การดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด

ปริมาณการใช้น้ำทั้งหมด จำแนกตามแหล่งที่มา

ปริมาณการใช้น้ำต่อหน่วยรายได้

ปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด

คุณภาพน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด

ความเน่าเสียของน้ำที่เกิดจากสารเคมี

ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี

ปริมาณของแข็ง สารอนินทรีย์และอินทรีย์ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ

ค่าของแข็งแขวนลอย

หมายเหตุ : ปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัด เป็นค่าการตรวจวัดตามที่กฎหมายกำหนดและมีขอบเขตข้อมูลเฉพาะบริษัท ซีพีแรม จำกัด และ พื้นที่ดำเนินการศูนย์กระจายสินค้าบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำจากแหล่งที่มีความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำ (Water Stress) พื้นที่ดำเนินการของบริษัท

การจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

เนื่องจากน้ำเป็นทรัพยาหลักที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต และดำเนินธุรกิจ บริษัทจึงมุ่งดำเนินการบริหารจัดการดูแลทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ ผ่านโครงการดังนี้

ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ระดับน้ำประปาทั่วประเทศ ถือเป็นแหล่งน้ำหลักที่บริษัทนำมาใช้ในงานทั่วไป เช่น ใช้ในงานซักล้าง งานดูแลความสะอาด และนำไปใช้ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังมีการใช้น้ำบาดาลในบางพื้นที่ที่มีการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซีพีแรม จำกัด และบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ บริษัทได้ดำเนินการบริการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการประเมินควาามเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำ (Water Stress) ด้วยเครื่อง Aqueduct ของ World Resource Institute ครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินธุรกิจ ซึ่งผลการประเมินความเสี่ยงพบว่าร้อยละ 19.02 ของพื้นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับสูงมาก (Extremely High) และร้อยละ 17.11 ของพื้นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงระดับสูง (High)

ทั้งนี้ บริษัทบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว โดยการจัดตั้งคณะทำงานด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อทำหน้าที่จัดการแผนลดการใช้น้ำ พร้อมทั้งดำเนินโครงการที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนการลดการใช้น้ำอย่างเหมาะสม

สัดส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความเครียดน้ำ (Water Stress)

นอกจากนี้ บริษัทดำเนินการตรวจประเมินความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำสำหรับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 Suppliers) จำนวน 119 ราย ด้วยเครื่องมือ Aqueduct ซึ่งผลการประเมินพบว่า คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 จำนวน 40 ราย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านการขาดแคลนน้ำระดับสูงมากและระดับสูง พร้อมทั้งมีการติดตาม ประเมินความเสี่ยงสำหรับคู่ค้ากลุ่มดังกล่าวอยู่เป็นประจำ อีกทั้งบริษัทได้ร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อดำเนินงานลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกฎหมาย อาทิ ร่วมมือกับหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนลดความเสี่ยงด้านน้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น ตลอดจนฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำในชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับชุมชน ในปัจจุบันบริษัทได้รับความร่วมมือกับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ที่มีความเสี่ยงสูงด้านการขาดแคลนน้ำแล้วร้อยละ 100 อีกทั้งดำเนินโครงการลดความเสี่ยงและผลกระทบด้านน้ำอย่างต่อเนื่อง

โปรแกรมด้านการอนุรักษ์น้ำ

บริษัท ตระหนักในเรื่องการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า และการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดการน้ำเสียเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสามารถลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่พื้นที่สาธารณะผ่านโครงการที่หลากหลาย อาทิ

โครงการนำน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศกลับมาใช้ใหม่ ศูนย์กระจายสินค้าสุวรรณภูมิ

ติดตั้งถึงเก็บน้ำทิ้งบริเวนโรงอาหาร ซึ่งมีการระยายน้ำจากท่อน้ำทิ้งในเครื่องปรับอากาศเพื่อนำน้ำทิ้งดังกล่าวกลับมาใช้ประโยชน์ อาทิ รดน้ำต้นไม้ ซึ่งสามารถประหยัดการใช้น้ำได้กว่า 40.15 ลูกบาศก์เมตรต่อปี


โครงการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้รดน้ำต้นไม้ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง และศูนย์กระจายสินค้าบุรีรัมย์

นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดที่ได้มาตรฐานมาใช้ในระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติแบบสปริงเกอร์ ภายในศูนย์กระจายสินค้า สามารถลดการใช้น้ำบาดาลได้ 216 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

Zero Wastewater Discharge (ต่อเนื่อง)

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ลาดหลุมแก้ว

การนำน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดินมาใช้แทนการใช้แหล่งน้ำจากผิวดิน เป็นการนำน้ำบาดาลที่สูบมาจากความลึกประมาณ 500 เมตร อุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส มาใช้ชำระล้างอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าเพื่ออุ่นน้ำ นอกจากนี้ ยังบำบัดน้ำที่สามารถบำบัดน้ำทิ้งและรีไซเคิลน้ำจากกระบวนการผลิตให้มีคุณภาพดีกว่าน้ำทิ้งทั่วไปตาที่กฎหมายกำหนด เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น การนำไปใช้เป็นน้ำดิบ ในระบบระบายความร้อนหอผึ่งเย็น ใช้รดน้ำต้นไม้และชำระล้างบริเวณพื้น เป็นต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ


23628  ลูกบาศก์เมตร

ลดการใช้น้ำประปาในกระบวนการผลิตลง

352510  กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี

ลดการใช้ไฟฟ้าในระบบลง

674836  ลูกบาศก์เมตร

นำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์


โครงการปันน้ำใสให้ชาวนา บริษัท ซีพีแรม จำกัด โรงงานลำพูน

บริษัทส่งเสริมการหมุนเวียนนำน้ำมาใช้ซ้ำ เพื่อใช้ในด้านการอุปโภคของชุมชนที่ขาดแคลนน้ำในการทำนาให้สามารถทำนานอกฤดู ได้โดยการขออนุญาตระบายน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียซึ่งมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมให้กับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำนาใกล้เคียงโรงงาน ช่วยลดการดึงน้ำจากแหล่งน้ำชุมชนได้กว่า 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี


โครงการรักน้ำ รักอนาคต บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

ติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่สำหรับรดน้ำต้นไม้ผ่านระบบอัตโนมัติ ภายในศูนย์จำหน่ายสินค้า ซึ่งช่วยสานต่อความสำเร็จของโครงการเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำ "รักษ์น้ำ รักอนาคต" อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน สามารถลดปริมาณน้ำที่ดึงมาใช้ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ในปี 2565 มีจำนวนศูนย์จำหน่ายสินค้าที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 72 สาขา ลดการใช้น้ำประปาได้ 93,960 - 104,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี


โครงการธนาคารน้ำใต้ดิน บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)

บริษัทมุ่งสร้างความตระหนักถึงสภาวะขาดแคลนน้ำร่วมกับชุมชน โดยการน้อมนำแนวพระราชดำริของในหลวงรัชการที่ 9 ในการพัฒนาพื้นที่อุ้มน้ำให้แก่ชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสภาวะแห้งแล้ง บริษัทได้นำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว มากักเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นและผันน้ำส่วนเกินไหลตามรางไปยังพื้นที่ที่จัดสรรลงสู่พื้นดิน เพิ่มเติมเต็มความชุ่มชื้นจนน้ำไปสู่ประโยชน์สำหรับการเพาะปลูก โครงการดังกล่าวสามารถลดผลกระทบจากสภาวะขาดแคลนน้ำ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยบริษัทดำเนินโครงการนำร่องที่ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร สาขายโสธร ตั้งแต่ปี 2563 และมีแผนที่จะขยายผลโครงการต้นแบบนี้ไปสู่สาขาอื่นๆ ต่อไป

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ


36  ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ปริมาณน้ำที่บำบัดได้กว่า

