แนวทางการดำเนินงาน
บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจที่มีรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ภายใต้นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน รวมถึงจริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า โดยกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าภายใต้กระบวนการจัดหา และบริหารห่วงโซ่อุปทาน อย่างรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของลูกค้า ชุมชน และสังคม นอกจากนี้ยังส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์กลุ่มออร์แกนิค โดยมีการคำนึงถึงระยะทางจากพื้นที่เพาะปลูกถึงสถานที่จำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพความสดใหม่ของสินค้าระหว่างการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนากระบวนการทำงานที่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทมุ่งให้ความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ
กระบวนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า
ในปี 2565 มีวัตถุดิบทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้
การรับรองมาตรฐานด้านการผลิตอย่างยั่งยืน คุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร | |||
---|---|---|---|
สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร | รายการมาตรฐาน | สินค้าที่ได้รับการรับรอง | ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด |
![]() |
RSPO | ร้อยละ 30.65 | ร้อยละ 15.25 |
![]() |
RTRS | ร้อยละ 45.28 | ร้อยละ 3.94 |
![]() |
BONSUCRO | ร้อยละ 36.54 | ร้อยละ 23.97 |
![]() |
Utz Certified Core Code of Conduct, Fairtrade Standard for Cocoa, Rainforest Alliance, FSS C22000, ISO2451: 2017, GAP | ร้อยละ 4.81 | ร้อยละ 3.00 |
![]() |
Utz Certified Core Code of Conduct, Rainforest Alliance, GAP | ร้อยละ 33.83 | ร้อยละ 7.91 |
![]() |
GAP, HACCP | ร้อยละ 0.76 | ร้อยละ 29.65 |
![]() |
GAP, Q Organic | ร้อยละ 18.09 | ร้อยละ 16.27 |
สวัสดิภาพสัตว์
บริษัทให้ความสำคัญในการคัดสรรวัตถุดิบจากคู่ค้าที่ใส่ใจในด้านสวัสดิภาพสัตว์ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอย่างยั่งยืน โดยให้การสนับสนุน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักในการกำหนดให้มีนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ จากสถาบันและองค์กรชั้นนำระดับสากล อาทิ การจัดอันดับการจัดการสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม (Business Benchmark on Farm Animal Welfare: BBFAW) เพื่อแสดงถึงความมมุ่งมั่นในองค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ | |||
---|---|---|---|
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ | รายการมาตรฐาน | สินค้าที่ได้รับการรับรอง | ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด |
![]() |
ASC, BAP, BRC, GAP | ร้อยละ 39.42 | ร้อยละ 12.98 |
![]() |
BBFAW, GAP | ร้อยละ 27.71 | ร้อยละ 1.85 |
![]() |
GAP, GHP | ร้อยละ 42.95 | ร้อยละ 12.54 |
![]() |
BBFAW, Livestock OK, GAP | ร้อยละ 84.94 | ร้อยละ 36.98 |
![]() |
BBFAW, Livestock OK, BRC, GAP | ร้อยละ 97.62 | ร้อยละ 27.79 |
![]() |
MSC, BRC, GAP | ร้อยละ 63.38 | ร้อยละ 7.87 |
ใส่ใจคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจนถึงมือผู้บริโภค
ซีพี ออลล์ ดำเนินงานด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย บริษัทได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต รับสินค้า การจัดและกระจายสินค้า รวมถึงการจำหน่ายและให้บริการที่ร้าน 7-Eleven ดังนี้
1. ใส่ใจความปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก | หน่วยงานประกันคุณภาพของ ซีพี ออลล์ ดำเนินการให้ความรู้ และวิธีการจัดการที่ลดปัญหาสิ่งแปลกปลอมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในการควบคุมคุณภาพ การจัดการสิ่งแปลกปลอม และวิธีลดสิ่งแปลกปลอมของวัตถุดิบก่อนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อมาจำหน่ายในร้าน 7-Elelven โดยในปี 2565 ร่วมกับผู้ผลิตสินค้าผักโขมอบชีสกำหนดมาตรการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากวัตถุดิบก่อนนำมาผลิต และริเริ่มหาพื้นที่ในการเพาะปลูกผักโขมในประเทศ ส่งเสริมการเพาะปลูกผักโขมสายพันธุ์ที่คัดสรรเฉพาะสำหรับผลิตผักโขมอบชีสที่รสชาติและคุณภาพดีรวมถึงการให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักโขมให้มีคุณภาพ ปลอดภัย |
2. ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลาอดกระบวนการจัดส่งจัดจำหน่าย | หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ ศูนย์กระจายสินค้า พนักงานตรวจสอบคุณภาพ ทำการตรวจสอบคุณภาพและการจัดเรียงสินค้าในระหว่างการส่งมอบสินค้า กรณีสินค้าควบคุมอุณหภูมิจะทำการตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องเย็น รวมถึงควบคุมคุณภาพและอุณหภูมิของรถขนส่งให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้จะพิจารณาไม่ส่งมอบสินค้าให้ร้าน 7-Eleven ในปี 2565 มีสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการรับ จัดและกระจายสินค้า ร้อยละ 0.02 |
3. ควบคุมคุณภาพสร้างความปลอดภัยมั่นใจในทุกการบริการ |
หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตรวจสอบการจัดการด้านบริการและคุณภาพสินค้า โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน ในปี 2565 บริษัทยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบคระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตามนโยบาย SAVEQC และปรับความเข้มข้นสัดส่วนคะแนนในส่วนที่สำคัญกระทบกับลูกค้า เพื่อให้ร้านสาขาเกิดความตระหนักในการรักษามาตรฐานร้าน บริการลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ โดยมีคะแนนมาตรฐานของร้านเท่ากับ ร้อยละ 93.94 หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพสินค้า (QA) กำหนดมาตรฐานการปรับปรุงคุณภาพสินค้า การบริการ จัดการคุณภาพ โดยสุ่มเข้าตรวจสอบมาตรฐาน พิจารณาจากประเด็นร้องเรียนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้า การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือฉลาดแบบเชิงรุก หากตรวจพบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะดำเนินการเรียกคืน โดยในปี 2565 มีการเรียกคือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปฏิบัติตามกำฆมาย ระเบียบข้อบังคับ จำนวนทั้งหมด 113 ครั้ง 164 รายการ ซึ่งมีการเรียกคืนสินค้าจากข้อร้องเรียนของลูกค้าทั้งหมด 65 ครั้ง 86 รายการ |
แม็คโคร ดำเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
1. ต้นน้ำ: ปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก | เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานแบรนด์ MQP (Makro Quality Pro) และ Selected ซึ่งเป็นมาตรฐานที่อยู่ในระบบบริหารจัดการด้านอาหารปลอดภัยของบริษัท โดยสินค้าภายใต้แบรนด์ดังกล่าวจะถูกคัดเลือกจากสวนหรือฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน Good Agriculture Practice (GAP) พร้อมกับตรวจสอบสินค้าทุกขั้นตอนการผลิต รวมไปถึงคุณภาพในด้านต่างๆ เช่น ขนาด ความหวาน เป็นต้น ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำ Makro Initiative Accreditation (MIA) หรือแนวทางการผลิตสินค้าการเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของแม็คโคร เข้ามาใช้งานกัลกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้า โดยสามารถทำการประเมินตนเองทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้ด้านการผลิตและส่งมอบสินค้าที่มีมาตรฐานให้กับผู้บริโภค จากผลดำเนินงานดังกล่าว ปัจจุบันมีเกษตรและคู่ค้าได้รับมาตรฐานแบรนด์ MQP และ Selected แล้วกว่า 350 ราย (ร้อยละ 100) |
2. กลางน้ำ: ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลอดกระบวนการจัดจำหน่าย | ดังนั้นระบบ MIA จึงถูกพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ประเมินภายในศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์จำหน่ายสินค้าของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐาน 1) มาตรฐานการผลิตอาหาร 2) มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก 3) มาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร 4) มาตรฐานระบบการจัดการอาหารปลอดภัย |
3. ปลายน้ำ: สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ | นอกจากการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานของกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้าที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้ามีคุณภาพแล้ว บริษัทได้นำระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและข้อมูลด้านโภคชนาการของสินค้า หรือ Makro i-Trace มาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ฐานข้อมูลในระบบ Makro i-Trace ครอบคลุมสินค้ากลุ่มอาหารสด และเบเกอรี่ รวม 8,173 รายการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของสินค้าอาหารภายใต้แบรนด์ aro นอกจากนี้บริษํทยังได้ขยายการประยุกต์ใช้ระบบ Makro i-Trace ไปที่สาขาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอีกด้วย |
บริษัทมีการดำเนินงานด้านความมั่งคงทางอาหาร ตามนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดทำโครงการและสนับสนุนกิจกรรมผ่าน 3 โปรแกรมหลัก ได้แก่
1. โปรแกรมเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์
โครงการซีพีแรม "เคียงข้างคนไทย ห่วงใยไม่ห่าง"
