การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัทมุ่งดำเนินธุรกิจที่มีรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ภายใต้นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน รวมถึงจริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า โดยกำหนดเกณฑ์การสรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพและปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมีแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าภายใต้กระบวนการจัดหา และบริหารห่วงโซ่อุปทาน อย่างรับผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของลูกค้า ชุมชน และสังคม นอกจากนี้ยังส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรกรรมและผลิตภัณฑ์กลุ่มออร์แกนิค โดยมีการคำนึงถึงระยะทางจากพื้นที่เพาะปลูกถึงสถานที่จำหน่ายที่เหมาะสม เพื่อรักษาคุณภาพความสดใหม่ของสินค้าระหว่างการขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค ตลอดจนการพัฒนากระบวนการทำงานที่จะช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทมุ่งให้ความสำคัญของการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบอย่างยั่งยืน ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ

กระบวนการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า

ในปี 2565 มีวัตถุดิบทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้

การรับรองมาตรฐานด้านการผลิตอย่างยั่งยืน คุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร
สินค้าโภคภัณฑ์เกษตร รายการมาตรฐาน สินค้าที่ได้รับการรับรอง ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด
ปาล์ม RSPO ร้อยละ  30.65 ร้อยละ  15.25
ถั่วเหลือง RTRS ร้อยละ  45.28 ร้อยละ  3.94
น้ำตาล BONSUCRO ร้อยละ  36.54 ร้อยละ  23.97
โกโก้ Utz Certified Core Code of Conduct, Fairtrade Standard for Cocoa, Rainforest Alliance, FSS C22000, ISO2451: 2017, GAP ร้อยละ  4.81 ร้อยละ  3.00
กาแฟ Utz Certified Core Code of Conduct, Rainforest Alliance, GAP ร้อยละ  33.83 ร้อยละ  7.91
ธัญพืช GAP, HACCP ร้อยละ  0.76 ร้อยละ  29.65
สินค้าอื่นๆ GAP, Q Organic ร้อยละ  18.09 ร้อยละ  16.27

สวัสดิภาพสัตว์

บริษัทให้ความสำคัญในการคัดสรรวัตถุดิบจากคู่ค้าที่ใส่ใจในด้านสวัสดิภาพสัตว์ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารอย่างยั่งยืน โดยให้การสนับสนุน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักในการกำหนดให้มีนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการจัดการสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งการรับรองผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ จากสถาบันและองค์กรชั้นนำระดับสากล อาทิ การจัดอันดับการจัดการสวัสดิภาพสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม (Business Benchmark on Farm Animal Welfare: BBFAW) เพื่อแสดงถึงความมมุ่งมั่นในองค์กรในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ด้วยความรับผิดชอบและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ รายการมาตรฐาน สินค้าที่ได้รับการรับรอง ปริมาณการจัดซื้อเทียบกับการจัดซื้อวัตถุดิบทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ASC, BAP, BRC, GAP ร้อยละ  39.42 ร้อยละ  12.98
ผลิตภัณฑ์จากโค BBFAW, GAP ร้อยละ  27.71 ร้อยละ  1.85
ผลิตภัณฑ์จากนม GAP, GHP ร้อยละ  42.95 ร้อยละ  12.54
ผลิตภัณฑ์จากสุกร BBFAW, Livestock OK, GAP ร้อยละ  84.94 ร้อยละ  36.98
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ปีก BBFAW, Livestock OK, BRC, GAP ร้อยละ  97.62 ร้อยละ  27.79
ผลิตภัณฑ์ประมง MSC, BRC, GAP ร้อยละ  63.38 ร้อยละ  7.87

ใส่ใจคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบจนถึงมือผู้บริโภค

ซีพี ออลล์ ดำเนินงานด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย บริษัทได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต รับสินค้า การจัดและกระจายสินค้า รวมถึงการจำหน่ายและให้บริการที่ร้าน 7-Eleven ดังนี้

