การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

แนวทางการดำเนินงาน


การบริหารจัดการความเสี่ยงถือเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยระบุความเสี่ยงและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อองค์ โดยการบริหารและการกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมทั้งสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ทั้งนี้ บริษัทตระหนักถึงความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรเป็นวงกว้าง พร้อมทั้งกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารความเสี่ยงขององค์กรโดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงและหน่วยงานกำกับดูแล ทำหน้าที่ร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารวามเสี่ยงยังทำหน้าที่รายงานผลการดำเนินงานด้านการบริหารการบริหารความเสี่ยง และนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทปีละ 2 ครั้ง เพื่อสอบทานผลการดำเนินงานของกระบวนการบริหารความเสี่ยง ลอดจนหาแนวทางก้ไขที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดผลกระทบจากความเสี่ยงที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงองค์กร

ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน บริษัทกำหนดแนวทางและกรอบในการดำเินงานด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤตรวมทั้งจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายขององค์กรอย่างเหมาะสม

กรอบการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤตเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

บริษัทกำหนดให้มีกรประเมินความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งระบุกลุ่มความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระท่อการดำเนินธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มความเสี่ยงทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ในการดำเนินงาน
  • กลุ่มความเสี่ยงด้านความยั่งยืน หรือความเสี่ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเงิน
  • กลุ่มความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risk)

เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงและสามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งสนับสนุนการขับเคลื่อนกลยุทธ์องค์กร บริษัทจึงจัดอบรมให้ความรู้เรื่องมาตรการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานต่างๆ โดยีผู้ประสานงานด้านความเสี่ยง (Risk Champion) ทำหน้าที่ให้ความรู้ทุกไตรมาส รวมถึงกำหนดกลไกการควบคุมและการตรวจติดตามความเสี่ยง ดังนี้

กลไกกาควบคุมภายในและตรวจติดตามความเสี่ยง

  • ดำเนินการโดย Risk Champion
  • ความเสี่ยงที่มีการประเมิน ได้แก่
    – การปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
    – การปฏิบัติตามมาตรฐาน กระบวนการ กฎหมาย กฎระเบียบบริษัท สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ไวรัสโควิด 19
    – การร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสีย
  • ในปี 25645 มีกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง 61 กระบวนการ จากการประเมิน 231 กระบวนการ ครอบคลุมกระบวนการของสายงานการตลาด สายงานการบริหารผลิตภัณฑ์ สายงานจัดซื้อ สายงานกระจายสินค้า
  • ในปี 2565 มีการกำหนดมาตรการควบคุมทั้งหมด 25 มาตรการ สำหรับกระบวนการที่มีความเสี่ยงสูง 65 กระบวนการ
  • มีการสื่อสารมาตรการควบคุมความเสี่ยงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบร่วมกับ Risk Champion
  • ผู้ตรวจสอบประกอบด้วยหน่วยงานบริหารความเสี่ยง หน่วยงาน Corporate Process Simplification และหน่วยงานตรวจสอบ
  • ทบทวนโดยผู้ประสานงานด้านความเสี่ยง (Risk Champion) ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของกระบวนการ (Process Owner)

ความเสี่ยงที่เกิดใหม่ (Emerging Risks)

บริษัทมุ่งมั่นยกระดบมาตรการและแนวทางในการจัดกร พื่อตอบสนองต่อความเส่ยงอย่างทันท่วงที โดยทบทวนประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นประจำทุกปี เพื่อวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยงใหม่ที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ ในปี 2565 บริษัทรวบรวมประเด็นความเสี่ยงที่เกิดใหม่ จำนวน 3 ประเด็น พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจและกำหนดมารการและแวทางการจัดการเบื้องต้น ดังนี้