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยืนหยัดดำเนินธุรกิจเกียงข้างสังคมไทยอย่างเกื้อกูลในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซีพีแรม จะเร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยในภาวะวิกฤติ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบที่ยากลำบากต่อการเข้าถึงอาหาร และน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย โดยการจัดตั้งครัวกลางในพื้นที่ประสบวิกฤตภัย เพื่อส่งมอบอาหารพร้อมรับประทาน และน้ำดื่ม โดยคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร ให้ถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว อาหารต้องปลอดภัย ให้คุณค่าทางโภชนาการ และถูกสุขลักษณะ ผ่านโครงการ ซีพีแรม เคียงข้างคนไทย "ห่วงใยไม่ห่าง" โดยมีกลุ่มเป้ามหายหลัก ผู้ที่ขาดแคลน ยากจน และกลุ่มเปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่มีความลำบากหรือขัดสนในการเข้าถึงอาหาร อีกทั้งซีพีแรมยังส่งมอบอาหารและน้ำที่ปลอดภัยให้แก่ชุมชนและสังคมอีกด้วย
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
โครงการอาหารดีพี่ให้น้อง ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5
หนึ่งในความมุ่งมั่นของโลตัส คือการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีผ่านการรับประทานอาหารที่ดี ปลอดภัย และคุณภาพสูง โครงการอาหารดีพี่ให้น้องสนับสนุนอาหารกลางวัน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบคุณภาพสูงสำหรับปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนใน 77 จังหวัดทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงอาหารดีมีประโยชน์ ปลอดภัย และถูกต้องตามหลักโภชนาการ สนับสนุนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ปี 2565 จัดกิจกรรมพิเศษ "การเดินทางของอาหารดีพี่ให้น้อง" เพื่อส่งเสิรมการเรียนรู้ด้านโภชนาการ โดยพานักเรียนจากโรงเรียนชุมชนวัดไก่เตี้ย จังหวัดปทุมธานี เข้าชมกระบวนการตั้งแต่ต้นย้ำยันปลายน้ำ เพื่อเรียนรู้ที่มาของอาหารคุณภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อผลผลิตที่รับตรงจากเกษตรกร และเยี่ยมชมกระบวนการทำงานที่โรงคัดและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคู พร้อมชมการจัดการอาหารสดที่โลตัส สาขาปทุมธานี และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกอาหาสดที่เป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพและปลอดภัย
ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ
2. โปรแกรมการเกษตรยั่งยืน
1. โปรแกรมการส่งเสริมลดการใช้น้ำ | |
---|---|
1.1 การเกษตรแบบไม่ไถพรวน |
|
1.2 การจัดการและเทคโนโลยี |
|
2. โปรแกรมลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม | |
2.1 การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ |
|
2.2 การใช้สารกำจัดศัตรูพืชแบบ "ฉลาด" |
|
2.3 ระบบการผลิตแบบปิด |
|
3. โปรแกรมเพื่อปกป้องสุขภาพของดิน | |
3.1 ความถี่และความเข้มของการไถพรวน |
|
4. โปรแกรมป้องกันการทำลายระบบนิเวศ | |
4.1 การรับรองการผลิตที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า |
|
4.2 การรับรองการผลิตที่ยั่งยืน MSC, ASC |
|
5. โปรแกรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกตะจก (Programs to Reduce GHG Emissions) | |
5.1 การลดระยะทางการขนส่ง |
|
5.2 การขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในร้านขายปลีก |
|
|
3. โปรแกรมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์
บริษัทมุ่งยกระดับมาตรฐานการส่งมองผลิตภัณฑ์และบริการภายในร้าน 7-Eleven ที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค นอกจากการจัดอบรมหลักสูตรอาหารปลอดภัยให้แก่พนักงาน ให้พนักงานสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีและปลอดภัยให้กับลูกค้า บริษัทยังมีระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารขององค์กร
การคัดสรรวัตถุดิบตามมาตราฐานระดับสากล
บริษัท ซีพีแรม จำกัด กำหนดแนวทางการคัดสรรวัตถุดิบ โดยมีการควบคุมการผลิตสินค้าอย่างเข้มงวด และพัฒนาระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการรับรองความปลอดภัยในกระบวนการผลิตด้วยมาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐาน BRC มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน GMP เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้
การดำเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย บริษัทได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต รับสินค้า การจัดและการกระจายสินค้ารวมถึงการจำหน่ายให้บริการที่ร้าน 7-Eleven และศูนย์กระจายสินค้า แม็คโคร และโลตัส
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน | ดาวน์โหลด |