การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืน

การจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ นำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ

47234.18  ตัน

ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล (Recycled Material/Recycled Content)

2284.50  ตัน

ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม

3217.40  ตัน

ลดการใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์พลาสติก และไม่ใช้พลาสติกที่เกินความจำเป็น จากการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์

1814.51  ตัน

ลดการใช้ถุงพลาสติกและพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single Use Plastic)

24695.81  ตัน

บรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภคที่ผ่านการนำกลับมาใช้ใหม่

2701.40  ตัน

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


โปรแกรมการวิจัย ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัท

โปรแกรมการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัท

โปรแกรมยกเลิกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล

โปรแกรมลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

โปรแกรมการเรียกกลับบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภค บริโภค อาทิ โครงการถังคัดแยกขยะ โครงการ Recycling Station

โปรแกรมการนำบรรจุภัณฑ์หลังการอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่ อาทิ โครงการเสื้อพนักงานผลิตจากขวดพลาสติก โครงการเปลี่ยนขวดพลาสติกเปล่าให้เป็นประโยชน์

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ
การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า
การจัดส่งและกระจายสินค้า

ชุมชน พนักงาน ลูกค้า

การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษบกิจที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

8.4 พัฒนาความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิต และพยายามที่จะตัดความเชื่อมโยงระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
12.5 ลดการผลิตของเสียโดยการป้องกัน การลด การแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ และการนำมาใช้ซ้ำ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ร้อยละ  100

บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท (Private Brand) ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

บรรจุภัณฑ์พลาสติก

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด

การใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเฉลี่ยต่อสาขา

สัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก จำแนกตามประเภท

การจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ

การลดใช้พลาสติกจากการออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์

การลดใช้ถุงพลาสติกและพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

การนำบรรจุภัณฑ์หลังจากอุปโภคบริโภคกลับมาใช้ใหม่

บรรจุภัณฑ์ที่ไม่พลาสติก

การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช่พลาสติก ปี 2565 จำแนกตามประเภท ปริมาณน้ำหนักที่ใช้ทั้งหมด (ต้น) นำมาใช้ใหม่และหรือได้รับการรับรอง (ร้อยละ) เป้าหมายปี 2565 (ร้อยละ)
  ไม้ กระดาษ

7430.67

74.03

65

  โลหะ (เหล็ก อลูมิเนียม)

14.81

100

100

  แก้ว

547.25

100

100

รายการบรรจุภัณฑ์ที่เรียกคืน

1350.58  ตัน

ขวดน้ำดื่มพลาสติก

32936.13  ตัน

ลังกระดาษ

ความเสี่ยงและโอกาส


ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขยะบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกนั้น ถูกจัดเป็นหนึ่งในประเด็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญที่สุด เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติที่มีความแข็งแรง ทนทาน ผลิตได้ง่าย และต้นทุกต่ำ จึงทำให้ความต้องการใช้และปริมาณการผลิตพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับความสามารถในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในปัจจุบัน โดยผลการศึกษาพบว่า อัตราการรีไซเคิลหรือการจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกต้องนั้นค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ทำให้ขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เช่น ปัญหาไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและสัตว์น้ำ เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลต่อความปลอดภัยด้านโภชนาการของมนุษย์และก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ นอกจากนี้ บรรจุภัณฑ์ส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งมีส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่สังเคราะห์ขึ้นไม่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ กลุ่มพนักงานในร้านและศูนย์กระจายสินค้าและกลุ่มลูกค้าที่มีความใกล้ชิดและสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์โดยตรง ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจด้านการจำหน่ายสินค้าทั้งในรูปแบบค้าปลีกและค้าส่งนั้น ถือเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาขยะพลาสติก เนื่องจากผลิตภัณฑ์มีความจำเป็นในการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อห่อหุ้มผลิตภัณฑ์และคงไว้ซึ่งคุณภาพ บรรจุภัณฑ์บางประเภทไม่สามารถย่อยสลายหรือนำมาใช้ประโยชน์อื่นได้ รวมถึงอาจมีส่วนประกอบของวัสดุที่เป็นสารเคมีอันตรายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่สามารถพัฒนานวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลหรือย่อยสลายทางธรรมชาติได้ง่าย ตลอดจนเป็นมิตรต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะเป็นส่วนสำคัญในการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาขยะบรรจุภัณฑ์ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดสีเขียวที่ผู้บริโภคมีแนวโน้มให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การบริหารจัดการนวัตกรรมและกระบวนการบริหารจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกในภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ("บริษัท") ติดตามกฎหมายข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะบรรจุภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เท่าทันข้อบังคับและติดตามข้อกำหนดให้เป็นปัจจุบัน ที่อาจมีการห้ามใช้บรรจุภัณฑ์บางประเภทในการห่อหุ้มและขนส่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจโดยรวมของบริษัท นอกจากนี้ บริษัทกำหนดนโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างที่ยั่งยืน โดยมีแนวทางการดำเนินงานที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร การออกแบบและการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ควบคุมของบริษัท (Private Brand) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุทางเลือกที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Compostable Materials) และการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาใช้ซ้ำ เป็นต้น โดยกระบวนการดำเนินงานเหล่านี้ มีการเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ อาทิ สัดส่วนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก (ตัน) ซึ่งจำแนกตามประเภท และปริมาณน้ำหนักที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เพื่อให้บริษัทสามารถตรวจสอบ วิเคราะห์ และนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากขยะบรรจุภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากองค์กรให้น้อยที่สุด พร้อมกันนี้ บริษัททบทวนผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ตลอดจนเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือยิ่งไปกว่านั้น บริษํทยังมีการติดตามและรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน อาทิ ผลประกอบการของบริษัท ผลกระทบที่อาจส่งผลต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายและข่าวสารในระดับมหภาคทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เและเป็นฐานข้อมูลสำหรับการกำหนดหรือทบทวนนโยบาย และแผนการดำเนินงานในอนาคต

โปรแกรมการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

บริษัทตั้งเป้าหมายลดปริมาณขยะพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ที่ส่งเข้ากระบวนการฝังกลบให้น้อยที่สุด ผ่านการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะ โดยแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกของสินค้าในการควบคุมของบริษัท (Private Brand) สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) นำมาใช้ใหม่ (Recycle) หรือสามารถย่อยสลายตัวตามธรรมชาติได้ (Compostable) ภายใต้แนวคิด "Reduce-Reuse-Recycle (3R)" โดยดำเนินภายใต้ 3 มาตรการ ดังนี้

ลดการใช้พลาสติก
ณ แหล่งกำเนิด
--------

กำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางตอบสนองการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม




ลด และทดแทนการใช้พลาสติก ณ ขั้นตอนการบริโภค
--------

ริเริ่มโครงการกลยุทธ์ในการลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) พร้อมทั้งริเริ่มแคมเปญเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้า


ลดขยะบรรจุภัณฑ์ ทั้งพลาสติกและไม่ใช่พลาสติกหลังการบริโภค
--------

ริเริ่มโครงการกลยุทธ์ที่เกิดจากการนำพลาสติกหลังกระบวนการบริโภคมาใช้ใหม่ ตามแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ร่วมกับคู่ค้า NGOs ชุมชน ภาครัฐ องค์กรระดับท้องถิ่น องค์กรระดับโลกเพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินการนำขยะพลาสติกหลังการบริโภคมาใช้ใหม่

ทั้งนี้ ในปี 2565 บริษัทดำเนินโครงการด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายตามมาตรการลดพลาสติกอย่างเป็นระบบ ซึ่งมีการตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานในทุกขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลด้านผลประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ เช่น ปริมาณบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด ปริมาณการลดลงของขยะบรรจุภัณฑ์ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง เป็นต้น โดยมีโครงการที่โดดเด่นในปี 2565 ดังนี้

การพัฒนาบรรจุภัณฑ์บนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และการออกอแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าในการควบคุมของบริษัท ลดการใช้พลาสติก ณ แหล่งกำเนิด

โครงการลดการใช้พลาสติจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับคู่ค้าลดการใช้พลาสติกจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความหนาและรูปแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานของกลุ่มถ้วยกับข้าว ถ้วยขนมหวานทานเย็น และถาดสลัดอิ่มคุ้ม

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

48.46  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

89.63  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2084  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง พัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวผัดปู กล่องครึ่งอิ่ม ถาด 1 หลุม

ลดปริมาณการใช้พลาสติกและใช้ฟิล์มปิดฝาถาด (Top Seal) แทนพลาสติกเคลือบฝาบนติดสติ๊กเกอร์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

114.94  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

17.8  ล้านชิ้น

ลดปริมาณการสร้างขยะจากการใช้สติกเกอร์

212.57  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4944  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการซองแซนด์วิชอบร้อนแบบถือได้

ลดการใช้ถุงหูหิ้ว ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single use) และลดการใช้กระดาษจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์แซนด์วิชอบร้อนหลังจากอุ่นร้อน โดยเปลี่ยนรูปแบบจากกล่องกระดาษอาร์ตการ์ด (Art card) เป็นซองกระดาษกันไขมัน (Greaseproof) ชนิดบางที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme (PEFC)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