1. ใส่ใจความปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก หน่วยงานประกันคุณภาพของ ซีพี ออลล์ ดำเนินการให้ความรู้ และวิธีการจัดการที่ลดปัญหาสิ่งแปลกปลอมให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ในการควบคุมคุณภาพ การจัดการสิ่งแปลกปลอม และวิธีลดสิ่งแปลกปลอมของวัตถุดิบก่อนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อมาจำหน่ายในร้าน 7-Elelven โดยในปี 2565 ร่วมกับผู้ผลิตสินค้าผักโขมอบชีสกำหนดมาตรการคัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากวัตถุดิบก่อนนำมาผลิต และริเริ่มหาพื้นที่ในการเพาะปลูกผักโขมในประเทศ ส่งเสริมการเพาะปลูกผักโขมสายพันธุ์ที่คัดสรรเฉพาะสำหรับผลิตผักโขมอบชีสที่รสชาติและคุณภาพดีรวมถึงการให้คำแนะนำในทุกขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักโขมให้มีคุณภาพ ปลอดภัย
2. ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลาอดกระบวนการจัดส่งจัดจำหน่าย หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพ ศูนย์กระจายสินค้า พนักงานตรวจสอบคุณภาพ ทำการตรวจสอบคุณภาพและการจัดเรียงสินค้าในระหว่างการส่งมอบสินค้า กรณีสินค้าควบคุมอุณหภูมิจะทำการตรวจสอบอุณหภูมิภายในห้องเย็น รวมถึงควบคุมคุณภาพและอุณหภูมิของรถขนส่งให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้จะพิจารณาไม่ส่งมอบสินค้าให้ร้าน 7-Eleven ในปี 2565 มีสินค้าชำรุดเสียหายระหว่างการรับ จัดและกระจายสินค้า ร้อยละ 0.02
3. ควบคุมคุณภาพสร้างความปลอดภัยมั่นใจในทุกการบริการ

หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตรวจสอบการจัดการด้านบริการและคุณภาพสินค้า โดยกำหนดให้มีการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน ในปี 2565 บริษัทยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบคระบบร้านคุณภาพ (QSSI) ตามนโยบาย SAVEQC และปรับความเข้มข้นสัดส่วนคะแนนในส่วนที่สำคัญกระทบกับลูกค้า เพื่อให้ร้านสาขาเกิดความตระหนักในการรักษามาตรฐานร้าน บริการลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการ โดยมีคะแนนมาตรฐานของร้านเท่ากับ ร้อยละ 93.94

หน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพสินค้า (QA) กำหนดมาตรฐานการปรับปรุงคุณภาพสินค้า การบริการ จัดการคุณภาพ โดยสุ่มเข้าตรวจสอบมาตรฐาน พิจารณาจากประเด็นร้องเรียนในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้า การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือฉลาดแบบเชิงรุก หากตรวจพบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจะดำเนินการเรียกคืน โดยในปี 2565 มีการเรียกคือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปฏิบัติตามกำฆมาย ระเบียบข้อบังคับ จำนวนทั้งหมด 113 ครั้ง 164 รายการ ซึ่งมีการเรียกคืนสินค้าจากข้อร้องเรียนของลูกค้าทั้งหมด 65 ครั้ง 86 รายการ

แม็คโคร ดำเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

1. ต้นน้ำ: ปลอดภัยด้านอาหารตั้งแต่เพาะปลูก เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานแบรนด์ MQP (Makro Quality Pro) และ Selected ซึ่งเป็นมาตรฐานที่อยู่ในระบบบริหารจัดการด้านอาหารปลอดภัยของบริษัท โดยสินค้าภายใต้แบรนด์ดังกล่าวจะถูกคัดเลือกจากสวนหรือฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน Good Agriculture Practice (GAP) พร้อมกับตรวจสอบสินค้าทุกขั้นตอนการผลิต รวมไปถึงคุณภาพในด้านต่างๆ เช่น ขนาด ความหวาน เป็นต้น ดังนั้น บริษัทจึงจัดทำ Makro Initiative Accreditation (MIA) หรือแนวทางการผลิตสินค้าการเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของแม็คโคร เข้ามาใช้งานกัลกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้า โดยสามารถทำการประเมินตนเองทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ซึ่งช่วยเพิ่มความรู้ด้านการผลิตและส่งมอบสินค้าที่มีมาตรฐานให้กับผู้บริโภค จากผลดำเนินงานดังกล่าว ปัจจุบันมีเกษตรและคู่ค้าได้รับมาตรฐานแบรนด์ MQP และ Selected แล้วกว่า 350 ราย (ร้อยละ 100)
2. กลางน้ำ: ควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารตลอดกระบวนการจัดจำหน่าย ดังนั้นระบบ MIA จึงถูกพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้ประเมินภายในศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์จำหน่ายสินค้าของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมการขอรับรองมาตรฐาน
1) มาตรฐานการผลิตอาหาร
2) มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศขององค์การอาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก
3) มาตรฐานการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร
4) มาตรฐานระบบการจัดการอาหารปลอดภัย
3. ปลายน้ำ: สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ นอกจากการผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานของกลุ่มเกษตรกรและคู่ค้าที่ทำให้ผู้บริโภคได้รับสินค้ามีคุณภาพแล้ว บริษัทได้นำระบบที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและข้อมูลด้านโภคชนาการของสินค้า หรือ Makro i-Trace มาใช้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบัน ฐานข้อมูลในระบบ Makro i-Trace ครอบคลุมสินค้ากลุ่มอาหารสด และเบเกอรี่ รวม 8,173 รายการ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ของสินค้าอาหารภายใต้แบรนด์ aro นอกจากนี้บริษํทยังได้ขยายการประยุกต์ใช้ระบบ Makro i-Trace ไปที่สาขาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาอีกด้วย

