สนับสนุนด้านการศึกษา

การสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


ส่งมอบโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชน โรงเรียน CONNECT ED สะสม

สนับสนุนทุนการศึกษา

สนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับพนักงาน

พัฒนาทักษะอาชีพให้กับเด็ก เยาวชน และกลุ่มเปราะบาง

นักเรียน นักศึกษาได้รับการฝึกงาน

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567


โครงการต่อเนื่อง ขยายผลพัฒนาโรงเรียน CONNEXT ED เพิ่ม 47 โรงเรียนทั่วประเทศ

โครงการต่อเนื่อง คืนคนดีสู่สังคม ปีที่ 6 ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม มอบโอกาสทางการศึกษาและสนับสนุนทักษะอาชีพให้เยาวชนทั่วประเทศที่เคยกระทำผิด เพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างภาคภูมิและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

โครงการเครือข่ายสร้างสุข สู่เยาวชนด้อยโอกาส สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของกลุ่มเปราะบาง ปีที่ 5

โครงการพีไอเอ็ม (PIM) ส่งมอบรอยยิ้มสู่ยอดดอย สนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์ ปีที่ 7

โครงการต่อเนื่อง Creative AI Camp และ Creative AI Club ปีที่ 7

โครงการประกวด CAI Retail Hackathon: Action Detection

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

1.4 สร้างหลักประกันว่าชายและหญิงทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและเปราะบาง มีสิทธิเท่าเทียมกันในทรัพยากรทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเข้าถึงบริการพื้นฐาน

SDG 4 สร้างหลักประกันการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.3 ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพ สำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนแบบ
“ทวิสารัตถภาพ”

มิติด้านความยั่งยืน

  • มิติสังคม

ระดับผลกระทบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้
ในการดำเนินธุรกิจ

  • สำคัญมาก (Critical Material Topics)

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย

สนับสนุนเด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ให้มีทักษะทางเทคนิคและอาชีพที่จำเป็นต่อการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2567

ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

ประเภท มัธยมศึกษา อุดมศึกษา อาชีวศึกษา รวม
นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในระบบ (คน)
947
17579
14665
33191
นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในระบบสำเร็จการศึกษา (คน)
294
6912
3268
10474
นักเรียน นักศึกษา ที่ทำงานกับบริษัทหลังสำเร็จการศึกษา (คน)
-
4253
734
4987
สนับสนุนทุนการศึกษา (ทุน)
-
22778
14745
37523
มูลค่าสนับสนุนทุนการศึกษา (ล้านบาท)
-
968
218
1186

พัฒนาทักษะอาชีพที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ

เด็ก เยาวชน ผู้ใหญ่ กลุ่มเปราะบางที่ได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ 57,206 คน

ร้อยละ 49 ของนักศึกษาจากวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ได้รับโอกาสเข้าร่วมทำงานกับบริษัท

นักศึกษา 6 คน ในกลุ่มของสถาบันปัญญาภิวัฒน์ ได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าร่วมเป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven ประเภทร่วมลงทุน

ส่งเสริมโรงเรียนต้นแบบ CONNECT ED ในการพัฒนาทักษะอาชีพ โครงการ "ผู้ประกอบการจิ๋ว" ผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายแพลตฟอร์ม ALL SME MARKET PLACE

ส่งเสริมการฝึกอาชีพด้านกาแฟ โดยศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพกาแฟปัญญาภิวัฒน์ (P-CoT) ร่วมกับหน่วยงานคัดสรรและเบลลินี่ พรีเมียมคาเฟ่ ภายใต้โครงการ "ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนด้านวิชาชีพ" ให้กับเยาวชนทั่วประเทศที่เคยกระทำความผิดเพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมไ้อย่างภาคภูมิและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต "สานอนาคตการศึกษา CONNECT ED"

จิตอาสาเพื่อการพัฒนา

ชั่วโมงจิตอาสาเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน

งบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาโรงเรียน

ความเสี่ยงและโอกาส


ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้ลูกค้าลดความถี่ในการจับจ่ายลดลง และเป็นผลให้ยอดขายรวมของสินค้าอุปโภคบริโภคลดต่ำลง ธุรกิจค้าปลีกจึงต้องสร้างสรรค์สินค้าที่ตอบสนองความคุ้มค่าและประหยัดด้านการใช้จ่ายขั้นพื้นฐาน เตรียมความพร้อมและเพื่อเป็นแรงผลักดันด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้ก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพ หลักสูตรและส่งเสริมให้พนักงานมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี และสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างมาก

บริษัทจึงมุ่งส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของพนักงาน ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้กับพนักงานในกลุ่มเยาวชน ชุมชน เด็ก เยาวชน และกลุ่มเปราะบาง ให้เข้าถึงการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างเท่าเทียมทั้งในระบบและนอกระบบ ผ่านโครงการด้านการศึกษาขององค์กร ที่ครอบคลุมทักษะพื้นฐานต่อการประกอบอาชีพ รวมถึงการเสริมสร้างทักษะเฉพาะทาง เพื่อต่อยอดองค์ความรู้เพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพ เตรียมความพร้อมความสามารถในการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งส่งเสริมพนักงานของบริษัท ชุมชน เด็ก เยาวชน และกลุ่มเปราะบาง ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ ตลอดจนการสร้างอนาคตที่ดีต่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน โดยการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนควบคู่กับการปฏิบัติงานจริง รวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลง เช่น การศึกษาที่เน้นสมรรถนะ (Competency-Based Education) การเรียนรู้ออนไลน์และแบบผสมผสาน (Online and Blended Learning) การปรับพื้นฐานสถานศึกษาตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น โดยอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงานในหลากหลายส่วน เพื่อส่งเสริมสถาบันการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังสนับสนุนการมอบทุนการศึกษาภายใต้เส้นทางการพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน โดยดำเนินงานตั้งแต่ ปี 2558 เพื่อเป็นแนวทางสร้างโอกาสทางอาชีพ สร้างรายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับบุคลากร เยาวชน ชุมชน และกลุ่มเปราะบาง

สร้างอนาคตทางการศึกษาที่เท่าเทียม สร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ ทุกคนเข้าถึงได้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในทุกพื้นที่

โครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED เฟส 6

CONNEXT ED เป็น 1 ในโครงการภายใต้กลยุทธ์การสร้างคนผ่านการศึกษา โดย ซีพี ออลล์ มีส่วนร่วมในการจัดการยกระดับคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดโรงเรียนคุณภาพในทุกพื้นที่ สร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning) ในการเรียนรู้ รวมถึงพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้เกิดขึ้นกับทั้งผู้เรียนทั้งในและนอกระบบการศึกษา

ในปีการศึกษา 2567 บริษัทได้เดินหน้าโมเดล “ผู้ประกอบการจิ๋ว” เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้-ทักษะชีวิต สำหรับลอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถเข้าสู่เส้นทางผู้ประกอบการ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงโอกาสในการนำสินค้ามาวางขายภายในร้าน 7-Eleven

โดยมีแผนสนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ อุปกรณ์การศึกษา วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาทักษะและมีจิตสาธารณะ เพื่อเข้าไปเป็นผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) ร่วมลงพื้นที่เป็นคู่คิดพัฒนาโรงเรียน ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นผลดีที่ 6 ผลลัพธ์สะสม 610 โรงเรียน ครอบคลุมนักเรียนกว่า 160,000 คน สามารถก้าวไปเป็นเจ้าของกิจการ เริ่มจากการช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่มาจากองค์ความรู้ชุมชน ทั้งนี้หากผลิตภัณฑ์ใดมีความโดดเด่นและผ่านมาตรฐานคุณภาพสินค้า จะได้รับการพิจารณาจำหน่ายในร้าน 7-Eleven ต่อไป

ปัจจุบันมีโรงเรียน CONNEXT ED จำนวน 2 แห่ง ที่สามารถบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิชาการและวิชาชีพเข้ากันได้อย่างยอดเยี่ยม พร้อมทั้งมีผลิตภัณฑ์ชุมชนฝีมือเยาวชนที่โดเด่น ได้แก่ 1.โรงเรียนบ้านสันป่าสัก อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กับผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพร นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น 2.โรงเรียนวังไพรพิทยาคม อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว กับผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้ามัดย้อมจากสีดอกดาวเรือง จากนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปัจจุบันทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มเติม

ด้วยการนี้บริษัทมุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการจิ๋วขึ้นในทั้ง 6 ภูมิภาคทั่วไทย เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียน CONNEXT ED อื่นๆ ในการพัฒนาทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตให้แก่เยาวชน สอดคล้องกับทิศทางโลก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน

1

ด้านไอซีทีและวิชาการ

2

ด้านวิชาชีพ

3

ด้านการเกษตร

4

ด้านสิ่งแวดล้อม

นอกเหนือจากการพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการจิ๋วแล้ว ยังมุ่งเพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ก่อให้เกิดเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ช่วยเสริมสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนที่ต้องการเรียนรู้ทักษะวิชาชีพ เพื่อนำไปสร้างรายได้ ตัวอย่างผลงาน

ด้านไอทีและวิชาการ

โครงการ "ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (AI Lab)" โรงเรียนบ้านหนองแสงโคกน้อย จังหวัดขอนแก่น

พัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่ทั้งหุ่นยนต์หรือ Robotics, AI (Artificial Intelligence Lab) และ IoT (Internet of Things) อย่างง่าย ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน อาทิ เครื่องจ่ายเจลล้างมืออัตโนมัติ ราวตากผ้าอัตโนมัติ ถังขยะอัจฉริยะ ซึ่งเป็นผลงานที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

  

"ศูนย์การเรียนรู้ การจัดการเกษตรทันสมัย "Water Smart Model" โรงเรียนชุมชนบ้านทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ใช้เทคโนโลยี IoT Cloud Computing และ Big Data มาปรับประยุกต์ใช้กับเครื่องมือควบคุมระบบน้ำอัจฉริยะ ตามปัจจัยความชื้น อุณหภูมิ แสงสว่าง ในการปล่อยน้ำรดน้ำต้นไม้ในแปลงพื้นที่เกษตรต่างๆ สามารถนำไปจำหน่ายให้บริการแก่ชุมชนโดยรอบ
ผลลัพธ์
• ช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิตอย่างได้ผล
• เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีเพื่ออาชีพแห่งอนาคตให้กับเด็กๆ สร้างรายได้จากการขายชุดควบคุมระบบน้ำอัจฉริยะ ปัจจุบันมีคำสั่งซื้อเข้ามายังโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

  
ด้านวิชาชีพ

โครงการต่อเนื่อง "ร้านกาแฟสร้างอาชีพ" โรงเรียนโสตศึกษา จังหว้ดนนทบุรี และโรงเรียนบ้านนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ส่งเสริมการลงมือปฏิบัติจริงและการสร้างอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และบกพร่องทางสติปัญญาซึ่งสอดคล้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความจำเป็นพิเศษตามมาตรฐานการศึกษา มีทักษะอาชีพสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รู้จักใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทักาะที่จำเป็นอย่าง 3R8C มาบูรณาการกับการดำเนินการตั้งแต่การคิด ออกแบบ วางแผน ลงมือปฏิบัติร่วมมือกับนักเรียนและชุมชน ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ต่อยอดได้ในอนาคต

  

โครงการ "จิบ-ชิม-ชม ใต้ร่มสันป่าสัก" โรงเรียนบ้านสันปาสัก อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

สนับสนุนงบประมาณ องค์ความรู้ ให้คำแนะนำแนวทางพัฒนาร้านและผลิตภัณฑ์ ให้แก่ทีมงานคณะครูและนักเรียนเพื่อต่อยอดดครงการ "จิบ-ชิม-ชม ใต้ร่มสันป่าสัก" ภายใต้ชื่อ "ร้านรสจามจุรี" ภายในร้านจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากชุมชน อาทิ ยาดมสมุนไพรและของที่ระลึกจากฝีมือนักเรียน พร้อมสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่าย "ยาดมสมุนไพร" ผ่านแพลตฟอร์ม ALL SME MARKET PLASCE ทั้งนี้อยู่ระหว่างร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ภายใต้โมเดล "ผู้ประกอบการจิ๋ว" เพื่อให้สามารถต่อยอดสู่การจำหน่ายในร้าน 7-Eleven และ Modern Trade ได้ในอนาคต

  

โครงการ "ท่องโลกกล้วย" โรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

การต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยนำปาร์มกล้วยมาแปรรูป ยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเลี้ยงชีพคนในชุมชน โดยมีปราชญ์ชาวบ้านและคนในชุมชนร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปาล์มกล้วยให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มมูลค่า เช่น เชือกกล้วยหูหิ้วถ้วยกาแฟ ถาดใส่อาหารจากใบตองกระถางต้นไม้จากใยกล้วย พร้อมเสริมทักษะการคำนวณต้นทุนผลผลิต การคิดราคาจำหน่าย และการใช้สื่อออนไลน์ในการขายสินค้า

  

ธุรกิจท่องเที่ยว Happy School โรงเรียนบ้านเขาเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดพังงา

สนับสนุนจัดการพื้นที่รกร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวเช็คอินแห่งใหม่ของจังหวัดพังงานในชื่อ "อุทยานการเรียนรู้ Happy School" ซึ่งประกอบไปด้วย แปลงเกษตร พืชผักสวนครัว ห้องเรียนธรรมชาติในดงกล้วย จุดเช็คอินอาคารเรียนศิลปะโคโลเนียล (Colonial Style) ร้านกาแฟ Happy School แปลงผักปลอดสารพิษและจุดเช็คอินที่เป็นแลนด์มาร์คต่างๆ ภายในพื้นที่
ผลลัพธ์
• สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวให้กับโรงเรียนหลักแสนบาท
• สร้างหลักสูตรท้องถิ่นธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การเกษตร การนำเที่ยวให้แก่ชุมชน
• เสริมทักษะวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวให้แก่เด็กนักเรียน

  

โครงการ "มหัศจรรย์ผ้าทอมือ" ชนเผ่าปะกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านแม่ยางห้า อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

