แนวทางการดำเนินงาน
การบริหารจัดการความเสี่ยงถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยระบุความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อองค์ โดยการบริหารและการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งนี้ บริษัทตระหนักถึงความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง พร้อมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานกำกับดูแล ทำหน้าที่ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารวามเสี่ยงยังทำหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานด้านการบริหารการบริหารความเสี่ยง และนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทปีละ 2 ครั้ง เพื่อสอบทานผลการดำเนินงานของกระบวนการบริหารความเสี่ยง ลอดจนหาแนวทางก้ไขที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร

ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บริษัทกำหนดแนวทางและกรอบในการดำเินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตรวมทั้งจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายขององค์กรอย่างเหมาะสม
กรอบการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

บริษัทกำหนดให้มีกรประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งระบุกลุ่มความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระท่อการดำเนินธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงและสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร บริษัทจึงจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมาตรการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานต่างๆ โดยีผู้ประสานงานด้านความเสี่ยง (Risk Champion) ทำหน้าที่ให้ความรู้ทุกไตรมาส รวมถึงกำหนดกลไกการควบคุมและการตรวจติดตามความเสี่ยง ดังนี้
กลไกกาควบคุมภายในและตรวจติดตามความเสี่ยง
ความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risks)
บริษัทมุ่งมั่นยกระดบมาตรการและแนวทางในการจัดกร พื่อตอบสนองต่อความเส่ยงอย่างทันท่วงที โดยทบทวนประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นประจำทุกปี เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ในปี 2565 บริษัทรวบรวมประเด็นความเสี่ยงที่เกิดใหม่ จำนวน 3 ประเด็น พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและกำหนดมารการและแวทางการจัดการเบื้องต้น ดังนี้
1. ความเสี่ยงจากกาบังคับใช้กฎหมายที่ส่งเสริมการลดขยะบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ
ซีพี ออลล์ ดำเนินธุรกิจหลักค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริกร และธุรกิจผลิตอาหาร โดยมีพ้นที่ดำเนินการหลักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูกกำหนดให้ขยายขอบเขตการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติดประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายใต้แนวทางการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ (Thai PlasticRoadmap 2018-2030) ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่และหมุนเวียน หนึ่งในเครื่องมือที่นำมาศึกษาเพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย คือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsiblity : EPR) หรือหลักการ “ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต” ที่ผู้ผลตจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างครบวงจรตั้งแต่กรออกแบ กระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลบมาใช้ใหม่ และการบำบัดขยะบรรจุภัณฑ์หลังกระบวการบริโภค กล่าวคือความรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ (ขยะ) ของตัวเอง โดยหลักการนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาใต้ รวมถึงบางประเทศในเอเชีย และีแนวโน้มที่จะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในประเทศไทยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของซีพี ออลล์ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องการจัดเตรียมระบบ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ต้องสร้างความร่วมมือร่วมกับคู่ค้าอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น