บริษัทมีการดำเนินงานด้านความมั่งคงทางอาหาร ตามนโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดทำโครงการและสนับสนุนกิจกรรมผ่าน 3 โปรแกรมหลัก ได้แก่

1. โปรแกรมเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีประโยชน์

โครงการซีพีแรม "เคียงข้างคนไทย ห่วงใยไม่ห่าง"

บริษัท ซีพีแรม จำกัด ยืนหยัดดำเนินธุรกิจเกียงข้างสังคมไทยอย่างเกื้อกูลในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซีพีแรม จะเร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยในภาวะวิกฤติ รวมถึงผู้ได้รับผลกระทบที่ยากลำบากต่อการเข้าถึงอาหาร และน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย โดยการจัดตั้งครัวกลางในพื้นที่ประสบวิกฤตภัย เพื่อส่งมอบอาหารพร้อมรับประทาน และน้ำดื่ม โดยคำนึงถึงคุณภาพของอาหาร ให้ถึงมือผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติอร่อยแล้ว อาหารต้องปลอดภัย ให้คุณค่าทางโภชนาการ และถูกสุขลักษณะ ผ่านโครงการ ซีพีแรม เคียงข้างคนไทย "ห่วงใยไม่ห่าง" โดยมีกลุ่มเป้ามหายหลัก ผู้ที่ขาดแคลน ยากจน และกลุ่มเปราะบาง ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่มีความลำบากหรือขัดสนในการเข้าถึงอาหาร อีกทั้งซีพีแรมยังส่งมอบอาหารและน้ำที่ปลอดภัยให้แก่ชุมชนและสังคมอีกด้วย

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

65946  ราย

จำนวนผู้ที่เข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย

1.87  ล้านบาท

มูลค่าการสนับสนุนโครงการ


โครงการอาหารดีพี่ให้น้อง ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5

หนึ่งในความมุ่งมั่นของโลตัส คือการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดีผ่านการรับประทานอาหารที่ดี ปลอดภัย และคุณภาพสูง โครงการอาหารดีพี่ให้น้องสนับสนุนอาหารกลางวัน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบคุณภาพสูงสำหรับปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่ขาดแคลนใน 77 จังหวัดทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงอาหารดีมีประโยชน์ ปลอดภัย และถูกต้องตามหลักโภชนาการ สนับสนุนการเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ปี 2565 จัดกิจกรรมพิเศษ "การเดินทางของอาหารดีพี่ให้น้อง" เพื่อส่งเสิรมการเรียนรู้ด้านโภชนาการ โดยพานักเรียนจากโรงเรียนชุมชนวัดไก่เตี้ย จังหวัดปทุมธานี เข้าชมกระบวนการตั้งแต่ต้นย้ำยันปลายน้ำ เพื่อเรียนรู้ที่มาของอาหารคุณภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับซื้อผลผลิตที่รับตรงจากเกษตรกร และเยี่ยมชมกระบวนการทำงานที่โรงคัดและบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนาคู พร้อมชมการจัดการอาหารสดที่โลตัส สาขาปทุมธานี และได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกอาหาสดที่เป็นสินค้าที่ดี มีคุณภาพและปลอดภัย

