การกำกับดูแลกิจการ



ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2567
ได้รับการประเมิน ระดับดีเลิศ (Excellence) หรือระดับ 5 ดาว จากการเปิดเผยรายงานการกำกับดูแลกิจการ บริษัทจดทะเบียนโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ต่อเนื่องปีที่ 6
รับรางวัล CAC Change Agent Award 2024 จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ต่อเนื่องปีที่ 4
ส่งเสริมคู่ค้าเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย จำนวน 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 29.55 ของคู่ค้าที่เข้ารับการอบรมทั้งหมด
ได้รับการรับรอง ISO27701 มาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ส่วนขยายจาก ISO/IEC 27001 มาตรฐานจัดการความปลอดภัยของข้อมูล) ในขอบเขตงาน
ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือการจัดการเว็บไซต์และความปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security Rating) จากบริษัทภายนอก (BITSIGHT) ที่ระดับ Advanced
ได้รับการประเมินโครงการวัดระดับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับกลุ่มบริษัทจดทะเบียนและบริษัทหลักทรัพย์ (Cybersecurity Resilience Survey 2024) โดยได้รับคะแนนที่ระดับ 3.52 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มอุตสาหกรรมฯ
การดำเนินงานที่สำคัญปี 2567

การประเมินตนเองด้านการกำกับดูแลกิจการ (CG Self-Assessment) สำหรับผู้บริหารระดับผู้จัดการทั่วไปหรือเทียบเท่าขึ้น

ร่วมขยายเครือข่ายความโปร่งใสไปยังบริษัทคู่ค้า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เพื่อประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านคอร์รัปชัน สร้างแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างมีธรรมาภิบาลตลอดห่วงโซ่อุปทาน

อบรม ให้ความรู้มาตรการป้องกันความเสี่ยงด้านกฎหมายให้แก่สำนักงาน ร้าน 7-Eleven และบริษัทย่อย ครอบคลุมพันธมิตรทางการค้า (สโตร์บิซิเนสพาร์ทเนอร์)

อบรม ให้ความรู้และจัดทดสอบวัคซีนไซเบอร์ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อได้รู้ทันมิจฉาชีพ และใช้ไซเบอร์ที่ปลอดภัย

นำเอามาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศ และระบบบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ISO 27001 และ ISO 27701) มาประยุกต์ใช้และปฏิบัติอย่างต่อเนื่องกับบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

ประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Impact Assessment: DPIA) ในทุกกิจกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

จัดอบรมหลักสูตรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมวัดระดับความรู้หลังจบการอบรมให้แก่พนักงานทุกระดับผ่านระบบ E-Learning

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน
12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงในวงจรการรายงานของบริษัทเหล่านั้น

SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจทีี่มีความรับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วมและมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนแบบ
“ทวิสารัตถภาพ”
มิติด้านความยั่งยืน
ระดับผลกระทบเพื่อนำมาประยุกต์ใช้
ในการดำเนินธุรกิจ
เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว และความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมาย
ได้รับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellence) โดยสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2567
องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริษัท

เพศชาย

เพศหญิง

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร

กรรมการอิสระ

กรรมการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร
การอบรมและสื่อสารด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริต
พนักงาน ซีพี ออลล์

ได้รับการสื่อสาร

ลงนามรับทราบ

ได้รับการฝึกอบรม
พนักงาน บริษัทย่อย

ได้รับการสื่อสาร

ลงนามรับทราบ

ได้รับการฝึกอบรม
คู่ค้าลำดับที่ 1

ได้รับการสื่อสาร

ลงนามรับทราบ

ได้รับการฝึกอบรม
สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

หน่วยงานที่มีความเสี่ยงด้านกฎหมาย และการทุจริตได้รับการประเมินความเสี่ยง

หน่วยงานที่มีความเสี่ยงมีมาตรการการจัดการความเสี่ยง
รายงานการละเมิดการทุจริต คอร์รัปชันและติดสินบน
จำนวนการทุจริต คอร์รัปชัน และติดสินบนที่ตรวจสอบแล้วพบว่าผิดจริง
สัดส่วนของพื้นที่ดำเนินการที่เกิดปัญหาการทุจริต คอร์รัปชัน และติดสินบน
ข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทีผ่านการพิสูจน์แล้วว่าผิดจริง

