การบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ

การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


1936  รายการ

ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ร้อยละ  20.32

ยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสุขภาพ

ร้อยละ  0.079

ยอดขายผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก

61  กรณี

การเรียกคือสินค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


โครงการต่อเนื่อง "กินดี อยู่ดี มีสุข"

ต่อยอดร้าน 7-Eleven ให้เป็น "ศูนย์สขภาพดีของชุมชนผ่านร้านยาเอ็กซ์ต้นพลัส

โครงการหวานน้อยสั่งได้

โครงการอาหารเพื่อสุขภาพแบรนด์โลตัส

โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพโรคมะเร็งเต้านม และเบาหวาน

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ
การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า

ลูกค้า

การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ

ลูกค้า

การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคทางอาหาร และยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

2.1 ยุติความหิวโหยและสร้างหลักประกันให้ทุกคน โดยเฉพาะที่ยากจนและอยู่ในภาวะเปราะบาง อันรวมถึงทารก ได้เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย มีโภชนาการ

SDG 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสิรมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย

3.8 บรรลุการมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ารวมถึงการป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การเข้าถึงการบริการสาธารณสุขจำเป็นที่มีคุณภาพ และเข้าถึงยาและวัคซีนจำเป็นที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และมีราคาที่สามารถซื้อหาได

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

12.4 บรรลุการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดลอดวงจรชีวิตของสิ่งเหล่านั้น ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามกรอบความร่วมระหว่างประเทศที่ตกลงกันแล้ว และลดกรปลดปล่อยสิ่งเหล่านั้นออกสู่อากาศ น้ำ และดิน อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

  

เพิ่มสัดส่วนจำนวนผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ที่มุ่งเน้นสุขภาพและโภชนาการที่ดี

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

สัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มพัฒนาร่วม

สัดส่วนของยอดผลิตภัณฑ์กลุ่มพัฒนาร่วม

ยอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มพัฒนาร่วมแยกประเภท

ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด ที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven เฉพาะผลิตภัณฑ์พัฒนาร่วม

ผลิตภัณฑ์กลุ่มปรับลดไขมัน ไขมันทรานส์ โซเดียม และน้ำตาล

78  รายการ
ยอดขาย  2331  ล้านบาท
ร้อยละ  28

ผลิตภัณฑ์กลุ่มปรับเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ

27  รายการ
ยอดขาย  310  ล้านบาท
ร้อยละ  3.73

ผลิตภัณฑ์กลุ่มปรับปรุงสูตรจากเดิม (ใช้ส่วนประกอบทดแทน)

2  รายการ
ยอดขาย  17  ล้านบาท
ร้อยละ  0.21

ยอดขายผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด ที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven เฉพาะผลิตภัณฑ์พัฒนาร่วม

    2565 2566 (ม.ค.-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์ลดสารปรุงแต่ง
ร้อยละ  0.00
ร้อยละ  0.00
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค
ร้อยละ  0.079
ร้อยละ  0.034
หมายเหตุ: ข้อมูลครอบคลุมกลุ่มอาหารพร้อมทาน เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์บริโภค (อาหารสำเร็จรูป)

ยอดขายผลิตภัณฑ์ที่มุ่งสุขภาพสุขภาวะที่ดี กลุ่มไม่ใช่อาหาร (Non Food) ที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Elevene เฉพาะผลิตภัณฑ์พัฒนาร่วม

    2565 2566 (ม.ค.-มิ.ย.)
ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค ร้อยละ  1.68 ร้อยละ  2.07
ผลิตภัณฑ์ลดสารปรุงแต่ง ร้อยละ  0.00 ร้อยละ  0.28
ผลิตภัณฑ์ส่วนประกอบหลักจากธรรมชาติ ร้อยละ  0.64 ร้อยละ  0.81
ผลิตภัณฑ์ได้รับฉลากเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของยุโรป ร้อยละ  1.58 ร้อยละ  1.98
หมายเหตุ: ข้อมูลครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าและผิวกาย และผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

ผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค เพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven

ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด (Total Product) ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน (Existing Product) ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product) ที่มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

สัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นสุขภาพและสุขภาวะที่ดี กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมดที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven

การแสดงฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์

แสดงโภชนาการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลบนผลิตภัณฑ์ ร้อยละ  100
แสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guideline Daliy Amounts: GDA) ภาคสมัครใจ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มพร้อมทาน ร้อยละ  34.09

ความเสี่ยงและโอกาส


สิทธิในการมีสุขภาพที่ดีเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานที่บริษัทให้ความสำคัญตลอดกระบวนการสรรหาวัตถุดิบ การผลิต และการจัดจำหน่าย การตระหนักถึงความเสี่ยงในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ปลอดภัยและไม่ได้มาตรฐานนั้น อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้บริโภคในระยะยาว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน บริษัทมุ่งสนับสนุนองค์ความรู้ด้านโภชนาการที่ส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี พร้อมพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้บริษัทคำนึงถึงการปฏิบัติงานในภาวะที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพของพนักงานจากการเข้าถึงโภชนาการไม่เพียงพอ การสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ด้านร่างกายและจิตใจระหว่างปฏิบัติงานเปนหนึ่งประเด็นที่องค์กรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

ภาวะด้านเสี่ยงด้านสุขภาพที่สูงขึ้นในปัจจุบัน การให้ความสำคัญด้านสุขภาพด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมด้านสุขภาพที่ดีนั้น ได้รับความนิยมและมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น บริษัทยะระดับขีดความสามารถงานวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารจำเพาะผู้บริโภค อาทิ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ (Functional Food) ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นและเหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินชีวิต สุขภาพและพันธุกรรมในแต่ละบุคคล (Personalized Foods) รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มต่างๆ อาทิ อาหารกลุ่มลดสารปรุงแต่งสารกันบูด ลดปริมณน้ำตาม ลดปริมาณน้ำมันปาล์ม ไม่แต่งสี และไม่มีไขมัน เพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนทางเลือก และเพิ่มผลิตภัณฑ์ซูเปอร์ฟูด อาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่างๆ ให้สาารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงไปของพฤิกรรมและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้บริโภคได้ รวมถึงส่งมอบบริการเพื่อการเข้าถงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนและสังคม

แนวทางการดำเนินงาน


ด้านปณิธาน "ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสต่อกัน" ภายใต้กลยุทธ์ด้านสังคม "7 Go Together" ผ่าน 7 ภารกิจการให้โดย 1 ในภารกิจหลัก คือ "ให้การสนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสังคมและชุมชน" ซึ่งรวมถึงกรเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอ โดยบริษัทกำหนดให้มีนโยบายด้านสุขภาพและโภชนากร เพื่อควบคุมคุณภาพทางโภชนาการและตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค อาทิ ข้อมูลกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของประเทศ ผ่านการแสดงรายละเอียดบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน ควบคู่กับการจัดกิจกรรมที่สนับสนุนสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ เช่น พนักงาน ชุมชน เป็นต้น ให้สามารถเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพ และโรคภัยต่างๆ ที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งยังเป็นการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และไม่ถูกหลักโภชนาการ อีกทั้งยังเป็นการสร้างพฤติกรรมในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีอีกด้วย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องที่บริษัทดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวมถึงสนับสนุนการร่วมวิจัยระหว่างหน่วยงานภายในกลุ่มบริษัท อาทิ บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ ตลอดจนวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรภายนอก อาทิ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อค้นคว้านวัตกรรมด้านอาหารและการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ โดยมุ่งพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ทั้งการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์ที่ลดการใช้ปุ๋ยหรือสารเคมีในการเร่งผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนที่มีองค์ประกอบหรือส่วนผสมประกอบจากธรรมชาติ และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ภายใต้ผลิตภัณฑ์พัฒนาร่วม (Private Brands) ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกหรือมาตรฐานสากล นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมและขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ที่มุ่งลดปริมาณน้ำตาล ลดปริมาณไขมัน ลดปริมาณโซเดียม และลดปริมาณสารปรุงแต่ง เช่น สารกันบูด สีผสมอาหาร สารทดแทนความหวาน และสารเติมแต่งต้านจุลชีพ (Antibiotics) เป็นต้น รวมถึงส่งเสริมการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เช่น วิตามินเอ ซิงค์ ไอโอดีน ไฟเบอร์ ธาตุเหล็ก เป็นต้น พร้อมทั้งการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพจากแหล่งที่มาอย่างมีความรับผิดชอบ ไดรับการรับรอง และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organsms: GMOs)

