ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566
ปริมาณการใช้น้ำสุทธิ
ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด จำแนกตามแหล่งที่มา
ความเข้มข้นการใช้น้ำสุทธิต่อหน่วยรายได้
ปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด*
หมายเหตุ : ปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด เป็นค่าการตรวจวัดตามที่กฎหมายกำหนดและมีขอบเขตข้อมูลเฉพาะบริษัท ซีพีแรม จำกัด
คุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด
ความเน่าเสียของน้ำที่เกิดจากสารเคมี
ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี
ปริมาณของแข็ง สารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ
ค่าของแข็งแขวนลอย
หมายเหตุ : ปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด เป็นค่าการตรวจวัดตามที่กฎหมายกำหนดและมีขอบเขตข้อมูลเฉพาะ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และ พื้นที่ดำเนินการศูนย์กระจายสินค้า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
ปริมาณการใช้น้ำของบริษัทในพื้นที่ที่มีความเครียดน้ำ
การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
บริษัทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ อีกทั้งส่งเสริมการดำรงอยู่ของระบบนิเวศ ตลอดจนติดตามความเสี่ยงด้านการจัดการน้ำของคู่ค้าที่สำคัญอย่างมีระบบ การติดตามแหล่งที่มาและปริมาณสินค้าเกษตรกรรมจากคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 ที่อยู่ในพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” เป็นต้น
ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทใช้น้ำประปาเป็นหลักในการดำเนินธุรกิจทั่วประเทศ อาทิ ใช้ในกระบวนการผลิต งานซักล้าง งานดูแลความสะอาด นอกจากนี้ ยังมีการใช้น้ำบาดาลในบางพื้นที่ที่มีการดำเนินธุรกิจของ บริษัท ซีพีแรม จำกัด และบริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการประเมินความเสี่ยงพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” ด้วยเครื่องมือ Aqueduct ของ World Resource Institute ครอบคลุมทุกพื้นที่การดำเนินธุรกิจ จากผลการประเมินความเสี่ยงพบว่าร้อยละ 39.62 ของพื้นที่ดำเนินการบริษัทอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก
บริษัทเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายคณะทำงานด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนลดการใช้น้ำ พร้อมทั้งดำเนินโครงการต่างๆ ในพื้นที่ดำเนินธุรกิจทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการลดการใช้น้ำอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ บริษัทได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” สำหรับคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 จำนวน 115 ราย ด้วยเครื่องมือ Aqueduct ซึ่งเป็นการประเมินความเสี่ยงแบบเจาะจงพื้นที่ จากผลการประเมินพบว่า คู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 จำนวน 34 ราย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” ระดับสูงมาก
สัดส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความเครียดน้ำ (Water Stress)
พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินความเสี่ยงสำหรับคู่ค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่เป็นประจำ เช่น ติดตามแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรกรรมในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ เป็นต้น อีกทั้งบริษัทได้ร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อดำเนินงานลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำและระบบนิเวศอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนลดความเสี่ยงด้านน้ำ ตลอดจนฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับชุมชนในปัจจุบันบริษัทได้รับความร่วมมือกับคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 ที่มีความเสี่ยงสูงด้าน “ความเครียดน้ำ” ดำเนินลดความเสี่ยงและผลกระทบด้านน้ำอย่างต่อเนื่องร้อยละ 100
สินค้าเกษตรกรรมจากคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 1 ในพื้นที่ที่มี “ความเครียดน้ำ” | |
---|---|
น้ำมันปาล์ม | |
ข้าว | |
น้ำตาล |
โปรแกรมด้านการอนุรักษ์น้ำ
บริษัทนำแนวปฏิบัติด้านการจัดการน้ำที่ยั่งยืนมาใช้กับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการหมุนเวียนน้ำเสียให้กลับมาใช้ใหม่ได้ เป็นต้น ซึ่งสามารถลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะและธรรมชาติผ่านโครงการต่างๆ ดังนี้
โครงการนำน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศกลับมาใช้ใหม่
ติดตั้งถังเก็บน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศบริเวณโรงอาหาร เพื่อนำน้ำทิ้งหมุนเวียนไปใช้ประโยชน์ เช่น รดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ประหยัดการใช้น้ำได้มากกว่า
โครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้รดน้ำต้นไม้ ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง และศูนย์กระจายสินค้าบุรีรัมย์
นำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ได้มาตรฐานมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ในระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบสปริงเกอร์ ภายในศูนย์กระจายสินค้า เป็นต้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดการใช้น้ำบาดาลได้
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ บริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลาดหลุมแก้ว
นำน้ำใต้ดินซึ่งมีอุณหภูมิสูงตามธรรมชาติมาใช้ชำระล้างอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าเพื่ออุ่นน้ำ นอกจากนี้ ยังบำบัดน้ำจากกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพดีกว่าน้ำทิ้งทั่วไปตามที่กำหมายกำหนด เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การนำไปใช้เป็นน้ำดิบในระบบระบายความร้อนหอผึ่งเย็น ใช้รดน้ำต้นไม้และชำระล้างบริเวณพื้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดการใช้น้ำประปาในกระบวนการผลิต
ลดการใช้ไฟฟ้าในระบบลง
สามารถนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์
โครงการนำน้ำทิ้งจากบึงที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขตอีอีซี อาคาร SKY BRIGHT CENTER โรงอาหาร อาคาร MEP
นำน้ำจากบึงที่ผ่านกระบวนการบำบัดที่ได้มาตรฐานมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ในชักโครก ปัสสาวะ และรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดการใช้น้ำประปาได้
