การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ได้รับการประเมิน ระดับดีเลิศ (Excellence) หรือ ระดับ 5 ดาว จากการเปิดเผยรายงานกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนโดยสมาคมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

ผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะอยู่ในระดับดีเยี่ยม การประเมินรายบุคคลอยู่ในระดับดีเยี่ยม

ได้รับการรับรอง ISO 27701 มาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ส่วนขยายจาก ISO/IEC 27001 มาตรฐานจัดการความปลอดภัยของข้อมูล) จากระบบการบริหารงาน

ยกระดับคุณภาพสมาชิก CAC เป็น Change Agent ขยายเครือข่ายธุรกิจโปร่งใสไปยังบริษัทคู่ค้ากลุ่ม SMEs โดยการสนับสนุนให้บริษัทคู๋ค้าเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย เข้าร่วมเป็นสมาชิก CAC ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

ร้อยละ  100

ของพนักงานทุกระดับได้รับการอบรม ทบทวน และผ่านการทดสอบหลักสูตรธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริต การพัฒนาความยั่งยืน การบริหารความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

ร้อยละ  100

ของคู่ค้าลำดับที่ 1 และสโตร์พาร์ตเนอร์ (ผู้ได้รับสิทธิ์ในการบริหารร้าน 7-Eleven) ได้รับการสื่อสารคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากการจัดการความปลอดไซเบอร์ (Cyber Security Rating) จากบริษัทภายนอก (BITSIGHT) ที่ระดับ Advanced

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ปรับปรุง แก้ไขจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน หมวดแข่งขันทางการค้าเพื่อให้เกิดผลความชัดเจนและเห็นผลในทางปฏิบัติ รวมถึงจัดทำแนวปฏิบัติและนโยบายทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้า

จัดอบรมหลักสูตรธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริต และความเสี่ยงด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ให้แก่พนักงานทุกระดับ ผ่านระบบ E-Learning

จัดอบรมให้ความรู้เครื่องหมายฮาลาลให้กับผู้ปฏิบัติงานในร้าน 7-Eleven ทั้งหมด 2 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้จัดการร้านในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ รวมจำนวนทั้งปี 3,859 สาขา และระดับผู้ช่วยผู้จัดการร้านในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ รวมจำนวนทั้งปี 1,683 สาขา

ยกระดับการสร้างวัฒนาธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับทางการค้า ตามสายวิชาชีพ จัดทำรายงานตรวจสอบ ให้กับหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล หน่วยงานปฏิบัติการ หน่วยงานบริหารทรัพย์สิน และสิ่งอำนวยความสะดวกขององค์กร รวมถึงหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืน

สร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบความปลอดภัยของข้อมูล ขยายผลนำ ISO 27001 และ ISO 27701 มาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ไปประยุกต์ใช้กับ 24Shopping ในขอบเขตการซื้อขายสินค้าผ่าน 24Shipping และระบบการบริหารงานบุคคล

การจำลองสถานการณ์การโจมตีจากภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber Drills) 4 ครั้งแต่ปี และทดสอบแผนตอบสนองเหตุการณ์ละเมิดความปลอดภัยไซเบอร์และข้อมูลรั่วไหล 2 ครั้งต่อปี

ส่งเสริม ให้ความรู้ และสนับสนุน SMEs ประกาศเจตนารมณ์เข้าร่วมเป็นสมาชิก CAC

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเจ้าหนี้ทางการค้า

การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ

คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเจ้าหนี้ทางการค้า

การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า

ชุมชน พนักงาน พันธมิตรธุรกิจ

การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ

ลูกค้า ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน

การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภค และผลิตที่ยั่งยืน

12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนลงในวงจรการรายงานของบริษัทเหล่านั้น

SDG 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน

16.3 ส่งเสริมนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมแก่ทุกคน
16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
16.7 สร้างหลักประกันว่าจะมีกระบวนการตัดสินใจทีี่มีความรีับผิดชอบ ครอบคลุม มีส่วนร่วมและมีความเป็นตัวแทนที่ดี ในทุกระดับการตัดสินใจ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ได้รับการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ (Excellence) โดยสถาบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัท

เพศชาย

15  คน

เพศหญิง

1  คน

ระยะเวลาดำรงตำแหน่งเฉลี่ย

16.9  ปี

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร

5  คน

กรรมการอิสระ

6  คน

กรรมการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร

5  คน

การอบรมและสื่อสารด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริต

พนักงาน ซีพี ออลล์

ได้รับการสื่อสาร

75918  คน

ลงนามรับทราบ

75918  คน

ได้รับการฝึกอบรม

75918  คน

พนักงาน บริษัทย่อย

ได้รับการสื่อสาร

91483  คน

ลงนามรับทราบ

91483  คน

ได้รับการฝึกอบรม

91483  คน

คู่ค้าลำดับที่ 1

ได้รับการสื่อสาร

1985  ราย

ลงนามรับทราบ

1985  ราย

ได้รับการฝึกอบรม

1655  ราย

สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

หน่วยงานที่มีความเสี่ยงด้านกฎหมายและการทุจริตได้รับการประเมินความเสี่ยง

ร้อยละ  100

หน่วยงานที่มีความเสี่ยงมีมาตรการการจัดการความเสี่ยง

ร้อยละ  100

การทุจริตคอร์รัปชัน

การรายงานทุจริตที่ตรวจพบ

    ปี 2565
รายงานทุจริตที่ตรวจพบ
701
ตรวจสอบแล้วพบว่าทุจริตจริง
701
ดำเนินการแก้ไข
701

สัดส่วนพื้นที่ดำเนินการที่เกิดการทุจริต

ร้าน 7-Eleven

ร้อยละ  100

ศูนย์กระจายสินค้า

ร้อยละ  0

สำนักงาน

ร้อยละ  0

อัตราการทุจริตร้าน 7-Eleven เฉลี่ยต่อร้านต่อปี

ข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (กรณี) ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าผิดจริง

ข้อมูลลูกค้า

0

ข้อมูลคู่ค้า

0

หน่วยกำกับดูแล

0

ความเสี่ยงและโอกาส


การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างความเชื่อมั่น พร้อมกันนี้ การดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ปราศจากการทุจริต คำนึงถึงคุณธรรม และสิทธิมนุษยชน จะช่วยยกระดับความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กรและดึงดูดความสนใจของนักลงทุน รวมทั้งเป็นแนวทางสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กฎหมายและการกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควบคู่ไปกับสื่อสารและสร้างความเข้าใจแก่พนักงานทุกระดับให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันการบูรณาการด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการเป็นประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสำคัญ และถือเป็นความท้าทายขององค์กรในการเตรียมความพร้อมและดำเนินธุรกิจเพื่อที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความยั่งยืนและบรรษัทภิบาลขององค์กร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายความยั่งยืนด้านการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน กำหนดจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน รวมถึงทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักบรรษัทภิบาลของหน่วยงานกำกับดูแลตามกฎหมายและแนวปฏิบัติสากลอย่างเหมาะสม บริษัทจัดให้มีการอบรมหลักสูตรธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริตให้แก่พนักงานทุกระดับ พร้อมทั้งจัดทดสอบความรู้หลังจากจบการอบรม เพื่อสร้างความตระหนักและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจต่อการดำเนินงานที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล อีกทั้งสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกที่ดีเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส ตลอดจนขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี

นอกจากนี้ บริษัทดำเนินธุรกิจตามแนวทางการปฏิบัติงานตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยยึดหลักจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน (Business Ethics and Code of Conduct) ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินงานและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริจ ยึดหลักนิติธรรม มีความโปร่งใส ตั้งมั่นอยู่ในความยุติธรรมและคุณธรรม ให้ความสำคัญต่อลูกค้า มีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียกรับหรือจ่ายสินบน ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

1 ตระหนักถึงบทบาท และความรับผิดชอบในฐานะผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน


2 กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการที่เปลี่ยนไปเพื่อความยั่งยืน


3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล


4 สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคคล


5 เสริมสร้างนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจ


6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม


7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล


8 สนับสนุนการมีส่วนร่วม และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

ESG Issue That May Impaot Investment Performance

1. สิ่งแวดล้อม

- การจัดการทรัพยากร
- ลดการปล่อยก๊าซเรือกกระจก
- อุบัติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
- การบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

2. สังคม

- สิทธิมนุษยชน
- สร้างความสัมพันธ์กับชุมชน
- การตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน

3. ธรรมาภิบาล

- ค่าตอบแทนผู้บริหาร
- สิทธิของผู้ถือหุ้น
- ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
- วิสัยทัศน์

นโยบายการกำกับดูแลกิจการของ ซีพี ออลล์

สิทธิของผู้ถือหุ้น

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม

บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

การบริหารความเสี่ยง

จริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน

การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการชุดย่อย

บริษัทมีคณะกรรมการชุดย่อยที่เป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญประกอบไปด้วย