ซีพี ออลล์ มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven เฉลี่ยกว่าวันละ 12 ล้านราย มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในปี 2565 จำนวน 829,099 ล้านบาท ในแต่ละปีบริษัทมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เฉลี่ย 47,772.39 ตันต่อปี การผลักดันให้มีการดำเนินงานตามกฎหมายหลักการขยายความรับผิดชอบ (Extended Producer Responsibility : EPR) ส่งผลกระทบต่อ ซีพี ออลล์ ในการปรับเปลี่ยนนโยบาย กลยุทธ์ และกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นการออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อประกอบรวมกันเป็นชิ้นได้ง่าย (Design for Assembly) เริ่มหันมาเป็นการเลือกใช้ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาแยกชิ้นส่วนได้ง่าย (Design for Disassembly) เพื่อที่จะได้แยกวัสดุที่ต่างกันให้นำมารีไซเคิลหรือการลงทุนในกระบวนการใช้ซ้ำ การรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบนิเวศของการผลิตและการบริโภคในแบบใหม่ กล่าวคือ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ที่ผลิตภัณฑ์ถูกผลิตจากผู้ผลิต ส่งต่อไปให้ผู้บริโภค ก่อนที่จะถูกทิ้งไปยังเทศบาล มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้วัสดุและพลังงานถูกหมุนเวียนย้อนกลับมาสู่ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายอีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยระบบการกระจายสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ซีพี ออลล์ จากการสร้างระบบหรือการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 215 ล้านบาท ใน 3-5 ปีข้างหน้า) รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการขยะให้กับองค์กรกลาง อีกทั้ง ยังสามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทในด้านชื่อเสียงได้ หากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ดี
ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นลดปริมาณขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด พร้อมแสดงจุดยืนการเป็นผู้นำทำให้การจัดการบรรจุภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ของ ซีพี ออลล์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยมาตรการและ แนวทางการจัดการ ดังนี้
2. ความเสี่ยงของระดบน้ำทะเลที่สูงขึ้นและกัดกร่อนของน้ำกร่อยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหุจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น จนทำให้ธารน้ำแข็งในขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งทำให้น้ำในมหาสมุทรที่ทำหน้าที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกกักเก็บความร้อนเพิ่มขึ้น จนทำให้ปริมาณขอน้ำขยายตัวส่งผลให้ระดบน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ต่ำเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม และส่งผลต่อแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติ (เช่น น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน เป็นต้น) ซึ่งจะถูกน้ำเค็มเข้ามาแทนที่มากยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพของน้ำจืดที่ใช้อุปโภคบริโภค และเพื่อการดำเนินธุรกิจ่ำลง โดยการแทนที่ของน้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุนสูงกับทั้งปริมาณการปล่อยน้ำจืดที่น้อยลงอันเป็นผลมาจากภัยแล้ง จะส่งผลให้การแทนที่ของน้ำเค็มในแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิในระบนิเวศ การเติบโตทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนส่งผลกระบต่อการสูญเสยอกาสในกรขายินค้ากลุ่มที่้องใช้คุณภาพน้ำท่ดี ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการจัดหาแหล่งน้ำและค่าความเสียหาย ค่าซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นต่อเครื่องมือภายในร้าน
จากการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลในอนาคตของประเทศไทย โดยคำนวณความเป็นไปได้จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ภายใน 3-5 ปีข้างหน้าพื้นที่กรุงเทพมหานครมากกว่าร้อยละ 6 ซึ่งครอบคุลมพื้นที่กว่า 1,512 ตารางกิโลเมตร จะถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัย ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความหาแน่นของร้าน 7-Eleven สูง รวมกว่า 6,336 สาขา มีโอกาสเกิดการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซ่อมบำรุงร้านหลังน้ำท่วม ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการรักษาคุณภาพของน้ำประปาที่ใช้การประกอบธุรกิจ พร้อมกันนี้ ยังส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องเตรียมหรือให้บริการภายในร้านสาขาที่ต้องหยุดจำหน่ายในช่วงผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้น ทำให้แหล่งน้ำน้ำจืดซึ่งใช้เป็นประจำถูกแทนที่ด้วยน้ำเค็ม ส่งผลกระทบโดยตรง่ต่อ ซีพี ออลล์ ในด้านต่างๆ ดังนี้
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นหนึ่งในปัจจัยความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ บริษัทำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำหนดนโยบายและกำกับดูแลแผนการบริหารความเสี่ยงอย่างครอบคลุม รวมทั้ง กำหนดให้มีการทบทวนแนวทางการบริหรความเสี่ยงอย่างรอบด้านปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้กาบริหารควมเสี่ยงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการจัดทำแผนรองรับความเสี่ยงจากสถานกาณ์น้ำท่วม (Flod Scenario & Preparation) สำหรับร้าน 7-Eleven โดยศึกษาความสอดคล้องกับสถิติข้อมูลการเกิดภัยทางธรรมชาติร่วมกับข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของร้านสาขาในแต่ละพื้นที่ จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกรฟื้นฟูหลังเกิดสถานการณ์ ตลอดจนกำหนดให้มีการรายงานผลกระทบเรื่องระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุนจนเกิดการแทนที่ของน้ำเค็ม ต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อร่วมหารือกำหนดทิศทางและหามาตรการบรรเทาวิกฤตที่เกิดข้น อาทิ