1. ความเสี่ยงจากกาบังคับใช้กฎหมายที่ส่งเสริมการลดขยะบรรจุภัณฑ์จากภาครัฐ

ซีพี ออลล์ ดำเนินธุรกิจหลักค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ ธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริกร และธุรกิจผลิตอาหาร โดยมีพ้นที่ดำเนินการหลักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูกกำหนดให้ขยายขอบเขตการเลิกใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติดประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งภายใต้แนวทางการจัดการขยะพลาสติกของประเทศ (Thai PlasticRoadmap 2018-2030) ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการนำขยะกลับมาใช้ใหม่และหมุนเวียน หนึ่งในเครื่องมือที่นำมาศึกษาเพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย คือ หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsiblity : EPR) หรือหลักการ “ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต” ที่ผู้ผลตจะต้องมีความรับผิดชอบอย่างครบวงจรตั้งแต่กรออกแบ กระจายสินค้า การรับคืน การเก็บรวบรวม การใช้ซ้ำ การนำกลบมาใช้ใหม่ และการบำบัดขยะบรรจุภัณฑ์หลังกระบวการบริโภค กล่าวคือความรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ (ขยะ) ของตัวเอง โดยหลักการนี้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาใต้ รวมถึงบางประเทศในเอเชีย และีแนวโน้มที่จะถูกบังคับใช้เป็นกฎหมายในประเทศไทยภายใน 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจของซีพี ออลล์ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเรื่องการจัดเตรียมระบบ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ต้องสร้างความร่วมมือร่วมกับคู่ค้าอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น

ซีพี ออลล์ มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้าน 7-Eleven เฉลี่ยกว่าวันละ 12 ล้านราย มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในปี 2565 จำนวน 829,099 ล้านบาท ในแต่ละปีบริษัทมีปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก เฉลี่ย 47,772.39 ตันต่อปี การผลักดันให้มีการดำเนินงานตามกฎหมายหลักการขยายความรับผิดชอบ (Extended Producer Responsibility : EPR) ส่งผลกระทบต่อ ซีพี ออลล์ ในการปรับเปลี่ยนนโยบาย กลยุทธ์ และกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นการออกแบบชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อประกอบรวมกันเป็นชิ้นได้ง่าย (Design for Assembly) เริ่มหันมาเป็นการเลือกใช้ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาแยกชิ้นส่วนได้ง่าย (Design for Disassembly) เพื่อที่จะได้แยกวัสดุที่ต่างกันให้นำมารีไซเคิลหรือการลงทุนในกระบวนการใช้ซ้ำ การรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อระบบนิเวศของการผลิตและการบริโภคในแบบใหม่ กล่าวคือ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) ที่ผลิตภัณฑ์ถูกผลิตจากผู้ผลิต ส่งต่อไปให้ผู้บริโภค ก่อนที่จะถูกทิ้งไปยังเทศบาล มาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ให้วัสดุและพลังงานถูกหมุนเวียนย้อนกลับมาสู่ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายอีกครั้ง ซึ่งต้องอาศัยระบบการกระจายสินค้าและนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ ซีพี ออลล์ จากการสร้างระบบหรือการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น (คิดเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงขึ้นเฉลี่ยกว่า 215 ล้านบาท ใน 3-5 ปีข้างหน้า) รวมถึงค่าใช้จ่ายจากการจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการขยะให้กับองค์กรกลาง อีกทั้ง ยังสามารถส่งผลกระทบต่อบริษัทในด้านชื่อเสียงได้ หากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ดี

ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นลดปริมาณขยะพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด พร้อมแสดงจุดยืนการเป็นผู้นำทำให้การจัดการบรรจุภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ของ ซีพี ออลล์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้วยมาตรการและ แนวทางการจัดการ ดังนี้

  • ประกาศนโยบาย และกำหนดเป้าหมาย 100% ของบรรจุภัณฑ์ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573 รวมถึงกำหนดเป้าหมายลดปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัทที่ต้องนำไปสู่การฝังกลบเป็นศูนย์ ภายในปี 2573
  • จัดตั้งคณะทำงานจัดการบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักการดังกล่าวที่อาจกลายเป็นข้อกฎหมายในอนาคตอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ และจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมของ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย รวมถึงตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย และรายงานความคืบหน้าต่อคณะอนุกรรมการความยั่งยืนองค์กรอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • ดำเนินการระบบการนำกลับ (Take-back system) ของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) ตามความเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาระบบรีไซเคิล ขยะบรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลกําไร (NGOs) สถาบันการศึกษา ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เพื่อลดการใช้พลาสติกโดยรวม การเพิ่มอัตราการใช้ซํ้า การนํามาใช้ใหม่ของวัสดุพลาสติก สำหรับบรรจุภัณฑ์/ชิ้นงานชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic packaging/ items) ตามความจำเป็น
  • สื่อสารและสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนให้แก่พนักงาน คู่ค้า พันธมิตรธุรกิจ ผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ และส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร

2. ความเสี่ยงของระดบน้ำทะเลที่สูงขึ้นและกัดกร่อนของน้ำกร่อยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหุจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น จนทำให้ธารน้ำแข็งในขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว อีกทั้งทำให้น้ำในมหาสมุทรที่ทำหน้าที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกกักเก็บความร้อนเพิ่มขึ้น จนทำให้ปริมาณขอน้ำขยายตัวส่งผลให้ระดบน้ำทะเลสูงขึ้น ส่งผลให้พื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ต่ำเสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วม และส่งผลต่อแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติ (เช่น น้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน เป็นต้น) ซึ่งจะถูกน้ำเค็มเข้ามาแทนที่มากยิ่งขึ้น ทำให้คุณภาพของน้ำจืดที่ใช้อุปโภคบริโภค และเพื่อการดำเนินธุรกิจ่ำลง โดยการแทนที่ของน้ำเค็มจากน้ำทะเลหนุนสูงกับทั้งปริมาณการปล่อยน้ำจืดที่น้อยลงอันเป็นผลมาจากภัยแล้ง จะส่งผลให้การแทนที่ของน้ำเค็มในแหล่งน้ำจืดธรรมชาติทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิในระบนิเวศ การเติบโตทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนส่งผลกระบต่อการสูญเสยอกาสในกรขายินค้ากลุ่มที่้องใช้คุณภาพน้ำท่ดี ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการจัดหาแหล่งน้ำและค่าความเสียหาย ค่าซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นต่อเครื่องมือภายในร้าน

จากการคาดการณ์ระดับน้ำทะเลในอนาคตของประเทศไทย โดยคำนวณความเป็นไปได้จากภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ภายใน 3-5 ปีข้างหน้าพื้นที่กรุงเทพมหานครมากกว่าร้อยละ 6 ซึ่งครอบคุลมพื้นที่กว่า 1,512 ตารางกิโลเมตร จะถูกน้ำท่วมหากเกิดอุทกภัย ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด อาทิ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อธุรกิจ เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความหาแน่นของร้าน 7-Eleven สูง รวมกว่า 6,336 สาขา มีโอกาสเกิดการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการซ่อมบำรุงร้านหลังน้ำท่วม ค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการรักษาคุณภาพของน้ำประปาที่ใช้การประกอบธุรกิจ พร้อมกันนี้ ยังส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องเตรียมหรือให้บริการภายในร้านสาขาที่ต้องหยุดจำหน่ายในช่วงผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้น ทำให้แหล่งน้ำน้ำจืดซึ่งใช้เป็นประจำถูกแทนที่ด้วยน้ำเค็ม ส่งผลกระทบโดยตรง่ต่อ ซีพี ออลล์ ในด้านต่างๆ ดังนี้

  • การสูญเสียโอกาสในการขายสินค้ากลุ่มที่ต้องใช้คุณภาพน้ำที่ดี ได้แก่ เครื่องดื่มชงสด All Café เครื่องดื่มแบบกด 7-Select และเครื่องดื่มปั่นเป็นเกล็ดสเลอปี้ (Slurpee)
  • การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อใช้ในการอุปโภค ซึ่งสามารถคิดเป็นมูลค่าอยู่ในช่วง 1,000-1,500 ล้านบาท ในกรณีที่ไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์และให้บริการได้เป็นเวลา 7 วัน
  • มูลค่าความเสียหายหลังการเคลมประกันภัย คิดเป็นมูลค่ากว่า 2,644 ล้านบาท โดยประเมินจากสถิติค่าความรับผิดส่วนแรก (Deductible) จากการเคลมประกันภัยและมูลค่าเบี้ยประกันภัย

