สร้างสรรค์คุณค่าเพื่อสังคมส่วนรวม

การสร้างคุณค่าทางสังคมและสนับสนุนในระบบเศรษฐกิจ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


เอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับการพัฒนาทักษะทางอาชีพสร้างงานเพิ่มรายได้

34043  ราย

เกษตรกรในห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับกรพัฒนาทักษะทางอาชีพ สร้างงานเพิ่มรายได้

8306  ราย

กลุ่มเปราะบางที่ได้รับการพัฒนาทักษะทางอาชีพ สร้างงานเพิ่มรายได้

11846  ราย

จ้างงานแรงงานท้องถิ่น

45275  ราย (ร้อยละ  49.76)

สร้างงานชุมชน

54024  ราย

จ้างงานผู้สูงอายุท้องถิ่น

643  ราย

มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์จากเอสเอ็มอี (SMEs)

44749  ล้านบาท

มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน และผลิตภัณฑ์ OTOP

14888  ล้านบาท

ทุนการศึกษาที่มอบให้กับเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

30765  ทุน

รางวัลซีเอสอาร์ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย (Best CSR Company)

รางวัล Sustainability Initiative of the Year จาก Retail Asia Awards 2022

รางวัลบริษัทที่มีผลงาน CSR เป็นเลิศ และบริษัทที่สนับสนุนโครงการ "พม.ห่วงใย สู้ภัยโควิด 19" จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


จัดตั้งศูนย์ 7 สนับสนุนเอสเอ็มอี ทำหน้าที่ให้บริการคำปรึกษาให้ความรู้เพิ่มศักยภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตให้โอกาสช่องทางขาย สนับสนุนการเติบโตสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดอย่างมั่นคง

ดำเนินการโครงการความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เป็นโครงการเตรียมผู้ประกอบการหลังสถานการณ์โควิด 19 เพื่อให้ปรับตัวพร้อมรับวิถีปฏิบัติใหม่ของลูกค้า

จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการพัฒนานวัตกรรมและบริการเทคโนโลยี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยให้กับกลุ่มเอสเอ็มอี (SMEs) โดยศูนย์ 7 สนับสนุนเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการ SMEs Biz up

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


ชุมชน (SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง)

การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ

ชุมชน (SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง)

การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า

ชุมชน (SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร กลุ่มเปราะบาง)

การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.2 ลดสัดส่วนชาย หญิง และเด็กใทุกช่วงวัย ที่อยู่ภายใต้ความยากจนในทุกมิติ
1.3 ดำเนินการให้เป็นผลตามะบบและมาตรการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาสม และให้ครอบลุมถึงกลุ่มที่ยากจนและเปราะบาง

SDG 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

2.3 เพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง เกษตรกรแบบครอบครัว คนเลี้ยงปศุสัตว์ ชาวประมง โดยรวมถึงการเข้าถึงที่ดินทรัพยากร และปัจจัยนำเข้าในการผลิต ความรู้ บริการทางการเงิน ตลาด และโอกาสสำหรับการเพิ่มมูลค่าและการจ้างเงิน
2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีระบบการผลิตอาหารที่ยั่งยืนและดำเนินการตามแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่มีภูมิคุ้มกัน ที่จะเพิ่มผลิตภาพและการผลิต ซึ่งจะช่วยรักษาระบบนิเวศ เสริมขีดความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวอากาศรุนแรง ภัยแล้ง อุทกภัย และภัยพิบัติอื่นๆ และจะช่วยพัฒนาที่ดินและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.3 ส่งเสริมนโบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน

SDG 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

10.1 ให้บรรลุอย่างต่อเนื่องและคงการเติบโตของรายได้ในกลุ่มประชากรที่ยากจน

SDG 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทางและยั่งยืน

11.5 ลดจำนวนการตายและจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบ และลดการสูญเสียโดยตรงและเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของโลกที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยมุ่งเป้าปกป้องคนจนและคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

  

พัฒนาทักษะ ส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกรรวมถึงกลุ่มเปราะบางตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ จำนวนเอสเอ็มอี

จำแนกตามกลุ่ม (ราย)

กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค
4139
กลุ่มบริการ (ผู้รับเหมา)
622
กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย
20743
กลุ่มอื่นๆ
8539

มูลค่าการรับซื้อ

  

จำนวนเกษตรกร

จำแนกตามกลุ่ม (ราย)

กลุ่มผัก
1408
กลุ่มผลไม้
1939
กลุ่มอื่นๆ
4959

มูลค่าการรับซื้อ

  

จำนวนกลุ่มเปราะบาง

จำแนกตามกลุ่ม (ราย)

กลุ่มผู้สูงอายุ
643
กลุ่มผู้พิการ
3647
กลุ่มแรงงานข้ามชาติ
1042
กลุ่มอื่นๆ
6514

มูลค่าการจ้างงานและส่งเสริมรายได้

  

ประเภทการสนับสนุน

  

การบริจาคเพื่อการกุศล

  

การร่วมลงทุนทางสังคม

  

กิจกรรมเชิงพาณิชย์


รูปแบบการสนับสนุน

  

งบประมาณสนับสนุน

  

มูลค่าจำนวนชั่วโมงจิตอาสาพนักงานได้รับค่าจ้าง

  

สิ่งของ

  

ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ


ความพึงพอใจของชุมชนที่มีต่อร้าน 7-Eleven ในชุมชน (คะแนนเต็ม 5)

3.80

2563

4.18

2564

4.26

2565


การจ้างงานในท้องถิ่น

  

การจ้างงานแรงงานท้องถิ่น

  

การสร้างงานชุมชน

  

การจ้างงานผู้สูงอายุท้องถิ่น


ทุนการศึกษาสำหรับเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน

มูลค่า


จำนวนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP และมูลค่าการสนับสนุน

2564 2565
 ผู้ประกอบการรายย่อยผลิตภัณฑ์ชุมชน (ราย)

100

223

  • มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน (ล้านบาท)

0.47

3.43

 ผู้ประกอบการรายย่อยผลิตภัณฑ์ชุมชน (ราย)

N/A

7

  • มูลค่าการรับซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP (ล้านบาท)

N/A

1.49

 หมายเหตุ : ความหมาย/ขอบเขต "ชุมชน" ตามที่บริษัทกำหนด หมายถึง คณะบุคคล ผู้ประกอบการ เยาวชน กลุ่มเปราะบาง ที่อยู่โดยรอบพื้นที่ดำเนินการสำคัญของบริษัท
1) รอบร้าน 7-Eleven ภายในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร
2) ศูนย์กระจายสินค้า ภายใจรัศมี 5-10 กิโลเมตร
3) ศูนย์กระจายสินค้าแม็คโคร โลตัส สถานประกอบการผลิตภายในรัศมี 5-10 กิโลเมตร

ความเสี่ยงและโอกาส


ภาวะวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันได้สร้างความท้าทายให้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อความเลื่อมล้ำทางสังคมอย่างมีนัย โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง ทั้งอัตราความยากจนของประชาชน อีกทั้งการลดลงของรายได้ครัวเรือน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐาน และการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคที่เข้าถึงได้ยาก ดังนั้น ภาครัฐและเอกชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการได้อย่างเท่าเทียม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิต และมอบความเป็นอยู่ที่ดีให้กับภาคประชาสังคม

สถานะความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนในมิติสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในเชิงประเด็นของรายได้ ความสำเร็จทางการศึกษา ประเภทอาชีพ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของแหล่งที่อยู่อาศัย เป็นอีกหนึ่งความสำคัญที่ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทตระหนักถึงกิจกรรมทางธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อชุมชน บริษัทตระหนักถึงกิจกรรมทางธุรกิจนั้น มีความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อชุมชน อาจนำไปสู่การละเมิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนโดยรอบ สร้างข้อกังวลและความขัดแย้งระหว่างชุมชนและองค์กร เพื่อป้องกันและลดผลกระทบดังกล่าว บริษัทมุ่งดำเนินการสนับสนุนชุมชนอย่างยั่งยืนผ่านการส่งเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ ช่องทางในการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ตลอดจนการบริหารจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน ครอบคลุมทั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเอสเอ็มอี (SMEs) รวมถึงกลุ่มเปราะบาง นอกจากเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงระหว่างภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมในระยะยาว ยังสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอีกด้วย

แนวทางการดำเนินงาน


ด้วยปณิธาน "ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน" บริษัทมุ่งสร้างคุณค่าให้กับเอสเอ็มอี (SMEs) เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อย รวมถึงกลุ่มเปราะบางทางสังคม ตามกลยุทธ์ 3 ให้ "ให้ช่องทางการขาย ให้ความรู้ การพัฒนา และให้การเชื่อมโยง" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยบริษัทดำเนินงานภายใต้นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม แนวทางปฏิบัติ เป้าหมาย ตัวชี้วัด และขับเคลื่อนการดำเนินงานลดผลกระทบเชิงลบ และก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาระบบบริหารและสนับสนุนเอสเอ็มอี (SMEs) แบบบูรณาการตลอดวงจรของการเป็นผู้ประกอบการ (SME Journey Line) อาทิ การจัดตั้งศูนย์ 7 สนับสนุนเอสเอ็มอี การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านการจัดซื้อจัดหาช่องทางการขาย การสนับสนุนพื้นที่ฟรี กิจกรรมส่งเสริมกระตุ้นยอดขายและสร้างการรับรู้ การสัมมนาถ่ายทอดความรู้ การเจรจาจับคู่ธุรกิจ การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ นอกจากนี้ บริษัทสร้างคุณค่าให้กับชุมชนผ่านการจ้างงานชุมชน การสนับสนุนกิจกรรมบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชน ตลอดจนการรับเรื่องร้องเรียนตามช่องทางที่องค์กรกำหนด เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ลดความขัดแย้ง และสร้างคุณค่าร่วมระหว่างองค์กรกับชุมชนกลุ่มต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ บริษัทมีกระบวนการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องรวมถึงกระบวนการ มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานสามารถสร้างคุณค่าางสังคมและสนับสนุนระบบเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง สามารถบรรลุเป้าหมายประจำปีและมุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายปี 2573 ได้พร้อมทั้งสามารถเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายบริษัท และแผนการดำเนินงานในอนาคต

1. พัฒนาทักษะ ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ ตามกลยุทธ์ 3 ให้

1.1 "ให้ช่องทางการขาย" เพิ่มโอกาสการขาย ขยายโอกาสการเติบโตทางธุรกิจและสร้างแบรนด์ให้กับเอสเอ็มอี (SMEs) ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน เกษตร รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านช่องทางการขายที่มีศักยภาพทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ 7Delivery รวมถึงช่องทางอื่นๆ เช่น พื้นที่หน้าร้าน 7-Eleven และ CP ALL Market เป็นต้น โดยในปี 2565 บริษัทดำเนินการให้ช่องทางการขายกับเอสเอ็มอี (SMEs) ผู้ประกอบการรายบ่อย วิสาหกิจชุมชน รวมถึงเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการหลัก ดังนี้

โครงการสรรหา SME และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพเข้าสู่ช่องทางจำหน่ายแบบออฟไลน์และออนไลน์ร้าน 7-Eleven

บริษัทร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพให้เข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด ผ่านกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ สัมมนาออนไลน์ด้านการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ อาทิ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ การสร้างและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การกำหนดราคาและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โดยบริษัทส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจนำเสนอผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านร้าน 7-Eleven ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ตลอดจนเพื่อเป็นการทดสอบความต้องการตลาดและขยายฐานผู้บริโภค

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

  

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทส่งเสริมช่องทางการขาย ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

  

มูลค่าการรับซื้อ


โครงการ "เอสเอ็มอี เสน่ห์ร้าน (SMEs Shelf Themes)

บริษัทสนับสนุนสินค้าเอสเอ็มอี (SMEs) ช่วยสร้างโอกาสในการขายรวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ผ่านการจัดเรียบสนิจค้าและจัดทำชั้นวางสินค้าพิเศษ (SMEs Shelf) สำหรับร้าน 7-Eleven ขนาดใหญ่ จำนวน 5,446 สาขาทั่วประเทศ หรือจัดป้ายแสดงสินค้าเอสเอ็มอี (SMEs) สำหรับร้าน 7-Eleven ขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความสะดวกในการมองเห็น การเข้าถึง รวมถึงติดป้ายที่อยู่เหนือชั้นวางสินค้า (Head Shelf) "ร่วมสนับสนุนสิค้า SMEs" โดย 7-Eleven เพื่อประชาสัมพันธ์และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ในปี 2565 มีผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนกว่า 100 รายการ จากผู้ประกอบการกว่า 100 ราย


โครงการ "ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรและรายย่อย" (CP ALL Maket)

บริษัทสนับสนุนสินค้าและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรและชุมชนสร้างโอกาสในการขาย เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ผ่านการดำเนินการ 1) สนับสนุนช่องทางการขายทั้งภายในและภายนอกบริษัท ในช่องทางออฟไลน์ อาทิ การออกบูธ การให้พื้นที่หน้าร้าน การส่งขายในตลาดโมเดิร์นเทรด (Local Product) ช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ ไลน์ ติ๊กต็อก เฟสบุ๊ก ของ CP ALL Market สำหรับพนักงานกลุ่ม ซีพี ออลล์ เครือเจริญโภคภัณฑ์และบุคคลภายนอก 2) ช่วยจัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ อธิบายสรรพคุณของผลิตภัณฑ์เพื่อกระตุ้นการขาย 3) สนับสนุนการเข้าถึงช่องทางการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ 4) สนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้ความรู้ เพื่อยกระดับจากผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ผลิตภัณฑ์ที่ได้ตามมาตรฐานสากล เตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการ

  

ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทส่งเสริมช่องทางการขาย ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

  

มูลค่าการรับซื้อ


โครงการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนด้วย “กล้วยหอมทอง”

โครงการสนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางด้วยการเพิ่มช่องทางกระจายสินค้ากล้วยหอมทองสู่ผู้บริโภคผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูก กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวให้มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาและลดการเน่าเสีย นอกจากนี้ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยังมีการนำกล้วยไปผลิตเป็นเค้กกล้วยหอมและบริษัทยังมีการทำสื่อการสอนเพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรในการปลูกกล้วยหอมทอง

