การจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด กักเก็บ และชดเชยได้

387741  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น

9017243  ต้น

ได้รับการจัดอันดับระดับ A หรือเทียบเท่า Leadershp Level จาก CDP ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ซีพี ออลล์ ได้รับรางวัลระดับยอดเยี่ยม โครงการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (Low Carbon and Sustainable Business)

โลตัส รับรางวัลองค์กรดีเด่น ธุรกิจค้าปลีกแห่งความเป็นเลิศด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

ได้รับการรับรอง ISO : 14064-1 ขอบเขตศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิบางบัวทอง

ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์โดยองค์กรบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


เข้าร่วมตั้งป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร ให้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ (Validation) ตามแนวทางของเป้าหมายที่องหลักวิทยาศาสตร์ (Seicnce Based Targets initiative: SBTi)

เข้าร่วมโครงการ CDP ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องปีที่ 4

เข้าร่วมโครงการประเมินและจัดระดับธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน (LCSB) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามกรอบการรายงานของคณะทำงานด้านการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (Task Force on Climate-Related Financial Disclosures: TCFD)

สร้างการเข้าร่วมกับคู่ค้าและลูกค้าในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

ยื่นขอการรับรอง ISO: 14064-1 ขอบเขตศูนย์กระจายสินค้าควบคุมอุณหภูมิบางบัวทอง

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ

ภาครัฐ

การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า

คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการและเจ้าหนี้ทางการค้า

การจัดส่งและกระจายสินค้า
การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน

12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

SDG 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

13.1 เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยภิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

Carbon Neutral

มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2593

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

หมายเหตุ : ไม่รวมการปล่อยก๊าซเรือนกระทางอ้อม (Scope 3) *สมมติฐาน BAU เติบโตร้อยละ 5 ต่อปี

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

ประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามของเขต

กลุ่ม ซีพี ออลล์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3)

เฉพาะ ซีพี ออลล์

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3)

ประมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำแนกตามแหล่งกำเนิด

กลุ่ม ซีพี ออลล์

พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก

น้ำมันดีเซล

น้ำมันเบนซิน

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว

การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ

สารทำความเย็น

ก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย

เฉพาะ ซีพี ออลล์

พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก

น้ำมันดีเซล

น้ำมันเบนซิน

ก๊าซธรรมชาติและก๊าซปิโตรเลียมเหลว

การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ

สารทำความเย็น

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด โดยการซื้อพลังงาน

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 2)

Location-Based

Data Coverage (as % of Denominator)

Market-Based

Data Coverage (as % of Denominator)

ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2) ต่อหน่วยรายได้

ปริมาณลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานหมุนเวียน

หมายเหตุ : การใช้พลังงานหมุนเวียน ประกอบด้วย การใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

ปรับปรุงระบบทำความเย็นและการใช้สารทำความเย็น

การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบการขนส่ง

หมายเหตุ : ทดสอบการใช้รถขนส่งไฟฟ้าจำนวน 5 คัน และจักรยานไฟฟ้า จำนวน 1,004 คัน ในระยะเวลา 2 เดือน

ปริมาณ "ลด กักเก็บ ชดเชย" การปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

การบริจาคอาหารส่วนเกิน

การปลูกต้นไม้

การชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การขึ้นทะเบียนหน่วยลดก๊าซเรือนกระจก