การยกระดับ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอมือชนเผ่าชาวเขาปะกาเกอะญอ หรือชนเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นงานศิลปะที่แฝงไว้ด้วยวัฒนาธรรมประเพณี ถือเป็นมรดกอันทรงคุณค่า โดยบูรณาการองค์ความรู้จากงานหัตศิลป์สู่ความรู้เชิงวิชาการตามหลักสูตรแกนกลาง เพื่อเปิดมุมมองกระตุ้นให้เด็กนักเรียนเห็นความสำคัญของผ้าทอพื้นเมือง การเรียนรู้วัฒนาธรรมประเพณีอันทรงคุณค่า การเตรียมเส้นใยผ้า การม้วนใยผ้า การขึ้นโครง การทอ การปักลาย การแปรรูป จนกระทั่งถึงการจัดจำหน่าย

  

โครงการ "เรืองไพรโปรดักส์ (Reeangprai Products)" โรงเรียนวังแพรวิทยาคม อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

สนับสนุนงบประมาณโครงการ "เรืองไพรโปรดักส์ (Rueangprai Products)" ให้กับโรงเรียน เพื่อส่งเสริม การดำเนินโครงการผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับดอกดาวเรือง โดยเฉพาะผลิตภัณฑืผ้ามัดย้อม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มีผลิตภัณฑืที่หลากหลายสวยงาม มีรูปแบบความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นที่นิยมและชื่อชอบของลุกค้า ส่งผลให้นักเรียนได้รับความรู้ และทักษะการประกอบอาชีพ มีรายได้ระหว่างเรียน มีประสบการณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

  
ด้านการเกษตร

โครงการ "โคกหนองนาโมเดล" โรงเรียนบ้านวังดินสอ จังหวัดปราจีนบุรี

บูรณาการชีวิตจากท้องนาสู่ห้องเรียน บนพื้นฐานของการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง เพื่อนำมาสู่ความยั่งยืน ภายใต้ทฤษฎีบันได 9 ชั้น โดยพัฒนาจากขั้นพื้นฐาน (พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น) สู่ขั้นก้าวหน้า (ทำบุญ ให้ทาน เก็บไว้เมื่อขาด ค้าขาย เครือข่าย) ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการการทำเกษตรรูปแบบใหม่และสามารถเป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

  

โครงการต่อเนื่อง "ศูนย์การเรียนรู้ข้าวหอมมะลินิลผักสวนครัว" ภายใต้ความคิด Smart Farmer โรงเรียนบ้านโคกมะเมียน จังหวัดสุรินทร์

ส่งเสริมการสอดแทรกเนื้อหา Smart Farmer เข้าไปในการเรียนการสอนทุกรายวิชา ให้นักเรียนและคนในชุมชนมีความเข้าใจภาคเกษตรกรรมในทุกมิติ ได้แก่ การบริหารจัดการ ด้านธุรกิจ และด้านเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้ภาคเกษตรกรรมของไทย พร้อมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลินิลให้โรงเรียนและชุมชนมีรายได้

  

โครงการ "การสร้างนวัตกรรมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร" โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

สร้างนวัตกรรมเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับเด็กนักเรียน
• การนำเทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things มากำหนดการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และระบบน้ำ ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อาทิ ถั่วงอก
• ขยะไร้คนเก็บ เครื่องเก็บขยะและใบไม้อัตโนมัติ เพื่อรองรับภารกิจการจัดการเศษใบไม้ร่วงภายในโรงเรียน สถานที่ราชการ หมู่บ้านจัดสรร บ้านเรือนต่างๆ ก่อนนำไปกำจัดทิ้งผ่านวิธีการย่อยสลายตามธรรมชาติ ลดคน ลดเวลา แต่เพิ่มอรรถประโยชน์ได้เป็นอย่างดี
• ผักไฮโดรโพนิกส์ หรือผักไร้ดินจากการแก้ปัญหาเรื่องแหล่งปลูกที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ เรื่องสภาพดินในอดีตผ่านระบบ CubicFarm โดยจัดทำรางปลูก 40 รางปลูก แขวนบนระบบสายพานโซ่ เคลื่อนตัวแบบชิงช้าสวรรค์ ผ่านระบบไฟแสงสว่าง มีระบบวาวล์ปล่อยน้ำที่ผักใช้แล้วทิ้งโดยอัตโนมัติ และเติมน้ำพร้อมธาตุสารอาหารใหม่เข้าไปในรางปลูกอีกครั้ง ก่อนเคลื่อนตัวเพื่อรับแสงตามวงจรที่กำหนดด้วยระบบอัตโนมัติ IoT (Internet of Things)

  

โครงการ "ผักอะควาโพนิกส์" โรงเรียนวัดบ้านอ้อ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โครงการปลูกผักไร้ดินด้วยระบบ อะควาโพนิกส์ (Aquaponics) โดยใช้ปุ๋ยอินทรียที่ได้จากมูลปลาในการเพิ่มแร่และสารอาหารจากธรรมชาติให้เติบโตได้ขนาด ก่อนนำไปบริโภคในโครงการอาหารกลางวัน ผลผลิตส่วนเกินนำไปจำหน่าย นำที่ใช้แล้วจะถูกปล่อยออกไปยังบ่อบำบัดปรับสภาพน้ำ แล้วนำกลับไปเลี้ยงปลาใหม่อีกครั้ง ทำให้รูปแบบการปลูกผักไร้ดินแบบนี้ได้ทั้งผักสดและปลาควบคู่กัน การดำเนินงานเป็นระบบโรงเรือนปิดมีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ระบบไอน้ำระเหย ทั้งนี้ยังใช้แผงโวลาร์เซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรือน
ผลลัพธ์
• สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับโรงเรียนได้มากถึงร้อยละ 50
• ช่วยเสริมอาชีพ สร้างรายได้จากผลผลิตส่วนเกิน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
• ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืนให้กับโรงเรียน
• เพิ่มคุณภาพของผลผลิต ผักสวย ใบใหญ่ น่ารับประทานยิ่งขึ้น

  
ด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการ "ต้นกล้าไร้ถัง" โรงเรียนอนุบาลทักสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การปลูกฝังเยาวชน พ่อค้า แม่ค้าในโรงเรียนให้ร่วมกัน ลด ละ เลิกใช้สิ่งของที่สามารถกลายเป็นขยะและใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น แก้วน้ำ พลาสติก หลอด จาน กระดาษ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการจัดการขยะเข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนและให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะ ด้วยการคัดแยกวัสดุออกจากขยะ เสริมสร้างมูลค่าจนสามารถหมุนเวียนรายได้กลับสู่โรงเรียน และต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
  

"ศูนย์เพาะพันธุ์กล้าไม้ และร้านต้นกล้าคาเฟ่ โรงเรียนบ้านมาบฟักทอง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

การพัฒนาและต่อยอดแนวคิด "เศรษฐกิจสีเขียว" หรือ "Green Economy" ภายในโรงเรียน ทำหน้าที่ในการเพาะอนุบาลกล้าไม้ เพื่อส่งต่อไปยังโครงการต่างๆ พร้อมทั้งบูรณาการองค์ความรู้จากการเพาะกล้าไม้เป็นหลักสูตรท้องถิ่น ปลูกผังให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของต้นไม้ป่าไม้ ธรรมชาติ รวมถึงอาศัยความเขียวชอุ่มของแปลงเพาะกล้าไม้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอบางละมุง เปิดโอกาสให้ร้านกาแฟ "ต้นกล้าคาเฟ่" เข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ปลูกฝังเสริมสร้างการบริหารกิจการ