190.81  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

368.49  ตัน

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

4097.38  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

95288  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการถาดอิ่มคุ้มเปลี่ยนปลอก (Sleeve) กระดาษเป็นแถบรัดพลาสติก (Banding plastic)

ลดการใช้พลาสติกและกระดาษ จากการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ถาดอิ่มคุ้มสำหรับเมนู ข้าวไก่กระเทียม กะเพราไก่คั่ว ข้าวผัดหมู ข้าวไก่ทอด โดยการยกเลิกการใช้ฟิล์มหด (Shrink film) และเปลี่ยนจากปลอก (Sleeve) กระดาษเป็นแถบรัดพลาสติก (Banding plastic)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

26.38  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

274.34  ตัน

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

1035.79  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

24088  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ถาด 2 หลุม

ออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ลดใช้พลาสติกและใช้ฟิล์มปิดฝาถาดแทนพลาสติกเคลือบฝาบนติดสติกเกอร์

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

23.11  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

3.99  ล้านชิ้น

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

42.74  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

994  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง ฟิล์มปิดผนึกพิมพ์ลายสำหรับบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาหารไทยแช่เย็น

บริษัท ซีพีแรม จำกัด พัฒนานวัตกรรมฟิล์มลามิเนตที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์กลุ่มอาหารไทยแช่เย็น สามารถพิมพ์ลายลงบนฟิล์มทดแทนการใช้สติกเกอร์ ซึ่งจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำหลักการ 3Rs (Reduce Reuse and Recycle) มาเป็นแนวปฏิบัติ ลดปริมาณการใช้พลาสติกในทุกกระบวนการผลิต

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

15  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

50  ล้านชิ้น

ลดปริมาณการใช้กระดาษ

27.74  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

645  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น

*จากยอดขายเมนู ข้าวกะเพราหมูสับ ข้าวกะเพราไข่ดาว ข้าวพะแนงหมูไข่เจียว ข้าวผิดปู และผัดซีอิ๊วหมู


โครงการต่อเนื่อง พัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยหอมทองลดขนาดความหนาของถุงกล้วยหอมทอง

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

28.94  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

53.52  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

1245  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการต่อเนื่อง พัฒนาฝายกดื่มทดแทนการใช้หลอดพลาสติกใช้ในร้าน All Cafe ทุกสาขาทั่วประเทศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

123.50  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

345  ล้านชิ้น

ลดปริมาณการสร้างขยะจากการใช้หลอดและกระดาษหุ้มหลอด

228.41  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

5312  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการลดความหนาของบรรจุภัณฑ์ม้วนฟิล์มสำหรับสินค้าอุ่นร้อน

บริษัท ซีพีแรม จำกัด พัฒนานวัตกรรมการผลิตม้วนฟิล์มที่ทันสมัยสามารถลดความหนาของบรรจุภัณฑ์ ม้วนฟิล์มที่ใช้ในกลุ่มสินค้าอุ่นร้อนด้วยหม้ออบลม โดยความหนาของพลาสติกลดจาก 60 ไมครอนเหลือ 40 ไมครอน โดยนำหนักลดลงคิดเป็น 0.97 กรัมต่อชิ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1.96  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

1.65  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

38  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการทดแทนถาดพลาสติกด้วยบรรจุภัณฑ์กระดาษคราฟท์ Food Grande

บริษัท ซีพีแรม จำกัด พัฒนาบรรจุภัณฑ์กระดาษคราฟท์ที่ปราศจากสารเคมี หรือสิ่งปนเปื้อน มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้เป็นภาชนะใส่อาหารได้อย่างปลอดภัย ทดแทนการใช้ถาดพลาสติก ซึ่งสามารถลดการใช้พลาสติก 7.09 กรัมต่อชิ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1.41  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

1.87  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

43  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการลดความหนาของแก้วกระดาษ เครื่องดื่มเย็นใช้กับกลุ่มสินค้า Non All Cafe ได้แก่ เครื่องดื่มกัฟ (Gulp) เครื่องดื่มปั่นเป็นเกล็ดสเลอปี้ (Slurpee) และเครื่องดื่มแบบกด (Jet Spray)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

120.24  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

432.57  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

10060  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์จากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน

  • ซองกระดาษสำหรับขนมปังปิ้งที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ได้ โดยเปลี่ยนวัสดุจากกระดาษเคลือบพอลิเอทิลีน (PE) เป็นกระดาษไขมัน (Greaseproof) ที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme (PEFC)
  • ซองแซนด์วิชอบร้อนจากกระดาษที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme (PEFC)
  • ทดแทนพลาสติกหุ้มหลอด ด้วยกระดาษที่ได้รับการรับรองจากองค์กร Forest Stewardship Council (FSC)
  • กระดาษใบเสร็จร้น 7-Eleven ได้รับการรับรองจากองค์กร Forest Stewardship Council (FSC)

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1512.19  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

35167  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable)

  • แก้วรักษ์โลก ผลิตจากกระดาษเคลือบพิลิบิวทิลีนซัคซิเนต (Polybutylene Succinate: PBS) สำหรับเครื่องดื่มร้อน เย็นในร้าน 7-Eleven สาขาพื้นที่เกาะ สถานศึกษา และสำนักงานจำนวน 874 สาขา
  • ทดแทนพลาสติกคนกาแฟ ด้วยไม้คนกาแฟสลายตัวได้ทางชีวภาพ
  • ไม้เสียบลูกชิ้นสลายตัวได้ทางชีวภาพ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

101.58  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2362  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล (Recycled Content Material)

  • วัสดุสิ้นเปลืองในร้าน 7-Eleven ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล อาทิ ถุงขยะ ถุงหูหิ้ว
  • ถุงขยะที่ใช้ในสำนักงาน และศูนย์กระจายสินค้า บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  • พาเลทวางน้ำที่ใช้ในร้าน 7-Elelven บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  • ตะกร้าชอปปิง (Shopping) ที่ใช้ในร้าน 7-Eleven บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
  • กล่องกระดาษลูกฟูกผลิตจากกระดาษรีไซเคิล บริษัท ซีพีแรม จำกัด

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1796.83  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

8873.33  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

206426  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ส่งเสริมการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable)

ถ.ถุงทนทานได้รับการออกแบบให้มีความทนทาน สามารถนำมาใช้ซ้ำได้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

8768.19  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติก

127014.20  ต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2953819  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการยกเลิกวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลในสินค้าแบรนด์โลตัส (Lotus's Brand)

โลตัสกำหนดเป้าหมายในการยกเลิกวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลในสินค้าแบรนด์โลตัส (Own Brand) ทั้งหมด ภายในปี 2573 เพื่อช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ในปี 2565 โลตัสสามารถยกเลิกบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลทุกกลุ่มสินค้าแบรนด์ ได้ถึงร้อยละ 98.8 นอกจากนี้ โลตัสยังตระหนักถึงความสำคัญของการสนับสนุนพฤติกรรมผู้บริโภคให้คัดแยกขยะ เพื่อให้ระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (Closed-Loop Pacaging System) และการบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นไปอย่างครบวงจร รวมถึงยังมุ่งสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจให้แก่ชุมชน ส่งเสริมการรีไซเคิล ผ่านการขยายจุดรับขยะบรรจุภัณฑ์สำหรับการรีไซเคิลที่สาขาทั่วประเทศ

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

12.5  ตัน

ลดวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล


โครงการ "แม็คโครรักษ์โลก" (Say Hi to Bio Say No to Foam)

บริษัทมีเป้าหมายหยุดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์โฟมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งในศูนย์จำหน่ายสินค้าทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งดำเนินโครงการครั้งแรกในปี 2562 โดยเริ่มจากสาขาที่อยู่ใกล้บริเวณแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ก่อนขยายให้ครอบคลุมทุกสาขา ควบคู่ไปกับการจัดสัมมนาให้ความรู้และจัดกิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมการขายในราคาประหยัด จนโครงการนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการร้านอาหาร ร้านค้า ผู้บริโภคทั่วไป เห็นได้จากการเติบโตที่สูงขึ้นของกลุ่มบรรจุภรํฑณืย่อยสลายได้ที่เติบโตขึ้น ในปี 2565 ต่อยอดความสำเร็จด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ และมีผลิตภัณฑ์รักษ์โลกมากกว่า 530 รายการ ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์รวมบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ ปลุกกระแสเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกค้าทั่วไปหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1542.33  ตัน หรือ ร้อยละ14

ยอดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพิ่มขึ้น

ร้อยละ  100

สาขาทั้งหมดที่งดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ประเภทโฟม

107  ล้านชิ้น

ตลอดโครงการตั้งแต่ปี 2562 สินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสามารถลดขยะโฟมบรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งไปได้

ลดและทดแทนการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastic) ณ ขั้นตอนการบริโภค ส่งเสริมผู้บริโภคและพนักงาน ด้วยแนวคิด "ลดรับ ลดให้ = ลดใช้"