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
  • สอบทานงบการเงิน
  • สอบทานการดำเนินงานให้ถูกต้องตามนโยบาย ระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล
  • สอบทานให้มีระบบการควบคุมภายในที่ดีรวมถึงระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยงให้รัดกุม
  • หารือร่วมกับผู้สอบบัญชีในเรื่องเกี่ยวกับงบการเงิน และการควบคุมภายใน
  • พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
  • รายงานผลสรุปการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัท
    ปีละ 4 ครั้ง
  • จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน นโยบายความยั่งยืน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
  • ทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องให้มีความต่อเนื่องและเป็นปัจจุบันอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
  • กำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานให้เป็นไปตามนโยบายที่เกี่ยวข้อง
  • สอบทานและประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายร่วมกับกรรมการและฝ่ายจัดการ
  • รายงานผลสรุปผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องและให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัท
    ปีละ 2 ครั้ง
  • พิจาณาหลักเกณฑ์ในการจ่ายและรูปแบบค่าตอบแทนของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง พร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท โดยคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง ส่วนค่าตอบแทนของคณะกรรมการคณะกรรมการบริษัทเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้อนุมัติเป็นประจำทุกปี
  • ประเมินค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงให้สอดคล้องกับผลปฏิบัติงาน
  • พิจารณาหลักเกณฑ์และกระบวนการในการสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเพื่อดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริษัท
  • คัดเลือกบุคคลตามกระบวนการสรรหาที่กำหนดไว้ รวมถึงบุคคลที่เสนอผู้ถือหุ้นรายย่อย
  • เสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีคณะกรรมการบริษัทจำนวน 16 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ท่าน กรรมการที่เป็นอิสระจำนวน 6 ท่าน และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 5 ท่าน นอกจากนี้ บริษัทมอบอำนาจในการดำเนินงานโดยแบ่งอำนาจดำเนินงานระหว่างประธรรมการ (Chairman) และประธานกรรมการหาร (CEC) ไว้อย่างชัดเจนและต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน ทั้งนี้บริษํทได้มีการเปิดเผยข้อมูลความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการบริษัท ผ่านเมทริกซ์ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านของคณะกรรมการบริษัท (Board Skills Matrix) และข้อมูลประสบการณ์ของคณะกรรมการบริษัท (ฺBoard Industry Experience) เพื่อแสดงถึงความเชี่ยวชาญ ทักษะ และประสบการณ์ตลอดจนคุณสมบัติที่เหมาะสมในตำแหน่งกรรมการบริษัทให้สอดคล้องตามมาตรฐานการจำแนกอุตสาหกรรมระดับโลก (Gloabl Industry Classification Standard : GICS) กลุ่มสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต (Consumer Staples) และดำเนินงานตอบสนองต่อกลยุทธ์และเป้าหมายของบริษัท ตลอดจนมีผู้มีส่วนได้เสียอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2565 (ต่อเนื่อง)

บริษัทเข้ารับการประเมินการเปิดเผยรายงานการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2565 จากสมาคนส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Director: IOD) โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินใน 5 หมวด ได้แก่ 1) สิทธิของผู้ถือหุ้น 2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3) การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โดยบริษัทได้รับผลการประเมินในระดับดีเลิศ (Excellence) หรือ 5 ดาว และมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของบริษัทในกลุ่ม SET 100 Index และ SET 50 Index ในทุกหมวด นอกจากนี้ บริษัทได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่มีคะแนนสูงสุด (Top Quarile) ของบริษัทที่มีมูลค่าการตลอด (Market Capitalization) ขนาด 10,000 ล้านบาทขึ้นไปอีกด้วย

ความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน ของกรรมการบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)

รายชื่อคณะกรรมการ ความรู้ ความชำญ และประสบการณ์เฉพาะด้านของคณะกรรมการ
อุตสาหกรรม ค้าปลีกและการตลาด เศรษฐ์ศาสตร์การเงิน และการธนาคาร การบัญชีและการตรวจสอบภายใน บริหารความเสี่ยงและจัดการภาวะวิกฤติ เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ บริหารธุรกิจและการจัดการองค์กร กฎหมายและคดีความ ความมั่นคงและสังคม
1. ศ.(พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช        
2. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ        
3. นายผดุง เตชะศรินทร์  
4. นายปรีดี บุญยัง          
5. นางนํ้าผึ้ง วงศ์สมิทธิ์        
6. ศ.(พิเศษ) ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์          
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์    
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์      
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์      
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต        
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์      
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์    
13. นายณรงค์ เจียรวนนท์    
14. นายประเสริฐ จารุพนิช          
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล      
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล        
  1. อุตสาหกรรมค้าปลีกและการตลาด ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์การขนส่งและกระจายสินค้า
  2. เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการธนาคาร ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์ด้านการคลัง และสถาบันการเงิน รวมถึงตลาดทุน
  3. เทคโนโลยีดิจิทัล สารสนเทศ และความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
  4. บริหารธุรกิจและการจัดการองค์กร ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์ด้านบริหารจัดการองค์กร ธุรกิจระหว่างประเทศ การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์
  5. กฎหมายและคดีความ ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์ด้านกฎหมายแพ่ง/พาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายมหาชน
  6. ความมั่นคงและสังคม ครอบคลุมความชำนาญ ประสบการณ์ด้านความมั่นคงระดับประเทศ ด้านการข่าว และการเมือง/การปกครอง