  

โครงการต่อเนื่อง "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกก สายใยรักษ์โลก" โรงเรียนวัดประดู่หอม (สุขประชาสรรค์) จังหวัดพัทลุง

เพิ่มมูลค่าและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับ "ต้นกก" และ "กระจูด" ซึ่งเป็นท้องถิ่น ซึ่งสามารถสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน เช่น หลักสูตร "หูหิ้วถ้วยกาแฟ เส้นกกสายใยรักษ์โลก" โดยนำเทคนิคฝีมือด้านหัตถกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสายหูหิ้วถ้วยกาแฟ เป็นต้น โดยบริษัทสนับสนุนงบประมาณในโครงการ พร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์มาใช้กับ ออลล์ คาเฟ่ (All Cafe) ในร้าน 7-Eleven สาขาในพื้นที่ท้องถิ่น

  

ศูนย์อบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ไม้ภายใต้แบรนด์ Sambaisit by Dondang โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ซีพี ออลล์ สนับสนุนงบประมาณและองค์ความรู้ในการจัดตั้ง ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอนร์ไม้ภายใต้แบรนด์ Sambaisit by Dondang ของโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนเพื่อการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติแบบ Action Base Learning ฝึกทักษะวิชาชีพ ในขณะเดียวกันทางโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตร Sambaisit by Dondang สำหรับประชาชนทั่วไปในการอบรมการออกแบบและผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้พาเลท โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการรับรองจากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 6 ขอนแก่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตหากมีความต้องการสินค้ามากขึ้นในอนาคต นำรายได้สู่ชุมชนบ้านดอนแดง บ้านดอนน้อย และบ้านดอนเจริญ ส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่ศูนย์การเรียนรู้คู่ชุมชน

  

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

สนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน CONNECT ED สะสมจนถึงเฟส 6

มุลค่าการสนับสนุนงบประมาณพัฒนาโรงเรียน
CONNECT ED (ปี 2562-2567)

จำนวนเด็ก เยาวชน และครูได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ

ส่งเสริมให้นักเรียน ครู และชุมชน เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักสูตรท้องถิ่น

และเกิดการเรียนรู้ชุมชน

สร้างโรงเรียนต้นแบบ หรือ
School Model

โรงเรียนที่ดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ Best Practice

โรงเรียนในโครงการร่วมพัฒนา หรือ Partnership School

สร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน

ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

บริษัทดำเนินงานด้านการศึกษาเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 17 ปี ผ่านการจัดตั้งสถานบันการศึกษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนสามารถเข้าถึงการศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (VDO Conference) ได้แก่

  • วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) เปิดโอกาสทางการศึกษาระดับอาชีวศึกษา
  • สถานบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ที่มอบโอกาสต่อยอดทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
  • โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) ครอบคลุมระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย
  • ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ การศึกษาผ่านระบบออนไลน์ (VDO Conference) กว่า 20 แห่งทั่วประเทศ
  • ร่วมมือกับสถานศึกษาเครือข่าย ทั้งของภาครัฐและเอกชน เปิดสอนระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษากว่า 200 สถานศึกษา

นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยมอบโอกาสทางการศึกษาเป็นทุนสนับสนุนนักเรียน/นักศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมถึงระดับอุดมศึกษาเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2567 มีการสนับสนุนสถาบันการศึกษาและการมอบทุนการศึกษา ดังนี้

วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT)

บริษัทจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) เปิดโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สำหรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษษธิการรูปแบบทวิภาคี เน้นให้ผูเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงที่ร้าน 7-Eleven และบริษัทในเครือฯ นักเรียน นักศึกษาตลอดหลักสูตรมีเบี้ยเลี้ยงระหว่างการฝึกภาคปฏิบัติและเมื่อจบการศึกษาบริษัทรับเข้าทำงาน ซึ่งมีหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งหมด 5 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2567

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม

- สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
- สาขางานธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (ปวช.2-3)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2567

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

- สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง
- สาขางานไฟฟ้ากำลัง (ปวช.2-3)

- กลุ่มอาชีพการตลาด สาขาวิชา
ธุรกิจค้าปลีก (ปวช.1)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

- สาขาวิชาแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
- สาขางานแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก
- สาขาธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (ปวช.2)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563 (เพิ่มเติม พ.ศ.2564)

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

- สาขาวิชาเทคนิควิทยาการนาฬิกา
- สาขางานเทคนิควิทยาการนาฬิกา (ปวส.2)

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาขั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2567

ประเภทวิชาอุตสาหกรรม

ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

- กลุ่มอาชีพพลังงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

- กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมเทคนิควิทยาการนาฬิกา สาขาวิชาเทคนิค วิทยาการนาฬิกา (ปวส.1)

- กลุ่มอาชีพการตลาด สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ปวส.1)

นอกจากนี้ บริษัทดำเนินงานศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ที่กระจายตามพื้นที่ชุมชนต่างๆ รวม 20 ศูนย์ และลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษาอาชีพศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณธกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กว่า 170 แห่ง ในการเปิดสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาธุรกิจค้าปลีก ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนในระบบ กว่า 12,700 คน พร้อมทั้งจัดทำกิจกรรมและโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการดำเนินองค์กร ดังนี้

สาขางานธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)/หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.))

หลักสูตรสาขางานธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ส่งเสริมระบบการค้าปลีกที่มีกระบวนการการจัดจำหน่ายที่ทันสมัย ทำงานร่วมกับระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการพัฒนาฝีมือการฝึกอาชีพให้กับผู้เรียนและการศึกษาระบบการขายแบบสมัยใหม่ นำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย เข้าถึงง่าย สะดวกสบาย มุ่งเน้นสินค้าจำเป็น เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย ในทำเลที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการที่เป็นมืออาชีพ โดยมีองค์ประกอบความรู้พื้นฐาน ดังนี้

การเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการร้านอย่งมืออาชีพ

ความหลากหลายของสินค้า การจัดแบ่งกลุ่มประเภทสินค้าบริโภคและอุปโภค ตลอดจนการจัดการสินค้า เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สมัยใหม่เพื่อความรวดเร็วในการบริหารจัดการ

การจัดการรูปแบบร้านและองค์ประกอบ

การจัดเรียงสินค้าหลากหลายชนิดอย่างเป็นระบบ ระเบียบ มาตรฐาน ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้สะดวกสบาย

การเรียนรู้ด้านศักยภาพของทำเลที่ตั้งของร้านสาขา ตลอดจนลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

การขาย การบริการ และการบริหาร

การจัดกิจกรรมทางการตลาดให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

การจัดสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ ในระบบค้าปลีกสมัยใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า

การเรียนรู้ระบบการขายแบบใหม่ B2B และ B2C

ปฏิบัติงานด้านการใช้อุปกรณ์ ณ จุดชำระเงิน ตามขั้นตอนการดำเนินงานการขาย การบำรุงรักษา และจัดเก็บอุปกรณ์ในงานอาชีพอย่างปลอดภัย