ความเป็นมา/ปัญหาความเดือดร้อนหรือระดับคุณภาพชีวิต

  • ด้วยบริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุนสินค้าจากผู้ประกอบหาความการขนาดเล็กและขนาดกลางรวมไปถึงความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป หรือระดับของผู้บริโภคที่เน้นการรับประทานอาหารที่สะดวกและดีต่อสุขภาพชีวิต บริษัทจึงริเริ่มทำการศึกษาในเรื่องการจัดการผลผลิตของกล้วยหอมทองจากการเก็บเกี่ยวจนถึงการคัดบรรจุ และในปี 2555 สามารถส่งกล้วยหอมทองสู่ผู้บริโภคผ่านร้าน 7-Eleven โดยเป็นการทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ทั้งสหกรณ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยแต่เดิมการจำหน่ายกล้วยหอมทองมีเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกส่วนมากอยู่ในบริเวณ จังหวัดปทุมธานีและเพชรบุรีเป็นหลักส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดไกล ๆ นั้นยังไม่มีการจำหน่ายกล้วยหอมทองผลเดี่ยวและยังมีการปลูกกล้วยกันน้อยมากจึงมีความคิดริเริ่มโครงการส่งเสริมการปลูกกล้วยหอมทางยังต่างจังหวัดมากขึ้นเพื่อให้มีสินค้าจำหน่ายในพื้นที่นั้น ๆ และช่วยแก้ไขปัญหาสังคมเพื่อเป็นการรับซื้อกล้วยหอมทองจากสหกรณ์และเกษตรกรรายย่อยและช่วยแก้ไขปัญหาสังคม เช่น
    – เกษตรกรจังหวัดเพชรบุรีทำสวนมะนาวมาก่อนแต่ต้องมาใส่ปุ๋ยฉีดยาเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะมะนาวปลูกในพื้นที่ซ้ำ ๆ นานหลายปีมีโรคสะสมเปลือกจะหนาแข็งเป็นไตมีน้ำน้อยหลังเปลี่ยนสวนมะนาวมาปลูกกล้วยหอมทองแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เพราะกล้วยไม่ต้องใช้สารเคมี
    – อุบัติการณ์ราคาผลผลิตตกต่ำเช่นยางพารามัน สำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ปาล์ม ข้าวยาสูบกระเทียม เป็นต้น เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเพื่อปรับตัวและเปลี่ยนมาปลูกกล้วยหอมทองซึ่งมีแนวโน้มการตลาดที่ดีมีอนาคตไกล

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อสร้างงานให้ชุมชนชุมชนมีความเข้มแข็ง และลดการสูญเสียของผลผลิต
  • เพื่อดูแลระบบนิเวศน์โดยการลดการใช้สารเคมีในแปลงปลูก
  • เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม / องค์ความรู้การบ่มกล้วยให้อร่อยแก่โรงคัดบรรจุ (โรงบ่ม) ทุกภูมิภาคทั่วประเทศและลดการนำสินค้าเข้ามาสู่ส่วนกลางและเป็นการต่อยอดนวัตกรรมการจำหน่ายกล้วยหอมทองไปทั่วประเทศอีกด้วย และโครงการนี้จะเป็นต้นแบบของกล้วยน้ำว้าและผลไม้อื่น ๆ ต่อไป

เป้าหมายของโครงการ

  • เพิ่มเกษตรกรรายย่อยหลังเข้าร่วมมากกว่า 1,000 ราย  และมีพื้นที่เพาะปลูกกว่า10,000 ไร่
  • กำหนดมาตรฐาน เพื่อลดและควบคุมการใช้สารเคมี (สำหรับกำจัดวัชพืชและปุ๋ยเคมี)
  • พัฒนาและขยายโรงคัดบรรจุ (โรงบ่ม) และถ่ายทอดนวัตกรรม / องค์ความรู้การบ่มกล้วยมากกว่า 10 โรงคัดบรรจุทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ

การดำเนินโครงการ

  • สร้างงานและอาชีพให้กับชุมชน ทีมงานสินค้าเกษตรของ 7-Eleven เข้าไปสอนเทคนิคการจัดการปลูกแปลง ให้กับทีมส่งเสริมของโรงคัดบรรจุให้สามารถประเมินและพัฒนาลูกสวนอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แหล่งน้ำพื้นที่ปลูกการจัดการสารเคมีทางการเกษตรการจัดกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวการบันทึกข้อมูลเอกสารต่าง ๆ เพื่อสืบย้อนกลับและการขนส่งวัตถุดิบจากวิธีการที่ชัดเจนนี้ทำให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพและความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานที่รับซื้อและขยายลูกสวนได้อย่างรวดเร็วรวมถึงการขึ้นทะเบียนเกษตรเพื่อสามารถสบย้อนกลับได้อย่างมีระบบ
  • เกษตรกรมีการจัดการสารเคมีที่เหมาะสมและปลอดภัย ทีมงานสินค้าเกษตรของเซเว่นอีเลฟเว่น มีการศึกษาสารเคมี และการออกฤทธิ์ให้เหมาะสมกับพืชและสอดคล้องตามกฎหมายกำหนด โดยมีการกำหนดประเภทสารเคมีที่ใช้ได้ สัดส่วนการใช้งานเป็นมาตรฐานรวมถึงการจัดเก็บวัตถุอันตรายทางการเกษตรสภาพแวดล้อม (การจัดการซากขยะอันตราย) ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ให้กับทีมส่งเสริมของโรงคัดบรรจุเพื่อสอนและติดตามให้ลูกสวนที่ขึ้นทะเบียนมีความเข้าใจและใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยรวมถึงการส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ / ปุ๋ยพืชสดและชีวภัณฑ์
  • เพิ่มช่องทางการจัดจําหน่าย ทีมงานสินค้าเกษตรของเซเว่นอีเลฟเว่นเข้าไปพัฒนาโครงสร้างสถานที่ผลิตบุคลากรที่เกี่ยวข้องและกระบวนการผลิต ได้แก่
    – การคัดเลือกวัตถุดิบเช่นระดับความแก่ของกล้วยการยอมรับตำหนิของผิวกล้วยการกำหนดน้ำหนักต่อหวี
    – การบ่มเย็นซึ่งมีการควบคุมสภาวะในการบ่ม ได้แก่ อุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ระยะเวลาในการบ่มเทคนิดนี้สามารถก่าหนดระดับความสุกให้มีช่วงความอร่อยพร้อมรับประทานเมื่อถึงร้านสาขาพอดีรสชาติจะหวานพอดีมีความเหนียวนุ่มไม่เละและมีความโดดเด่นแตกต่างจากกล้วยหอมทองตามท้องตลาด (ใช้วิธีบ่มร้อน) เนื้อจะเละเสื่อมสภาพเร็ว
    – การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับข้อมูลทางสรีรวิทยาของกล้วยหอมทองที่ช่วยยืดอายุให้อยู่นานขึ้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัยและรักษาคุณภาพได้ดียิ่งขึ้นเอื้อต่อการจัดจําหน่ายร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศส่งผลให้สามารถวางจําหน่ายกล้วยหอมทองได้ 4 วันซึ่งช่วยลดการสูญเสียได้เป็นอย่างมาก
    – การขนส่งกล้วยหอมทองนั้นมีการกำหนดรูปแบบรถขนส่งทั้งแบบควบคุมอุณหภูมิและไม่ควบคุมอุณหภูมิเพื่อลดต้นทุนให้กับโรงคัดบรรจุขนาดเล็กที่เริ่มต้นธุรกิจและโรงคัดบรรจุสามารถจัดส่งสินค้าที่คลังสินค้า (BDC) ใกล้เคียงตามภูมิภาคทั่วประเทศไม่ต้องจัดส่งมายังส่วนกลางกรุงเทพฯ และปริมณฑล