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) จำแนกตามหมวดหมู่

กิจกรรมต้นน้ำ

ซื้อสินค้าและบริการ


12525820.40
ร้อยละ  94.95

สินค้าทุน


47305.39
ร้อยละ  0.36

การขนส่งสินค้าและกระจายสินค้าต้นน้ำ


268798.35
ร้อยละ  2.04

การจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ


90303.47
ร้อยละ  0.68

การเดินทางเพื่อธุรกิจ


2077.74
ร้อยละ  0.02

การเดินทางของพนักงาน


153865.70
ร้อยละ  1.17

กิจกรรมปลายน้ำ

การขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าปลายน้ำ

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


94192.64
ร้อยละ  0.71

การจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


9330.91
ร้อยละ  0.07

ความเสี่ยงและโอกาส


การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (Conference of Parties: COP26) ประเทศสกอตแลนด์ปี 2564 มีเป้าหมายเพื่อลดการเพิ่มของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ประเทศไทยถือเป็นประเทศลำดับต้นๆ ของโลกที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงอาหาร น้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งรูปแบบต่างๆ โดยในปี 2565 มีการประชุมรัฐภาคีคืออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27 (COP2) ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันในการบริหารจัดการจำนวนเงินที่มอบให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก การจัดตั้งตลาดคาร์บอนเครดิตและการกำหนดปริมาณการลดการใช้พลังงานถ่านหินในแต่ละประเทศสมาชิก นอกจากนี้ แงกดดจากภาคเอกชนและอง์กรอิสระทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องประกาศ "ภาวะฉุกเฉินสภาพภูมิอากาศ (Climate Emergency Declaration)" ที่่งผลให้ภาคธุรกิจและอุสาหกรรม ต้องเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง และดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ บริษัทได้ตระหนักถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจท่อาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สุขภาพ ละความปลอดภัยของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน อาทิ ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน และชุมชนรอบข้างในระยะยาว รวมถึงผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำท่วมต่อคู่ค้า โดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการลดกรปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายของประเทศในอนาคต โดยได้สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นมากยิ่งขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทาน

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทกำหนดให้คณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืนกำกับดูแลด้านการจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทีมปฏิบัติงานเฉพาะ อาทิ ทีมเพื่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ทีมติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ทีมพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทีมปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อชุมชน ซึ่งทำหน้าที่ในการบริหารด้านต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเตรียมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้กลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)" พร้อมทั้งกำหนดกรอบการดำเนินงานและแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ที่สอดคล้องกับแนวทางของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosures: TCFD) เพื่อมุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือกระจกจากการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี 2573 ตลอดจนบริษัทกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลความมุ่งมั่นการปล่อยก๊าซเรือกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) ครอบคลุมเป้าหมายการบริหารจัดการก๊าซเรือกระจกทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ การปล่อยก๊าซเรือกระจกทางตรง (Scope 1) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) และการปล่อยก๊าซเรือกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) อีกทั้งพิจารณาเข้าร่วมตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร ให้ผ่านกระบวนการตรวจสอบ (Validation) ตามแนวทางของเป้าหมายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative: SBTi)

นอกจากนี้ บริษัทมุ่งมั่นร่วมควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยจัดกิจกรรมเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่างๆ เช่น เพิ่มการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานหมุนเวียนและลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เป็นต้น ตลอดจนสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

01

การแสดงเจตจำนง

ในการลดผลกระทบทั้งปฏิบัติตามกฎหมายข้อบังคับ และสอดคล้องเป้าหมายสากล SDGs

02

การประเมินความเสี่ยงและโอกาส

โดยผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรในระดับ Top-down และ Bottom-up Management โดยใช้กรอบการประเมิน TCFD

03

การกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์

ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมีมาตรการบรรเทาห่วงโซ่คุณค่าของการดำเนินธุรกิจ

04

การดำเนินการ

ผ่านโครงการต่างๆ ภายใต้กลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)" ทั้ง 4 ด้าน

05

การประเมินและติดตามวัดผล

ติดตามความคืบหน้าเทียบเป้าหมาย รวมถึงวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงผลดำเนินการโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาความยั่งยืนทุกไตรมาส

06

สื่อสารผู้มีส่วนได้เสีย

ถึงกลยุทธ์การดำเนินการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียและความคืบหน้า

การประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทได้จัดตั้งคณะประเมินความเสี่ยงองค์กร เพื่อทำหน้าที่ประเมินปัจจัยความเสี่ยงและผลกระทบ รวมถึงโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ทั้งนี้ แต่ละปัจจัยความเสี่ยงจะได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล เพื่อเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับทราบ ตามกรอบการรายงานของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ (Task Force on Climate-related Financial Disclosure: TCFD) ตลอดจนจัดทำแผนด้านความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบการรายงานของคณะทำงานเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ

ในปี 2565 บริษัทได้ระบุความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ รวมถึงมาตรการการรับมือโดยสังเขป ดังนี้

ความเสี่ยงเชิงกายภาพ (Physical Risks)