16  ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

ผันลงสู่ธนาคารน้ำใต้ดินกว่า

77760  บาทต่อปี

ลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า

720  ชั่วโมงต่อปี

ลดเวลาในการใช้แรงงานคนสำหรับการรดน้ำคิดเป็น

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ

มาตรฐาน GRI รายการ หน่วย 2562 2563 2564 2565
303-3 (a) ปริมาณการนำน้ำมาใช้ทั้งหมด ล้านลูกบาศก์เมตร 9.35 16.68 15.86 18.79
  - น้ำใต้ดิน ล้านลูกบาศก์เมตร 1.35 1.48 1.39 1.40
  - น้ำจากผู้จัดหาภายนอก ล้านลูกบาศก์เมตร 8.00 15.20 14.47 17.39
    - น้ำประปาจากผิวดิน ล้านลูกบาศก์เมตร N/A 15.06 14.26 17.23
    - น้ำประปาจากน้ำบาดาล ล้านลูกบาศก์เมตร N/A 0.14 0.21 0.16
303-3 (b) ปริมาณนำน้ำจากแหล่งขาดแคลนน้ำมาใช้ทั้งหมด ล้านลูกบาศก์เมตร 3.67 4.87 4.58 8.52
  - น้ำใต้ดิน ล้านลูกบาศก์เมตร 1.29 1.32 1.23 1.27
  - น้ำจากผู้จัดหาภายนอก ล้านลูกบาศก์เมตร 2.38 3.55 3.35 7.24
    - น้ำประปาจากผิวดิน ล้านลูกบาศก์เมตร N/A 3.48 3.23 7.14
    - น้ำประปาจากน้ำบาดาล ล้านลูกบาศก์เมตร N/A 0.07 0.12 0.10
303-3 (b) ปริมาณน้ำสะอาดที่ถูกนำมาใช้ทั้งหมด ล้านลูกบาศก์เมตร 9.34 16.66 15.83 18.79
  - น้ำสะอาด (<=1,000 mg/L Total Dissolved Solids) ล้านลูกบาศก์เมตร 9.35 16.66 15.83 18.79
  - น้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำทั้งหมด ล้านลูกบาศก์เมตร 0.51 0.75 0.41 0.39
  ความเข้มข้นการนำน้ำมาใช้ต่อหน่วยรายได้ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อล้านบาท 16.38 30.52 27.00 22.04
303-4 (b) 2018 ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านผิวดิน (TDS <=1,000 mg/L) ล้านลูกบาศก์เมตร N/A N/A 10.42 11.41
  - COD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A 5.83 0.57
กิโลกรัม N/A N/A 60,793.06 6,546.79
  - BOD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A 2.17 0.03
กิโลกรัม N/A N/A 22,578.32 356.91
  - ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A 16.24 7.62
กิโลกรัม N/A N/A 169,224.54 86,887.51
303-4 (b) 2018 ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านผิวดิน (TDS >1,000 mg/L) ล้านลูกบาศก์เมตร N/A N/A N/A 11,569.00
  - COD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 0
กิโลกรัม N/A N/A N/A 0
  - BOD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 0
กิโลกรัม N/A N/A N/A 0
  - ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 0
กิโลกรัม N/A N/A N/A 0
303-4 (b) 2018 ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมส่งบุคคลที่ 3 (TDS <=1,000 mg/L) ล้านลูกบาศก์เมตร N/A N/A N/A 0.25
  - COD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 50.76
กิโลกรัม N/A N/A N/A 12,622.52
  - BOD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 10.13
กิโลกรัม N/A N/A N/A 2,519.93
  - ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 577.20
กิโลกรัม N/A N/A N/A 143,541.21
303-4 (b) 2018 ปริมาณน้ำเสียที่ถูกบำบัดและปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมส่งบุคคลที่ 3 (TDS >1,000 mg/L) ล้านลูกบาศก์เมตร N/A N/A N/A 0.36
  - COD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 422.85
กิโลกรัม N/A N/A N/A 153,905.29
  - BOD มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 42.12
กิโลกรัม N/A N/A N/A 15,330.82
  - ปริมาณมาณของแข็งละลายน้ำ มิลลิกรัมต่อลิตร N/A N/A N/A 1,211.08
กิโลกรัม N/A N/A N/A 440,835.69

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า