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือเป็นหนึ่งในปัจจัยความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ บริษัทำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงเพื่อกำหนดนโยบายและกำกับดูแลแผนการบริหารความเสี่ยงอย่างครอบคลุม รวมทั้ง กำหนดให้มีการทบทวนแนวทางการบริหรความเสี่ยงอย่างรอบด้านปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้กาบริหารควมเสี่ยงเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถนำไปใช้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ บริษัทกำหนดให้มีการจัดทำแผนรองรับความเสี่ยงจากสถานกาณ์น้ำท่วม (Flod Scenario & Preparation) สำหรับร้าน 7-Eleven โดยศึกษาความสอดคล้องกับสถิติข้อมูลการเกิดภัยทางธรรมชาติร่วมกับข้อมูลการประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานภาครัฐ อาทิ ระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของร้านสาขาในแต่ละพื้นที่ จัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และแผนกรฟื้นฟูหลังเกิดสถานการณ์ ตลอดจนกำหนดให้มีการรายงานผลกระทบเรื่องระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ที่ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและน้ำทะเลหนุนจนเกิดการแทนที่ของน้ำเค็ม ต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อร่วมหารือกำหนดทิศทางและหามาตรการบรรเทาวิกฤตที่เกิดข้น อาทิ

  • การเปลี่ยนเครื่องกรองน้ำคุณภาพสูงที่สามารถกรองความเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการเลือกที่ตั้งร้านสาขา โดยพิจารณาผลกระทบระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น
  • กำหนดให้มีโครงการร้านสู้น้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมร้านสาขารับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม ที่เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบและระหว่างเกิดเหตุ รวมถึงการออกแบบร้านสาขาให้มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายเพื่อสามารถดำเนินการในพื้นที่อื่นได้ ระหว่างเกิดเหตุ รวมถึงกำหนดแผนฟื้นฟูร้านสาขาหลังสถาน์การน้ำท่วม

3. ความเสี่ยงในการรักษาศักยภาพของคู่้าอาหรสดในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทหลังการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางระดับภูมิภาค

ภายใต้การขยายระบบการขนส่งสินค้าและการโดยสารไปยังภูมิภาคต่างๆ หรือเป็นที่รู้จักในโครงการ Belt and Road Initiative, BRI ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาได้เปิดรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The China-Laos Railway) ช่วงโบเต็ม-นครเวียงจันทร์ 32 สถานี ประกอบด้วยสถานีขนส่งสินค้า 22 สถานี และสถานีโดยสาร 10 สถานี จะช่วยขยายขอบเขตทั้งการค้าและการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น ด้วยปัจจัยด้านเวลาที่ใช้ในการขนส่งที่ลดลงอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเดินทางเพียง 7-9 ชั่วโมง และการขนส่งสินค้าเพียง 10-12 ชั่วโมง ส่งผลให้สินค้าจะถูกส่งเข้าสู่ไทยภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งถือเว่าเร็วกว่าวิธีการขนส่งสินค้าแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมา (เดิมการขนส่งทางรถใช้เวลา 4-6 วัน ทางเรือ 12-17 วัน และทางเครื่องบิน 1-2 วัน) จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้กลุ่มสินค้าอาหารสด (Fresh product) จะสามารถกระจายเข้าสู่ตลอดประเทศไทยได้มากยิ่งขึ้น และจะสามารถส่งได้รวดเร็วยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งทางรางภายในประเทศเสร็จสิ้น ในปี 2571

การรักษาศักยภาพของคู่ค้าอาหารสดในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท หลังการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางรางระดับภูมิภาค ถือเป็นประเด็นที่สร้างทั้งโอกาสและความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจในเวลาดียว ซึ่งในแง่ของความท้าทายสามารถระบุได้ 2 ประเด็นหลัก ดังนี้