ความเสี่ยง ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า


น้ำท่วม

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • การหยุดชะงักของกระบวนการผลิต
  • การหยุดชะงักของการให้บริการลูกค้าร้าน 7-Eleven
  • พนักงานที่ร้าน 7-Eleven ประสบภัยน้ำท่วม
  • รายได้ลดลง เนื่องจากจำหน่ายสินค้าในร้าน 7-Eleven ได้น้อยลง 4383  ล้านบาท
  • สูญเสียโอกาสในการขาย เนื่อจากสินค้าขาดส่งจากศูนย์กระจายสินค้า
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ร้อยละ  30 จากการป้องกันน้ำท่วม
  • การหยุดชะงักของการขนส่งสินค้าจากคู่ค้ามายังร้าน 7-Eleven
  • ลูกค้าไม่สามารถเข้ามาเลือกซื้อสินค้าที่ร้าน 7-Eleven
  • ชุมชนโดยรอบร้าน 7-Eleven ประสบน้ำท่วม
มาตรการรองรับ

บริษัทออกแบบสร้างร้าน 7-Eleven ที่สามารถป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วมภายใต้แนวคิด "ร้านสู้น้ำ" โดยพิจารณาออกแบบ เช่น การกั้นกำแพงสูบน้ำ ออกแบบพื้น และประตูปัองกันแรงดันน้ำ ระบบท่อการติดตั้งปั้มสูบน้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเกิดน้ำท่วม บริษัทกำหนดแผนการดำเนินการจัดการ แบ่งออกเป็น 3 เหตุการณ์ ประกอบด้วย

  • ก่อนเกิดเหตุ (การป้องกันและเตรียมความพร้อม) ติดตามสถานการณ์สภาพภูมิอากาศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์ เพื่อให้พนักงานร้านสาขาเตรียมความพร้อมเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และสินค้าไปยังที่ปลอดภัย พร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์สำหรับการกั้นน้ำเข้ามาภายในร้าน 7-Eleven ตลอดจนจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกแก่พนักงานร้าน หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลัน
  • ขณะเกิดเหตุ (การตอบสนองต่อเหตุการณ์)
    - หากเกิดน้ำท่วมบริเวณรอบร้าน 7-Eleven จะต้องดำเนินการเฝ้าระวังน้ำเข้าร้าน พร้อมทั้งขนย้ายอุปกรณ์และสินค้าไปยังพื้นที่ปลอดภัย ตลอดจนรายงานสถานการณ์ต่อศูนย์อำนวยการเผชิญเหตุน้ำท่วม
    - หากเกิดเหตุน้ำท่วมเข้ามาภายในร้าน 7-Eleven จะต้องดำเนินการเปิดเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำออกนอกร้านและเตรียมอพยพพนักงานไปยังจุดอพยพที่จัดหาอย่างปลอดภัย
    - หากเกิดน้ำท่วมสูงเกิน 30 เซนติเมตร หรือน้ำท่วมฉับพลันภายในร้าน 7-Eleven จะต้องอพยพพนักงานไปยังจุดรวมพลที่กำหนด และจัดการปฐมพยาบาลสำหรับพนักงานที่ได้รับบอดเจ็บ ตลอดจนสนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม และจุดพักพิงชั่วคร่าวสำหรับพนักงานที่ได้รับผลกระทบ
  • หลังเกิดเหตุ (แผนฟื้นฟูและเยียวยา) บริษัทดำเนินการตรวจเช็คอุปกรณ์ และปรับปรุง ฟื้นฟูร้าน 7-Eleven ที่ได้รับความเสียหา พร้อมทั้งเยียวยาพนักงานผู้ได้รับผลกระทบทั้งพนักงานตามสวัสดิการของบริษัท ตลอดจนสนับสนุนถุงยังชีพผู้ประสบภัยและให้การช่วยเหลือชุมชน