ข้อมูลลูกค้า

ข้อมูลคู่ค้า

หน่วยงานกำกับดูแล

ความเสี่ยงและโอกาส
การกำกับดูแลกิจการที่ดีถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายและเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีคณะกรรมการเป็นปัจจุัยสำคัญในการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างโปร่งใส ปราศจากการทุจริต ให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งผสานแนวคิดด้านความยั่งยืนในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ประสิทธิภาพของคณะกรรมการขึ้นอยู่กับความเป็นอิสระของสมาชิกคณะกรรมการ และความหลากหลายในด้านทักษะและประสบการณ์ พร้อมกันนี้ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร และการสร้างความเชื่อมั่นในผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วนของห่วงโซ่คุณค่าผ่านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ดึงดูดความสนใจนักลงทุนและสนับสนุนให้องค์กรประสบความสำเร็จในระยะยาว
นอกจากนี้ การพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง ให้การดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายและการกำกับดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับการสื่อสารและสร้างความเข้าใจให้แก่พนักงานในทุกระดับอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถนำแนวทางไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการละเมิดข้อปฏิบัติและสิทธิมนุษยชน
แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมีคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายความยั่งยืน นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงจริยธรรมทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน อีกทั้งทำหน้าที่ทบทวนและปรับปรุงนโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาลของหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายและมาตรฐานสากล นอกจากนี้ บริษัทได้จัดอบรมที่มีเนื้อหาครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านการทุจริต การบริหารความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมจัดทำแบบทดสอบความรู้หลังการอบรม และมุ่งเน้นการส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีให้แก่พนักงานทุกระดับ เพื่อสร้างการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล พร้อมสร้างองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โปร่งใส และเป็นผู้นำในด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ในด้านการดำเนินธุรกิจ บริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประต่างประเทศ โดยมีจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน (Business Ethics and Code of Conduct) เป็นแนวทางสำคัญ บริษัทดำเนินงานด้วยความซื้อสัตย์ ยึดมั่นในหลักนิติธรรม โปร่งใส ไม่ละเมิดสิทธฺมนุษยชน ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่มีการเรียกรับหรือให้สินบน หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และปฏิบัติตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมุ่งมั่นดูแลและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
1 ตระหนักถึงบทบาท และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
2 กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน
3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
4 สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคคล
5 เสริมสร้างนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจ
6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
8 สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานการลงทุน

1. สิ่งแวดล้อม
– การจัดการทรัพยากร
– ลดการปล่อยก๊าซเรือกกระจก
– อุบัติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
– การบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

2. สังคม
– สิทธิมนุษยชน
– สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
– การตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน

3. ธรรมาภิบาล
– ค่าตอบแทนผู้บริหาร
– สิทธิของผู้ถือหุ้น
– ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
– วิสัยทัศน์
นโยบายการกำกับดูแลกิจการของ ซีพี ออลล์