  • ความท้าทายในการควบคุมคุณภาพสินค้าอาหารสดให้เป็นไปในระดับสากลตลอดการขนส่งสินค้าและการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment) เนื่องจากความแตกต่างของมาตราฐานในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศและมาตรฐานการตรวจวัดสิ่งปนเปื้อนเป็นหนึ่งในความเสี่ยงระยะต้นที่จะเชื่อมโยงระบบการขนส่งทั่วภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้า หรือการส่งออกสินค้า ผลกระทบมีความเสี่ยงในการสูญเสียชื่อเสียง และรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรับคืนสินค้าที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานท้องถิ่น
  • ความสามารถในการแข่งขันของคู่ค้าภายในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กับผู้ผลิตระดับภูมิภาค เป็นประเด็นความเสี่ยงที่เห็นได้ชัดเจน เนื่องจากความแตกต่างของสเกลการผลิต การระบายกำลัง การผลิตส่วนเกิน ส่งผลไปยังต้นทุนการผลิต คู่ค้าขนาดเล็กที่ไม่สามารถปรับตัวหรือแข่งขันในเวทีระดับภูมิโภาคได้จะล้มหายออกจากตลาด ส่งผลให้ความเข้มแข็งและความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานลดลงประเมินผลกระทบต่อลุ่มสินค้าอาหารสดของกลุ่มค้าปลีกจำนวนกว่า 234 SKUs มูลค่ามากกว่า 850 ล้านบาทต่อปี หรือผลกระทบตลอดห่วงโซ่อุปทานประมาณ 14,285 ล้านบาท

บริษัทได้เร่งดำเนินการส่งเสริมความแข็งแกร่งของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อให้คู่ค้าประเภท SMEs สามารถปรับตัว เตรียมความพร้อมในการคว้าโอกาสในการขายและแข่งขันในระดับภูมิภาค ผ่านแนวทางการส่งเสริม ดังนี้

  • ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาเพิ่มคุณค่าของสินค้าและการสร้างเอกลักษณ์ ความแตกต่าง หรือความสามารถในการนำเสนอคุณค่าของสินค้า เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับสินค้าในเวทีภูมิภาค
  • รับซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกร รวมถึงพัฒนาการผลิต โดย บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์
  • ส่งเสริมการรับรองคุณภาพให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตั้งแต่แปลงปลูก จนถึงการตัดแต่งและบรรจุ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนในการผลิต และสร้างการยอมรับในด้านการประกันคุณภาพของสินค้า
  • ส่งเสริมการทำการตลาดและช่องทางการขายพร้อมทั้งรับซื้อสินค้าและการส่งมอบช่องทางการขายสินค้าให้กับผู้ผลิตกลุ่ม SMEs เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและสามารถมีทุนในการพัฒนาต่อยอด

โครงการค้นหาภัยมืด (ต่อเนื่อง)

บริษัทดำเนินโครงการค้นหาภัยมืด หรือ Black Swan ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อสร้างความตระหนักด้านความเสี่ยงให้บุคลากรในองค์กร โดยสนับสนุนให้ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมในการค้นหาความเสี่ยงขององค์กรซึ่งเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและเป้าหมายของบริษัทผ่านกิจกรรมการส่งประเด็นความเสี่ยงเข้าประกวดผ่านช่องทางที่หลากหลาย โดยเป็นประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ 6 ประเด็น ดังต่อไปนี้

โดยประเด็นความเสี่ยงที่ได้รับรางวัลจะถูกนำมาพิจารณาในการออกมาตรการรับรองและจัดการให้เหมาะสม เพื่อพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2565 มีผลงานที่พนักงานส่งเข้าประกวดทั้งสินค้า 4,490 ประเด็นความเสี่ยง โดย 5 อันดับความเสี่ยงที่มีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมสูงสุด ได้แก่ 1.ความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคิดเชื้อไวรัสโควิด 19 2.ภัยจากการใช้ระบบ IT เช่น อีเมลหลอกลวง โซเชียลมีเดีย ไวรัสคอมพิวเตอร์ คอลเซ็นเอร์ เอสเอ็มเอส 3.ข้อมูลรั่วไหล/สูญหาย 4.Compliance Risk ด้านกฎหมาย 5.ความปลอดภัยในการทำงาน