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

8255  ราย

จำนวนผู้ได้รับการส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร

1.82  ล้านบาท

มูลค่าการสนับสนุน

2. โปรแกรมการเกษตรยั่งยืน

1. โปรแกรมการส่งเสริมลดการใช้น้ำ
1.1 การเกษตรแบบไม่ไถพรวน

โครงการปลูกกล้วย โดยใช้ต้นตอเก่า ไม่รื้อตอเก่า ทำให้ลดการไถพรวนลงได้ปีละครั้ง หรือ 2ปีครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรที่ปลูกกล้วยแบบไร่

ผลลัพธ์ : ลดต้นทุนการผลิตเรื่องการไถพรวน ลงได้ ร้อยละ  20

1.2 การจัดการและเทคโนโลยี

โครงการพลาสติกคลุมแปลงกล้วย การใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อเก็บกักความชื้นและลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพิช และสารเคมีกำจัดแมลง

กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผลลัพธ์ : ลดการใช้น้ำได้ ร้อยละ  50 ของปริมาณน้ำที่ใช้ปกติ ลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้ ร้อยละ  50 และลดการใช้สารเคมีลงได้ ร้อยละ  30

2. โปรแกรมลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
2.1 การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์

โครงการผักเกษตรอินทรีย์ เริ่มต้นส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในผลผลิตกลุ่มผักสลัดและมีจำหน่ายเป็นผักสลัดพร้อมทาน 1 ผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย : สินค้ากลุ่มผักสลัด

ผลลัพธ์ : ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้ ร้อยละ  100

2.2 การใช้สารกำจัดศัตรูพืชแบบ "ฉลาด"

โครงการติดกับดักแมลงที่แปลงปลูกพืช เพื่อที่จะได้ทราบว่ามีแมลงอะไรบ้างเข้ามาในแปลงปลูก จะได้เลือกใช้สารเคมีที่จำเพาะต่อแมลงชนิดนั้นๆ

กลุ่มเป้าหมาย : สินค้ากลุ่มผัก

ผลลัพธ์ : ลดการใช้สารเคมีลงได้มากกว่า ร้อยละ  30

2.3 ระบบการผลิตแบบปิด

โครงการฟาร์มปลาชีวภาพสู่ความยั่งยืน มุ่งพัฒนากระบวนการผลิต โดยส่งเสริมให้คู่ค้าเพาะเลี้ยงปลาดุกและปลานิลในระบบปิดแบบเบ็ดเสร็จ ที่สามารถควบคุมคุณภาพ ความสะอาด ปลอดภัย ตลอดจนสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน นอกจากนี้ ยังเป็นการควบคุมปัจจัยในการผลิต ลดปัญหาการผลิตไม่เพียงพอจากวิกฤตทางน้ำ ลดการปล่อยน้ำเสียในน้ำสาธารณะ ตลอดจนส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกร ชุมชน และสังคม

กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาดุกและปลานิล

3. โปรแกรมเพื่อปกป้องสุขภาพของดิน
3.1 ความถี่และความเข้มของการไถพรวน

โครงการปลูกกล้วย โดยใช้ต้นตอเก่า ไม่รื้อตอเก่า ทำให้ลดการไถพรวนลงได้ปีละครั้ง หรือ 2 ปีครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรที่ปลูกกล้วยแบบไร่

ผลลัพธ์ : ลดต้นทุนการผลิตเรื่องการไถพรวนลงได้ ร้อยละ  20 ของต้นทุนการผลิต

4. โปรแกรมป้องกันการทำลายระบบนิเวศ
4.1 การรับรองการผลิตที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า

โครงการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ผ่านทาง QR Code ที่แสดงอยู่บนฉลากสินค้าได้ โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์ Own Brand กลุ่มอาหารสด และมีการขยายฐานข้อมูลสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Makro iTrace ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย : คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier1) และลำดับถัดไป (Non-Tier1) กลุ่มอาหารสด

ผลลัพธ์ : จำนวนสินค้าที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 8173  รายการ คิดเป็น ร้อยละ  100 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดภายใต้สัญลักษณ์ทางการค้าของสยามแม็คโคร