ปฏิบัติงานส่งมอบบริการ การขายและคืนสินค้า ตอบสนอง ข้อร้องเรียนของลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าตามลักษณะงานอาชีพ

สร้างและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างมีจรรยาบรรณวิชาชีพ ใช้เทคนิคการนำเสนอขายให้ลูกค้า สำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ การทำเอกสารการขาย สารสนเทศด้านสินค้าคงคลัง และการจัดส่งสินค้า โดยปฏิบัติตามขั้นตอนตามนโยบายของกิจการ

วิเคราะห์ วางแผน การจัดผังพื้นที่เพื่อจัดเก็บสินค้าจากผู้ส่งมอบ การกำหนดรหัสสินค้าโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป การระบุตำแหน่ง การจัดเก็บสินค้า การขายสินค้าและบริการขั้นสูงตามนโยบาย

สาขาไฟฟ้ากำลัง (หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

หลักสูตรสาขางานไฟฟ้ากำลัง เป็นการจัดการศึกษารูปแบบทวิภาคี โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปพร้อมกัน ซึ่งผู้เรียนจะได้รับการฝึกฝนในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้แม่นยำและชำนาญการ จากช่องเฉพาะทางที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์ยาวนาน หลักสูตรถูกออกแบบโดยความร่วมมือจากสถานประกาบการ ร่วมกันกำหนดเนื้อหาการฝึกอาชีพให้ผู้เรียน ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ฐานสมรรถนะ และสมรรถนะอาชีพ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้เบื้องต้น ดังนี้

การเลือกและประยุกต์ใช้ วิธีการเครื่องมือและวัสดุพื้นฐานในการปฏิบัติงาน

การมีพื้นฐานงานอาชีพเฉพาะทางแบบมืออาชีพ

การคิด วิเคราะห์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อการปฏิบัติงานอย่างทันสมัย

การจัดการด้านความปลอดภัยตามาตรฐานสากล

การถอด ประกอบ ทดสอบ วงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าหลากหลายชนิด

การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งภายในและภายนอกอาคารและระบบสื่อสาร

การควบคุม มอเตอร์ไฟฟ้า และการทดสอบเครื่องกลไฟฟ้า

การออกแบบ การอ่านแบบ การเขียนแบบและประมาณการราคา

การขึ้นแบบ การประกอบ การเชื่อมโลหะในรูปแบบต่างๆ

งานประกอบ ติดตั้ง บำรุงรักษา การประยุกต์ใช้ และตรวจสอบระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ภายในอาคารและภายนอกอาคาร ตู้ควบคุม อุปกรณ์ไฟฟ้างานอุตสาหกรรมในระดับเบื้องต้น การเขียนโปรแกรมระบบ โปรแกรมเมเบิลลอจิก คอนโทรลเลอร์เบื้องต้น

งานประกอบ ติดตั้ง บำรุงรักษา การประยุกต์ใช้และตรวจสอบระบบเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำความเย็น

ออกแบบ ติดตั้ง ควบคุม ตรวจสอบ วิเคราะห์และแก้ปัญหา บำรุงรักษา งานด้านอุปกรณ์ไฟฟ้าและจัดการในงานระบบไฟฟ้าภายในอาคาร และภายนอกอาคาร งานระบบไฟฟ้าตู้ควบคุม งานระบบไฟฟ้าและข้อขัดข้องในงานไฟฟ้าอุตสาหกรรม งานระบบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น งานเครื่องจักรกลไฟฟ้า งานออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ งานเขียนแบบและออกแบบระบบไฟฟ้าและการติดตั้งในระบบอัตโนมัติ

สาขางานเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

หลักสูตรสาขาช่างเทคนิคยานยนต์นาฬิกา (Watch Technology) มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นสมรรถนะอาชีพเฉพาะทางในระดับเทคนิคด้วยการปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้เทคนิคพิเศษ การปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกาในการถอดประกอบ ซ่อม บำรุงรักษานาฬิกาตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนถึงนาฬิกาหรูแบรนด์ระดับโลก ทั้งระบบควอตซ์ ระบบไขลาน และระบบอัตโนมัติ วิเคราะห์ ประเมินหาสาเหตุของอาการเสีย การให้บริการลูกค้า และออกแบบพื้นที่งานซ่อมนาฬิกา เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระยะเวลา 2 ปี จะสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสายงานที่เกี่ยวข้อง หรือประกอบอาชีพช่างเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกา ช่างผู้เชี่ยวชาญด้านงานซ่อมนาฬิกา ช่างซ่อมนาฬิกาในบริษัททั่วไปและขึ้นร้านค้าของตนเอง ตลอดจนการต่อยอดไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจอิสระเกี่ยวกับนาฬิกา อย่างชำนาญการ

สาขางานเทคนิควิทยาการนาฬิกา (หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.))

หลักสูตรสาขางานเทคนิควิทยาการนาฬิกา (Watch Technology) มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เน้นสมรรถนะอาชีพเฉพาะทางในระดับเทคนิคด้วยการปฏิบัติจริง โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้เทคนิคพิเศษ การปฏิบัติงานด้านช่างเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกาในการถอดประกอบ ซ่อม บำรุงรักษานาฬิกาตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนถึงนาฬิกาหรูแบรนด์ระดับโลก ทั้งระบบควอตซ์ ระบบไขลาน และระบบอัตโนมัติ วิเคราะห์ ประเมินหาสาเหตุของอาการเสีย การให้บริการลูกค้า และออกแบบพื้นที่งานซ่อมนาฬิกา เมื่อผู้เรียนสำเร็จการศึกษาระยะเวลา 2 ปี จะสามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสายงานที่เกี่ยวข้อง หรือประกอบอาชีพช่างเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกา ช่างผู้เชี่ยวชาญด้านงานซ่อมนาฬิกา ช่างซ่อมนาฬิกาในบริษัททั่วไปและขึ้นร้านค้าของตนเอง ตลอดจนการต่อยอดไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจอิสระเกี่ยวกับนาฬิกา อย่างชำนาญการ

โครงการต่อเนื่อง บริการวิชาการวิชาชีพ ปีที่ 20

นักเรียน นักศึกษา สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง และสาขาวิชาเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกา ดำเนินกิจกรรมจิตอาสา และบริการวิชาการ และบริการวิชาชีพด้านธุรกิจค้าปลีกและด้านไฟฟ้าแก่ชุมชนและสังคม ในจังหวัดนนทบุรี โดยบูรณาการความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนในการเผยแพร่ความรู้ด้านกิจกรรม ดังนี้

สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก

การสอนทำบัญชี
ครัวเรือน



การร่วมมือกันทำความสะอาดชุมชน



การจัดการขยะจากโครงการครัวเรือน



การให้ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก


การสร้างอาชีพชุมชน ผลิตภัณฑ์อาหาร ปลูกผักออร์แกนิก ทำตะกร้า ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ทำปุ๋ยไส้เดือน

การสร้างชุมชนในการจัดการแผนธุรกิจ

PAT ทำดี จิตอาสา

การให้ความรู้ด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การให้ความรู้ STEM และเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเด็ก เยาวชน และครูได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ

สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจให้คนในชุมชน

สร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกให้ชุมชน

สร้างจิตสำนึกให้ผู้เรียนได้เป็นผู้มีความรับผิดชอบ รู้จักการเสียสละ และการมีจิตอาสาต่อชุมชน สังคม และหน่วยงานอื่นๆ