สิทธิของผู้ถือหุ้น

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม

บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

การบริหารความเสี่ยง

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน

การดูแลใช้ข้อมูลภายในและการควบคุมและตรวจสอบภายใน
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการชุดย่อย
บริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยดำเนินงานอย่างอิสระภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญประกอบด้วย
คณะกรรมการตรวจสอบ | คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ |
---|---|---|
|
|
|
โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท
บริษัทกำหนดให้มีคณะกรรมการบริษัทจำนวน 16 ราย ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ราย กรรมการที่เป็นอิสระจำนวน 6 ราย และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ราย นอกจากนี้บริษัท มอบอำนาจในการดำเนินงานโดยแบ่งแยกอำนาจการดำเนินงานระหว่างประธานกรรมการ (Chairman) และประธานกรรมการบริหาร (Chairman of Executive Committee: CEC) ไว้อย่างชัดเจนและไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้ บริษัทเปิดเผยข้อมูลความรู้ ความชำนาญ เฉพาะด้านของคณะกรรมการบริษัทเพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ ตลอดจนคุณสมบัติที่เหมาะสมในตำแหน่งกรรมการบริษัทสอดคล้องตามมาตรฐานการจำแนกอุตสาหกรรมระดับโลก (Global Industry Classification Standard: GICS) กลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (Consumer Staples) เพื่อการดำเนินงานตอบสนองต่อกลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัท ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะที่จำเป็นในการสรรหากรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทมีความหลากหลาย (Board Diversity) ของคุณสมบัติ เพศ อายุ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ โดยไม่จำกัดความแตกต่างอื่นใด มีทักษะสอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ผ่านการจัดทำตารางความรู้ความสามารถ (Board Skill Matrix) ดังนี้
ตารางความรู้ความชำนาญ
รายชื่อคณะกรรมการ | ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านของกรรมการ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
บัญชีและการเงิน | เศรษฐศาสตร์และธนาคาร | บริหารจัดการองค์กรขนาดใหญ่ | บริหารความเสี่ยง | จัดการในภาวะวิกฤษติ | ธุรกิจและการตลาด | แข่งขันระหว่างประเทศ | ดิจิทัล | วิจัยและพัฒนา | กฎหมายและคดี | มั่นคงและสังคม | |
1. ศ.(พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช | x | x | x | x | x | ||||||
2. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ | x | x | x | x | x | ||||||
3. นายผดุง เตชะศรินทร์ | x | x | x | x | x | x | x | x | |||
4. นางนํ้าผึ้ง วงศ์สมิทธิ์ | x | x | x | x | |||||||
5. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ | x | x | x | x | x | x | x | ||||
6. ศ.(พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ | x | x | x | x | x | ||||||
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ | x | x | x | x | x | x | x | x | |||
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ | x | x | x | x | x | x | x | x | |||
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์ | x | x | x | x | x | x | x | x | |||
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต | x | x | x | x | x | x | |||||
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ | x | x | x | x | x | x | x | ||||
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ | x | x | x | x | x | x | x | ||||
13. นายณรงค์ เจียรวนนท์ | x | x | x | x | x | x | x | x | |||
14. นายประเสริฐ จารุพนิช | x | x | x | x | |||||||
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล | x | x | x | x | x | x | |||||
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล | x | x | x | x | x | x |
- บริหารและจัดการองค์กรขนาดใหญ่ รวมการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล
- ธุรกิจและการตลาด รวมการขนส่ง การกระจายสินค้า
- ดิจิทัล รวมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี Information Security & Cyber Security
- กฎหมายและคดี รวมถึง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายหลักทรัพย์ กฎหมายภาษีอากร
- มั่นคงและสังคม รวมถึง สิ่งแวดล้อม ชุมชน ความปลอดภัย
- เศรษฐศาสตร์และธนาคาร รวมถึง สถาบันการเงิน สถาบันการลงทุน
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์ตาม GICS Level1classification ของกรรมการอิสระ และกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ได้ที่ —> Board Industry Experience
ทักษะที่จำเป็นในการสรรหาผู้บริหารระดับสูง (CEO,CEO-1,CEO-2)
เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่มีการแข่งขันและรักษาการเติบโตขององค์กรให้มีความยั่งยืน บริษัทมีการกำหนดนโยบาย ทักษะที่จำเป็นและมีการดำเนินการเพื่อคัดเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งของผู้บริหารระดับสูง รวมถึงมีการจัดทำแผนผู้สืบทอดตำแหน่งมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารหรือผู้นำในตำแหน่งสำคัญขององค์กรจะมีผู้สืบทอดตำแหน่ง โดยบริษัทได้กำหนดทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารระดับสูง ดังนี้
1. ทักษะความเป็นผู้นำ (เสน่ห์) – CPALL Leadership DNA | ||||