ทั้งนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีการประเมิน Risk Score เพื่อวัดความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงานรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหารความเสี่ยงของทุกพื้นที่ครอบคลุมกว่า 70 หน่วยงาน ในทุกไตรมาส รวมทั้งเปิดบริการให้คำแนะนำทางออนไลน์ รวมถึงแลกเปลี่ยนความรู้และตัวอย่างที่ดีเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการบริหารความเสี่ยงผ่านโครงการ Risk Score Clinic ในทุกสัปดาห์ สำหรับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานที่ดีต่อเนื่องจะมีการยกย่องประกาศเชิดชูโดย Enterprise Risk Manager และประธานกรรมการบริหาร รวมทั้งนำจุดเรียนรู้ที่ดีไปเผยแพร่ให้นักบริหารความเสี่ยงได้นำไปพัฒนาต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นต่อไป รวมถึงจัดให้มีการสัมมนานักบริหารความเสี่ยงประจำหน่วยงาน (Risk Champion) อย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถของนักบริหารความเสี่ยงให้ทันต่อสถานการณ์ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินการ ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย รวมทั้งด้านความยั่งยืน และธรรมาภิบาล โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 700 ราย

โครงการอบรมการบริหารความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับ Risk Champion (ต่อเนื่อง)

หน่วยงานบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ร่วมกับบริษัทปัญญธารา จำกัด และ บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด จัดอบรมการบริหารความเสี่ยงและความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับ Risk Champion ประจำป 265 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี Risk Champon ในกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ กว่า 120 ราย เข้าร่วมและแบ่งปันความรู้ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกทักษะและสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับ Risk Champion ใหม่ศึกษาแนวทางการบริหารความเสี่ยงของกล่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ และเพิ่มความสามารถการตรวจประเมินการบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน ตามเกณฑ์ Risk Scroe นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการยังทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรมเพื่อทบทวนความเข้าใจ และให้เกิดความตระหนักในการค้นหาความเสี่ยงและแนวทางป้องกัน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินธุรกิจโดยไม่หยุดชะ

โครงการส่งเสริมและสนับสนุนคู่ค้ากลุ่ม SMEs ในการเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

ซีพี ออลล์ ได้จัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC SMEs) ประจำปี 2565 ให้กับคู๋ค้า ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 40 ราย ในรูปแบบออนไลน์ ตามวิธี New Normal โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมให้ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงคู่ค้าดำเนินกิจการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลขององค์กร เพื่อสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลัก สุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน รวมถึงยกระดับสถานะการเป็นสมาชิก CAC ของบริษํท สู่ระดับ Change Agent ทั้งนี้ มีคู่ค้าได้รับการสื่อสารและลงนามเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 90

การบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล

บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูล จึงดำเนินการทบทวนนโยบายการรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความสอดคล้องกับแนวปฏบิัติมาตรฐานสากลด้านระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) พร้อมทั้งได้นำกรอบการทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สากล (NIST Cybersecurity Framework) มาปฎิบัติในเชิงเทคนิคทั้งระบบ รวมถึงมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลผ่านโครงการ ดังนี้

โครงการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) (ต่อเนื่อง)

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจจากระบบออฟไลน์สู่ระบบออนไลน์ ส่งผลให้บริษัทต้องเผชิญความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เกือบตลอดเวลา บริษัทจึงได้กำหนดการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านบุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี

โดยในปี 2565 บริษัทได้รักการจัดอันดับความน่าเชื่อถือการจัดการความปลอดภัยไซเบอร์จากองค์กรภายนอก (BITSIGHT Security Rating Service) สะท้อนถึงความรับผิดชอบของการบริหารและการจัดการข้อมูลความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์องค์กร โดยมีการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมถึงได้มีการดำเนินการ ดังนี้

  • ทบทวนนโยบายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลระบบบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (ISO 27001) และด้านระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (ISO 27701)
  • สื่อสารเกี่ยวกับนโยบายสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ใกล้ตัวและต้องระวัง รวมถึงแนวปฏิบัติ ข้อแนะ เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัยผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์บริษัท อีเมล CP ALL Connect, Cyber Security Portal เป็นต้น
  • ส่งเสริม ให้ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับนักเรียน นักศึกษา ทั้งของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (PAT) และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) มีความเข้าใจ ก่อนเข้าร่วมปฏิบัติงานในบริษัท
  • ทำการทดสอบการรับมือจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Security Drills Test) สำหรับพนักงานทุกระดับบนสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อสร้างความเข้าใจ และการตอบสนองที่ถูกต้อง ดำเนินการทุกไตรมาส
  • ทำการซ้อมทั้งระดับปฏิบัติการและระดับบริหารต่อการตอบสนองเหตุการณ์ละเมิดความปลอดภัยไซเบอร์และข้อมูลรั่วไหล (Data Breach & Cyber Security Incident Response Workshop) ตามแผนที่กำหนดบนสถานการณ์เสมือนจริง เพื่อสร้างควาเข้าใจในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำผลลัพธ์ที่ได้จากการซ้อมมาทำการปรับปรุงปีละ 2 ครั้ง
  • ประเมินมาตรการความมั่นคงปลอดภัยปีละ 1 ครั้ง และดำเนินการติดตั้งเทคโนโลยีระบบความปลอดภัยตามแผนงาน (Cyber Security Roadmap) เพื่อคงไว้ซึ่งการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของสารสนเทศทั้งหมด
  • ส่งเสริม และร่วมสร้างความตระหนักรู้ภัย และการใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างปลอดภัยกับคู่ค้า (Partner) ที่ใช้และเชื่อต่อระบบไอทีของบริษัทและการลงนามรับทราบเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

โครงการต่อเนื่องสร้างความตระหนักในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สร้างความตระหนักด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่พนักงานทุกระดับถือเป็นหนึ่งกลยุทธ์และแผนงานที่สำคัญของบริษัท ที่มุ่งลดความเสี่ยงที่อาจเกิดกับองค์กร โดยในปี 2565 บริษัทได้ดำเนินงานเพื่อยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ดังนี้

  • ประกาศใช้กระบวนการทำงานที่มีความสอดคล้องกับกฎหมาย PDPA
  • เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA สำหรับพนักงานทุกระดับ พร้อมทั้งปรับปรุงกระบวนการทำงานที่มีกิจกรรมข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับกฎหมาย PDPA
  • จัดกิจกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้กับพนักงานทุกระดับ เช่น การฝึกอบรม การจัดสัมมนา พร้อมสอบวัดระดับความรู้สำหรับพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรม การจัด Workshop หรือ Webinar เพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ PDPA ต่อพนักงานใน ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย รวมถึงคู่ค้าและพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
  • เผยแพร่ และส่งเสริม PDPA Mindsets ให้แก่พนักงาน ประกอบด้วย 1.เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น (Respect) 2.ซื่อสัตย์ โปร่งใส (Transparency) 3.รับผิดชอบในการกระทำ (Accountability) ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ เช่น โปสเตอร์ เว็บไซต์บริษัท อีเมล PDPA Portal, CPALL Connect เป็นต้น
  • ขยายผลผลขอการรับรองมาตรฐานสากลระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูล ISO 27001 และมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ISO 27701 จากข้อมูลลูกค้าออลล์เมมเบอร์ (All Member) ไปยังข้อมูลพนักงานของระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล (HR)
  • ขยายผลการนำ ISO 27001 และ ISO 27701 ไปประยุกต์ใช้กับ 24 Shopping ในขอบเขต “การซื้อขายสินค้า ผ่าน 24Shopping”
  • พัฒนาและนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ ภายใต้มาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัย ที่คงไว้ซึ่งการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของสารสนเทศทั้งหมด
  • สร้างความตระหนักรู้ให้กับคู่ค้าสำคัญที่ใช้และเชื่อต่อกับระบบ IT บริษัท On Boarding พร้อมทั้งมีการลงนามรับทราบ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

ร้อยละ  100

กิจกรรมที่มีข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ร้อยละ  100

พนักงานผ่านการอบรมและทดสอบความรู้ ความเข้าใจแนวปฏิบัติ PDPA

ร้อยละ  100

การตอบสนองของการใช้สิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามเวลาที่กำหนด