ประชาสัมพันธ์สถานศึกษาให้เป็นที่รู้จัก สร้างเครือข่ายทางการศึกษา

สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง และ สาขาวิชาเทคนิควิทยาศาสตร์นาฬิกา

งานไฟฟ้า งานซ่อมบำรุงอุปกรณ์

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ

การบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า

บริการเปลี่ยนแบตเตอรี่นาฬิกาข้อมือ-บำรุงรักษานาฬิกา

บริการบำรุงรักษาทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการ และรับบริการวิชาการวิชาชีพ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ไม่ต่ำกว่า

เพิ่มทักษะสำหรับประกอบอาชีพให้นักเรียนของโครงการสร้างความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ชุมชน

ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเกิด และการใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็นจากการขาดการบำรุงรักษาและความรู้พื้นฐานในงานไฟฟ้า

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชน

ผู้เรียนได้นำความรู้และทักษะ ในการซ่อมบำรุงนาฬิกามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนในชุมชน

ลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้คนในชุมชน

ผู้เรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นระบบและการทำงานเป็นทีม

นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสใช้ทักษะวิชาชีพบริการด้านงานตามสายงานอาชีพ

โครงการต่อเนื่อง Business for Young Program

ซีพี ออลล์ มุ่งเน้นเพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้าใจให้กับเยาวชนในการเลือกเรียนและเข้าทำงานในสายอาชีพทางด้านธุรกิจค้าปลีกของศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ จัดกิจกรรมเพื่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียน ผ่านการเรียนรู้แบบเล่นปนเรียน (Learn and Play) และการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ให้นักเรียนเข้าร่วมฐานการเรียนรู้ด้านธุรกิจค้าปลีก 5 หัวข้อ ได้แก่

ฐานที่ 1

มาตรฐานการให้บริการ







ฐานที่ 2

บุคลิกภาพกับการให้บริการ







ฐานที่ 3

การบัญชีเบื้องต้น







ฐานที่ 4

การจัดแสดงสินค้า หรือการจัดเรียงสินค้า






ฐานที่ 5

การออกแบบโลโก้และผลิตภัณฑ์รวมถึงการศึกษาดูงานร้านค้าปลีก ทั้งนี้ยังมีการจัดการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการศึกษาต่อในสายอาชีพ ตลอดจนการให้ความสำคัญกับสายอาชีพด้านธุรกิจค้าปลีก

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

นักเรียนและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ

สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

ช่วยลดความเสี่ยงในการไม่เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนระบบทวิภาคี

ผู้เข้าร่วมโครงการมีแรงบันดาลใจในการศึกษาต่อสายอาชีพ

โครงการต่อเนื่อง อาชีวะไร้ถัง ปีที่ 4

วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ดำเนินโครงการอาชีวะไร้ถัง จัดกิจกรรมการคัดแยกวัสดุ สื่อสารคุณค่า ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่ ลดการใช้ (Reduce) การนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) และรีไซเคิล (Recycle) เพื่อปลูกฝังสร้างจิตสำนึก บ่มเพาะนักเรียน นักศึกษาในวิทยาลัยฯ ให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชีวิตประจำวันตั้งแต่ต้นทาง ดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2564 ต่อเนื่องถึงปี 2567 พร้อมขยายเครือข่ายการดำเนินงานอาชีวะไร้ถัง เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะ แนวทางการดำเนินงาน รวมถึงการสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินโครงการ และได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัยเทคโนโลยีศรีสะเกษทวีวงค์ เข้าเยี่ยมชมการคัดแยกวัสดุ และร่วมนำเสนอวิทยากรการคัดแยกวัสดุ ให้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พ.อ.เมืองนนท์ ทุมนุทรี ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกวัสดุ ณ โรงเรียนเทศบาลวัดสะแก ทั้งในปีการศึกษา 2567 มีสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะไร้ถัง จำนวน 35 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจำนวน 12 วิทยาลัย โรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 17 โรงเรียน และศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ กรุงเทพฯ จำนวน 6 ศูนย์การเรียน รวมผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 1,977 คน

โครงการบริการวิชาการ และบริการวิชาชีพแก่ชุมชนและสังคม

วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ดำเนินโครงการบริการวิชาการ และบริการวิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา และชุมชนในจังหวัดนนทบุรี ให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปประกอบอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ โดยวิทยากรของวิทยาลัยฯ เผยแพร่ความรู้ผ่านกิจกรรม ดังนี้

การสอนปลูกผักอินทรีย์ทานตะวัน สร้างอาชีพ

การสอนปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ สารพันสร้างอาชีพ

การสอนทำขนมไทย สร้างอาชีพ

การทำปุ๋ยไส้เดือน สร้างอาชีพ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ผู้เรียนของสถานศึกษาในความร่วมมือที่เข้าร่วมโครงการ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจ ไม่ต่ำกว่า

สร้างอาชีพ สร้างธุรกิจให้คนในชุมชน

สร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการธุรกิจค้าปลีกให้ชุมชน

เยาวชนสามารถนำไปใช้สร้างอาชีพเสริม หรือทำเป็นอาชีพหลักได้เพื่อหารายได้สู่ครอบครัว


สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม : PIM)

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) สถาบันสำหรับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา หรือเทียบเท่า เพื่อส่งมอบโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี และสามารถต่อยอดไปยังริญยาโท รวมไปถึงปริญญาเอก ผ่านระบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า Work-based Education (WBE) ภายใต้จุดแข็ง 3 ด้าน ในการเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีเข้ากับภาคปฏิบัติแก่นักศึกษา ดังนี้

ความรู้เชิงวิชาการจากอาจารย์ผู้เชียวชาญ ผ่านความร่วมมือที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ภายในประเทศและต่างประเทศ


ประสบการณ์การทำงานโดยตรงจากบริษัทในเครือและพันธมิตรทางธุรกิจ ที่สอดประสานไปกับการเป็น Corporate University หรือมหาวิทยาลัยแห่งองค์กรธุรกิจไปพร้อมกับการเป็น Network University

การพัฒนาองค์ความรู้ของอาจารย์และนักศึกษา โดยใช้ดจทย์จริงในองค์กรกลับมาสู่การเรียนการเสอนในห้องเรียน เพื่อให้พร้อมนำไปใช้ในทางปฏิบัติโดยตรง และอาจเกิดเป็นผลงานนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อองค์กร

ซีพี ออลล์ สนับสนุนสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชน และพนักงานรวมกว่า 11,700 ทุน คิดเป็นมูลค่ากว่า 685 ล้านบาท เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ มุ่งเน้นการเรียนรู้ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติงานจริงเครือข่ายพันธมิตรสถานประกอบการในการรับนักศึกษาเข้าฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษามีทักษะความสามารถพร้อมสำหรับการทำงานทันทีที่จบหลักสูตร รวมถึงโอกาสเข้าร่วมงานกับ ซีพี ออลล์ ในสายปฏิบัติการตำแหน่งผู้บริหารระดับต้น และพัฒนาไปสู่ผู้บริหารระดับสูง รวมถึงยังสามารถเป็นเจ้าของร้านเซเว่นอีเลฟเว่น (Modern Trade), เจ้าของธุรกิจส่วนตัว, ผู้ประกอบการเพื่อผลิตสินค้าและบริการทั้งออฟไลน์ และออนไลน์, นักธุรกิจและที่ปรึกษาในธุรกิจการค้าสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