3. ความเสี่ยงในการรักษาศักยภาพของคู่้าอาหรสดในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทหลังการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางระดับภูมิภาค
ภายใต้การขยายระบบการขนส่งสินค้าและการโดยสารไปยังภูมิภาคต่างๆ หรือเป็นที่รู้จักในโครงการ Belt and Road Initiative, BRI ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาได้เปิดรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The China-Laos Railway) ช่วงโบเต็ม-นครเวียงจันทร์ 32 สถานี ประกอบด้วยสถานีขนส่งสินค้า 22 สถานี และสถานีโดยสาร 10 สถานี จะช่วยขยายขอบเขตทั้งการค้าและการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น ด้วยปัจจัยด้านเวลาที่ใช้ในการขนส่งที่ลดลงอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางเพียง 7-9 ชั่วโมง และการขนส่งสินค้าเพียง 10-12 ชั่วโมง ส่งผลให้สินค้าจะถูกส่งเข้าสู่ไทยภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งถือเว่าเร็วกว่าวิธีการขนส่งสินค้าแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมา (เดิมการขนส่งทางรถใช้เวลา 4-6 วัน ทางเรือ 12-17 วัน และทางเครื่องบิน 1-2 วัน) จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้กลุ่มสินค้าอาหารสด (Fresh product) จะสามารถกระจายเข้าสู่ตลอดประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น และจะสามารถส่งได้รวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งทางรางภายในประเทศเสร็จสิ้น ในปี 2571
การรักษาศักยภาพของคู่ค้าอาหารสดในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท หลังการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางระดับภูมิภาค ถือเป็นประเด็นที่สร้างทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจในเวลาดียว ซึ่งในแง่ของความท้าทายสามารถระบุได้ 2 ประเด็นหลัก ดังนี้
บริษัทได้เร่งดำเนินการส่งเสริมความแข็งแกร่งของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อให้คู่ค้าประเภท SMEs สามารถปรับตัว เตรียมความพร้อมในการคว้าโอกาสในการขายและแข่งขันในระดับภูมิภาค ผ่านแนวทางการส่งเสริม ดังนี้
โครงการค้นหาภัยมืด (ต่อเนื่อง)
บริษัทดำเนินโครงการค้นหาภัยมืด หรือ Black Swan ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อสร้างความตระหนักด้านความเสี่ยงให้บุคลากรในองค์กร โดยสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยงขององค์กรซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายของบริษัทผ่านกิจกรรมการส่งประเด็นความเสี่ยงเข้าประกวดผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยเป็นประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้
โดยประเด็นความเสี่ยงที่ได้รับรางวัลจะถูกนำมาพิจารณาในการออกมาตรการรับรองและจัดการให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2565 มีผลงานที่พนักงานส่งเข้าประกวดทั้งสินค้า 4,490 ประเด็นความเสี่ยง โดย 5 อันดับความเสี่ยงที่มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมสูงสุด ได้แก่ 1.ความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคิดเชื้อไวรัสโควิด 19 2.ภัยจากการใช้ระบบ IT เช่น อีเมลหลอกลวง โซเชียลมีเดีย ไวรัสคอมพิวเตอร์ คอลเซ็นเอร์ เอสเอ็มเอส 3.ข้อมูลรั่วไหล/สูญหาย 4.Compliance Risk ด้านกฎหมาย 5.ความปลอดภัยในการทำงาน
ทั้งนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีการประเมิน Risk Score เพื่อวัดความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหารความเสี่ยงของทุกพื้นที่ครอบคลุมกว่า 70 หน่วยงาน ในทุกไตรมาส รวมทั้งเปิดบริการให้คำแนะนำทางออนไลน์ รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และตัวอย่างที่ดีเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบริหารความเสี่ยงผ่านโครงการ Risk Score Clinic ในทุกสัปดาห์ สำหรับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องจะมีการยกย่องประกาศเชิดชูโดย Enterprise Risk Manager และประธานกรรมการบริหาร รวมทั้งนำจุดเรียนรู้ที่ดีไปเผยแพร่ให้นักบริหารความเสี่ยงได้นำไปพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป รวมถึงจัดให้มีการสัมมนานักบริหารความเสี่ยงประจำหน่วยงาน (Risk Champion) อย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถของนักบริหารความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินการ ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย รวมทั้งด้านความยั่งยืน และธรรมาภิบาล โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 700 ราย
โครงการอบรมการบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับ Risk Champion (ต่อเนื่อง)
หน่วยงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ร่วมกับบริษัทปัญญธารา จำกัด และ บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด จัดอบรมการบริหารความเสี่ยงและความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับ Risk Champion ประจำป 265 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี Risk Champon ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ กว่า 120 ราย เข้าร่วมและแบ่งปันความรู้ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับ Risk Champion ใหม่ศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกล่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ และเพิ่มความสามารถการตรวจประเมินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ตามเกณฑ์ Risk Scroe นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความเข้าใจ และให้เกิดความตระหนักในการค้นหาความเสี่ยงและแนวทางป้องกัน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจโดยไม่หยุดชะ
โครงการส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้ากลุ่ม SMEs ในการเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
ซีพี ออลล์ ได้จัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC SMEs) ประจำปี 2565 ให้กับคู๋ค้า ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 40 ราย ในรูปแบบออนไลน์ ตามวิธี New Normal โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงคู่ค้าดำเนินกิจการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลขององค์กร เพื่อสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลัก สุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน รวมถึงยกระดับสถานะการเป็นสมาชิก CAC ของบริษํท สู่ระดับ Change Agent ทั้งนี้ มีคู่ค้าได้รับการสื่อสารและลงนามเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 90
การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล จึงดำเนินการทบทวนนโยบายการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความสอดคล้องกับแนวปฏบิัติมาตรฐานสากลด้านระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) พร้อมทั้งได้นำกรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สากล (NIST Cybersecurity Framework) มาปฎิบัติในเชิงเทคนิคทั้งระบบ รวมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโครงการ ดังนี้
โครงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) (ต่อเนื่อง)
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากระบบออฟไลน์สู่ระบบออนไลน์ ส่งผลให้บริษัทต้องเผชิญความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เกือบตลอดเวลา บริษัทจึงได้กำหนดการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี
โดยในปี 2565 บริษัทได้รักการจัดอันดับความน่าเชื่อถือการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์จากองค์กรภายนอก (BITSIGHT Security Rating Service) สะท้อนถึงความรับผิดชอบของการบริหารและการจัดการข้อมูลความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์องค์กร โดยมีการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมถึงได้มีการดำเนินการ ดังนี้
โครงการต่อเนื่องสร้างความตระหนักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สร้างความตระหนักด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่พนักงานทุกระดับถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์และแผนงานที่สำคัญของบริษัท ที่มุ่งลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับองค์กร โดยในปี 2565 บริษัทได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ดังนี้
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อมูลอื่นๆ
การวิเคราะห์ความอ่อนไหว
1.Business Environment Risk
จากการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความตระหนักในการพัฒนาโครงการริเริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งโครงการที่เริ่มศึกษาทดลอง โครงการนำร่อง และโครงการที่ประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการริเริ่มโครงการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า อย่างไรก็ตามภายใต้หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้ทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายขั้นสูงด้านความยั่งยืน ในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์หรือการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ตั้งแต่ปี 2573 สืบไป ภายใต้การศึกษาดังกล่าว บริษัทได้จำลองความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้ 3 กรณี (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) โดยทุกกรณีมีความเชื่อมโยงกับการเติบโตทางธุรกิจ และกรณีเพิ่มเติมในการจำกัดปริมาณการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ไว้ที่ร้อยละ 20 ของปริมาณคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการปกติในปี 2573 สำหรับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคงเหลืออยู่ของทุกกรณี จะถูกนำมาประเมินต้นทุนการชดเชยคาร์บอนตามช่วงราคาการชดเชยคาร์บอน
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงต้นทุนในการเบาเทาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงความพยายามที่บริษัทต้องดำเนินการเตรียมความพร้อมและร่วมบรรเทาประเด็นปัญหาระดับโลกเหล่านี้
แผนภาพที่ 1 การจำลองระดับการปล่อยและชดเชยก๊าซเรือนกระจก

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว | ||
---|---|---|
(ปัจจัยนำเข้าและตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์) | ||
ราคาคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ | 42.72 | ยูโร / หน่วย |
อัตราการแลกเปลี่ยน | 38.37 | บาท / ยูโร |
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) | 3,042,632.71 | ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า |
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 | 2,086,322.77 | ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า |
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4 ต่อปี | 1,764,726.97 | ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า |
ร้อยละ 1 ของรายได้ปี 2563 | 5,465.90 | ล้านบาท |
ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณีการจำลองปริมาณการชดเชยคาร์บอนเทียบเป้าหมายปี 2573
หน่วย : ล้านบาท | |||||
---|---|---|---|---|---|
ต้นทุนคาร์บอน | -10% | -5% | +-0% | +5% | +10% |
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) | 4,488.64 | 4,738.01 | 4,987.38 | 5,236.75 | 5,486.12* |
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 | 3,077.85 | 3,248.84 | 3,419.83 | 3,590.82 | 3,761.81 |
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี | 2,603.41 | 2,748.05 | 2,892.68 | 3,037.32 | 3,181.95 |
* มูลค่าประเมินถึงระดับ 1% ของรายได้ปีฐาน
2.Compliance Risk and Operation Risk
การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต และ อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน
งบการเงินรวม | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 5 |
|||||||
2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม | ล้านบาท | |||||||||||
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต | 437 | 466 | (387) | (416) | 1,311 | 1,398 | (1,161) | (1,248) | 2,185 | 2,330 | (1,935) | (2,080) |
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน | (428) | (468) | 483 | 504 | (1,284) | (1,404) | 1,449 | 1,512 | (2,140) | (2,340) | 2,415 | 2,520 |
งบการเงินเฉพาะกิจการ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 5 |
|||||||
2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม | ล้านบาท | |||||||||||
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต | 240 | 227 | (213) | (203) | 720 | 681 | (369) | (609) | 1,200 | 1,135 | (1,065) | (1,015) |
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน | (234) | (230) | 266 | 262 | (702) | (690) | 798 | 786 | (1,170) | (1,150) | 1,330 | 1,310 |
3.Market Risk
การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี อัตราการคิดลด
งบการเงินรวม | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 5 |
|||||||
2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม | ล้านบาท | |||||||||||
อัตราการคิดลด | (406) | (439) | 443 | 502 | (1,218) | (1,317) | 1,329 | 1,506 | (2,030) | (2,195) | 2,215 | 2,510 |
งบการเงินเฉพาะกิจการ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 1 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 3 |
ข้อสมมติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 |
ข้อสมมติ ลดลงร้อยละ 5 |
|||||||
2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | 2564 | 2565 | |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม | ล้านบาท | |||||||||||
อัตราการคิดลด | (225) | (205) | 241 | 234 | (675) | (615) | 723 | 702 | (1,125) | (1,025) | 1,205 | 1,170 |