ภัยแล้ง/น้ำกร่อย

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • การผลิตและคุณภาพของสินค้าลดลง
  • ผลผลิตทางการเกษตรและวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ขาดแคลน
  • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ที่เกิดจากตะกรันเกาะ 44  ล้านบาท
  • ผลผลิตทางการเกษตรและวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ของคู่ค้าลดลง
  • ผู้บริโภคอาจเกิดโรคเกี่ยวกับลำไส้จากการบริโภคสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
มาตรการรองรับ
  • สั่งซื้อถังน้ำสำรอง เพื่อใช้เก็บน้ำสำรองสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตน้ำดื่มและน้ำใช้ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ หรือขาดแคลนน้ำมากกว่า 1 สัปดาห์
  • สั่งซื้อน้ำใช้ เพื่อสำรองน้ำที่ใช้ในการผลิตเฉพาะเครื่องดื่ม ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบการขาดแคลนน้ำ หรือพบปัญหาคุณภาพน้ำ
  • ติดตั้งระบบ Reverse Osmosis (RO) เพื่อปรับสภาพน้ำในพื้นที่ที่ไม่ได้คุณภาพ อาทิ ความเค็ม ความกระด้าง ให้กลับมามีคุณภาพดีในพื้นที่ที่มีน้ำเค็ม เช่น ชายทะเลหรือพื้นที่ที่ใช้น้ำบาดาลที่มีความกระด้างของน้ำสูง
  • ติดตั้งระบบ Air Water เพื่อดึงน้ำในอากาศมาพัฒนาเป็นน้ำที่ได้คุณภาพใช้ในร้าน 7-Eleven ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำดิบ หรือพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง
  • ให้ความรู้เกษตรกร เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิต โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญลงมาให้คำแนะนำตั้งแต่การปรับปรุงผืนดินให้เหมาะกับการเพาะปลูก กระบวนการปลูก การตัดแต่ง การคัดแยก การวางโรงเรือนที่เหมาะสม ตลอดจนสอนการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวางระบบเซนเซอร์ (Sensor) ควบคุมการใช้น้ำอัตโนมัติ การบันทึกข้อมูลออนไลน์ (Online) และการติดตามควบคุมผลผลิต
  • จัดสรรน้ำที่ผ่านการบำบัดและมีคุณภาพน้ำตามกฎหมายกำหนด จากบ่อเก็บน้ำธรรมชาติของโรงงานให้กับเกษตรกรที่ทำการเกษตรรอบโรงงาน เพื่อป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิต

ความเสี่ยงเชิงการเปลี่ยนแปลง (Transition Risks)

ความเสี่ยง ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า


กฎระเบียบเรื่องพลาสติก

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ค่าใช้จ่ายในการหาวัสดุทดแทนสูงขึ้นประมาณ 215  ล้านบาทต่อปี
  • ส่งเสริมชื่อเสียงด้านการจัดการขยะพลาสติกและบริการที่ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ผู้มีส่วนได้เสียให้ความเชื่อมั่นด้านการจัดการขยะพลาสติกของบริษัท
  • ส่งเสริมคู่ค้า ผู้บริโภค และชุมชนในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่
มาตรการรองรับ

บริษัทเตรียมความพร้อม และต่อยอดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (Roadmap) ด้านการจัดการขยะพลาสติกเริ่มตั้งแต่ปี 2561-2573 โดยประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินงานของ Extended Producer Responsibility (ERP) เพื่อขับเคลื่อนการลดมลพิษที่เกิดจากพลาสติก ตลอดจนมุ่งสู่การเป็นผู้นำในการลดใช้ถุงพลาสติก พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ผ่านการดำเนินโครงการด้านการจัดการพลาสติกที่หลากหลาย อาทิ การทำสัญลักษณ์บนผลิตภัณฑ์ที่มาจากการรีไซเคิล โครงการลด ละ เลิก การใช้พลาสติก โครงการรีไซเคิลขยะพลาสติกมาทำเป็นถุงหูหิ้วใช้ในร้าน 7-Eleven


การตลาด

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • เกิดนวัตกรรมใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
  • เจาะตลาดลูกค้ากลุ่มใหม่
  • ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจ สร้างรายได้และกำไรที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว
  • ส่งเสริมชื่อเสียงด้านบริการที่ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • มีส่วนได้เสียรับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์บริษัทในเชิงบวก
  • ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการรองรับ
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกของกระบวนการผลิตสินค้า ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบจนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้ และการกำจัดซาก
  • ขอการรับรองขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) [Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO] เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภค


ชื่อเสียง

ผลกระทบต่อธุรกิจ ผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ความต้องการสินค้าและบริการลดลงจากการรับรู้ภาพลักษณ์ของบริษัทในแง่ลบ
  • ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อผลิตภัณฑ์ บริการและแนวทางการดำเนินธุรกิจ อาจส่งผลต่อชื่อเสียงและมูลค่าของแบรนด์
  • ผู้มีส่วนได้เสียรับรู้ภาพลักษณ์ของแบรนด์บริษัทในเชิงบวก
  • ส่งเสริมผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการรองรับ
  • กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • กำหนดกลยุทธ์ "เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)" และดครงการเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
  • นำกลยุทธ์การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ Green Marketing มาปรับใช้กับธุรกิจ
  • จัดกิจกรรมการตลาดหรือสร้างแคมเปญเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญ "รวมพลัง คนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก"