การพัฒนาข้างต้นทีมงานได้ใช้ Packing house เป็นศูนย์กลางเชื่อมระหว่างเกษตรกรและซีพีออลล์ มีการคาดการณ์ยอดส่งสินค้าส่งให้ packing house เพื่อส่งต่อให้เกษตรกรในการวางแผนปลูกเพื่อลดการล้นตลาดของกล้วยหอมทองรวมทั้งให้คำปรึกษาและให้ความรู้ตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยวจนถึงหลังเก็บเกี่ยวแล้วยังส่งเสริมให้มีการทำกล้วยปอกเพื่อส่งโรงงานเบเกอรี่ (เค้กกล้วยหอม CPRAM) และทำปุ๋ยชีวภาพ / ปุ๋ยพืชสดเพื่อลดการสูญเสียให้ได้มากที่สุด

มูลค่าทางสังคม

  • สร้างงานและอาชีพให้กับชุมชน ผลลัพธ์: สามารถเพิ่มเกษตรกรรายย่อยหลังเข้าร่วมโครงการเป็น 1,549 รายและมีพื้นที่เพาะปลูก 22,404 ไร่ (ก่อนเริ่มโครงการมีเกษตรกรรายย่อย 479 ราย และมีพื้นที่เพาะปลูก 3,868 ไร่) ทำให้โรงคัดบรรจุในแต่ละภูมิภาคสามารถรับวัตถุดิบกล้วยหอมทองโดยตรงจากเกษตรกรในพื้นที่โดยไม่ต้องเสียเวลาขนวัตถุดิบกล้วยหอมทองมายังส่วนกลางเช่นกล้วยหอมทางภาคใต้ก็จะใช้กล้วยในพื้นที่ชุมพร สุราษฎร์ สงขลา พัทลุงและสตูล เป็นต้น ซึ่งเป็นการสร้างงานให้ชุมชนและสร้างความมีส่วนร่วมกับชุมชนเกษตรกรไม่ต้องวิ่งหาที่จําหน่ายวัตถุดิบไกล ๆ ผลผลิตไม่เสียหายและสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกร รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอีกด้วย
  • เกษตรกรมีการจัดการสารเคมีที่เหมาะสมและปลอดภัย ผลลัพธ์: จากผลการศึกษาข้างต้นหลังเข้าร่วมโครงการสามารถใช้สารเคมีที่เหมาะสมในปริมาณที่ปลอดภัยส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพและชีวภัณฑ์ ทำให้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีลดลงกว่าร้อยละ 26 สามารถลดต้นทุนให้กับเกษตรกร 1,875 บาทต่อไร่
  • เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ผลลัพธ์: การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายข้างต้นสามารถขยายโรงคัดบรรจุจาก 3 เป็น 20 โรงงาน ครอบคลุมทุกภูมิภาค และสามารถส่งกล้วยหอมทองได้ครอบคลุมร้าน 7-Eleven จำนวน 13,838 สาขาทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่า 816 ล้านบาท ส่งผลให้การรวมกลุ่มของเกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นสะท้อนผ่านรายได้ที่มั่นคงและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดมากยิ่งขึ้น (SMEs ผู้ปลูกกล้วยหอมทอง ขายในตลาดกลางหรือตลาดทั่วไป จะมีรายได้เฉลี่ย 2,228,653 บาทต่อปี เมื่อเข้าร่วมโครงการแล้ว จะมีรายได้เฉลี่ย 4,531,842 บาทต่อปี)

มูลค่าทางธุรกิจ

ผลผลิตกล้วยหอมทองเพิ่มขึ้น 99.43 ล้านลูกต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 816 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปยังเกษตรกรกลุ่มผลไม้ตามฤดูกาล กลุ่มผลไม้ตัดแต่ง กลุ่มผักพร้อมปรุง และกลุ่มสลัดผัก เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร มีตลาดที่แน่นอน และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

  

จำนวนพื้นที่เพาะปลูก

  

เพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าที่จำหน่ายในร้าน 7-Eleven


โครงการ "แม็คโคร เคียงข้างเกษตรกรไทย" สนับสนุนเกษตรกรและผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกร

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินค้าและผลิตผลทางการเกษรจากกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น และผู้ประกอบการรายย่อยในแต่ละพื้นที่ภายใต้โครงการแม็คโคร เคียงข้างเกษตรกรไทย ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง พร้อมการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าให้สามารถยกระดับการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีรายได้ที่มั่นคงยั่งยืน และเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยด้านอาหาร

ผลผลิตทางการเกษตร แนวทางการสนับสนุน

เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ

  • สนับสนุนเนื้อสัตว์และสินค้าโปรตีนทางเลือก เช่น แมลง ผลิตภัณฑ์จากพืช จากเกษตรกรรายย่อย ปริมาณเก่า 1571  ตัน
  • ยอดสนับสนุน 190  ล้านบาท

เนื้อไก่ ไข่ไก่ และนม

  • รับซื้อเนื้อและไข่ไก่ออร์แกนิก กว่า 10  ตัน ยอดสนับสนุน 1  ล้านบาท
  • รับซื้อนม กว่า 1292  ตัน ยอดสนับสนุน 91  ล้านบาท

ผลไม้ฤดูกาล เช่น ทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย ลองกอง มะม่วง และอื่นๆ

  • จัดเทศกาล "ผลไม้ไทย คุณภาพดี ส่งตรงจากสวน" เพื่อกระตุ้นการบริโภค รับซื้อผลไม้กว่า 38400  ตัน
  • สนับสนุนลำไยจากเกษตรกรรายย่อยกว่า 650  ราย รับซื้อลำไยกว่า 1000  ตัน
  • ยอดเงินรับซื้อผลไม้กว่า 5.28  ล้านบาท

ผัก และผักพื้นบ้าน

  • รับซื้อขิงจากวิสาหกิจชุมชนกว่า 647  ราย ปริมาณกว่า 200  ต้น
  • จัดเทศกาล "ผักพื้นบ้าน" ยอดขาย 15.60  ล้านบาท
  • รับซื้อผักกว่า 17775  ตัน ยอดเงินสนับสนุน 415  ล้านบาท

สัตว์น้ำ และอาหารทะเล

  • รับซื้อสัตว์น้ำ และอาหารทะเลกว่า 1584  ตัน
  • ยอดสนับสนุน 142  ล้านบาท

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

      

สนับสนุนการจัดซื้อจากคู่ค้า

  

สนับสนุนเกษตรกรตลอดทั้งปี


โครงการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร (โนนเขวาโมเดล)

โครงการรับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร (Direct Sourcing) เป็นโครงการที่สร้างรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคงให้แก่เกษตรกร อีกทั้งยังยกระดับมาตรฐานการเพาะปลูกพืช ผ่านความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายให้กลุ่มเกษตรกรสามารถบริหารจัดการการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความเข้มแข็ง มีอำนาจในการต่อรอง ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงรวมตัวกันตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ของภาครัฐ ในปี 2561 กลุ่มเกษตรกรบ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้รวมตัวกันภายใต้โนนเขวาโมเดลใช้หลักการตลาดนำการผลิตมีผู้จัดการฟาร์มของโลตัส ทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ ในการยกระดับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตร มีการวางแผนการเพาะปลูกและจัดการรับซื้อล่วงหน้าตามนโยบายการตลาดนำการผลิตรวมไปถึงการสนับสนุนโอกาสในการส่งสินค้าเกษตรภายในเครือข่าย โลตัส อีกด้วย ในปัจจุบันโลตัสมีแปลงปลูกผักในรูปแบบ Farm Model 4 แหล่งหลัก ในทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศไทย สร้างอาชีพรายได้ที่เป็นธรรม และมั่นคง ให้กับเกษตรกรกว่า 1,700 ครัวเรือน การทำงานโดยใกล้ชิดกับกลุ่มเกษตรกรในรูปแบบ Farm Model ทำให้ความสามารถคบคุมและกำกับดูแลมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพสินค้า ทราบถึงแหล่งที่มา ส่งต่อผักสดคุณภาพสูงให้ลูกค้าได้

ปัจจุบันโลตัสรับซื้อผัก 23 ชนิด จากเกษตรกรบ้านโนนเขวากว่า 105 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 300 ไร่ ในปริมาณกว่า 120 ตันต่อปี สร้างรายได้เสริมต่อครัวเรือน 5,000 บาท

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

จำนวนเกษตรกรทุกภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการ

  

ปริมาณการรับซื้อผลิตผลทางการเกษตร

  

มูลค่าการรับซื้อ


โครงการ ซีพี ออลล์ เปิดพื้นที่สร้างโอกาส

บริษัทจัดสรรพื้นที่ให้แก่องค์กรคนพิการที่มีศักยภาพใช้พื้นที่หน้าร้าน 7-Eleven จำหน่ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มคนพิการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โครงการ "ซีพี ออลล์ เปิดพื้นที่สร้างโอกาส" มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ปัจจุบันขยายขอบเขตเพิ่มการสนับสนุนพื้นที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ศูนย์ส่งเสริมทักษะชีวิตบุคคลออทิสติก จังหวัดชลบุรี ชมรมพันาอาชีพคนพิการ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ชมรมเพื่อคนพิการทางสติปัญญา จังหวัดนนทบุรี และชมรมบูรณาการอย่างยั่งยืน ตำบลปากโทก จังหววัดพิษณุโลก


โครงการ ซีพี ออลล์ จากความห่วงใยสู่การให้โอกาส

บริษัทส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้อย่างยั่งยืน ร่วมกับศิลปินนักออกแบบและองค์กรผู้พิการต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งร่วมกันพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตัดเย็บโดยกลุ่มผู้พิการให้มีรูปลักษณ์ที่ทันสมัยและน่าสนใจ นำมาสู่ยอดจำหน่ายที่เติบโต โครงการใน Season II ได้ส่งมอบผ้าแคนวาส ลากแครักเตอร์ "BLOODY BUNNY" ให้แก่สมาคมคนพิการ จังหวัดอ่างทอง เพื่อนำไปตัดเย็นกระเป๋าผ้าที่มมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากเจ้าของลิขสิทธฺ์แครักเตอร์ บริษํท ทูสปอตคอมมิวนิเคชั่น จำกัด ช่วยออกแบบแครักเตอร์ไปผลิตเป็นลายบนผ้าแคนวาส เพื่อนำไปเย็บกระเป๋าผ้า รายได้จากการจำหน่ายกระเป๋าทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย 327,861 บาท มอบแก้สมาคมคนพิการ จังหวัดอ่างทอง


1.2 "ให้ควารู้ การพัฒนา" เพื่อสนับสนุนให้เอสเอ็มอี (SMEs) ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน รวมถึงเกษตรกร สามารถเข้าถึงองค์ความรู้ที่สำคัญและจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ อาทิ การพัฒนาคุณภาพสินค้าและการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ การตลาด การจัดการต้นทุน ความรู้เฉพาะทางตามประเภทธุรกิจ ช่วยเพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้กลยุทธ์ "ให้ความรู้ การพัฒนา" ผ่านการดำเนินงานจัดสัมมนาประจำปี ถ่ายทอดความรู้และการให้คำปรึกษาแนะนำ ด้วยโปรแกรมการพัฒนาที่เหมาะสม สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการตลอดวงจรของการเป็นผู้ประกอบการ

โปรแกรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพตามวงจรของการเป็นผู้ประกอบการ

เพื่อใหม่

(ผู้ประกอบการทั่วไป)

  • ระบบการตรวจประเมินผู้ประกอบการที่สามรถทำให้คู่ค้ากลุ่มเพื่อนใหม่กลายเป็นคู่ค้าธุรกิจได้ในอนาคต
  • ระบบจับคู่ธุรกิจภายใต้ฐานข้อมูลของผู้ประกอบการ

เพื่อนสนิท

(ผู้ประกอบการที่เป็นคู่ค้าธุรกิจแล้ว)

  • ส่งเสริมการเตรียมตัวสู่โมเดิร์นเทรด หรือการตลาดค้าปลีกแบบใหม่ที่เปิดรับสินค้าใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
  • ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพหลากหลายด้าน เช่น ยกระดับคุณภาพสินค้าและการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน การออกแบบ พัฒนาสินค้าให้ตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปของลูกค้าและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์

เพื่อนแท้

(ผู้ประกอบการคู่ค้าธุรกิจที่มีการเติบโตและมีความพร้อมสูง)

  • ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอให้กับคู่ค้าของบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง
  • ส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการและชุมชนที่บริษัทเข้าไปดำเนินธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ศูนย์ความรู้ SME การสัมมนาวิชาการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน SME คลับเฮาส์

โดยในปี 2565 บริษัทดำเนินการพัฒนาศักยภาพเอสเอ็มอี (SMEs) ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน รวมถึงเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

โครงการศูนย์ 7 สนับสนุน SME

บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของเกษตรกรและผู้ประกอบการมาโดยตลอด โครงการ "ศูนย์ 7 สนับสนุน SME" ภายใต้การขับเคลื่อนของ ซีพี ออลล์ ได้สนับสนุนโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการที่หลากหลาย อาทิ สัมมนาให้ความรู้ การยกระดับคุณภาพสินค้าเกษตร โครงการ SME เสน่ห์ภาคทั่วประเทศ ส่งเสริมการนำสินค้าในท้องถิ่นมาวางจำหน่ายที่ร้าน 7-Eleven ขยายช่องทางการตลาด ซึ่งสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน

โดยในปี 2565 โครงการ "ศูนย์ 7 สนับสนุน SME" พร้อมด้วยสำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ (PDQA) ร่วมกับฝ่ายพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จังหวัดน่าน ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มผู้ผลิตสินค้าแปรรูปทางการเกษตร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเยี่ยมชมแหล่งวัตถุดิบ รวมถึงสถานที่ผลิตสินค้า ตลอดจนแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงมุมมองในการดำเนินงาน พร้อมรับฟังปัญหาและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสินค้าและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งการสนับสนุนการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ดังนี้