โครงการรักษ์น้ำ รักอนาคต บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่สำหรับรดน้ำต้นไม้ผ่านระบบอัตโนมัติภายในศูนย์จำหน่ายสินค้า ซึ่งช่วยสานต่อความสำเร็จของโครงการเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำ "รักษ์น้ำ รักอนาคต" อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2561 ถึงปัจจุบัน
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ศูนย์จำหน่ายสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ
ลดปริมาณน้ำประปาที่ดึงมาใช้
โครงการปันน้ำใสให้ชาวนา บริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลำพูน
บริษัทได้ขออนุญาตระบายน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตที่ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงาน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาใกล้เคียง เพื่อให้เกษตรกรโดยรอบได้ใช้น้ำทำนาและสามารถทำนานอกฤดูได้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ลดการดึงน้ำจากแหล่งน้ำชุมชนได้กว่า
เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากกว่า
โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
บริษัทนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมากักเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น และผันน้ำส่วนเกินไปยังพื้นที่ที่จัดสรรลงสู่พื้นดิน เพื่อลดการใช้น้ำและใช้ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูก โดยโครงการสามารถลดผลกระทบจากสภาวะขาดแคลนน้ำและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยบริษัทมีแผนที่จะขยายผลโครงการต้นแบบนี้ไปสู่สาขาอื่นๆ ในอนาคตต่อไป
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ปริมาณน้ำที่บำบัดได้กว่า
ผันลงสู่ธนาคารน้ำใต้ดินกว่า
ลดค่าใช้จ่ายได้กว่า
ลดเวลาในการใช้แรงงานคนสำหรับการรดน้ำ
ข้อมูลอื่นๆ
ผลการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ
มาตรฐาน GRI | รายการ | หน่วย | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 |
---|---|---|---|---|---|---|
303-3 (a) | ปริมาณการนำน้ำมาใช้ทั้งหมด | ล้านลูกบาศก์เมตร | 9.35 | 16.68 | 15.86 | 18.79 |
- น้ำใต้ดิน | ล้านลูกบาศก์เมตร | 1.35 | 1.48 | 1.39 | 1.40 | |
- น้ำจากผู้จัดหาภายนอก | ล้านลูกบาศก์เมตร | 8.00 | 15.20 | 14.47 | 17.39 | |
- น้ำประปาจากผิวดิน | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | 15.06 | 14.26 | 17.23 | |
- น้ำประปาจากน้ำบาดาล | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | 0.14 | 0.21 | 0.16 | |
303-3 (b) | ปริมาณนำน้ำจากแหล่งขาดแคลนน้ำมาใช้ทั้งหมด | ล้านลูกบาศก์เมตร | 3.67 | 4.87 | 4.58 | 8.52 |
- น้ำใต้ดิน | ล้านลูกบาศก์เมตร | 1.29 | 1.32 | 1.23 | 1.27 | |
- น้ำจากผู้จัดหาภายนอก | ล้านลูกบาศก์เมตร | 2.38 | 3.55 | 3.35 | 7.24 | |
- น้ำประปาจากผิวดิน | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | 3.48 | 3.23 | 7.14 | |
- น้ำประปาจากน้ำบาดาล | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | 0.07 | 0.12 | 0.10 | |
303-3 (b) | ปริมาณน้ำสะอาดที่ถูกนำมาใช้ทั้งหมด | ล้านลูกบาศก์เมตร | 9.34 | 16.66 | 15.83 | 18.79 |
- น้ำสะอาด (<=1,000 mg/L Total Dissolved Solids) | ล้านลูกบาศก์เมตร | 9.35 | 16.66 | 15.83 | 18.79 | |
- น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำทั้งหมด | ล้านลูกบาศก์เมตร | 0.51 | 0.75 | 0.41 | 0.39 | |
ความเข้มข้นการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ | ล้านลูกบาศก์เมตรต่อล้านบาท | 16.38 | 30.52 | 27.00 | 22.04 | |
303-4 (b) 2018 | ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านผิวดิน (TDS <=1,000 mg/L) | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | N/A | 10.42 | 11.41 |
- COD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | 5.83 | 0.57 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | 60,793.06 | 6,546.79 | ||
- BOD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | 2.17 | 0.03 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | 22,578.32 | 356.91 | ||
- ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | 16.24 | 7.62 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | 169,224.54 | 86,887.51 | ||
303-4 (b) 2018 | ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านผิวดิน (TDS >1,000 mg/L) | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | N/A | N/A | 11,569.00 |
- COD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 0 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 0 | ||
- BOD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 0 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 0 | ||
- ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 0 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 0 | ||
303-4 (b) 2018 | ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมส่งบุคคลที่ 3 (TDS <=1,000 mg/L) | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | N/A | N/A | 0.25 |
- COD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 50.76 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 12,622.52 | ||
- BOD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 10.13 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 2,519.93 | ||
- ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 577.20 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 143,541.21 | ||
303-4 (b) 2018 | ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมส่งบุคคลที่ 3 (TDS >1,000 mg/L) | ล้านลูกบาศก์เมตร | N/A | N/A | N/A | 0.36 |
- COD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 422.85 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 153,905.29 | ||
- BOD | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 42.12 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 15,330.82 | ||
- ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ | มิลลิกรัมต่อลิตร | N/A | N/A | N/A | 1,211.08 | |
กิโลกรัม | N/A | N/A | N/A | 440,835.69 |