นอกจากนี้ บริษัทกำหนดให้มีกระบวนการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดีขององค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวได้ พร้อมทั้งสามารถเป็นฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนานโยบายบริษัท แผนการดำเนินงาน และแผนงานวิจัยต่างๆ ในอนาคต โดยในปี 2565 บริษัทได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและสนับสนุนข้อมูลแนวโน้มของตลาดและผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างบริษัทและภาครัฐเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมผ่านโครงการวิจัยของบริษัท

กระบวนการติดตามสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่ดี โดยดอาศัยหลักเกณฑ์มาตรฐานทางด้านอาหาร อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับประเภทของผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดหลักเกณฑ์ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

สินค้าอาหารที่ผ่านการรับรองหรือผ่านหลักเกณฑ์ของ "ทางเลือกสุขภาพ" หรือ Thai Healthier Logo ที่ให้การรับรองโดยสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล

อาหารที่มีการเพิ่ม หรือลดหรือปราศจากสารอาหารตามที่กฎหมายหรือมาตรฐานที่ยอมรับ เช่น ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541

ผักและผลไม้สด หรืออาหารที่คงสภาพสารอาหารที่เป็นประโยชน์ทางธรรมชาติหรือผ่านการแปรรูปน้อยหรืออาหารที่รับประทานแล้วได้โภชนาการครบถ้วนและพลังงานที่เหมาะสมใน 1 มื้อ

อาหารทางการแพทย์ Functional Food หรือ Food Suppliement ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 238) พ.ศ.2544 และตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 293) พ.ศ.2548

1. ข้าวคลุกแกงเขียวหวาน และอกไก่ (ตรา เชฟแคร์ส)


2. ผักกรีนคอสอินทรีย์


3. สลัดโรลปูอัดพร้อมน้ำสลัดซีอิ๊วญี่ปุ่นสไปซี่


4. ชามะนาวเย็น ออลล์ คาเฟ่ (ขนาด 16 ออนซ์ และ 22 ออนซ์)


5. นมสดพาสเจอไรซ์เมจิไฮโปรตีน 350 มิลลิลิตรกลิ่นกล้วย


6. โทฟุซังไฮโปรตีน รสมอลต์ 350 มิลลิลิตร


7. เอเชียน ดีไลท์ ออเรนจ์ เบลนด์

สร้างการรับรู้ สนับสนุนการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ให้สามารถตอบสนองต่อโภชนาการทางด้านอาหารที่เหมาะสมตามช่วงวัย ตั้งแต่วัยเด็กเล็กอายุ 18 เดือน จนถึงผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่ต้องการโภชนาการเฉพาะเจาะจงหรือผู้ป่วย บริษัทร่วมกับหลากหลายหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาหาร อาทิ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และบริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด ร่วมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ รวมถึงตรวจวิเคราะห์สารอาหารและโภชนาการในผลิตภัณฑ์ให้กับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร เช่น วิเคราะห์ปริมาณโซเดียม วิเคราะห์ปริมาณน้ำตาล วิเคราะห์ปริมาณไขมัน และวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทจัดให้มีการแสดงสลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยมีการแสดงรายละเอียดส่วนประกอบสำคัญ วิธีการใช้อย่างปลอดภัย และวิธีการเก็บรักษา เพื่อแสดงความชัดเจนขอผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคทราบคุณค่าทางโภชนาการและสามารถหลีกเลี้ยงสารอาหารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รวมถึงการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Footprint, Animal Welfare เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมให้คู่ค้าจัดทำฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts: GDA) เพื่อแสดงค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม โดยในปี 2565 ได้ดำเนินการครอบคลุมทุกกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มพร้อมรับประทานตามกฎหมายหรือข้อบังคับ จำนวนร้อยละ 100 และแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่บริษัทยึดปฏิบัติ จำนวนร้อยละ 34.09