โครงการต่อเนื่อง รวมพลังคนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก

บริษัทเชิญชวนให้ลูกค้าพกพาถุงผ้ามาใช้บริการตามร้านสะดวกซื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกและรณรงค์ให้ใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทุกการปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกของลูกค้าจะแปลงเป็นมูลค่าเพื่อการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ รวมถึงสมทบทุนให้กับโรงพยาบาลนำไปใช้ประโยชน์ในการซื้อเครื่องมือที่จำเป็น นอกจากนี้ยังส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และสมทบทุนให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา โรงเรียน กลุ่มเปราะบาง และหน่วยงานอื่นๆ ในปี 2565 มีการขยายผลเชิญชวนให้ลูกค้าปฏิเสธการรับช้อน ส้อม หลอด แก้ว และถุงพลาสติก อย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ "ลด และ ทดแทน" โดยมียอดการลดใช้ถุงพลาสติก 3,929.64 ล้านใบและพลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) ได้แก่ ช้อน ส้อม หลอด และแก้ว จำนวน 1,262 ล้านชิ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

24643.92  ตัน

ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง

250612.47  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

5828197  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

ร้าน 7-Eleven รณรงค์งดแจกถุงขนาดเล็กยกเว้นของร้อน และเปลี่ยนมาใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ในสาขาที่ตั้งบนเกาะ หรือตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จำนวนกว่า 1,000 สาขา


โครงการ Green Coffee Shop

ร้านกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Coffee Shop) เป็นโครงการความร่วมมือของบริษัทกับผู้ประกอบการ สร้างการมีส่วนร่วมช่วยลดขยะพลาสติก ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยกขยะภายในร้านกาแฟ เพื่อสนับสนุนให้ร้านสามารถส่งขยะกลับไปสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือนำมาใช้ซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมประกาศเจตนารมณ์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการลดขยะมูลฝอยประเภทแก้วพลาสติกและหลอดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง สำหรับร้านกาแฟและเบเกอรี่เฮ้าส์ ในกลุ่ม บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ทั้งหมด 4 แบรนด์ ได้แก่

  • ALL Cafe (ออลล์ คาเฟ่) นำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้อย่างแก้วกระดาษมาใช้ภายในร้านค้า เพื่อการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวท้ิง เช่น ฝาสำหรับยกดื่มแทนหลอดพลาสติก ที่คนกาแฟแบบไม้ ถุงพลาสติกที่มีความทนทานสามารถใช้ซ้ำได้ เป็นต้น
  • Kudsan Bakery & Coffee (คัดสรร เบเกอรี่แอนด์คอฟฟี่) นำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ ร้อยละ 100 ทั้งในแบบใส่เครื่องดื่มร้อนและแบบใส่เครื่องดื่มเย็นมาใช้ภายในร้านค้า เช่น แก้วกระดาษ ซองกระดาษสำหรับใส่เบเกอรี่ การใช้หลอดกระดาษแทนหลอดพลาสติก การใช้ที่คนกาแฟแบบไม้แทนพลาสติก เป็นต้น
  • Bellinee's Bake & Brew (เบลลินี่ เบค แอนด์ บรู) มีบริการถุงหิ้วกระดาษ ถุงกระดาษใส่ขนม แก้วกระดาษสำหรับเครื่องดื่มร้อน กระเป๋าผ้ายีนส์เบลลินี่ที่มีดีไซน์สวยงาม และสามารถนำกลับไปใช้ซ้ำได้
  • กาแฟมวลชน มีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น แก้วไบโอคัพ กระดาษทิชชู่ที่สามารถย่อยสลายได้ รวมถึงของตกแต่งภายในร้านค้าที่ผลิตจากวัสดุไบโอ ที่มีส่วนผสมของมันสำปะหลังและกากกาแฟ เป็นต้น

สร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา คัดแยก และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled) ลดขยะบรรจุภัณฑ์ ทั้งพลาสติกและไม่ใช่พลาสติกหลังการอุปโภคบริโภค สู่การฝังกลบ

โครงการ "ถังคัดแยกขยะ"