ซีพี แอ็กซ์ตร้า ร่วมกับ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มอบทุนการศึกษาให้กับบุตรหลานพนักงาน ลูกค้า ทายาทโชห่วย และพนักงานรวมกว่า 526 ทุน มูลค่ากว่า 6.72 ล้านบาท เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (CIMM) คณะเกษตรนวัตกรรมและการจัดการ สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม (IAM) สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก เปิดโอกาสเข้าทำงานร่วมกับแม็คโครในระดับหัวหน้างาน หรือเจ้าของกิจการที่เป็นพันธมิตรกับแม็คโคร นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสต่อยอดการศึกษาให้กับพนักงานแม็คโครที่มีวุฒิปวส. และสนใจเรียนต่อปริญญาตรีแต่ขาดโอกาสและทุนทรัพย์ ให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เข้ากับงานปัจจุบัน พร้อมรับวุฒิการศึกษาเมื่อจบหลักสูตร

กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้

การจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จัดตั้ง “กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้” หรือ PIM SMART เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษานักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นทุนที่ไม่มีเงื่อนไขผูกพัน ปัจจุบันมีนักศึกษาจากกองทุน สำเร็จการศึกษา 757 คน ช่วยเหลือนักศึกษาแล้ว 321 ทุน คิดเป็นมูลค่า 8.2 ล้านบาท ในปี 2567


โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม)

สร้างคนให้สำเร็จ ต้องเริ่มต้นจากรากฐานการศึกษาที่ดี

ปณิธานความมุ่งมั่นของ ซีพี ออลล์ เชื่อมั่นว่า เด็ก ๆ ทุกคนควรมีโอกาสเรียนในสิ่งที่เหมาะสมกับความสนใจ ควบคู่กับการปลูกฝังทักษะชีวิต ที่จำเป็นต่อการสื่อสารและคุณธรรม เป็นจุดเริ่มต้นทำให้เกิดโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) เพื่อให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้ผ่านหลักสูตรการศึกษาของไทยที่มีความทันสมัย สร้างทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ

บริษัทจัดตั้งโรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) มอบโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ผ่านการเรียนรู้แบบ Active Learning ส่งเสริมการเรียนรู้ตามความสนใจ และความถนัดเฉพาะทางของผู้เรียน ตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในรูปแบบ Digital Class Room พร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ความรับผิดชอบ และความมีวินัย เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนเก่งและคนดีในสังคม ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 947 คน และสำเร็จการศึกษาแล้ว 294 คน

Happiness School สร้างสุขภาวะแห่งการเรียนรู้

นอกเหนือจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างเข้มข้น ซีพี ออลล์ ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสุขภาวะที่ดีในการเรียนรู้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพที่ 21 เน้นย้ำหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับจิตวิทยาการเรียนรู้ คือ Happiness School นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ในสิ่งที่ทำ ความสำเร็จจะเกิดขึ้นตามมา เมื่อผู้เรียนมีความสุข รักความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ จะไม่หยุดยั้ง ไม่มีการตัดสิน ไม่เปรียบเทียบ ดำเนินตามปรัชญาพื้นฐาน “การให้คุณค่าแก่การศึกษาที่มีความสุข” เน้นความสุขและความสำเร็จของผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่าน Phenomenon-Based Learning (PhBL) เป็นกระบวนการให้ผู้เรียนสังเกตและสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) ผ่านกระบวนการ Active Learning ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Centered) ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม อาทิ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (สาธิตพีไอเอ็ม) เป็นต้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมรองรับการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Anytime Anywhere) ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักใน 4 มิติ ดังนี้

1

หลักสูตรเข้มข้น

ส่งเสริมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน เรียนรู้โดยครูผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ สอน Academic English ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน และภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน 4 วิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน

2

รูปแบบการเรียนการสอน

- Active Learning การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนลงมือปฏิบัติและนำความรู้ที่เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา ไม่มีการตัดสิน หรือไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบหรือสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
- Digital Literacy การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยซีพี ออลล์ ถูกจัดเลือกจากผู้ดำเนินงานด้านเทคโนโลยีระดับโลกให้เป็น “Apple Distinguished School (ADS)” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 (2020-2026) สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีอย่างเป็นเลิศ
- กระบวนการวัดและประเมินผล รายงานผล และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน รายบุคคล มีครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อติดตามภาพความสามารถ และการค้นหาข้อดีเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างมีคุณภาพ


3

กระบวนการค้นหาตัวเอง และพัฒนาศักยภาพ

กระบวนการแนะแนวที่เข้มข้น ดูแลใกล้ชิดโดยครู นักจิตวิทยา และทำงานร่วมกับนักเรียน ผู้ปกครอง สร้างแรงบันดาลใจผ่านการศึกษาดูงาน การฟังบรรยายจาก Guest Speaker ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสายงาน เป็นหนึ่งในกระบวนการค้นหาความถนัด เพื่อให้นักเรียนสามารถกำหนดเป้าหมายในการเรียนและเส้นทางสู่อาชีพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


4

เครือข่ายทางการศึกษา

การมีพันธมิตรทางการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ อาทิ สถาบันการศึกษาชั้นนำในประเทศจีน ร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่เข้มข้นและทันสมัย การร่วมมือกับสถานทูตจีนประจำประเทศไทย การร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ โครงการสร้างครูต้นแบบต่างชาติจากประเทศจีน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาที่เข้มข้น พร้อมสนับสนุนให้นักเรียนมีความพร้อมเป็นพลเมืองโลก


การมอบโอกาสทางการศึกษา

บริษัทสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน ภายใต้กลยุทธ์ด้านสังคม “7 Go Together” โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. และ ปวส.) และระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีขึ้นไป) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 16 โดยในปี 2567 บริษัทได้สนับสนุนทุนการศึกษาไปแล้วทั้งสิ้น 37,523 ทุน คิดเป็นมูลค่า 1,186 ล้านบาท และยังมีผู้สำเร็จการศึกษาทุกหลักสูตรทั้งสิ้น 10,474 คน นอกจากนี้ บริษัทยังให้โอกาสในการศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รวมถึงให้โอกาสในการเข้าทำงานกับบริษัทหลังสำเร็จการศึกษา สามารถเข้าทำงานตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการ/ผู้จัดการร้าน 7-Eleven อีกทั้งยังมีโอกาสในการร่วมลงทุนเป็นเจ้าของร้าน 7-Eleven (Store Business Partner: SBP) ซึ่งในปีการศึกษานี้มีจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาร่วมงานกับบริษัท จำนวน 4,987 คน

ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นการดำเนินงานของบริษัทที่ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านสถาบันการศึกษานอกเหนือจากองค์ความรู้พื้นฐาน บริษัทมุ่งเน้นศักยภาพด้านความสามารถและความสนใจเฉพาะทาง รวมถึงเติมเต็มทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต ให้เยาวชน ชุมชน และบุคลากรของบริษัทสามารถตอบสนองต่อความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ โดยในปี 2567 มีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการต่อเนื่อง "เครือข่ายสร้างสุข สู่ปลายด้ามขวาน" ปีที่ 5

