แนวทางการดำเนินงาน
ภาพรวมวิธีการประเมินมูลค่าผลกระทบของ ซีพี ออลล์
กรณีศึกษาเชิงธุรกิจสำหรับการประเมินมูลค่าผลกระทบ
พิจารณาแต่ละองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อใช้ในการประเมิน
– ผลกระทบของแต่ละโปรแกรม
– จุดเริ่มต้นของผลกระทบที่พิจารณา
– ขอบเขตของเวลา และภูมิศาสตร์
จำนวนตัวชี้วัดของปัจจัยนำเข้า ผลลัพธ์ และผลกระทบที่คาดไว้
แผนงานที่ดำเนินการรวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลและเทคนิคพิเศษทางด้านมูลค่า
การรวบรวมข้อมูลจากตัวชี้วัดที่ได้ตกลงไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ
การประเมินและวัดผลกระทบหลัก ซึ่งอาจรวมถึงการประเมินรวมกัน ทั้งเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และตัวเงิน
สิ่งที่เป็นข้อความสำคัญสำหรับผู้รับสารทั้งภายในและภายนอก
วิธีการบูรณาการการประเมินมูลค่าผลกระทบเชิงธุรกิจ
โครงการกล้วยหอมทอง
โครงการต่อเนื่องส่งเสริมเกษตรกรกล้วยหอมทอง มุ่งดำเนินงานสนับสนุนสินค้าจากเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การทำสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้เกษตรกร ส่งเสริมการปลูกให้เป็นไปตามมาตรฐาน ตรวจสอบย้อนกลับที่มาของผลิตภัณฑ์ได้ ส่งเสริมความรู้เรื่องบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา ตลอดจนมุ่งเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ผ่านร้าน 7-Eleven และเซเว่น เดลิเวอรี่ (7Delivery)



โครงการกล้วยหอมทองสร้างรายได้ของเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อยเพิ่มขึ้น เกิดจากการจ้างงานในชุมชนมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรกว่า 22,404 ไร่ ใน 36 จังหวัด
พร้อมกันนี้ ผลการประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมาพบว่าโครงการกล้วยหอมทองก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกมากกว่าเชิงลบคิดเป็น 85.06 เท่า
เปรียบเทียบกับการดำเนินการก่อนเข้าร่วมโครงการกล้วยหอมทองกับบริษัท