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จัดให้มีโครงการ "ถังคัดแยกขยะ" รณรงค์ให้คนไทยช่วยกันคัดแยกขยะพลาสติก ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อย่างยั่งยืน ในปี 2565 บริษัทวางถังคัดแยกขยะบริเวณด้านหน้าร้าน 7-Eleven จำนวน 12,247 สาขา ทั่วประเทศ พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับ 7 มหาวิทยาลัย และเพจลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป วึ่งเป็นการระดมไอเดียจากคนรุ่นใหม่ผลักดันโครงการนวัตกรรม นำไปสู่การรณรงค์ให้เกิดการแยกขยะที่ถูกต้อง เป็นการต่อยอดสู่โครงการ "ถังขยะอัจฉริยะ" (Circular Bin) สำหรับใช้บนแอปพลิเคชัน "กรีนทูเก็ท" (Green2Get) ผ่านการเปลี่ยนถังขยะหน้าร้าน 7-Elelven เป็นถังขยะอัจฉริยะ (Circular Bin) กว่า 60 แห่ง ใน 7 มหาวิทยาลัย พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล เมื่อผู้ใช้สแกนบาร์โค้ดสินค้าใดๆ บริเวณหน้าถังขยะ แอปพลิเคชันจะบอกวิธีการคัดแยกขยะพร้อมแนะนำถังขยะที่ควรทิ้งให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวีนน (Circular Economy) อย่างมีประสิทธิภาพ


โครงการ Recycling Station และถุงคืนชีพ

โลตัสมีบทบาทอย่างต่อเนื่องในการรณรงค์และสนับสนุนให้ลูกค้าและผู้บริโภคนำบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยใช้ประโยชน์จากการมีสาขาครอบคลุมในหลายพื้นที่และสามารถเข้าถึงชุมชนเป็นจุดแข็งในการสร้างช่องทางการรับกลับวัตถุดิบเพื่อการรีไซเคิล โดยจัดตั้งจุดรับบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล (Recycling Station) เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้าตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลูกค้าสามารถนำบรรจุภัณฑ์รีไซเคิลประเภทต่างๆ มาวางไว้ตามจุดรับที่บริษัทจัดไว้ให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้จะถูกเก็บเข้ามาอยู่ในระบบและสามารถนำไปรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยมีจุดรับขยะบรรจุภัณฑ์สำหรับแต่ละประเภท ได้แก่

  • จุดรับกล่องกระดาษ โลตัสติดตั้งจุดรับกล่องกระดาษจากลูกค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา และกล่องกระดาษจากการดำเนินงานในธุรกิจของโลตัสเอง ปัจจุบันรวมได้ทั้งสิ้นกว่า 32,936.13 ตัน โดยส่วนหนึ่งได้ร่วมมือกับ SCGP ในการนำกล่องและลังกระดาษไปผลิตเป็นเตียงสนามกระดาษ มอบให้กับโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ จำนวน 3,500 เตรียง เพื่อช่วยผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (Boxes to Beds)
  • จุดรับพลาสติกสะอาด โดยร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจ ผ่านโครงการ "มือวิเศษ X วน" และโครงการส่งพลาสติกกลับบ้าน ปัจจุบัน สามารถเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติก 2.264 ตัน กลับเข้าระบบเพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นถึงพลาสติกแบบหนาใช้ซ้ำ เป็นต้น
  • จุดรับขวดน้ำพลาสติกใส (PET) จากเครื่อง Revers Vending Machine ซึ่งจะเป็นการแลกเลปี่ยนจากขวดพลาสติกใสเป็นโลตัสคอยน์ หรือไข่ จากโครงการ ข.ขวดแลก ข.ไข่ ซึ่งโลตัสคอยน์สามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดและสิทธิพิเศษต่างๆ ได้ ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการจนถึงปัจจุบันสามารถเก็บขวดพลาสติกกว่า 684,861 ใบ กลับเข้าระบบเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกวิธีและได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมา อาทิ โครงการถุงผ้ารักษ์โลก หรือ เสื้อรักษ์โลก เป็นต้น
  • โครงการโค้กชวนแยกแลกลุ้น ปี 2 เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Lotus และ Coca Cola และ Trash Lucky เพื่อเป็นจุดรับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับเข้าระบบเพื่อนำไปรีไซเคิล ซึ่งเป็นการรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนได้คัดแยกขยะในครัวเรือนตามประเภทที่กำหนด (พลาสติก แก้ว กระดาษ โลหะ) เพื่อนำไปลุ้นรับของรางวัลมากมาย ซึ่งทุกสาขาที่เข้าร่วมดครงการ จำนวน 6 สาขา สามารถเก็บบรรจุภัณฑ์เข้าระบบได้ จำนวน 1,711 กิโลกรัม ในระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เริ่มโครงการ คือ เดือน ตุลาคม - ธันวาคม 2565

นอกจากนี้ โลตัส ยกเลิกการแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งตามนโยบายของภาครัฐอย่างเคร่งครัด ตั้งแต่ปี 2563 และได้พัฒนา "ถุงคืนชีพ" ถุงพลาสติกแบบใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ผลิตจากวัสดุรีไซเคิลจำหน่ายให้สำหรับลูกค้าที่มีความจำเป็นเท่านั้น โดยลูกค้าสามารถนำมาแลกใบใหม่ได้ฟรีหากใบเก่าชำรุด ถุงคืนชีพที่ชำรุดทั้งหมดจะถูกนำไปรีไซเคิลเป็นถุงคืนชีพใบใหม่ เพื่อลดการใช้พลาสติก