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่แสดงฉลากโภชนาการ และผลิตภัณฑ์ที่ติดฉลากแสดงค่าพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมแบบจีดีเอ

ทั้งนี้ บริษัทได้มีการติดตามและตรวจสอบการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์ และการสื่อสารด้านการตลาดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมายหรือข้อบังคับพื้นฐานและข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่บริษัทยึดปฏิบัติ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แสดงรายละเอียดส่วนประกอบสำคัญ วิธีการใช้หรือคำแนะนำที่ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค โดยในปี 2565 บริษัทไม่ได้รับการรายงานหรือไม่มีกรณีเกี่ยวกับการแสดงรายละเอียดส่วนประกอบสำคัญ วิธีการใช้หรือแนะนำที่ไม่ชัดเจนของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการสื่อสารด้านการตลาดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กฎหมายหรือข้อบังคับพื้นฐาน และข้อบังคับหรือแนวปฏิบัติอื่นๆ ที่บริษัทยึดปฏิบัติ

การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMOs)

บริษัทมุ่งจัดหาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ให้ความสำคัญในกระบวนการคัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งที่มาอย่างรับผิดชอบครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน มีนโยบายเกี่ยวกับจีเอ็มโอ (GMOs) ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับข้อปฏิบัติทางกฎหาย รวมถึงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจีเอ็มโอ ที่ประกาศใช้ในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมคู่คาในการคัดสรผลิตภัณฑ์ ผ่านการตอบแบบสอบถามและการรับรองสำหรับผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรมกลุ่มเสี่ยงที่กฎหมายกำหนด

นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนการแสดงข้อมูลฉลากผลิตภัณฑ์แสดงรายละเอียดส่วนประกอบของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อสร้างความมั่นใจ ความปลอดภัย และการรับรองมารฐานจากหน่วยงานน่าเชื่อถือในทุกผลิตภัณฑ์ที่ส่งถึงผู้บริโภค

โปรแกรมด้านการเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี

ในปี 2565 บริษัทดำเนินงานด้านการเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอ ดังนี้

โครงการเชิงกลยุทธ์

ภายใต้กลยุทธ์ "Product Place People Channel และ Technology" บริษัทดำเนินโครงการเชิงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องผ่านโครงการย่อย ดังนี้

Prouct

พัฒนาและสรรหาสินค้ารสชาติดี หลากหลาย ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการ


Place

สรรหาทำเลที่ใช้ สร้างบรรยากาศกระตุ้นการบริโภค



People

สร้างความรู้ ความเข้าใจให้ผู้บริโภค ชุมชน ควบคู่การพัฒนาทักษะพนักงาน


Channel

สร้างการเข้าถึงสินค้าและบริการเพื่อสุขภาพและครอบคลุมทุกช่องทาง ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

Technology

ใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ข้อมูล พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อสุขภาพ



โครงการ กินดี อยู่ดี มีสุข

บริษัทดำเนินโครงการ "กินดี อยู่ดี มีสุข" สร้างการเข้าถึงสินค้าเพื่อสุขภาพให้แก่ลูกค้าทุกกลุ่ม ครอบคลุมทั้งช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ควบคู่ไปกับการสร้างการรับรู้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ในปี 2565 ขยายผลโครงการไปยังร้าน 7-Eleven จำนวน 6,930 สาขา ไปยังทำเลศักยภาพต่างๆ โดยร้าน 7-Eleven ที่เข้าร่วมโครงการมียอดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพรวมทั้งสิ้น 73,114 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.5 ของยอดขายร้านที่เข้าร่วมโครงการ โดยในปี 2565 บริษัทมีแผนงานบรรจุวิธีปฏิบัติของโครงการทดสอบแล้วไปสู่ระเบียบการปฏิบัติงานของกระบวนการสรรหาและจัดเรียงสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ พร้อมทั้งถ่ายทอดแนวปฏิบัติดังกล่าวไปยังร้าน 7-Eleven ทุกสาขาทั่วประเทศ