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประสบการณ์ตาม GICS Level1classification  ของกรรมการอิสระ และกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร ได้ที่ —> Board Industry Experience

ข้อมูลอื่นๆ


การจัดโครงสร้างการบริหารงานด้านงานกำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริษัท

1. คณะกรรมการบริษัท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนทั้งสิ้น 16 คน ประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร จำนวน 5 คน กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร จำนวน 11 คน ประกอบด้วย กรรมการอิสระจำนวน 6 คน (คิดเป็น 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ) กรรมการที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน จำนวน 5 คน (คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ)

รายชื่อคณะกรรมการบริษัท

รายชื่อคณะกรรมการบริษัท ตำแหน่ง
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช กรรมการอิสระและประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กรรการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
4. นายปรีดี บุญยัง กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
5. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ กรรมการอิสระ
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์1 รองประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์2 รองประธานกรรมการและกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต1 รองประธานกรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์2 กรรมการ
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์2 กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
13. นายณรงค์ เจียรนนท์2 กรรมการ
14. นายประเสริฐ จารุพนิช1 กรรมการ
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล2 กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล2 กรรมการและรองประธานกรรมการบริหาร

หมายเหตุ : กรรมการลำดับที่ 8-16 เป็นกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันธ์บริษัท

คำนิยาม

  • กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานประจำของบริษัท
  • กรรมการที่เป็นไม่เป็นผู้บริหาร หมายถึง กรรมการที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องการบริหารงานประจำของบริษัท อาจจะเป็นหรือไม่เป็นกรรมการอิสระก็ได้
  • กรรมการอิสระ หมายถึง กรรมการอิสระหรือกรรมการจากภายนอก (Outside Director) และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องการบริหารงานประจำและไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท นอกจากนี้ยังต้องมีความเป็นสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ คุณสมบัติของกรรมการบริษัทฯ สามารถอ้างอิงได้ที่ กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท
  • กรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หมายถึง ตัวแทนกรรมการจากกลุ่ม 1 ลงนามเป็นตัวแทนกรรมการจากกลุ่ม 2 ยกเว้นประธานกรรมการ รวมเป็น 2 คน ลงลายมือร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท โดยยกเว้นกรรมการอิสระเพื่อดำรงความเป็นอิสระตามหลักการณ์กำกับดูแลกิจการที่ดี

คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแลกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ภายใต้นโยบายการกำกับดูแลกิจการและนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันของบริษัท โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัท กฎบัตรและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ มติคณะกรรมการ ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น รายละเอียดเพิ่มเติมของคณะกรรมการบริษัท

2. การดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ ในคณะกรรมการชุดย่อย

คณะกรรมการชุดย่อยภายใต้คณะกรรมการบริษัทมี 3 คณะ คือ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำกับดููแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ

คณะกรรมการตรวจสอบ

1. นายผดุง เดชะศรินทร์*ประธานกรรมการตรวจสอบ
2. นายปรีดี บุญยังกรรมการตรวจสอบ
3. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์กรรมการตรวจสอบ

* กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน และสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน

คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล

1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช*ประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ*กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
3. นายผดุง เดชะศรินทร์*กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
4. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล

* เป็นกรรมการอิสระ

คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ

1. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ*ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
2. นายผดุง เดชะศรินทร์*กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ
3. นายศุภชัย เจียรวนนท์กรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ

* เป็นกรรมการอิสระ

3. สรุปผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในรอบปีที่ผ่านมา

การประชุมคณะกรรมการ

  • บริษัทฯ มีการประชุมคณะกรรมการวาระปกติไตรมาสละ 1 ครั้ง และกรรมการบริษัทต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างสม่ำเสมอเพื่อรับทราบและร่วมตัดสินใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีการจัดประชุมอย่างน้อยปีละ 7 ครั้ง
  • บริษัทฯ ส่งเสริมให้กรรมการทุกคนของบริษัทฯ มีสัดส่วนของการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยร้อยละ 75 ของการประชุมทั้งปีโดยกำหนดวันประชุมคณะกรรมารอย่างเป็นทางการล่วงหน้าเป็นเวลา 1 ปี เพื่อให้กรรมการสามารถจัดสรรเวลาในการเข้าประชุมได้ อย่างไรก็ตามอาจมีการเรียกประชุมเพิ่มเติมได้หากมีวาระพิเศษต้องขอมติอนุมัติจากกรรมการหรือพิจารณาเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน ในปี 2564 กรรมการบริษัททุกคนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทคิดเป็นร้อยละ 99.28 ของการประชุมทั้งปี
  • ในปี 2565 บริษัท มีการประชุมคณะกรรมการจำนวน 8 ครั้ง ซึ่งเหมาะสมกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปีที่ผ่านมาซึ่งกรรมการบริษัททั้งคณะเข้าร่วมประชุมร้อยละ 95 และมีการประชุมคณะกรรมการที่ไม่เป็นกรรมการบริหาร 1 ครั้ง โดยกรรมการเข้าร่วมประชุมครบทุกคน
  • บริษัทฯ จัดส่งหนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบการประชุมโดยมีรายละเอียดครบถ้วนในแต่ละวาระให้กรรมการล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาตัดสินใจ นอกจากนี้ ในการพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใดกรรมการมีสิทธิขอดูหรือตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้อง ขอให้ฝ่ายบริหารชี้แจงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม
  • บริษัทฯ ยังไม่ได้กำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับจำนวนองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการว่าต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติบริษัทฯ ได้ดำเนินการเช่นนี้มาเป็นเวลาหลายปีแล้วโดยสามารถพิจารณาได้จากตารางรายชื่อคณะกรรมการบริษัท โดยในปี 2565 มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทรวมทั้งหมด 8 ครั้ง มี 3 ครั้งที่กรรมการทุกคนเข้าร่วมประชุมครบ มี 4 ครั้ง ที่กรรมการจำนวน 15 คน จากทั้งหมด 16 คน เข้าประชุม คิดเป็นร้อยละ 93.75 และมี 1 ครั้งที่กรรมการจำนวน 13 คน จากทั้งหมด 16 คน เข้าประชุม คิดเป็นร้อยละ 81.25
  • ในการประชุมแต่ละครั้งที่ประชุมได้มีการซักถามฝ่ายจัดการและมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ มีการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและโปร่งใส โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรม และกรรมการผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณาโดยนัยสำคัญต้องออกจากห้องประชุมในระหว่างพิจารณาเรื่องดังกล่าว นอกจากนี้ประธานกรรมการยังได้จัดสรรเวลาให้ที่ประชุมอย่างเพียงพอเพื่อให้กรรมการได้ร่วมกันอภิปรายปัญหาและแนวทางแก้ไข และยังได้มีการเชิญผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในวาระที่นำเสนอเพื่อให้สารสนเทศรายละเอียดเพิ่มเติมจากประเด็นซักถาม และเป็นโอกาสที่ทำให้รู้จักผู้บริหารระดับสูงสำหรับใช้ประกอบการพิจารณาแผนการสืบทอดงานอีกด้วย
  • หลังประชุมคณะกรรมการ เลขานุการบริษัทเป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมเป็นลายษณ์อักษรที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ทั้งผลการประชุมและความเห็นกรรมการ และจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการไว้ที่หน่วยงานเลขานุการบริษัท เพื่อให้กรรมการหรือผู้เกี่ยวข้องมีสิทธิสามารถเรียกดูข้อมูลหรือตรวจสอบได้ นอกจากนี้ยังติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในบริษัทฯ ให้ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการอย่างเคร่งครัด
  • บริษัทฯ ได้จัดหาที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาให้ความเห็นหรือข้อมูลเพิ่มเติมแก่คณะกรรมการบริษัทในบางกรณี โดยบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

รายชื่อคณะกรรมการบริษัทและการเข้าร่วมประชุุมของกรรมการในปี 2565
(จำนวนครั้งที่่เข้าประชุุมในช่วงที่เป็นกรรมการ)

รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ประชุมคณะกรรมการ
(8 ครั้ง)
ประชุมคณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (1 ครั้ง) ผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี
(1 ครั้ง)
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช กรรมการอิสระ 8/8 1/1 1/1
2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กรรมการอิสระ 8/8 1/1 1/1
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ กรรมการอิสระ 8/8 1/1 1/1
4. นายปรีดี บุญยัง กรรมการอิสระ 7/8 1/1 1/1
5. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ กรรมการอิสระ 8/8 1/1 1/1
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ กรรมการอิสระ 7/8 0/1 1/1
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ 6/8 1/1 1/1
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์* รองประธานกรรมการ 8/8 - 1/1
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการ 7/8 1/1 1/1
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต* รองประธานกรรมการ 7/8 1/1 1/1
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการ 8/8 1/1 1/1
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์* กรรมการ 7/8 - 1/1
13. นายณรงค์ เจียรนนท์ กรรมการ 8/8 1/1 1/1
14. นายประเสริฐ จารุพนิช กรรมการ 8/8 1/1 1/1
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล* กรรมการ 8/8 - 1/1
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล* กรรมการ 8/8 - 1/1

หมายเหตุ * หมายถึง กรรมการที่เป็นกรรมการบริหาร

การประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ

บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและทบทวนผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยเป็นประจำทุุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้กรรมการของบริษัทฯ ได้มีการพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหาและอุุปสรรคต่างๆ ในระหว่างปีที่ผ่านมา อันจะช่วยให้การทำงานของคณะกรรมการมีประสิทธิผลมากขึ้นเพราะทราบถึงความรับผิดชอบของตนได้ชัดเจนและยังเป็นการช่วยปรับปรุุงความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการบริษัทกับฝ่ายจัดการ การประเมินผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการบริษัทแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการทั้งคณะ (As a whole) และการประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง (Self-assessment)

การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการรายบุคคล

คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ เป็นผู้พิจารณาหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาเห็นชอบและนำเสนอต่อที่ประชุุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุุมัติเป็นประจำทุุกปี โดยมีการพิจารณาปรับปรุุงหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับอุุตสาหกรรมเดียวกันและอยู่ระดับที่จููงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพ

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2565 ได้อนุมัติค่าตอบแทนประจำรายเดือนของกรรมการในอัตราเดิมตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2564 ได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 และยังคงเป็นอัตราเดิมตั้งแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2559 ได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 ดังนี้

1. กรรมการอิสระที่เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย120,000 บาท/คน
2. กรรมการอิสระที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย100,000 บาท/คน
3. กรรมการอิสระที่ไม่ได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย80,000 บาท/คน
4. ประธานกรรมการ120,000 บาท/คน
5. รองประธานกรรมการ100,000 บาท/คน
6. กรรมการ60,000 บาท/คน

โดยกรรมการอิสระที่ทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยหลายคณะจะได้รับค่าตอบแทนที่อัตราสูงสุดเพียงคณะเดียว นอกจากนี้ทีประชุุมผู้ถือหุ้นยังได้อนุุมัติเงินโบนัสให้กรรมการในอัตราร้อยละ 0.50 ของเงินปันผลที่มีการจ่ายให้ผู้ถือหุ้น โดยประธานกรรมการจะเป็นผู้พิจารณากำหนดจำนวนเงินที่เหมาะสมเพื่อจัดสรรให้กรรมการแต่ละคน

ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทตั้้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565 (หน่วย : บาท)

ชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ค่าตอบแทน โบนัส รวม
1. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช กรรมการอิสระและประธานกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล 1,440,000 2,454,000 3,894,000
2. พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กรรการอิสระ ประธานกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล 1,440,000 2,454,000 3,894,000
3. นายผดุง เดชะศรินทร์ กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล และกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ 1,440,000 2,454,000 3,894,000
4. นายปรีดี บุญยัง กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 1,200,000 2,045,000 3,245,000
5. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธ์ กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 1,200,000 2,045,000 3,245,000
6. ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์* กรรมการอิสระ 960,000 363,000 1,323,000
7. นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ 1,440,000 2,045,000 3,894,000
8. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ รองประธานกรรมการ 1,200,000 2,045,000 3,245,000
9. นายศุภชัย เจียรวนนท์ รองประธานกรรมการและกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ 1,200,000 2,045,000 3,245,000
10. นายธานินทร์ บูรณมานิต รองประธานกรรมการ 1,200,000 1,227,000 2,427,000
11. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการ 720,000 1,227,000 1,947,000
12. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ กรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล 720,000 1,227,000 1,947,000
13. นายณรงค์ เจียรนนท์ กรรมการ 720,000 1,227,000 1,947,000
14. นายประเสริฐ จารุพนิช กรรมการ 720,000 1,227,000 1,947,000
15. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล กรรมการ 720,000 1,227,000 1,947,000
16. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการ 720,000 1,227,000 1,947,000
รวม 17,040,000 26,948,000 43,988,000