กลยุทธ์เซเว่น โก กรีน (7 Go Green)

กลยุทธ์ เซเว่น โก กรีน (7 Go Green) มีจุดมุ่งหมายสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ผ่านการดำเนินงานที่หลากหลาย อาทิ การลดการใช้พลังงาน การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคและชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด เลิกการใช้ และคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกภายหลังอุปโภคบริโภคแล้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน พร้อมทั้งสื่อสารผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วยความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถตรวจสอบผลการดำเนินงานได้ภายใต้โครงการเปิดเผยข้อมูลด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่าน CDP โดยกลยุทธ์ เซเว่น โก กรีน มีแนวคิดริเริ่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใน 4 แนวทาง ดังนี้

1. Green Store

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2. Green Logistic

การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. Green Packaging

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. Green Living

การปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการร้านที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บริษัทมุ่งจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรรวมถึงการนำพลังงานกลับมาใช้ตามหลักการหมุนเวียน ทั้งในเรื่องของการออกแบบอาคาร การก่อสร้าง และบริหารจัดการพลังงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปรับปรุงระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการร้าน 7-Eleven ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร โลตัส และโรงงานผลิต ผ่านโครงการที่สนับสนุนกลยุทธ์ ดังนี้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

206281.10  เมกะวัตต์-ชั่วโมง

ลดการใช้พลังงาน

120439.68  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2800922  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น

1. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน

2. เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน

3. ปรับปรุงระบบทำความเย็นและการใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. ปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงาน

การขนส่งและการกระจายสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พัฒนาศูนย์กระจายสินค้าสีเขียว ทั้งในการออกแบบ การขนส่ง และการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคผ่านโครงการสนับสนุนกลยุทธ์ ดังนี้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

15.78  ล้านบาทต่อปี

ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน

1427.75  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

123323000  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม่ยืนต้น

1. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน

2. ระบบการขนส่งสีเขียวปรับเส้นทาง ปรับเปลี่ยนขนาดรถ

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วางแผนจัดการบรรจุภัณฑ์ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การใช้งานและการจำหน่าย รวมไปถึงการกำจัดหรือหมุนเวียนนำมาใช้ใหม่ อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า เพิ่มยอดขายให้บริษัทและสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 3 รูปแบบ ดังนี้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

33237.12  ตัน

ลดการใช้พลาสติก

1200.71  ตัน

ลดการใช้กระดาษ

480  ล้านชิ้น

ลดปริมาณการสร้างขยะจากการใช้สติ๊กเกอร์ หลอด และกระดาษหุ้มหลอด

391736.36  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

9110147  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น

1. ลดการใช้พลาสติก ณ แหล่งกำเนิด

พัฒนาบรรจุภัณฑ์บนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม สำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัท


2. ลด และทดแทนการใช้พลาสติก

ส่งเสริมผู้บริโภคและพนักงานด้วยแนวคิด "ลดรับ ลดให้ = ลดใช้"



3. ลดขยะบรรจุภัณฑ์ทั้งพลาสติกและไม่ใช่พลาสติก สู่การฝังกลบหลังการอุปโภคบริโภค

สร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา คัดแยก และนำกลับมาใช้ใหม่

การสร้างจิตสำนึก รักษ์สิ่งแวดล้อม

ร่วมมือกับ ลูกค้า ชุมชน NGOs หน่วยงานภาครัฐ องค์กรระดับสากลและระดับท้องถิ่น ดำเนินโครงการที่หลากหลายเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

12247  จุดทั่วประเทศ

จุดคัดแยกขยะ

16260.86  ตันต่อปี

ลดขยะอาหารสู่การฝังกลบ

204950  ต้น

ปลูกต้นไม้สะสม

1181779.73  มื้ออาหาร

ส่งมอบอาหารส่วน

244  ชุมชน

มอบให้ชุมชน

711.8  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

16555  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น (คำนวณจากการส่งมอบอาหารส่วนเกินให้มูลนิธิ)

1. สร้างจิตสำนึกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

2. ลดอาหารส่วนเกิน อาหารสร้างบุญ

3. ลดขยะ เพิ่มประโยชน์ คัดแยกขยะ รวบรวมส่งต่อไปรีไซเคิล

4. เพิ่มพื้นที่สีเขียว ปกป้อง ฟื้นฟูระบบนิเวศ

นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) เพื่อทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กรสุทธิเป็นศูนย์หรือที่เรียกว่า Carbon Neutral ผ่านการดำเนินงาน ดังนี้

โครงการพัฒนาและสรรหาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (ต่อเนื่อง)

บริษัท ซีพีแรม จำกัด และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญต่อการลดก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิตสินค้า โดยดำเนินการประเมินการปล่อยและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจาการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบจนเข้าสู่กระบวนการผลิต การขนส่ง การนำไปใช้ และการกำจัดซาก พร้อมทั้งดำเนินการขอรับรองการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยในปี 2565 บริษัทดำเนินการขึ้นทะเบียนรับรองฉลากสินค้าคาร์บอน (Carbon Footprint Product Label) จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ สร้างยอดขายกว่า 844 ล้านบาท

การสื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทดำเนินการสื่อสารและสร้างความตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน สิ่งแวดล้อม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทั้งสายสำนักงาน สายปฏิบัติการ และสายกระจายสินค้า รวมถึงบริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน โดยสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ

  • การทบทวนความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและสอบประเมินผลการเรียนรู้ CG Quiz ให้กับพนักงานทุกระดับ
  • ให้ความรู้หัวข้อความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับ Risk Champion
  • ให้ความรู้ วิธีการประหยัดพลังงานในสำนักงานและร้าน 7-Eleven ผ่านสื่อโปสเตอร์
  • ผนวกประเด็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
  • ข้อมูลประชาสัมพันธ์ทางอีเมล และแอปพลิเคชัน LINE
  • สร้างการมีส่วนร่วมให้กับพนักงานในกิจกรรมปลูกต้นไม้ภายในบริษัท และร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

โดยในปี 2565 มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานจำนวน 118,190 คน ทั่วประเทศ นอกจากนี้ บริษัทได้มีการประเมินการรับรู้และความเข้าใจด้านความยั่งยืนของพนักงานทุกระดับ ของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พบว่าร้อยละ 100  ของพนักงานรับรู้และเข้าใจ

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

มาตรฐาน GRI รายการ หน่วย 2562 2563 2564 2565
305-2 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,431,181.28 1,808,509.72 1,778,726.26 1,936,757.61
305-1 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 214,860.15 236,045.11 324,357.53 435,377.38
  - ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการรั่วไหลและอื่นๆ (Fugitive Emissions) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 176,066.41 194,989.93 277,558.52 384,212.73
  - ก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสีย ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 3,742.42 819.66 1,230.88 556.81
  - การเผาไหม้เชื้อเพลิงอยู่กับที่ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 25,468.24 30,428.86 29,598.88 30,645.31
  - การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีการเคลื่อนที่ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 9,021.92 9,253.95 14,834.57 18,575.28
305-1 (c) - การเผาไหม้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biogenic) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 579.15 552.71 1,134.68 1,387.26
305-2 (a) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 2) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,216,421.13 1,572,464.61 1,454,368.73 1,501,380.23
  - พลังงานไฟฟ้าที่ซื้อจากภายนอก ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 1,216,421.13 1,572,464.61 1,454,368.73 1,501,380.23
  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการใช้พลังงานทดแทน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2,491.45 11,851.72 31,149.16 53,982.19
305-4 (a) ความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Scope 1 และ Scope 2) ต่อหน่วยรายได้ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อล้านบาท 2.51 3.31 3.03 2.27
305-3 (a) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (Scope 3) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 208,627.65 243,095.87 13,131,498.28 13,191,694.60
  - การซื้อสินค้าและบริการ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A 12,824,060.79 12,525,820.40
  - สินค้าทุน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 47,305.39
  - การขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้า ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 90,128.25 141,122.76 197,321.23 268,798.35
  - การจัดการของเสียที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 192,510.20 90,956.37 99,866.65 90,303.47
  - การเดินทางเพื่อธุรกิจ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2,588.75 793.62 141.14 2,077.74
  - การเดินทางของพนักงาน ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 153,865.70
  - การขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าปลายน้ำ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า N/A N/A N/A 94,192.64
  - การจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย (กล้วยหอมทอง) ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 13,528.70 10,226.12 10,108.25 9,330.91
  ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการลดใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 33,222.39 85,212.55 265,268.48 250,615.62
  สัดส่วนของร้านในพื้นที่ตั้งเสี่ยงต่ออุทกภัยที่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงให้สามารถรองรับความเสี่ยง ร้อยละ N/A N/A 52 52

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า