4.2 การรับรองการผลิตที่ยั่งยืน MSC, ASC

โครงการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ เป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ผ่านทาง QR Code ที่แสดงอยู่บนฉลากสินค้าได้ โดยเริ่มจากผลิตภัณฑ์ Own Brand กลุ่มอาหารสด และมีการขยายฐานข้อมูลสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน Makro iTrace ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น

ผลลัพธ์ : ในปี 2565 สินค้าอาหารทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MSC และ ASC ทั้งสิ้น 42  ผลิตภัณฑ์ ยอดขายสินค้าอาหารทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน MSC และ ASC เพิ่มขึ้น ร้อยละ  55

5. โปรแกรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกตะจก (Programs to Reduce GHG Emissions)
5.1 การลดระยะทางการขนส่ง

โครงการสร้างแหล่งรับซื้อสินค้าเกษตรที่แหล่งผลิต และส่งเสริมให้ปลูกพืชรอบๆ แหล่งรับซื้อ รวมทั้งส่งสินค้าที่คลังสินค้าที่ใกล้ที่สุด

กลุ่มเป้าหมาย : เกษตรกรและโรงแพค

ผลลัพธ์ : สร้างแหล่งรับซื้อในชุมชนได้ทั้งหมดมากกว่า 1700  ราย กระจายทั่วภูมิภาคของประเทศ

5.2 การขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นในร้านขายปลีก

โครงการสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชน หรือสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) มาจำหน่ายที่ร้าน 7-Eleven โดยผ่านกระบวนการคัดเลือกแบบพิเศษ สำหรัรบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อวางขายในร้าน 7-Eleven ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงภายในจังหวัด ผลิตภัณฑ์ที่มี อย. และผลิตภัณฑ์ที่มีบาร์โค้ด
  • คัดเลือกร้าน 7-Eleven 5 สาขา เพื่อทดลองขาย
  • จัดเรียงผลิตภัณฑ์ในร้าน 7-Eleven พร้อมทั้งติดตั้งสื่อประชาสัมพันธ์ให้สวยงาม
  • ติดตามยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
  • กรณีผ่านเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด บริษัทจะขยายผลการจำหน่ายไปยังร้าน 7-Eleven ในระดับจังหวัด ภูมิภาค และทั่วประเทศต่อไปตามลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย : วิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอี

ผลลัพธ์ : สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนกว่า 107  รายการ สนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในชุมชน 29  ชุมชน จัดจำหน่ายใน 273  สาขา

โครงการับซื้อและกระจายผลิตภัณฑ์ชุมชน (Local product) มาจำหน่ายที่โลตัสโดยเป็นช่องทางการกระจายสินค้าจาก 200 ชุมชนทั่วประเทศ ผ่านร้านค้าของโลตัส และแพลตฟอร์มออนไลน์

กลุ่มเป้าหมาย : วิสาหกิจชุมชน เอสเอ็มอี

ผลลัพธ์ : สนับสนุนสินค้าเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ไม่รวมเสื้อผ้า รวม 25891  รายการ จัำหน่ายใน 2279  สาขา

3. โปรแกรมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

บริษัทมุ่งยกระดับมาตรฐานการส่งมองผลิตภัณฑ์และบริการภายในร้าน 7-Eleven ที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค นอกจากการจัดอบรมหลักสูตรอาหารปลอดภัยให้แก่พนักงาน ให้พนักงานสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีและปลอดภัยให้กับลูกค้า บริษัทยังมีระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยอาหารขององค์กร

การคัดสรรวัตถุดิบตามมาตราฐานระดับสากล

บริษัท ซีพีแรม จำกัด กำหนดแนวทางการคัดสรรวัตถุดิบ โดยมีการควบคุมการผลิตสินค้าอย่างเข้มงวด และพัฒนาระบบการผลิตอย่างมีประสิทธิภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้รับการรับรองความปลอดภัยในกระบวนการผลิตด้วยมาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐาน BRC มาตรฐาน HACCP และมาตรฐาน GMP เป็นต้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้


การดำเนินงานด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่ส่งมอบให้แก่ลูกค้ามีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย บริษัทได้กำหนดมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูก ผลิต รับสินค้า การจัดและการกระจายสินค้ารวมถึงการจำหน่ายให้บริการที่ร้าน 7-Eleven และศูนย์กระจายสินค้า แม็คโคร และโลตัส

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืนดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า