การจัดการขยะอย่างยั่งยืน



ความเสี่ยงและโอกาส
รายงานขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) พบว่า 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั้งปีกลายเป็นอาหาร ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยการผลิตอาหารที่มากเกินความจำเป็น ตลอดจนการขนส่ง การจัดจำหน่าย รวมไปถึงการบริโภคที่ก่อให้เกิดอาหารส่วนเกินเพิ่มขึ้น โดยส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณร้อยละ 8 ของโลก ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการอาหารส่วนเกินและขยะอาหาร สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เป้าหมายที่ 12.3 การลดปริมาณขยะอาหารลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 ตลอดจนการส่งเสริมการลดของเสียในภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และผู้บริโภค ให้สามารถหมุนเวียนนำกลับไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดการขาดแคลนทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด พร้อมทั้งสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้น
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ลดขยะฝังกลบให้เป็น 0
ทุกพื้นที่การดำเนินการของธุรกิจ มีโครงการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ หรือองค์กรอิสระภายนอกเพื่อช่วยสนับสนุนผลกระทบเชิบลบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2564
ปริมาณของเสียทั้งหมด (ตัน)
ปริมาณของเสียทั้งหมดต่อรายได้ (ตันต่อล้านบาท)


ปริมาณของเสียที่นำไปใช้ประโยชน์ (ตัน)
ปริมาณของเสียที่นำไปกำจัด (ตัน) ด้วยวิธีการฝังกลบ


ปริมาณสูญเสียอาหาร (Food Loss) และขยะอาหาร (Food Waste) ทั้งหมด (ตัน)
ปริมาณสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมด (ตัน) จำแนกตามกิจกรรมธุรกิจหรือวงจรชีวิต (Lifecycle Stage)


ความเข้มข้นของการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดเปรียบเทียบกับยอดขายสินค้าประเภทอาหาร

สัดส่วนของการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร จำแนกตามหมวดอาหาร (Food Category)

ปริมาณขยะอาหารที่นำกลับไปใช้ประโยชน์
ปริมาณขยะอาหารที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ จำแนกตามวิธีกำจัด (Destination)


ประเภทโครงการ | ชื่อโครงการ |
---|---|
![]() |
|
![]() |
|
![]() |
|
แนวทางการดำเนินงาน
การตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการของเสียและขยะอาหารอย่างยั่งยืน ส่งผลให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) มีปริมาณของเสียและขยะอาหารจากการดำเนินธุรกิจที่ลดลง ซึ่งช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงเรื่องการใช้ทรัพยากรเกินจำเป้นในการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการมุ่งสู่การจัดการของเสียด้วยวิธีฝังกลบจนเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) ในปี 2573 และร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติเป้าหมายที่ 12 ผ่านการดำเนินโครงการบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus) การสูญเสียอาหาร (Food Loss) ในกระบวนการผลิต และขยะอาหาร (Food Waste) รวมถึงของเสีย (Waste) ประเภทอื่นๆ ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ โดยประยุกต์ใช้แนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ภายใต้หลักการ 1P3Rs 1. ป้องกัน (Prevention) 2. การลดใช้ (Reducation) เพิ่มประโยชน์ 3. การนำมาผลิตเพื่อใช้ซ้ำ (Reuse) 4. การนำมาใช้ใหม่ (Recycling) ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ซึ่งหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จ คือ การจัดทำฐานข้อมูลโดยจำแนกตามกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งผู้ผลิต การขนส่งกระจายสินค้า การจัดจำหน่าย ตลอดจนการบริโภคที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดของเสีย (Waste) และขยะอาหาร (Food Waste) ทำให้บริษัทสามารถประเมินการสูญเสีย วิเคราะห์สัดส่วนองค์ประกอบ และประเภทของเสียและขยะอาหาร นำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ และมาตรการลดการสูญเสีญตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เหมาะสมและตรงจุด รวมถึงสร้างความร่วมมือกับคู่ค้าได้อย่างเหมาะสม

บริษัทตระหนักถึงการเกิดของเสียจากการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง การกระจายสินค้า รวมถึงการจำหน่าย ซึ่งอาจก่อให้เกิดปริมาณของเสีย ส่งผลประสิทธิภาพของกระบวนต่างๆ ดังกล่าวลดลง และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียบริษัทจึงดำเนินโครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) และกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กระบวนการติดตามตรวจสอบของเสีย การนำของเสียกลับไปใช้ใหม่ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการร่วมมือกับชุมชน คู่ค้า และองค์กรภายนอกเพื่อลดปริมาณของเสียและขยะอาหารอย่างยั่งยืน
ลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และจัดการขยะอาหาร (Food Waste)
บริษัทนำแนวทางการบริหารจัดการอาหารเพื่อลดปริมาณขยะอาหารขององค์การอาหารและเกษตรเห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of United Nations : FAO) ร่วมกับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการของบริษัท ผ่านการดำเนินโครงการต่างๆ ในปี 2564 ดังนี้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ประเภทของเสีย | ปริมาณทั้งหมด (ร้อยละ) | การนำไปใช้ประโยชน์ |
---|---|---|
![]() |
68.04 |
|
![]() |
0.67 |
|
![]() |
16.43 |
|
![]() |
1.69 |
|
![]() |
0.05 |
|
![]() |
0.27 |
|
![]() |
4.51 |
|
![]() |
8.34 |
|
ในปี 2564 บริษัทมีปริมาณขยะอาหารทั้งหมด 58,563.07 ตัน โดยขยะอาหารประเภท กลุ่มพืช ผัก และผลไม้ มีปริมาณสูงที่สุดจำนวน 19,899.06 ตัน คิดเป็นร้อยละ 33.98 ของบริมาณขยะอาหารปี 2564

