่ายขึ้น ทันใจขึ้น คุ้มขึ้น และตรงใจขึ้นกว่าเดิม โดยไม่มีการส่งสเตทเมนต์และคูปองไปยังบ้านของลูกค้า ช่วยลดการใช้ทรัพยากรกระดาษได้ร้อยละ 100 รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยบ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายนวัตกรรมและการสร้างคุณค่าดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า