โครงการเถ้าแก่ "ศูนย์สุขภาพดีของชุมชน" สร้างร้านต้นแบบศูนย์สุขภาพชุมชน

บริษัทต่อยอดโครงการ "กินดี อยู่ดี มีสุข" ขยายผลสู่การดำเนินโครงการ "ศูนย์สุขภาพดีของชุมชน" โดยขยายขอบเขตนการเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับชุมชนได้สะดวกยิ่งขึ้นผ่านร้าน 7-Eleven พรพ้อมทั้งพัฒนาเภสัชกรร้านเอ็กซ์ต้า พลัส (eXta Plus) และพนักงานร้าน 7-Eleven ให้เป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพ (Wellness Advisor) ของชุมชน รวมถึงพัฒนาระบบการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชัน All Pharma See สำหรับบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพกับเภสัชกร และประเมินข้อมูลเชิงลึก เพื่อตอบสนองด้านสุขภาพกับเภสัชกร และประเมินข้อมูลเชิงลึก เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการเข้าสุขภาพที่ดีของชุมชน


โครนงการหวานน้อยสั่งได้

ซีพี ออลล์ ร่วมกับธุรกิจออล์ คาเฟ่ (All Cafe) คัดสรร (Kudson) เบลลินี่ เบค แอนด์ บรู (Bellinee's Bake & Brew) และภาคีเครือข่ายเอกชน "ขับเคลื่อนนโยบายหวานน้อยสั่งได้ เฟส2" ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อร่วมบูรณาการระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนมุ่งหวังให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคเครื่องดื่มหวานน้อย อย่างน้อยร้อยละ 50 โดยร่วมให้บริการเครื่องดื่มเมนูหวานน้อยเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้าที่ใส่ใจในเรื่องสุขภาพ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs: non-communicable diseases) ที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อาทิ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และฟันฟุ


โครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยสุขภาพ

ซีพีแรม มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาตอบสนองความต้องการกลุ่มผู้บริโภคห่วงใยสุขภาพ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ออกมาวางตลาดแล้ว คือ อาหารพร้อมรับประทานภายใต้ตราสินค้า VG for Love อาหารกลุ่มใหม่สำหรับผู้บริโภคที่มีการบริโภคพืชเป็นหลัก Plant Based Diet ภายใต้แนวคิดพัฒนาสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับ CPRAM มาในรูปแบบ 4 ความรัก คือ รักสุขภาพ รักชีวิตสัตว์ รักสิ่งแวดล้อม และรักโลก โดยแบ่งอาหาร 5 ประเภท ครบตามความต้องการได้แก่

Vgan-J : อาหารเจ

Vgan : อาหารวีแกน

Lacto Veggie : อาหารมังสวิรัติกับนม

Ovo Veggie : อาหารมังสวิรัติกับไข่

Lacto-Ovo Veggie : อาหารมังสวิรัติกับนม และไข่


โครงการอาหารเพื่อสุขภาพ แบรนด์โลตัส

โลตัส มุ่งมั่นส่งมอลผลิตภัณฑ์ที่ดี เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกช่วงวัย โดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงปรับสูตรผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีต่อสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม หรือเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยคงรสชาติความอร่อย เพื่อให้ผู้บริโภคทุกคนสามารถซื้อสินค้าที่ดีต่อสุขภาพในราคาที่เข้าถึงได้ในทุกช่องทางการขาย ผลิตภัณฑ์อาหารแบรนด์โลตัสทั้งหมดจะผ่านการควบคุมและตรวจสอบด้านคุณภาพ ตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ สินค้าหลายรายการของเราได้รับการรับรองสัญลักษณ์ "ทางเลือกสุขภาพ" โลตัสร่วมมือกับคู่ค้าและพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ สร้างการรับรู้ของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องข้อมูลที่ปรากฎบนฉลากผลิตภัณฑ์ ความรู้เรื่องสุขภาพและสุขภาวะที่ดีผ่านทุกช่องทางการสื่อสารและกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่ดีต่อสุขภาพได้ง่ายขึ้น