ข้อมูลอื่นๆ
ผลการดำเนินงานด้านการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน
GRI Standared | รายการ | หน่วย | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 |
---|---|---|---|---|---|---|
306-3 (a) 2020 | ปริมาณของเสียทั้งหมด | ตัน | 135,440.47 | 174,416.61 | 126,402.29 | 170,754.05 |
306-4 (a) 2020 | ปริมาณของเสียที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด | ตัน | 88,892.43 | 126,259.35 | 78,472.83 | 119,309.77 |
306-4 (b) 2020 | ปริมาณของเสียอันตราย | ตัน | 1.94 | 18.35 | 59.40 | 48.26 |
– นำกลับมาใช้ใหม่ | ตัน | 1.94 | 17.89 | 45.83 | 24.81 | |
– นำไปเป็นเชื้อเพลิงผสม | ตัน | N/A | 0.46 | 13.57 | 23.45 | |
306-4 (c) 2020 | ปริมาณของเสียไม่อันตราย | ตัน | 88,690.49 | 126,241.00 | 78,352.30 | 119,261.51 |
– ใช้ซ้ำ | ตัน | N/A | N/A | 61.13 | 82.33 | |
– นำกลับมาใช้ใหม่ | ตัน | 82,586.89 | 119,780.06 | 70,008.31 | 109,961.02 | |
– ปุ๋ยหมัก | ตัน | 6,103.60 | 6,460.94 | 6,612.28 | 7,254.84 | |
– นำไปเป็นเชื้อเพลิงผสม | ตัน | N/A | N/A | 1,730.71 | 1,963.33 | |
306-5 (a) 2020 | ปริมาณของเสียที่นำไปกำจัดทั้งหมด | ตัน | 46,748.03 | 48,202.29 | 47,929.46 | 51,444.28 |
306-5 (b) 2020 | ปริมาณของเสียอันตราย | ตัน | 29.00 | 25.84 | 9.78 | 79.42 |
– เผาทะลาย | ตัน | 26.54 | 20.20 | 4.33 | 71.03 | |
– ฝังกลบ | ตัน | 2.45 | 5.64 | 5.45 | 8.39 | |
306-5 (c) 2020 | ปริมาณของเสียไม่อันตราย | ตัน | 46,719.04 | 48,176.45 | 47,919.68 | 51,364.86 |
– เผาทำลาย | ตัน | 1,955.43 | 1,778.93 | 0 | 5.41 | |
– ฝังกลบ | ตัน | 44,763.61 | 46,397.52 | 47,919.68 | 51,359.46 | |
ร้อยละปริมาณของเสียที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อปริมาณของเสียทั้งหมด | ร้อยละ | 65 | 72 | 62 | 69.87 | |
306-3 (c) 2020 | ปริมาณขยะอาหารทั้งหมด | ตัน | 54,702 | 58,864 | 56,393 | 58,563.07 |
– พืช ผัก และผลไม้ | ตัน | N/A | N/A | 7,764 | 19,899.06 | |
– เนื้อสัตว์และอาหารทะเล | ตัน | N/A | N/A | 6,408 | 3,766.27 | |
– ผลิตภัณฑ์จากนม | ตัน | N/A | N/A | 2,381 | 2,315.32 | |
– อาหารพร้อมรับประทาน | ตัน | N/A | N/A | 22,106 | 18,041.47 | |
– เครื่องดื่ม | ตัน | N/A | N/A | 1,794 | 1,265.83 | |
– อาหารสำเร็จรูป | ตัน | N/A | N/A | 1,077 | 655.59 | |
– เบเกอรี่ | ตัน | N/A | N/A | 14,869 | 12,593.43 | |
– อื่นๆ | ตัน | N/A | N/A | N/A | 26.11 | |
306-4 (a) 2020 | ปริมาณขยะอาหารที่นำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด | ตัน | 17,300 | 17,943 | 18,033.90 | 12,611.83 |
– นำไปผลิตเป็นพลังงาน | ตัน | N/A | N/A | 557.70 | 597.25 | |
– นำไปผลิตเป็นอาหารสัตว์ | ตัน | N/A | N/A | 17,476.20 | 12,014.58 | |
306-5 (a) 2020 | ปริมาณขยะอาหารที่นำไปกำจัดทั้งหมด | ตัน | 37,402 | 40,921 | 38,345 | 45,951.24 |
– ฝังกลบ | ตัน | N/A | N/A | 38,345 | 45,951.24 | |
ปริมาณขยะอาหารที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ | ตัน | N/A | N/A | 13.45 | 21,343.72 | |
– บริจาค | ตัน | N/A | N/A | 13.45 | 70.40 | |
– กำหนดมาตรฐานการสั่งและการทิ้ง | ตัน | N/A | N/A | N/A | 5,079.31 | |
– ทำผลิตภัณฑ์ใหม่ | ตัน | N/A | N/A | N/A | 1,969 | |
– ผลิตอาหารสัตว์ | ตัน | N/A | N/A | N/A | 14,225 |
การวิเคราะห์และแจกแจ้งข้อมูลปริมาณขยะอาหาร ซึ่งเป็นชุดข้อมูลย่อยที่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลของเสียที่ปรากฎข้างต้นแล้ว
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการจัดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร | ดาวน์โหลด |