บริษัทฯ ตระหนักถึงเหตุการณ์ความรุนแรงใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ส่งผลให้เยาวชนขาดโอกาสทางการศึกษา ซีพี ออลล์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) และศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงร่วมมือกันขยายโอกาสทางการศึกษา โดยให้การมอบทุนการศึกษา และสนับสนุนค่าครองชีพระหว่างเรียนจากกองทุน PIM SMART 3,000 บาทต่อเดือน และค่าที่พัก 1,500 บาทต่อเดือน และมีรายได้ระหว่างฝึกงาน 12,000-15,000 บาทต่อเดือน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษากลับไปประกอบอาชีพในพื้นที่บ้านเกิดของตนเอง กระตุ้นการจ้างงานและเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

มอบทุนการศึกษา

คิดเป็นมูลค่า

นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษาแล้ว

จำนวน

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ

นักศึกษามีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ยหลังสำเร็จการศึกษา

สร้างผู้ประกอบการชุมชน

โครงการต่อเนื่อง "พีไอเอ็ม (PIM) ส่งรอยยิ้มสู่ยอดดอย" ปีที่ 7

ซีพี ออลล์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค: NECTEC) และบริษัท ซ้อฟท์สแควร์ 1999 จำกัด ร่วมกันมอบทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน อีกทั้งจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (Work-based Education: WBE) และด้านนันทนาการเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนที่ด้อยโอกาส ด้วยระบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning) รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน (Teacher-Student Relationship)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

มอบทุนการศึกษา

จำนวน

นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษาแล้ว

จำนวน

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีงานทำ

นักศึกษาในโครงการสำเร็จการศึกษาแล้ว

สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรจังหวัดแม่ฮ่องสอน

สร้างผู้ประกอบการชุมชน

โครงการต่อเนื่อง “คืนคนดีสู่สังคม” ปีที่ 6

ซีพี ออลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ศูนย์การเรียนปัญญาภิวัฒน์ ร่วมกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ศาลเยาวชนและครอบครัว กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม ในปี 2567 ได้ขยายความร่วมมือไปยังสถานสงเคราะห์เด็กและเยาวชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สนับสนุนการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู และให้โอกาสด้านการศึกษาแก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศที่เคยกระทำความผิด ได้ศึกษาต่อวิทยาลัยฯ ศูนย์การเรียนฯ และสถานศึกษาในความร่วมมือ ในหลักสูตรธุรกิจค้าปลีก และหลักสูตรการจัดการธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบทวิภาคี โดยเรียนภาคทฤษฎีที่สถานศึกษา สลับกับการฝึกอาชีพที่ร้าน 7-Eleven ภายใต้โครงการ “ส่งเสริมและพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนด้านวิชาชีพ” อีกทั้งยังมีการสนับสนุนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์ฝึกและพัฒนาคุณภาพผู้ต้องขังชายพิษณุโลก สถานพินิจและคุ้มครองเด็ก เพื่อให้ผู้กระทำผิดสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างภาคภูมิและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการ

มอบทุนการศึกษา

มูลค่าการสนับสนุน

สนับสนุนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์

มูลค่าการสนับสนุนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์

เยาวชนได้รับโอกาสทางการศึกษา มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ มีอาชีพเสริม

โครงการต่อเนื่อง Creative AI Camp และ Creative AI Club

บริษัทให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเยาวชนในทุกมิติ ทั้งในด้านการเพิ่มพูดทักษะความรู้ ด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านธุรกิจรวมไปถึงด้านปรัชญาความคิด อีกทั้งสร้างเวทีให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานด้าน AI เพื่อเป็นก้าวสำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนผ่านโครงการ Creative AI Camp (CAI Camp) และ Creative (CAI Club) โดยมี 3 วัถุประสงค์ ดังนี้

New Learning Space

สร้างพื้นที่การเรียนรู้ พร้อมอำนวยความสะดวกในการต่อยอดความรู้ด้าน AI

New Creative Community

สร้างชุมชนเพื่อแบ่งปันความรู้สร้างสรรค์ผลงานด้าน AI และสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า

New Innovations & Solutions

สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ คิดและพัฒนาวิธีการแก้ไขปัญหาแนวทางใหม่ๆ ด้วยความรู้ AI โดยสมาชิกในคลับ

ในปี 2567 บริษัทดำเนินโครงการ Creative AI Camp ภายใต้แนวคิด “AI For All” เพื่อให้ความรู้พื้นฐาน พร้อมยกระดับทักษะ AI ให้เยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. และอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1-2) โดยมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ AI ในเชิงธุรกิจ และสร้างทักษะเชิงลึกด้านเทคโนโลยีไอทีตอบโจทย์ประเด็นต่างๆ ในสังคม และมีผลงานที่โดดเด่น ดังนี้

ผลงานที่โดดเด่นภายใต้โครงการ Creative AI Camp

รางวัลชนะเลิศ : KM และ AI CHATBOT
เพื่อช่วยตอบคำถามให้กับ SMEs ที่ต้องการร่วมธุรกิจกับ CP ALL โดยเป็นแนวคิดจากศูนย์ส่งเสริม Innovation-Driven Enterprise

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : AI เพื่อตรวจสอบงาน PM ตู้ไอศกรีม
โดยเป็นแนวคิดจากสำนักบริหารทรัพย์สินองค์กร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : AI ช่วยในการคำนวนงบคาดการณ์
โดยเป็นแนวคิดจากหน่วยงานคัดสรร เลบบินี่ พรีเมี่ยม คาเฟ่

รางวัล The Best Innovation : AI ตรวจสอบป้ายชำรุดที่ร้านสาขาและเภทการชำรุด
โดยเป้นแนวคิดจากสำนัก Construction Management

โครงการประกวด “CAI Retail Hackathon: Action Detection”

เปิดเวที CAI Retail Hackathon ครั้งที่ 1 ภายใต้โจทย์ Action Detection หรือการตรวจจับพฤติกรรม โดยใช้ Computer Vision เทคโนโลยี AI ซึ่งสามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโมเดลสำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ภายในร้านสะดวกซื้อ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้บริการที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 230,000 บาท เหรียญรางวัลและเกียรติบัตรให้แก่เยาวชนผู้ชนะเลิศ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม

รางวัลชนะเลิศ และรางวัลรองชนะเลิศ รวม 2 รางวัล

รางวัลชนะเลิศ : กลุ่มนักศึกษาระดับปี 1-2 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รางวัลรองชนะเลิศ : กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนมงฟอร์ดวิทยาลัย จ.เชียงใหม่

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

เยาวชนเข้าร่วมโครงการและได้รับการพัฒนาทักษะสะสม

มูลค่าการสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมสะสม

พัฒนาทักษะทั้งด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ ความรู้ธุรกิจ รวมถึงปรัชญาชีวิตจากหมากร้อม

สร้างเครือข่ายของผู้มีความรู้ ความสามารถรุ่นใหม่ๆ

เป็นศูนย์รวมทรัพยากรและความรู้ ในด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า