สร้างแนวคิด "อร่อย สุขภาพดี ทุกวัน ที่โลตัส" สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สร้างการรับรู้ สื่อสารทุกช่องทาง
  • ออกแบบสูตรตามเกณฑ์ทางเลือกสุขภาพ
  • คัดเลือกวัตถุดิบเสริมด้านสุขภาพ
  • ตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ
  • ได้รับการรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ
  • ได้รับการยอมรับจากผลการทดสอบผู้บริโภค
  • ควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
  • ตรวจสอบคุณภาพสินค้า
  • ประเมินคุณภาพโดยผู้บริโภคหลังวางจำหน่าย

โลตัส มุ่งมั่นพัฒนาและผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพต่อเนื่อง ตัวอย่างสินค้าแบรนด์โลตัส (Own Brand) ที่พัฒนาตามเกณฑ์ทางเลือกสุขภาพ ที่ได้รับกระแสการตอบรับที่ดีต่อเนื่องจากผู้บริโภคทั้งในด้านคุณภาพ รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ อาทิ กลุ่มขนมปังโฮลวีต และไอศกรีม

ในปี 2563-2565 บริษัทเพิ่มตัวเลือกสินค้าเพื่อสุขภาพ ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับสูตรสินค้าสำหรับไอศกรีมกลุ่มซอร์เบทและสินค้าขนาดหวานแช่แข็ง โดยใช้น้ำตาลไอโซมอลทูโลส รวมถึงไม่แต่งกลิ่นและสีสังเคราะห์ ในปี 2565 สินค้าแปบรนด์โลตัสได้ผ่านการรับรองสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ จำนวน 17 ผลิตภัณฑ์ ใน 2 กลุ่มประเภทสินค้า นอกจากนี้ โลตัสยกเลิกการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนซึ่งเป็นแหล่งหลักของไขมันทรานส์ ในผลิตภัณฑ์อาหารแบรนด์โลตัสทุกชนิด รวมถึงริเริ่มโครงการรับซื้อผลผลิตทางตรงจากเกษตรกร ทำให้มั่นใจในคุณภาพความปลอดภัยของอาหารสดที่จำหน่ายแก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอีกด้วย


โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพ

โลตัส ส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน สนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและสุขภาวะที่ดี จากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีคุณภาพและความปลอดภัย เข้าถึงการให้บริการและความรู้ด้านสุขภาพผ่านสาขาและแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงสนับสนุนการออกำลังกาย และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

  • บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมฟรีด้วยเครื่องแมมโมแกรม (Mammogram) เคลื่อนที่ โดยร่วมมือกับมูลนิธิกาญจนบารมีและสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้บริการ "ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมเคลื่อนที่ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แก่สตรีที่มีความเสี่ยงและขาดโอกาส สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องแมมโมแกรมจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองสำหรับประชาชนที่ไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยตั้งแต่เริ่มโครงการดังกล่าวมีผู้เข้ารับการคัดกรองแล้วกว่า 3,319 ราย นอกจากนี้ โลตัสจัดแคมเปญพิเศษให้ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยแบรนด์เสื้อผ้า MeStyle นำรายได้ส่วนหนึ่งจากการจำหน่ายสินค้าเสื้อผ้าสตรีและชุดชั้นในสตรี ตลอดเดือนตุลาคมบริจาคให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาส จำนวน 200,000 บาท
  • บริการตรวจคัดกรองเบาหวานเบื้องต้นฟรีให้ประชาชน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยมีบริการตรวจวัดระดับน้ำตาล บริการตรวจร่างกายเบื้องต้น และแจกมะพร้าวเพื่อสุขภาพจากเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพดีของคนไทย และส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน

ใส่ใจคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจนถึงมือผู้บริโภค

ซีพี ออลล์ ดำเนินงานด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย บริษัทได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต รับสินค้า การจัดและกระจายสินค้า รวมถึงการจำหน่ายและให้บริการที่ร้าน 7-Eleven ดังนี้

1. ใส่ใจความปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก หน่วยงานประกันคุณภาพของ ซีพี ออลล์ ดำเนินการให้ความรู้ และวิธีการจัดการที่ลดปัญหาสิ่งแปลกปลอมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในการควบคุมคุณภาพ การจัดการสิ่งแปลกปลอม และวิธีลดสิ่งแปลกปลอมของวัตถุดิบก่อนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อมาจำหน่ายในร้าน 7-Elelven โดยในปี 2565 ร่วมกับผู้ผลิตสินค้าผักโขมอบชีสกำหนดมาตรการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากวัตถุดิบก่อนนำมาผลิต และริเริ่มหาพื้นที่ในการเพาะปลูกผักโขมในประเทศ ส่งเสริมการเพาะปลูกผักโขมสายพันธุ์ที่คัดสรรเฉพาะสำหรับผลิตผักโขมอบชีสที่รสชาติและคุณภาพดีรวมถึงการให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักโขมให้มีคุณภาพ ปลอดภัย
2. ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลาอดกระบวนการจัดส่งจัดจำหน่าย หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ ศูนย์กระจายสินค้า พนักงานตรวจสอบคุณภาพ ทำการตรวจสอบคุณภาพและการจัดเรียงสินค้าในระหว่างการส่งมอบสินค้า กรณีสินค้าควบคุมอุณหภูมิจะทำการตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องเย็น รวมถึงควบคุมคุณภาพและอุณหภูมิของรถขนส่งให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้จะพิจารณาไม่ส่งมอบสินค้าให้ร้าน 7-Eleven ในปี 2565 มีสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการรับ จัดและกระจายสินค้า ร้อยละ 0.02
3. ควบคุมคุณภาพสร้างความปลอดภัยมั่นใจในทุกการบริการ

หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตรวจสอบการจัดการด้านบริการและคุณภาพสินค้า โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน ในปี 2565 บริษัทยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบคระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตามนโยบาย SAVEQC และปรับความเข้มข้นสัดส่วนคะแนนในส่วนที่สำคัญกระทบกับลูกค้า เพื่อให้ร้านสาขาเกิดความตระหนักในการรักษามาตรฐานร้าน บริการลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ โดยมีคะแนนมาตรฐานของร้านเท่ากับ ร้อยละ 93.94

หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพสินค้า (QA) กำหนดมาตรฐานการปรับปรุงคุณภาพสินค้า การบริการ จัดการคุณภาพ โดยสุ่มเข้าตรวจสอบมาตรฐาน พิจารณาจากประเด็นร้องเรียนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้า การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือฉลาดแบบเชิงรุก หากตรวจพบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะดำเนินการเรียกคืน โดยในปี 2565 มีการเรียกคือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปฏิบัติตามกำฆมาย ระเบียบข้อบังคับ จำนวนทั้งหมด 113 ครั้ง 164 รายการ ซึ่งมีการเรียกคืนสินค้าจากข้อร้องเรียนของลูกค้าทั้งหมด 65 ครั้ง 86 รายการ

