การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ




ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ปี 2564
ความเสี่ยงและโอกาส
ความหลากหลายทางชีวภาพคือส่วนสำคัญของความสมบูรณ์ในระบบนิเวศ มีผลกระทบเชิงบวกโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ อาทิ เป็นแหล่งรวบรวมอาหาร แหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ป้องกันอุทกภัย ซึ่งทรัพยากรและผลผลิตจากระบบนิเวศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อเนื่องยาวนาน อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ยังส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด การบุกรุกและทำลายแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งการสูญเสียสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศนั้น ส่งผลกระทบต่อกลไกการทำงานและประสิทธิภาพของระบบนิเวศ เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ ดังนั้นทุกภาคส่วนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบที่เกิดจากความไม่สมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
เป้าหมายปี 2573
ร้อยละ 100
ทุกพื้นที่การดำเนินการของธุรกิจ มีโครงการความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ หรือองค์กรอิสระภายนอกเพื่อช่วยสนับสนุนผลกระทบเชิบลบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายทางชีวภาพ

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2564
การเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้ช่วยกักเก็บคาร์บอน
ประเภทโครงการ | พื้นที่ (ไร่) | จำนวนต้นไม้ (ต้น) |
---|---|---|
![]() |
810 | 15,155 |
![]() |
21 | 16,307 |
![]() |
8 | 1,500 |
![]() |
4,914 | 195,278 |

แนวทางการดำเนินงาน
ผลงานวิจัยหลายฉบับรายงานผลกระทบการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ว่าความสมูบรณ์ของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการรุกล้ำพื้นที่ป่าน้อยลง อย่างไรก็ตามบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัท”) ยังคงมุ่งดำเนินงานด้านการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจเกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัท ด้วยเจตนารมณ์ปกป้องระบบนิเวศ ยึดมั่นเจตนารมณ์สีเขียว โดยประกาศใช้นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติเป็นแนวปฏิบัติครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของการดำเนินงานและกิจกรรมทางธุรกิจตลอดจนดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าธุรกิจลำดับที่ 1 รวมถึงคู่ค้าธุรกิจลำดับอื่นในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจด้วยความมุ่งมั่นที่จะไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss : NNL) พร้อมกับพิจารณาแนวทางยกระดับการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับแนวทางการสร้างสมดุลนิเวศเชิงบวก (Net Positive Impact : NPL) พร้อมกันนี้บริษัทยังประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านเครื่องมือการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Assessment Tool : IBAT) เพื่อหลีกเลี่ยงการดำเนินธุรกิจในพื้นที่คุ้มครองตามนิยามและกำหนดขององค์การระหว่างประเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature : IUCN) และพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดาโลกตามที่ประกาศของยูเนสโก (UNESCO) อีกทั้งกำหนดแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น (Mitigation Hierarchy) ตลอดจนร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกดำเนินโครงการด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ได้แก่ โครงการความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางบกและทางน้ำ เพื่อฟื้นฟูปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพให้อุดมสมบูรณ์
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพตามแนวปฏิบัติและนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติขององค์กร ครอบคลุมพื้นที่การดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ได้แก่ โรงงานผลิต ศูนย์กระจายสินค้า และพื้นที่การจำหน่ายสินค้า รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยพื้นที่การดำเนินงานและกิจกรรมทาธุรกิจของบริษัทไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคุ้มครอบใดๆ ตามนิยามและข้อกำหนดขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (The International Union for Conservation of Nature : IUCN) และไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตามที่ประกาศของยูเนสโก (UNESCO) บริษํทได้ทำการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพประเมินพื้นที่ดำเนินการและกิจกรรมทางธุรกิจหลักที่เกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้
พร้อมกันนี้ บริษัทมีแนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับขั้น (Mitigation Mierarchy) เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงรุนแรงด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งครอบคลุมการลด การบรรเทา ไปจนถึงการชดเชย นอกจากนี้ บริษัทเคารพและปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายท้องถิ่นทางด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ท้องถิ่นอย่างเครร่งครัด เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพจากการดำเนินธุรกิจ

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพโดยมีโครงการเชิงกลยุทธ์ที่โดดเด่น ดังนี้
ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศทางบก
บริษัทตระหนักถึงความสำัญของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดเป้าหมายการปลูกต้นไม้ จำนวน 646,000 ต้น ภายในปี 2568 พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานปลูกต้นไม้ยืนต้นเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน ดำเนินงานด้านฟื้นฟูป่าไม้และติดตามโครงการขับเคลื่อนสนับสนุนการปลูกต้นไม้เพื่อชุมชนและสังคม ภายใต้กรอบการดำเนินการ 4 ด้าน
ประเภทโครงการ | พื้นที่ (ไร่) | จำนวนต้นไม้ (ต้น) |
---|---|---|
![]() |
629 | 1,881 |
![]() |
54 | 237 |
![]() |
4 | 19 |
![]() |
113 | 6,007 |
![]() |
N/A | 5,011 |
![]() |
10 | 2,000 |

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ







นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรธรรมชาติ | ดาวน์โหลด |