---|---|---|---|---|
ความสามารถในการคิด (คิดได้) | ความสามารถในการสื่อสาร (พูดเป็น) | ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ (ทำสำเร็จ) | ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น (เข้าใจคน) | ความสามารถในการมีโลกทัศน์ (มีโลกทัศน์) |
2. คุณลักษะผู้นำ (ศรัทธา) – 11 Leadership | ||||
มีความจริงใจ / ไม่ศักดินา / ใช้ปิยะวาจา / อย่าหลงอำนาจ เป็นแบบอย่างที่ดี /มีความยุติธรรม / ให้ความเมตตา / กล้าตัดสินใจ อาทรสังคม / บ่มเพาะคนดี / มีใจเปิดกว้าง |
||||
3. ความรู้ในอาชีพ (สามารถ) – Knowledge | ||||
4. ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ (ประสบการณ์) |
กระบวนการสรรหาผู้บริหารระดับสูง (CEO,CEO-1,CEO-2)
บริษัทคัดเลือกผู้สืบทอดตำแหน่งจาก Talent Pool และประเมินระดับความพร้อมในการขึ้นสู่ตำแหน่งด้วยเครื่องมือต่างๆ ทั้งเครื่องมือทางจิตวิทยา การประเมินด้วยบุคคลต่างๆ รอบด้านและการประเมินศักยภาพความพร้อมในการขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น เพื่อนำมาจัดทำแผนพัฒนารายบุคคลและมีการติดตามและรายงานผลความคืบหน้าของการพัฒนาต่อคณะกรรมการบุคคลสายงานและผู้บริหารระดับสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือก มีความพร้อมในการสืบทอดตำแหน่งที่สำคัญขององค์กร
ข้อมูลอื่นๆ
การจัดโครงสร้างการบริหารงานด้านงานกำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริษัท
1. คณะกรรมการบริษัท
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 5 คน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร จำนวน 11 คน ประกอบด้วย กรรมการอิสระจำนวน 6 คน (คิดเป็น 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ) กรรมการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน จำนวน 5 คน (คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ)
รายชื่อคณะกรรมการบริษัท
ชื่อ-นามสกุล | ตำแหน่ง |
---|---|
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช | กรรมการอิสระและประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
2. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ |
4. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ |
5. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ |
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ | กรรมการอิสระ |
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ | ประธานกรรมการ |
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์1 | รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร |
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์2 | รองประธานกรรมการและกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ |
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต1 | รองประธานกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร |
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์2 | กรรมการ |
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์2 | กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
13. นายณรงค์ เจียรนนท์2 | กรรมการ |
14. นายประเสริฐ จารุพนิช1 | กรรมการ |
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล2 | กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร |
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล2 | กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร |
- กรรมการลำดับที่ 4 นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ เข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 แทนนายปรีดี บุญยัง กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ ที่ลาออกมีผลวันที่ 1 กันยายน 2567
- กรรมการลำดับที่ 8-16 เป็นกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทฯ โดยตัวแทนกรรมการจากกลุ่ม 1 ลงนามร่วมกับตัวแทนกรรมการจากกลุ่ม 2 รวมเป็นสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทฯ ยกเว้นประธานกรรมการและกรรมการอิสระเพื่อดำรงความเป็นอิสระตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คำนิยาม
คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการและนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัท โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท กฎบัตรและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รายละเอียดเพิ่มเติมของคณะกรรมการบริษัท
2. การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ในคณะกรรมการชุดย่อย
คณะกรรมการชุดย่อยภายใต้คณะกรรมการบริษัทมี 3 คณะ คือ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อยภายใต้ประธานกรรมการบริหาร คือ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วยกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 คน โดยทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระและไม่ได้เป็นผู้บริหาร และมีผู้จัดการสำนักตรวจสอบภายใต้ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
1. นายผดุง เดชะศรินทร์* | ประธานกรรมการตรวจสอบ |
2. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์** | กรรมการตรวจสอบ |
3. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ | กรรมการตรวจสอบ |
* กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน และสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน
** นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 แทน นายปรีดี บุญยัง ที่ลาออกมีผลวันที่ 1 กันยายน 2567
คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาลได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นกรรมการอิสระไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และมีนายสุพจน์ ชิตเกณรพงศ์ เลขานุการบริษัททำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาลโดยตำแหน่ง
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช* | ประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
2. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์* | กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล** |
3. นายผดุง เดชะศรินทร์* | กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
4. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ | กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล |
* เป็นกรรมการอิสระ
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการบริษัทอย่างน้อย 3 คน โดยเป็นกรรมการอิสระอย่างน้อยกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และโดยมีนางนาวลาวัณย์ เตียงหาษากุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานทรัพยากรบุคคล ทำหน้าที่เป็นเลขานุกรรมคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการโดยตำแหน่ง
1. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์* | ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ** |
2. นายผดุง เดชะศรินทร์* | กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ |
3. นายศุภชัย เจียรวนนท์ | กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ |
* เป็นกรรมการอิสระ
3. สรุปผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในรอบปีที่ผ่านมา
การประชุมคณะกรรมการ
รายชื่อคณะกรรมการบริษัทและการเข้าร่วมประชุุมของกรรมการในปี 2567
(จำนวนครั้งที่่เข้าประชุุมในช่วงที่เป็นกรรมการ)
รายชื่อกรรมการ | ตำแหน่ง | ประชุมคณะกรรมการ (9 ครั้ง) |
ประชุมคณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (1 ครั้ง) | ผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (1 ครั้ง) |
---|---|---|---|---|
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช | กรรมการอิสระ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
2. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ | กรรมการอิสระ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ | กรรมการอิสระ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
4. นายปรีดี บุญยัง** | กรรมการอิสระ | 6/6 | – | 1/1 |
4. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์*** | 1/1 | 1/1 | – | |
5. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ | กรรมการอิสระ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ | กรรมการอิสระ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ | ประธานกรรมการ | 7/8 | 1/1 | 0/1 |
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์* | รองประธานกรรมการ | 7/8 | – | 1/1 |
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์ | รองประธานกรรมการ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต* | รองประธานกรรมการ | 8/8 | – | 1/1 |
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ | กรรมการ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์* | กรรมการ | 8/8 | – | 1/1 |
13. นายณรงค์ เจียรนนท์ | กรรมการ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
14. นายประเสริฐ จารุพนิช | กรรมการ | 8/8 | 1/1 | 1/1 |
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล* | กรรมการ | 8/8 | – | 1/1 |
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล* | กรรมการ | 8/8 | – | 1/1 |
* หมายถึง กรรมการที่เป็นกรรมการบริหาร
** นายปรีดี บุญยัง ลาออกจากการเป็นกรรมการอิสระเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 มีผลวันที่ 1 กันยายน 2567
** นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ เป็นกรรมการอิสระ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567
การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและทบทวนผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้กรรมการของบริษัทฯ ได้มีการพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในระหว่างปีที่ผ่านมา อันจะช่วยให้การทำงานของคณะกรรมการมีประสิทธิผลมากขึ้นเพราะทราบถึงความรับผิดชอบของตนได้ชัดเจนและยังเป็นการช่วยปรับปรุุงความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับฝ่ายจัดการ การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการบริษัทแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะ (As a whole) และการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง (Self-assessment)
การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการรายบุคคล
คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ เป็นผู้พิจารณาหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติเป็นประจำทุกปี โดยมีการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกันและอยู่ระดับที่จูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพ
(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ได้อนุมัติค่าตอบแทนประจำรายเดือนของกรรมการในอัตราเดิมตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2566 ได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 และยังคงเป็นอัตราเดิมตั้งแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2559 ได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 ดังนี้