แม็คโคร ดำเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

1. ต้นน้ำ: ปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานแบรนด์ MQP (Makro Quality Pro) และ Selected ซึ่งเป็นมาตรฐานที่อยู่ในระบบบริหารจัดการด้านอาหารปลอดภัยของบริษัท โดยสินค้าภายใต้แบรนด์ดังกล่าวจะถูกคัดเลือกจากสวนหรือฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน Good Agriculture Practice (GAP) พร้อมกับตรวจสอบสินค้าทุกขั้นตอนการผลิต รวมไปถึงคุณภาพในด้านต่างๆ เช่น ขนาด ความหวาน เป็นต้น ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำ Makro Initiative Accreditation (MIA) หรือแนวทางการผลิตสินค้าการเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของแม็คโคร เข้ามาใช้งานกัลกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้า โดยสามารถทำการประเมินตนเองทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้ด้านการผลิตและส่งมอบสินค้าที่มีมาตรฐานให้กับผู้บริโภค จากผลดำเนินงานดังกล่าว ปัจจุบันมีเกษตรและคู่ค้าได้รับมาตรฐานแบรนด์ MQP และ Selected แล้วกว่า 350 ราย (ร้อยละ 100)
2. กลางน้ำ: ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลอดกระบวนการจัดจำหน่าย ดังนั้นระบบ MIA จึงถูกพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ประเมินภายในศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์จำหน่ายสินค้าของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐาน
1) มาตรฐานการผลิตอาหาร
2) มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก
3) มาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
4) มาตรฐานระบบการจัดการอาหารปลอดภัย
3. ปลายน้ำ: สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นอกจากการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานของกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้าที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้ามีคุณภาพแล้ว บริษัทได้นำระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและข้อมูลด้านโภคชนาการของสินค้า หรือ Makro i-Trace มาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ฐานข้อมูลในระบบ Makro i-Trace ครอบคลุมสินค้ากลุ่มอาหารสด และเบเกอรี่ รวม 8,173 รายการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของสินค้าอาหารภายใต้แบรนด์ aro นอกจากนี้บริษํทยังได้ขยายการประยุกต์ใช้ระบบ Makro i-Trace ไปที่สาขาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอีกด้วย

กระบวนการเรียกคืนสินค้า

ข้อมูลอื่นๆ


ผลการดำเนินงานด้านการบริหารผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ

มาตรฐาน GRI รายการ หน่วย 2562 2563 2564 2565
ข้อมูลด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี
G4-FP6 ยอดขายสินค้าที่มีการปรับลดไขมัน ไขมันทรานส์ โซเดียมและน้ำตาล ร้อยละ 3.12 1.32 2.33 28.00
- กลุ่มอาหารพร้อมทาน 3.12 0.15 1.88 22.58
- กลุ่มเครื่องดื่มพร้อมดื่ม (ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮลล์) 0.00 1.16 0.46 4.13
- กลุ่มผลิตภัณฑ์บริโภค (อาหารสำเร็จรูป) 0.00 0.00 0.00 1.30
G4-FP7  ยอดขายสินค้าที่มีการเพิ่มคุณค่าทางโภชนการ ร้อยละ 0.00 6.93 1.09 3.73
- กลุ่มอาหารพร้อมทาน 0.00 1.01 1.05 1.77
- กลุ่มเครื่องดื่มพร้อมดื่ม (ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) 0.00 5.92 0.05 1.93
- กลุ่มผลิตภัณฑ์บริโภค (อาหารสำเร็จรูป) 0.00 0.00 0.00 0.04
ยอดขายสินค้าที่มีการปรับปรุงสูตร ร้อยละ 5.66 7.55 0.75 0.21
- กลุ่มอาหารพร้อมทาน 3.80 2.21 0.75 0.21
- กลุ่มเครื่องดื่มพร้อมดื่ม (ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์) 1.86 5.33 0.00 0.00
- กลุ่มผลิตภัณฑ์บริโภค (อาหารสำเร็จรูป) 0.00 0.00 0.00 0.00

หมายเหตุ
- ข้อมูลที่รายงานครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์พัฒนาร่วม (Private Barnd : PB) ที่จำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ ของ ซีพี ออลล์ เท่านั้น
- ข้อมูลที่นำมารายงานนับเฉพาะสินค้าที่ผ่านหลักเกณฑ์หรือได้รับการรับรองสัญลักษณ์ทางโภชนาการ "ทางเลือกสุขภาพ" และหรืออาหารที่มีการเพิ่ม หรือลด หรือปราศจากสารอาหารตามที่กฎหมายหรือมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ หรือสากล อาทิ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านสุขภาพและโภชนาการดาวน์โหลด
แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา คณะทำงานส่งเสริมสุขภาพ โภชนาการ และสุขภาวะที่ดีดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า