* ศ. (พิเศษ) ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2564

นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ทั้งคณะยังได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทย่อย (คือสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์) ในฐานะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2565 รวม 38,000 บาท

ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทย่อย (บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565 (หน่วย : บาท)

รายชื่อกรรมการ ตำแหน่ง ค่าตอบแทน โบนัส รวม
1. นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ 1,860,000 2,455,000 4,315,000
2. ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช(1) กรรมการอิสระและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 1,322,333 1,663,100 2,985,433
3. นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ รองประธานกรรมการที่ 1 และกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน 1,260,000 1,663,100 2,923,100
4. นายธานินทร์ บูรณมานิต(2) รองประธานกรรมการที่ 2 836,667 - 836,667
5. นายอำรุง สรรพสิทธิ์วงศ์ กรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการ 1,260,000 1,663,100 2,923,100
6. นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการ 1,200,000 1,583,900 2,783,900
7. นายณรงค์ เจียรนนท์ กรรมการ 1,200,000 1,583,900 2,783,900
8. นายประเสริฐ จารุพนิช กรรมการ 1,200,000 1,583,900 2,783,900
9. นายพิทยา เจียรวิสิฐกุล กรรมการ 1,200,000 1,583,900 2,783,900
10. นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการ 1,200,000 1,583,900 2,783,900

(1) ศ. (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช มีการปรับค่าตอบแทนรายเดือนระหว่างปีหลังจากดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565
(2) นายธานินทร์ บูรณมานิต ดำรงตำแหน่งกรรมการ เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565

(2) ค่าตอบแทนอื่นของกรรมการ

บริษัทฯ ได้จัดทำประกันความรับผิดชอบของกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (Directors' and Offices' Liabilities Insurance) ที่ทุนประกันจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา คิดเป็นเบี้ยประกันประมาณ 2.7 ล้านบาทต่อปี

ค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง

นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง

คณะกรรมการบริษัทกำหนดนโยบายค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นธรรมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ และเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระจากภายนอกมาเป็นที่ปรึกษาในการหาข้อมูลและให้คำแนะนำในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้บริหารระดับสูงเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่ออนุมัติ โดยพิจารณาปัจจัยต่างๆ ประกอบดังนี้

  • ผลประกอบการของธุรกิจโดยพิจารณาจากตัวชี้วัดทางธุรกิจด้านต่างๆ ที่ได้มีการกำหนดไว้
  • เปรียบเทียบผลประกอบการของธุรกิจกับอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • ความสามารถในการพัฒนาธุรกิจและการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของแต่ละธุรกิจให้ดีขึ้นในแต่ละปี
  • การเปรียบเทียบอ้างอิงอัตราการจ่ายค่าตอบแทนจากอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน

ตั้งแต่ปี 2561 คระกรรมการบริษัทได้อนุมัติหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดในการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูงในรูปแบบของบำเหน็จพิเศษ เพื่อสร้างแรงจูงใจและผลักดันให้ผู้บริหารสามารถบรรลุเป้าหมายใหม่ที่เพิ่มจากแผนการจ่ายโบนัสปัจจุบันโดยพิจารณาจากการบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และคะแนน Dow Jones Sustainability Index (DJSI) ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิผลการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัท

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานที่สำคัญของ CEO และผู้บริหาร

ประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (KPI) ครอบคลุมตัวบ่งชี้ต่อไปนี้ :

  • ผลตอบแทนทางการเงิน เช่น ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA), กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ (EBIT) กำไรสุทธิ (NET PROFIT) เป็นต้น
  • ตัวชี้วัดทางการเงินที่สัมพันธ์กันเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน เช่น การเติบโตของธุรกิจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
  • ตัวบ่งชี้ที่ไม่ใช่ทางการเงินอื่นๆ (เช่น มุมมองของลูกค้า มุมมองกระบวนการทางธุรกิจภายใน และมุมมองการเรียนรู้และการเติบโต)

ผลการดำเนินงานมุ่งเป้าไปที่การสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารจัดการและความเป็นผู้นำในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลต่อความยั่งยืนในระยะยาวของบริษัท

ความสำเร็จของ KPI เหล่านี้สะท้อนถึงผลตอบแทนสำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหาร มีกระบวนการกำหนดค่าตอบแทนที่โปร่งใสและสมเหตุสมผล ประกอบด้วยเงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ

บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหาร และพนักงานเป็นประจำทุกปีโดยใช้ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักขององค์กร (KPI) ประเมินประสิทธิภาพตาม : ตัววัดซึ่งสนับสนุน KPI ขององค์กรและการมอบหมายพิเศษ (70%) และพฤติกรรมหลัก (30%) ซึ่งประเมินตามพฤติกรรมของวัฒนธรรม Harmony & CP six core values

ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพองค์กร

มุมมอง ตัวชี้วัดประสิทธิภาพองค์กรปี 2565
มุมมองทางการเงิน (รายได้ & กำไร)
  • กำไรสุทธิ
  • กำไรขาดทุน
  • ตัวชี้วัดทางการเงินอื่น ๆ สำหรับผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE)
มุมมองของลูกค้า (ฐานลูกค้า & การมีส่วนร่วม)
  • ลูกค้าทั้งหมดตามแพลตฟอร์มการขาย
  • ความพึงพอใจของลูกค้า
มุมมองกระบวนการภายใน (ประสิทธิภาพขององค์กร)
  • การเติบโตของธุรกิจ
  • ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
  • อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ถาวร
  • ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล
มุมมองด้านความยั่งยืน (ความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)
  • ผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน : คะแนน DJSI (ผลดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ Operational Eco-Efficiency  ผลดำเนินการด้านสังคม อาทิ สถิติด้านความปลอดภัย LTIFR , Fatality และ ผลดำเนินการด้านธรรมาภิบาล)
  • เป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือที่สุด

ค่าตอบแทนรวมของกรรมการบริหารและเจ้าหน้าที่บริหาร (ผู้บริหารระดับสูง)

(1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน

ปี รายการ จำนวน (คน) จำนวน (ล้านบาท)
2565 เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ 17 474.950
2564 เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ 18 429.425
2563 เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ 16 403.098
2562 เงินเดือน โบนัส และบำเหน็จพิเศษ 17 561.393
ปี 2565 ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินสะสมของทั้งบริษัท30,554 ล้านบาท
ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงคิดเป็นร้อยละของค่าตอบแทนทั้งบริษัทร้อยละ 1.55

(2) ค่าตอบแทนอื่น

  • บริษัทฯ ได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยบริษัทฯ ได้สมทบในอัตราส่วนร้อยละ 2 ของเงินเดือน โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับผู้บริหารระดับสูงจำนวน 8.990 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2564, 2563 และปี 2562 บริษัทฯ จ่ายเงินสมทบจำนวน 8.521 ล้านบาท 6.642 ล้านบาท และ 6.035 ล้านบาทตามลำดับ
  • บริษัทฯ ได้จัดให้มีโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP) เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมทำงานกับบริษัทฯ ในระยะยาว โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 มีระยะเวลาของโครงการ 5 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ผู้บริหารที่สามารถเข้าร่วมโครงการ EJIP ได้จะต้องมีอายุเงินไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยบริษัทฯ จะหักเงินเดือนผู้บริหารร้อยละ 5 หรือร้อยละ 7 แล้วแต่จะเลือก และบริษัทฯ ได้จ่ายเงินสมทบอีกในอัตราร้อยละ 80 ของยอดที่หักจากเงินเดือนผู้บริหารเช่นกัน ในปี 2563 (มกราคม - พฤษภาคม) บริษัทฯ ได้จ่ายเงินสมทบให้กับผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมโครงการเป็นเงินรวม 4.286 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2562 และปี 2561 บริษัทฯ จ่ายเงินสมทบจำนวน 12.205 ล้านบาท และ 11.604 ล้านบาทตามลำดับ

หมายเหตุ บริษัทฯ หยุุดพักโครงการ EJIP ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป เพื่อบรรเทาภาระให้แก่พนักงานในโครงการ EJIP อันเนื่องมาจากภัย COVID-19 จนกว่าสถานการณ์ของโรคติดเชื้อ COVID-19 จะคลี่คลายลง

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการกำกับดูแลกิจการดาวน์โหลด
แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการ ดาวน์โหลด
กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท ดาวน์โหลด
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ดาวน์โหลด
กฏบัตรคณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหากรรมการ ดาวน์โหลด
กฏบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล ดาวน์โหลด
แนวปฏิบัติตามแผนธุรกิจขององค์กรให้ถูกต้องตามกฎหมาย บมจ.ซีพี ออลล์ ดาวน์โหลด
แนวทางปฏิบัติตามนโยบายกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้า ดาวน์โหลด
นโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า