1. กรรมการอิสระที่เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย | 120,000 บาท/คน |
2. กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย | 100,000 บาท/คน |
3. กรรมการอิสระที่ไม่ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย | 80,000 บาท/คน |
4. ประธานกรรมการ | 120,000 บาท/คน |
5. รองประธานกรรมการ | 100,000 บาท/คน |
6. กรรมการ | 60,000 บาท/คน |
โดยกรรมการอิสระที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยหลายคณะจะได้รับค่าตอบแทนที่อัตราสูงสุดเพียงคณะเดียว นอกจากนี้ทีประชุุมผู้ถือหุ้นยังได้อนุุมัติเงินโบนัสให้กรรมการในอัตราร้อยละ 0.50 ของเงินปันผลที่มีการจ่ายให้ผู้ถือหุ้น โดยประธานกรรมการจะเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินที่เหมาะสมเพื่อจัดสรรให้กรรมการแต่ละคน
ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทตั้้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 (หน่วย : บาท)
ชื่อกรรมการ | ตำแหน่ง | ค่าตอบแทน | โบนัส | รวม |
---|---|---|---|---|
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช | กรรมการอิสระและประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | 1,440,000 | 3,858,000 | 5,298,000 |
2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ* | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | – | 2,572,000 | 2,572,000 |
2. พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์* | 1,440,000 | 3,858,000 | 5,298,000 | |
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ | กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ | 1,440,000 | 3,858,000 | 5,298,000 |
4. นายปรีดี บุญยัง** | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | 1,000,000 | 3,215,000 | 4,215,000 |
4. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์** | 200,000 | – | 200,000 | |
5. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ | กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | 1,200,000 | 3,215,000 | 4,415,000 |
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ | กรรมการอิสระ | 960,000 | 2,572,000 | 3,532,000 |
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ | ประธานกรรมการ | 1,440,000 | 3,858,000 | 5,298,000 |
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ | รองประธานกรรมการ | 1,200,000 | 3,215,000 | 3,572,000 |
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์ | รองประธานกรรมการและกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ | 1,200,000 | 3,215,000 | 3,572,000 |
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต | รองประธานกรรมการ | 1,200,000 | 3,215,000 | 3,572,000 |
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ | กรรมการ | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ | กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
13. นายณรงค์ เจียรนนท์ | กรรมการ | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
14. นายประเสริฐ จารุพนิช | กรรมการ | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล | กรรมการ | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล | กรรมการ | 720,000 | 1,929,000 | 2,649,000 |
รวม | 17,040,000 | 44,914,000 | 61,954,000 |
* พล.ต.อ. ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ เป็นกรรมการอิสระมีผลตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 แทน พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ที่ลาออกเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566
** นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ เป็นกรรมการอิสระมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 แทนนายปรีดี บุญยัง ที่ลาออกมีผลวันที่ 1 กันยายน 2567
นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ทั้งคณะยังได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทย่อย (คือสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2567 รวม 38,000 บาท
ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทย่อย (บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน)
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2567 (หน่วย : บาท)
รายชื่อกรรมการ | ตำแหน่ง | ค่าตอบแทน | โบนัส | รวม |
---|---|---|---|---|
1. นายศุภชัย เจียรวนนท์ | ประธานกรรมการ/ประธานกรรมการบริหาร | 1,860,000 | 2,790,000 | 4,650,000 |
2. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช | กรรมการอิสระ/ประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | 1,380,000 | 2,070,000 | 3,450,000 |
3. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ | กรรมการ/รองประธานกรรมการที่ 3/รองประธานกรรมการบริหาร/ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัท/ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มธุรกิจค้าปลีก | 1,260,000 | 1,890,200 | 3,150,000 |
4. นายธานินทร์ บูรณมานิต | กรรมการ/รองประธานกรรมการที่ 3/รองประธานกรรมการบริหาร/ประธานคณะผู้บริหารกลุ่มบริษัท/ประธานคณะผู้บริหารกกลุ่มธุรกิจค้าปลีก | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
5. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ | กรรมการ/กรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน/กรรมการบริหาร | 1,260,000 | 1,890,200 | 3,150,000 |
6. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ | กรรมการ | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
7. นายณรงค์ เจียรนนท์ | กรรมการ/รองประธานกรรมการที่ 2/รองประธานกรรมการบริหาร | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
8. นายประเสริฐ จารุพนิช | กรรมการ | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
9. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล | กรรมการ/กรรมการบริหาร | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
10. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล | กรรมการ/กรรมการบริหาร | 1,200,000 | 1,800,200 | 3,00,200 |
รวม | 12,960,000 | 19,441,900 | 32,401,900 |
(2) ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ
บริษัทฯ ได้จัดทำประกันความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (Directors’ and Offices’ Liabilities Insurance) ที่ทุนประกันจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา คิดเป็นเบี้ยประกันประมาณ 3.2 ล้านบาทต่อปี
ค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง
นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง
คณะกรรมการบริษัทกำหนดนโยบายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นธรรมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระจากภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาในการหาข้อมูลและให้คำแนะนำในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่ออนุมัติ โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ประกอบดังนี้
ตั้งแต่ปี 2561 คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงในรูปแบบของบำเหน็จพิเศษ เพื่อสร้างแรงจูงใจและผลักดันให้ผู้บริหารสามารถบรรลุเป้าหมายใหม่ที่เพิ่มจากแผนการจ่ายโบนัสปัจจุบันโดยพิจารณาจากการบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และคะแนน Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานที่สำคัญของ CEO และผู้บริหาร
ประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ครอบคลุมตัวบ่งชี้ต่อไปนี้ :
ผลการดำเนินงานมุ่งเป้าไปที่การสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารจัดการและความเป็นผู้นำในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนในระยะยาวของบริษัท
ความสำเร็จของ KPI เหล่านี้สะท้อนถึงผลตอบแทนสำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร มีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนที่โปร่งใสและสมเหตุสมผล ประกอบด้วยเงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ
บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหาร และพนักงานเป็นประจำทุกปีโดยใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักขององค์กร (KPI) ประเมินประสิทธิภาพตาม : ตัววัดซึ่งสนับสนุน KPI ขององค์กรและการมอบหมายพิเศษ (70%) และพฤติกรรมหลัก (30%) ซึ่งประเมินตามพฤติกรรมของวัฒนธรรม Harmony & CP six core values
ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพองค์กร
มุมมอง | ตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กรปี 2566 |
---|---|
มุมมองทางการเงิน (รายได้ & กำไร) |
|
มุมมองของลูกค้า (ฐานลูกค้า & การมีส่วนร่วม) |
|
มุมมองกระบวนการภายใน (ประสิทธิภาพขององค์กร) |
|
มุมมองด้านความยั่งยืน (ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) |
|
ค่าตอบแทนรวมของกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร (ผู้บริหารระดับสูง)
(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน
ปี | รายการ | จำนวน (คน) | จำนวน (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
2567 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 13 | 561.393 |
2566 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 14 | 484.366 |
2565 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 17 | 474.950 |
2564 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 18 | 429.425 |
2563 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 16 | 403.098 |
2562 | เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ | 17 | 561.393 |
ปี 2567 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินสะสมของทั้งบริษัท | 39,750 ล้านบาท |
ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงคิดเป็นร้อยละของค่าตอบแทนทั้งบริษัท | ร้อยละ 1.32 |
(2) ค่าตอบแทนอื่น
หมายเหตุ: บริษัทฯ หยุุดพักโครงการ EJIP ครั้งที่ 3 ตั้งแต่สิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 จนถึงสิ้นสุดโครงการ เพื่อบรรเทาภาระให้แก่พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ EJIP อันเนื่องมาจากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อโควิด-19
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายการกำกับดูแลกิจการ | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการ | ดาวน์โหลด |
กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท | ดาวน์โหลด |
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ | ดาวน์โหลด |
กฏบัตรคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ | ดาวน์โหลด |
กฏบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติตามแผนธุรกิจขององค์กรให้ถูกต้องตามกฎหมาย บมจ.ซีพี ออลล์ | ดาวน์โหลด |
แนวทางปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า | ดาวน์โหลด |
นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | ดาวน์โหลด |