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

9088  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกจากโครงการถุงคืนชีพ

363.52  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

8454  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการ "ถุงหูหิ้วร้าน 7-Eleven" จากฟิล์มพันพาเลทศูนย์กระจายสินค้า

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับคู่ค้าธุรกิจ นำขยะพลาสติกจากฟิล์มพันพาเลทศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ มารีไซเคิลผลิตเป็นถุงหูหิ้วสำหรับใช้ในร้าน 7-Eleven ความหนา 37 ไมครอน ซึ่งมีคุณสมบัติทนทานสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

761.05  ตัน

ลดปริมาณการใช้พลาสติกจากโครงการถุงคืนชีพ

1121.29  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

26077  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการ ตระกร้าชอปปิงในร้าน 7-Eleven จากลังเบรคเคสชำรุดศูนย์กระจายสินค้า

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) นำลังเบรคเคสที่ชำรุดมาดัดแปลงและรีไซเคิลเป็นตะกร้าสำหรับใช้ชอปปิงในร้าน 7-Eleven เพื่อเป็นการลดขยะภายใรร้าน และเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

57.52  ตัน

ลดปริมาณขยะลังเบรคเคส

174.26  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

4052  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการ "เสื้อพนักงาน" จากขวดพลาสติก

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) นำขวดพลาสติกมารีไซเคิลเป็นเสื้อเครื่องแบบของพนักงานร้าน 7-Eleven โดยใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลขนนาด 1.5 ลิตร จำนวน 4 ขวด ต่อการผลิตเสื้อพนักงาน 1 ตัว และผลิตเสื้อโปโลของพนักงานศูนย์กระจายสินค้า โดยใช้ขวดพลาสติกขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 8 ขวด ต่อการผลิตเสื้อพนักงาน 1 ตัว รวมถึงเสื้อโปโลสำหรับพนักงานสายสำนักงาน โดยใช้ขวดพลาสติกรีไซเคิลขนาด 0.6 ลิตร จำนวน 12 ขวด ต่อเสื้อ 1 ตัว ปัจจุบันสามารถผลิตเสื้อพนักงานกว่า 755,790 ตัว และสามารถลดปริมาณขวดพลาสติกเพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลไปแล้วกว่า 3,330,308 ขวด

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

103.62  ตัน

ลดปริมาณขยะพลาสติกสู่การฝังกลบ

120.31  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

2798  ต้น

เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ยืนต้น


โครงการ เพิ่มมูลค่าการจัดการขยะพลาสติกที่ปนเปื้อในโรงงาน

บริษัท ซีพีแรม จำกัด นำขยะพลาสติกที่ปกเปื้อนจากกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ส่งให้บริษัทภายนอกนำไปแปรรูปเป็นขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fual: RDF) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ผลิตมาจากขยะและมีค่าความร้อนจำเพาะสูง นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่เป็นพลังงานสะอาด

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1128.29  ตัน

ลดปริมาณขยะพลาสติก


โครงการ "ขวดเปล่า ไม่สูญเปล่า"

การเริ่มต้นแยกขยะขวดเปล่าพลาสติกสามารถสร้างประโยชน์ได้หลายมิติ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) จึงรวบรวมขวดน้ำพลาสติก (PET) เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงช่วยลดใช้ทรัพยากรโลก ทำนุบำรุงศาสนาสร้างอาชีพ และช่วยสนับสนุนทางสาธารณสุขอีกด้วย

การดำเนินงาน ผลลัพธ์ ปี 2565
บริษัทเชิญชวนพนักงานร่วมกันนำขวด PET มาหย่อนในจุดรับขวดที่สำนักงานใหญ่หรือศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร



ขวดน้ำพลาสติกใสที่รวบรวมได้กว่า  2.4  ล้านขวด
สามารถแปรรูปให้กลายเป็นเสื้อพนักงานได้ 120000  ตัว
เทียบเท่ากับการลดปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 73.92  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
บริษัทร่วมมือกับวัดจากแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ รวบรวมขวด PET ที่ใช้แล้ว จากศูนย์จัดจำหน่ายสินค้าบริเวณใกล้เคียงกับวัดจากแดง เพื่อนำไปแปรรูปเป็นจีวรพระ ในขณะที่สาขาที่อยู่ห่างไกลจะรวมขวดน้ำ PET ขาย และนำเงินที่ได้บริจาคให้กับวัดจากแดง
ขวดน้ำดื่ม PET ที่รับบริจาคให้วัดจากแดงกว่า 2.32  ล้านขวด (38.76 ตัน)
จำนวนเงินที่บริจาคให้วัดจากแดงกว่า 126636  บาท
เทียบเท่ากับการลดปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 111.82  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
บริษัทร่วมมือกับบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) นำขวด PET มาแปรรูปเป็นชุด PPE คุณภาพสูง โดยเปิดจุดรับบริจาค นำร่องที่ศูนย์จำหน่ายสนิค้าแม็คโคร 6 สาขา ประกอบด้วย สาขานครปฐม สาขาศาลายา สาขาเพชรเกษม สาขาบางบอน สาขาจรัญสนิทวงศ์ และสาขาแจ้งวัฒนะ ขวดน้ำพลาสติกใสที่รับบริจาคกว่า 285659  ขวด (4.86 ตัน)
เทียบเท่ากับการลดปริมาณปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 4.86  ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์นวัตกรรม

บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) พัฒนาบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าแซนด์วิชอบร้อนเพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โดยโครงการมีการกำหนดแผนและระยะเวลาในการดำเนินการทั้งหมด 4 เฟส คือ 1) ออกแบบทดลองในสเกล Lap 2) ทดลองใช้งานในร้าน 7-Eleven จำนวน 110 สาขา 3) ทดลองขยายผลใช้งานในร้าน 7-Eleven ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล (BE) ประมาณ 6,000 สาขา 4) ขยายผลการใช้งานในร้าน 7-Eleven ทั่วประเทศ โดยในปัจจุบัน โครงการดำเนินการอยู่ในเฟสที่ 4 โดยแนวคิดในการพัฒนาจำเป็นต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่

  • ด้านสินค้า ต้องมีลักษณะและคุณภาพเหมือนเดิม
  • ด้านลูกค้าทั้งลูกค้าภายใน (Operation) และลูกค้าภายนอก (Consumer) ต้องยอมรับการใช้งาน
  • ด้านสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ต้องสามารถรีไซเคิล (Recycled) ได้และเป็นวัสดุที่ได้รับการรับรองว่ามาจากแหล่งปลูกป่าทดแทน (Sustainably-Managed Renewable Resources)
  • ด้านเศรษฐศาสตร์ ต้องไม่กระทบกับต้นทุนโดยรวมของสินค้า ทำให้บริษัทยังคงจำหน่ายสินค้าในราคาเดิมที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุน-ผลกำไรของบริษัท

โดยการทดลองการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้ากลุ่มแซด์วิชอบร้อนนั้นมีรายละเอียดดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ออกแบบให้กล่องกระดาษบรรจุแซนด์วิชร้อนนั้นมีหูหิ้ว สามารถถือได้โดยไม่ต้องใช้ถุงพลาสติกซ้อนอีกชั้น โดยผลตอบรับจากลูกค้าคือ ถือไม่สะดวก กังวลเรื่องของความสะอาดและการปนเปื้อนได้ง่ายจากการไม่มีถุงหูหิ้ว
  • ครั้งที่ 2 ออกแบบบรรจุภัณฑ์เป็นรูปแบบของซองกระดาษ ซึ่งมีคุณสมบัติระบายความชื้นที่เหมาะสมจึงไม่จำเป็นต้องเจาะรูเพื่อระบายอากาศและความชื้นตัวซองสามารถพับถือได้ โดยผลตอบรับจากลูกค้าคือ อยู่ในระดับที่พึงพอใจ ซึ่งในความพยายามครั้งที่ 2 นี้ นวัตกรรมของบรรจุภัณฑ์ที่คิดค้นนั้น สามารถตอบโจทย์แนวคิดการพัฒนาได้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน ในข้างต้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

คุณภาพของสินค้าหลังการส่งมอบดีกว่าหรือเทียบเท่าการใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิม

สามารถป้องกันสินค้าจากการปนเปื้อนจาสภาวะภายนอก

ใช้กระดาษที่ได้รับการรับรองว่ามาจากแหล่งป่าปลูกทดแทน และสามารถเข้าสู่กระบวนการ Recycle ได้

ไม่กระทบต่อต้นทุนโดยรวมของสินค้า

200000  บาท

งบประมาณที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา

190.81  ตันต่อปี

ลดปริมาณการใช้พลาสติกจากถุงหูหิ้วชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งได้ราว

368.49  ตันต่อปี

ลดการใช้กระดาษจากการเปลี่ยนชนิดของกระดาษประมาณ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านบรรจุภัณฑ์ ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า