ด้านคน

องค์ความรู้หลักสูตรการพัฒนาในกระบวนการผลิต

ด้านโครงสร้าง

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพสินค้าชุมชนสู่ผู้ประกอบการ

ด้านเทคโนโลยี

เชื่อมเครือข่ายหน่วยงานในเครือมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมของเครือมือ/อุปกรณ์สนับสนุน

ด้านสินค้าและช่องทางการขาย

สนับสนุนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ที่ขึ้นชื่อ สู่ช่องทางการขายใหม่ๆ

โปรแกรมส่งเสริม พัฒนาศักยภาพและให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

โครงการ Business Accelerator

บริษัทร่วมมือกับหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย เตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ ขยายสู่ช่องทางโมเดิร์นเทรด ผ่านระบบประชุมทางไกล โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทในกลุ่มธุรกิจโมเดิร์นเทรดต่างๆ มาให้คำแนะนำ ส่งมอบองค์ความรู้ต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอความคิดเพื่อโน้มน้าวผู้ลงทุน เพื่อซักซ้อมการนำเสนอสินค้าเสมือจริงกับโมเดิร์นเทรดต่างๆ ถือเป็นโครงการที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับสมาชิกผู้ประกอบการ สร้างโอกาสในการขยายตลาด โดยรุ่นที่ 1 มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 40 ราย และ 80 ราย ในรุ่นที่ 2 รวมถึงการขยายเครือข่ายพันธมิตรผู้มีส่วนร่วมแบ่งปันและต่อยอดทางความคิดธุรกิจที่เพิ่มขึ้น


โครงการพี่ช่วยน้อง ปีที่ 6

โครงการพี่เลี้ยงทางธุรกิจร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมหน่วยงานพี่เลี้ยง 22 หน่วยงาน สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืนอย่างต่อเนื่องผ่าน 2 รูปแบบ ดังนี้

  • การดูแลแบบรวม (50-60 ราย) เช่น การประชุมกับผู้บริหาร เยี่ยมพื้นที่ปฏิบัติการ ห้องเรียนด้านการเงิน และการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นต้น
  • การดูแลแบบเข้มข้น (เฉพาะผู้ประกอบการที่ผ่านคัดเลือก 4 ราย ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริง ประเมินหาโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ

โครงการ Big Brother Season 6 ได้รวบรวมผลลัพธ์จากบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ "บริษัทน้องเลี้ยง" ทั้งหมด 53 บริษัท ที่เข้าร่วมกิจกรรม พบว่าผู้ประกอบการ 47 ราย (ร้อยละ 88.67) มีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสามารถประเมินเป็นมูลค่าของรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่ลดลง ซึ่งสามารถคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมทั้งิ้น 400 ล้านบาท


โครงการให้คำปรึกษาเอสเอ็มอี

บริษัทเปิดให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าเข้าซักถามข้อสงสัยและปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เงินทุน และองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ ในปี 2565 ให้คำปรึกษาแก่เอสเอ็มอี (SMEs) ผ่านโครงการ SME DBank โครงการ SME Biz Up โครงการ DIPROM และโครงการ SME Service Solution Center รวม 58 ราย

บริษัทเปิดให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าเข้าซักถามข้อสงสัยและปรึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เงินทุน และองค์ความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ ในปี 2565 ให้คำปรึกษาแก่เอสเอ็มอี (SMEs) ผ่านโครงการ SME DBank โครงการ SME Biz Up โครงการ DIPROM และโครงการ SME Service Solution Center รวม 58 ราย

  • บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการที่ต้องการเสนอสินค้า
  • วิเคราะห์ทดสอบคุณสมบัติและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อาทิ ส่วนผสม การทำสูตรอาหาร การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส การตรวจเชื้อในอาหาร
  • การปรับปรุงกระบวนการผลิต
  • พัฒนาบรรจุภัณฑ์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ แนะนำการใช้สื่อที่เหมาะสมกับช่องทางขาย
  • จับคู่กับผู้ผลิตสินค้า
  • จัดหาแหล่งเงินทุน ให้คำปรึกษาด้านการเขียนแผนธุรกิจจับคู่กับแหล่งเงินทุน
  • จัดอบรมและสัมมนาสมาชิก

"MAKRO HORECA ACADEMY (MHA) เพื่อคู่คิดแบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร"

ภายใต้พันธกิจหลักของโครงการ MHA ที่ประกอบไปด้วย การเป็นคู่คิดธุรกิจอาหาร สร้างความเติบโต ให้ความรู้ และสร้างผู้ประกอบการรายใหม่สู่กลุ่มธุรกิจ HORECA บริษัทจึงจัดทำแหล่งรวบรวมความรู้ด้านการบริหารจัดการและทักษะการประกอบอาหาร ผ่านระบบออฟไลน์และออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การจัดเตรียมวัตถุดิบ ปรุงสูตร การบริหารจัดการเรื่องการเงิน รวมไปถึงเทคนิคด้านการตลาดและโฆษณา ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา ตัวอย่างหลักสูตร ได้แก่ ปั้นร้านดัง ยอดขายปัง สไตล์ ติ๊กต็อก และหลักสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ (สูตรโบราณ) เป็นต้น ตลอดจนการจัดกิจกรรมร่วมกับคู่ค้าธุรกิจแบรนด์ชั้นนำ มอบสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการมืออาชีพที่เป็นสมาชิก MHA โดยสนับสนุนสินค้าในราคาสมาชิก รวมไปถึงมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจอาหารจากการสะสมยอดสั่งซื้อ ซึ่งเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

      

สมาชิกผู้ประกอบการ HORECA ที่เข้าร่วมโครงการ

  

ยอดติดตามสะสมในเฟสบุ๊ก

  

ผู้รับชมวิดีโอทุกช่องทาง มียอดสะสม

  

มียอดการเข้าเรียนหลักสูตรออกนไลน์


"การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการและบรรยายพิเศษ

บริษัทจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับบรรยายพิเศษให้แก่เจ้าของร้านอาหาร ที่เป็นสมาชิกของบริษัท ยกตัวอย่างหลักสูตรซูชิเงินล้าน ซึ่งมีเวฟบุญศรี สุวรรณภาพ เชฟอาหารญี่ปุ่น (Japanese Chef) จากสมาคมเชฟประเทศไทย มาร่วมบรรยายความรู้พื้นฐานของเมนูซูชิ วิธีการปรุงซูชิยอดนิยมหลากหลายรูปแบบ พร้อมแจกตารางต้นทุนและแนะนำราคาขายและหลักสูตรแม็คโคร สร้างอาชี สตรีทฟู้ดหลักร้อย สู่มืออาชีพหลักล้าน โดยจับมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมเชฟประเทศไทย จัดอบรมเทคนิคการคำนวณต้นทุน การเลือกวัตถุดิบเพิ่มกำไร รวมไปถึงเทคนิคการเพิ่มมูลค่าให้เมนูอาหาร แก่ผู้ที่สนใจเรียนรู้หลักการบริหารและเมนูในร้านอาหารยอดนิยม ยกตัวอย่างเช่น ร้านส้มตำ, ร้านยำ, ร้านข้าวหน้าไก่ย่าง หมูย่าง, ร้านก๋วยเตี๋ยวน้ำใส เป็นต้น รวมถึงหลักสูตรการบริหารจัดการร้านทุกระดับ อาทิ หลักสูตร "Street Food Go Beyond สตรีทฟู้ดหลักร้อย สู่มืออาชีพหลักล้าน" และ "SMART Restaurant หลักสูตรการบริหารจัดการร้าน New Chapter" เพื่อยกระดับการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพและกำไรสูงสุด

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมกว่า


โครงการร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร

บริษัทดำเนินการโครงการความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร อาทิ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เป็นโครงการเตรียมผู้ประกอบการหลังสถานการณ์โควิด 19 เพื่อให้ปรับตัวพร้อมรับวิธีปฏิบัติใหม่ของลูกค้าผ่านการเสริมความรู้ 7 วัน อย่างเข้มข้นกว่า 100 กิจการ และผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 20 กิจการ เข้าสู่โปรแกรมการรับคำปรึกษาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อาทิ บรรจุภัณฑ์ ปรับสูตรนวัตกรรมอาหาร เป็นต้น เมื่อจบหลักสูตร ทั้ง 20 กิจการจะได้ต้นแบบของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เพื่อไปปรับและต่อยอดของธุรกิจได้จริง รวมเป็นมูลค่าของโครงการ 800,000 บาท


โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร

ซีพี ออลล์ ร่วมกับบริษัทในเครือ และสถาบันการศึกษา จัดสัมมนาออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ภายในงานมีผู้เชี่ยวชาญร่วมให้ความรู้ในประเด็นที่หลากหลาย อาทิ

  • การเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพผลผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
  • การจัดการห่วงโซ่ความเย็นของผักและผลไม้สด นวัตกรรมการเก็บรักษาคุณภาพของผักผลไม้สด จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • การแบ่งปันประสบการณ์ จากเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer เจ้าของสวยทุเรียนลุงแกละ อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มาแนะนำเทคนิคการปลูกทุเรียน การนำเทคโนโลยี เครื่องมือและเครื่องยนต์ เครื่องจักรมาช่วยผ่อนแรง และแบ่งเบาภาระภายในสวนทุเรียน ซึ่้งนอกจากลดระยะเวลา ยังสามารถควบคุมระยะเวลาการเพาะปลูกและคาดการณ์ผลผลิตได้อีกด้วย
  • การยกระดับด้านคุณภาพกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าเกษตร โดยส่วนงาน Agricultural Product ของ ซีพี ออลล์ ร่วมชี้แจงภาพรวมและกลยุทธ์ รวมถึงอธิบายเกี่ยวกับ CP ALL iTrace Blockchain System โดยความรู้ในประเด็นต่างๆ สามารถสร้างองค์ความรู้ด้านการเกษตรอย่างครบวงจร ช่วยให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรสามารถปรับใช้และวางแผนการปลูก การผลิต และการขนส่ง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและการเติบโตของกลุ่มผู้ประกอบการ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

จำนวนเกษตรกรและผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในปี 2565

  

มูลค่าการสนับสนุนโครงการ


โครงการ Oh! Veggies

"ไร่พอฝัน" เป็นหนึ่งในฟาร์มผักสลัดออร์แกนิกที่ส่งผลผลิตให้กัน Oh! Veggies ผลิตภัณฑ์ผักสลัดออร์แกนิกและผลไม้พร้อมรับประทานที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ช่วงแรกเจ้าของฟาร์มผักสลัด ไร่พอฝันพบอุปสรรคหลากหลายด้าน เช่น ปัญหาด้านปริมาณผลผลิต และคุณภาพสินค้า และมีโอกาสได้ร่วมปรึกษาและปรับแก้ปัญหากับเจ้าของแบรนด์ Oh! Veggies ตลอดจนทีมของ 7-Eleven จนกระทั่วสามารถพัฒนาสินค้าตามมาตรฐานสากล รวมถึงระบบการจัดการด้านการผลิตไปจนถึงการจัดการด้านการตลาด รวมทั้งช่องทางการจัดการที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันไร่พอฝัน สามารถเก็บเกี่ยวผักสลัด เพื่อส่งให้กับ Oh! Veggies ได้ 700-1,200 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ สร้างรายได้ เกิดการจ้างงานชาวบ้านในชุมชนกว่าแสนบาทต่อเดือน สร้างยอดขายปี 2565 ที่สูงถึง 300 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ประมาณร้อยละ 10 ต่อปี โดยล่าสุดได้ร่วมศึกษาวิธีการที่จะยืดอายุสินค้าให้นานขึ้น เพื่อกระจายสินค้าได้หลายสาขามากขึ้นใน 6,000-8,000 สาขา ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


โครงการ "ผักสลัดอินทรีย์" จากต้นน้ำสู่มือผู้บริโภค

บริษัทร่วมกับ บริษัท พลังผัก จำกัด (SMEs) ผู้รวบรวมและเป็นผู้ผลิตสินค้าสลัดผักอินทรีย์ 1 รายการ (สลัดมิกซ์) และสลัดผักที่ใช้ผักอินทรีย์เป็นส่วนประกอบในการผลิต (ปาร์ตี้สลัด) โดยมีการลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงเพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาให้ความรู้กับกลุ่มเกษตรกรและเกษตรกรรายย่อย เพื่อรับซื้อผลผลิตนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตและต่อยอดนำผลิตผลจากผักสลัดพัฒนาเป็นสินค้าใหม่ พร้อมทั้งขยายแปลงปลูกผักออร์แกนิก ในเครือข่ายเกษตรกร ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเกษตรกรรักษ์น้ำ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก และกลุ่มเกษตรกรพอเพียง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ รวมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพผักสลัด (กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีคอส เรดโครอล บัตเตอร์เฮด) จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ส่งผลให้เกษตรที่เข้าร่วมโครงการไม่ต้องหาตลาดในการขายผลผลิตเอง และมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มเป็น 20,000-25,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน (เทียบกับรายได้เฉลี่ย จากการเพาะปลูกพืชไร่ชนิดเดิม หรือการว่างเว้นจากการเพาะปลูก 1,600-2,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน) เพิ่มแหล่งปลูกและผลผลิตผักสลัดอินทรีย์ในประเทศให้มากขึ้น


1.3 "ให้การเชื่อมโยง" โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบสำคัญ แหล่งเงินทุน นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดโลกได้ ผ่านการดำเนินการในรูปแบบต่างๆ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)