0  ครั้ง

การร้องเรียนที่ร้ายแรง

0  ครั้ง

การรั่วไหลละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลอื่นๆ


การวิเคราะห์ความอ่อนไหว

1.Business Environment Risk

จากการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง บริษัทมีความตระหนักในการพัฒนาโครงการริเริ่มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้ขอบเขตการดำเนินงานที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้งโครงการที่เริ่มศึกษาทดลอง โครงการนำร่อง และโครงการที่ประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการริเริ่มโครงการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในการร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่า อย่างไรก็ตามภายใต้หลักการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้ทำการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายขั้นสูงด้านความยั่งยืน ในการเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์หรือการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ตั้งแต่ปี 2573 สืบไป ภายใต้การศึกษาดังกล่าว บริษัทได้จำลองความสามารถในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้ 3 กรณี (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) โดยทุกกรณีมีความเชื่อมโยงกับการเติบโตทางธุรกิจ และกรณีเพิ่มเติมในการจำกัดปริมาณการชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting) ไว้ที่ร้อยละ 20 ของปริมาณคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการปกติในปี 2573 สำหรับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกคงเหลืออยู่ของทุกกรณี จะถูกนำมาประเมินต้นทุนการชดเชยคาร์บอนตามช่วงราคาการชดเชยคาร์บอน

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงต้นทุนในการเบาเทาผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เชื่อมโยงกับภาคธุรกิจ ซึ่งบ่งบอกได้ถึงความพยายามที่บริษัทต้องดำเนินการเตรียมความพร้อมและร่วมบรรเทาประเด็นปัญหาระดับโลกเหล่านี้

แผนภาพที่ 1 การจำลองระดับการปล่อยและชดเชยก๊าซเรือนกระจก

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว
(ปัจจัยนำเข้าและตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์)
ราคาคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ 42.72 ยูโร / หน่วย
อัตราการแลกเปลี่ยน 38.37 บาท / ยูโร
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) 3,042,632.71 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 2,086,322.77 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4 ต่อปี 1,764,726.97 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ร้อยละ 1 ของรายได้ปี 2563 5,465.90 ล้านบาท

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณีการจำลองปริมาณการชดเชยคาร์บอนเทียบเป้าหมายปี 2573

หน่วย : ล้านบาท
ต้นทุนคาร์บอน -10% -5% +-0% +5% +10%
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกคาดการณ์ (CEF2030) 4,488.64 4,738.01 4,987.38 5,236.75 5,486.12*
เป้าหมายการควบคุมการขยายตัวที่ร้อยละ 4 3,077.85 3,248.84 3,419.83 3,590.82 3,761.81
เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี 2,603.41 2,748.05 2,892.68 3,037.32 3,181.95

* มูลค่าประเมินถึงระดับ 1% ของรายได้ปีฐาน

2.Compliance Risk and Operation Risk

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต และ อัตราการหมุนเวียนของพนักงาน

งบการเงินรวม
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต 437 466 (387) (416) 1,311 1,398 (1,161) (1,248) 2,185 2,330 (1,935) (2,080)
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน (428) (468) 483 504 (1,284) (1,404) 1,449 1,512 (2,140) (2,340) 2,415 2,520

งบการเงินเฉพาะกิจการ
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต 240 227 (213) (203) 720 681 (369) (609) 1,200 1,135 (1,065) (1,015)
อัตราหมุนเวียนของพนักงาน (234) (230) 266 262 (702) (690) 798 786 (1,170) (1,150) 1,330 1,310

3.Market Risk

การวิเคราะห์ความอ่อนไหว กรณี อัตราการคิดลด

งบการเงินรวม
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
อัตราการคิดลด (406) (439) 443 502 (1,218) (1,317) 1,329 1,506 (2,030) (2,195) 2,215 2,510

งบการเงินเฉพาะกิจการ
  ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 1
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 3
ข้อสมมติ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5
ข้อสมมติ
ลดลงร้อยละ 5
2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565 2564 2565
ณ วันที่ 31 ธันวาคม ล้านบาท
อัตราการคิดลด (225) (205) 241 234 (675) (615) 723 702 (1,125) (1,025) 1,205 1,170

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการบริหารความเสี่ยงดาวน์โหลด
คู่มือการบริหารความเสี่ยง ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า