โครงการจับคู่ธุรกิจ และโครงการจับคู่โมเดลธุรกิจ

สนับสนุนเอสเอ็มอี (SMEs) ในการต่อยอดการทำธุรกิจ สร้างโอกาส โดยการให้คำแนะนำ ในปี 2565 ที่ผ่านมานอกจากการให้โอกาสผ่านโครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ที่มีสินค้าเข้าร่วมในการจับคู่ธุรกิจกว่า 2,000 รายการ ยังมีการส่งเสริมผ่านการจับคู่โมเดลธุรกิจให้กับเอสเอ็มอี (SMEs) เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริมเอสเอ็มอีให้มีโอกาสเติบโต และยกระดับสินค้าจากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ คัดเลือกเอสเอ็มอีที่มีความมุ่งมั่นต้องการพัฒนาสินค้าของตนเข้าร่วมโครงการ โดยสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของกระบวนการผลิต มาตรฐานโรงงาน พัฒนาสูตรสินค้าที่มีอายุวางขายยาวนานขึ้น รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสนับสนุนการประจายสินค้าผ่านร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ อาทิ การจับคู่ธุรกิจ ระหว่างนนท์เบเกอรี่ บริษัท เอ็นเอสแอล ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) และ 7-Eleven ดำเนินการร่วมพัฒนาสูตรเฉพาะที่อร่อย มีคุณภาพและได้มาตรฐานผลิตเป็นสินค้าตรานนท์เบเกอรี่รูปแบบใหม่ด้วยโรงงานผลิตของเอ็นเอสแอลที่เพียบพร้อมด้วยมาตรฐานหลายแหล่งผลิต พร้อมทั้งให้เอ็นเอสแอลเป็นพาร์ตเนอร์นำเสนอสินค้ากับทาง 7-Eleven เพื่อส่งต่อสินค้าเบเกอรี่อบสดตรานนท์เบเกอรี่ถึงมือลูกค้าผ่านทางร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ สามารถก้าวข้ามจากผลิตภัณฑ์ระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ

2. ยืดหยัดเคียงข้างชุมชนและสังคมไทย เสมือเพื่อที่ห่วงใย ใกล้ๆ คุณ

บริษัทส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผ่านการพัฒนาชุมชน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ สนับสนุนการมอบโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน รวมถึงการบรรเทาสาธารณภัยและลดความสูญเสีย รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีโดยการส่งต่อความรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตให้กับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีมากขึ้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งการดำเนินงานตามปณิธาน "ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน" ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้

โครงการ "จิตสาธารณะ ร่วมพัฒนาและสร้างสัมพันธ์กับชุมชน"

ด้วยหัวใจที่พร้อมให้บริการเพื่อชุมชน ตามปณิธาน "ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน" ร้าน 7-Eleven ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนด้วยหลัก 3 ประโยชน์ รับฟังและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนรอบร้านในพื้นที่รัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร และตอบสนองความต้องการผ่านกิจกรรมหลัก 6 ด้าน ประกอบด้วย ร่วมสนับสนุนกิจกรรมวันสำคัญต่างๆ ของชุมชน อาทิ ตลาดนัดชุมชน ศูนย์รวมสุขภาพดีของชุมชน เป็นสะพานบุญร่วมรับบริจาคเพื่อส่งต่อธารส้ำใจให้ผู้ด้อยโอกาสในชุมชน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับไรเดอร์ (Rider) ชุมชนกิจกรรมด้านส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน อาทิ สนับสนุนอุปกรณืการเรียนการสอน มอบทุนการศึกษา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมโรงเรียน กิจกรรมด้านสาธารณะประโยชน์โดยพนักงานร้าน 7-Eleven และพนักงานจิตสาธารณะของ ซีพี ออลล์ กิจกรรมด้านส่งเสริมศาสนาซึ่งเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชน และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน อาทิ การปลูกต้นไม้ การจัดการขยะชุมชน ซึ่งแนวทางดังกล่าวครอบคลุมถึงพื้นที่ดำเนินการที่สำคัญของบริษัท ได้แก่ ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร โลตัส โรงงานผลิตอาหาร ซีพีแรม ด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ บริษัทร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนผ่านโครงการ "คนไทยไม่ทิ้งกัน" ที่ดำเนินการสนับสนุนภารกิจในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับองค์กร หน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมถึงโครงการจิตสาธารณะต่างๆ เพื่อส่งมอบความห่วงใยและร่วมบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

จำนวนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ

  

จำนวนชั่วโมงรวมจิตอาสา

  

จำนวนคนในชุมชนเข้าร่วมโครงการ

  

งบประมาณสนับสนุนจิตอาสา


โปรแกรมสร้างสัมพันธ์และบรรเทาสาธารณภัยให้กับชุมชน

  • โครงการส่งกำลังใจ "My Hero" ในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของหน่วยงานกู้ภัยและกู้ชีพมอบอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับช่วยเหลือประชาชนให้กับหน่วยงานกู้ภัยและกู้ชีพ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยกู้ภัย กู้ชีพ ที่มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้ดูแลความปลอดภัยให้กับชุมชน
  • จัดตั้งหน่วยงานกู้ภัยเข้าร่วมระงับเหตุภัยพิบัติต่างๆ อาทิ ไฟไหม้ น้ำท่วม ช่วยเหลือกู้ภัยที่ประสบเหตุได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต รวมถึงช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุภัยพิบัติต่างๆ พร้อมทั้งมีกองเรือเจ็ทสกีอำนวยความสะดวกประชาชนในเหตุการณ์น้ำท่วม
  • ให้ความรู้เรื่องดับเพลิงขั้นต้น และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้กับชุมชน กลุ่มเปราะบาง หน่วยงานราชการ รวมถึงทีมกู้ภัย กู้ชีพ
  • มอบอาหารและน้ำดื่มให้กับผู้อพยพหรือผู้ประสบภัย รวมถึงทีมกู้ภัย กู้ชีพ
  • มอบเงินช่วยเหลือให้กับทีมกู้ภัย กู้ชีพ ที่ได้รับบาดเจ็บในกรณีเข้าเผชิญเหตุ
  • มอบทุนการศึกษาให้กับบุตร ธิดาของทีมกู้ภัย กู้ชีพ ที่เสียชีวิตจนเรียนจบมหาวิทยาลัย

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

  

ผู้ได้รับการฝึกอบรม

  

หน่วยกู้ภัย กู้ชีพ ที่รับการสนับสนุนอุปกรณ์

  

ผู้ประสบภัยที่เข้าถึงอาหารและน้ำ

  

งบประมาณสนับสนุน


โครงการ A Better Life (สร้างชีวิตเพื่อสังคม)

หน่วยงานคัดสรรและเบลลินี่ พรีเมียมคาเฟ่ ร่วมมือกับ กรมพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรมลงนาม MOU สร้างต้นแบบ (Role Model) เป็นร้านสวัสดิการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสำหรับเป็นที่ฝึกฝนด้านวิชาชีพให้แก่เยาวชนกรมพินิจที่เข้าร่วมโครงการ โดยเปิดร้าน Bellinee's รูปแบบ Grab & Go ในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นสถานที่จริงก่อนออกไปดำเนินชีวิตภายนอก โดยในปี 2565 ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะให้เยาวชนอย่างต่อเนื่องถึง 3 รุ่น รวมเป็นจำนวนเยาวชนที่ผ่านโครงการอบรมทั้งหมด 9 ราย โดยมีเยาวชน จำนวน 4 ราย ได้เข้ามาบรรจุเป็นพนักงานปฏิบัติที่ร้านเบลลินี่และร้านคัดสรร เป็นการต่อยอดอย่างยั่งยืน และลดการกระทำผิดซ้ำอย่างต่อเนื่อง


โครงการ CPRAM We Care ใส่ใจห่วงใยชุมชน

ซีพีแรม ส่งมอบความเป็นอยู่ที่ดีโดยส่งมอบถุงยังชีพให้กับกลุ่มเปราะบางผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ในเขตชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบโรงงาน ตลอดจนจัดกิจกรรม จิตสาธารณะ พัฒนาและทำนุบำรุงบริเวณศาสนสถานพร้อมทั้งเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นักเรียน และชุมชนโดยรอบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า