การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ร้อยละ  100

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 และคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป ผ่านการตรวจประเมินแบบเชิงรุก

ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงสูงผ่านการตรวจประเมินแบบเชิงรุก

ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีความเสี่ยงสูงมีแผนการจัดการความเสี่ยง

การดำเนินงานที่สำคัญปี 2565


ดำเนินการต่อเนื่องจัดอบรม ให้ความรู้คู่ค้า SMEs และส่งเสริมให้เข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC)

พัฒนาเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องกับขนาดธุรกิจและยอดซื้อ

พัฒนารูปแบบการตรวจประเมินคู่ค้าด้านความยั่งยืนแบบเชิงรุกให้สอดคล้องกับสถานการณ์

การพัฒนาศักยภาพ (Capacity Building) ด้านความยั่งยืน

ผู้มีส่วนได้เสียหลักที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ


คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเจ้าหนี้ทางการค้า

การจัดหาวัตถุดิบ สรรหาสินค้าและบริการ
การผลิต วิจัยและพัฒนาสินค้า

คู่ค้า ผู้ส่งมอบสินค้าหรือบริการ และเจ้าหนี้ทางการค้า

การจัดส่งและกระจายสินค้า

พันธมิตรธุรกิจต

การตลาดและการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการ
การรับผิดชอบต่อลูกค้าและบริการหลังการขาย

สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน


SDG 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นรวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดีและการเป็นผู้ประกอบการ

SDG 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืน การจ้างงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่สมควร ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และส่งเสริมการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อยขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งรวมถึงผ่านทางการเข้าถึงบริการทางการเงิน

SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาคสาธารณะที่ยั่งยืน ตามนโยบายและการให้ลำดับความสำคัญของประเทศ

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


เป้าหมายปี 2573

ร้อยละ  100

คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Suppliers) ด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) และเกิดการพัฒนาปรับปรุง

ความก้าวหน้าเทียบกับเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว

สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565

การระบุประเภทของคู่ค้า

1985  ราย

คู่ค้าลำดับที่ 1

119  ราย

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1*

17  ราย

คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป

หมายเหตุ :
หลักเกณฑ์พิจารณาคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1
1.คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง (High-Volume Suppliers) 2.คู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ (Critical Component Suppliers) ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาด 3.คู่ค้าที่มีน้อยราย หรือ ไม่สามารถทำแทนได้ (Non-substitutable Suppliers)
หลักเกณฑ์พิจารณาคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป
คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier1 Suppliers) หมายถึง ผู้จัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการให้กับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Tier1 Suppliers) ของบริษัท ซึ่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ส่งมอบนั้นๆ มีผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อความได้เปรียบในการแข่งขัน ความสำเร็จของตลาด หรือการอยู่รอดของบริษัท มีจำนวนน้อยราย หรือไม่สามารถหาทดแทนได้

สัดส่วนและมูลค่าการซื้อ

สัดส่วนมูลค่าการซื้อภายในประเทศ

สัดส่วนมูลค่าการซื้อจากคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1

44749  ล้านบาท

มูลค่าการซื้อจาก SMEs*

* มูลค่าการซื้อจาก SMEs คลอบคลุมผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน หรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (OTOP)

การมีส่วนร่วมของคู่ค้าลำดับที่ 1

ได้รับการสื่อสารจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

ลงนามรับทราบจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

ได้รับการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ

การบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

1985  ราย

คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ได้รับการประเมินความเสี่ยงสะสมในรอบ 3 ปี

17  ราย

คู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier 1 Suppliers) ได้รับการประเมินความเสี่ยงสะสมในรอบ 3 ปี


การระบุคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High-Risk Suppliers)

40  ราย

คู่ค้าลำดับที่ 1

0  ราย

คู่ค้าลำดับถัดไปที่สำคัญ

40  ราย

คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงรวมทั้งหมด


การประเมินความเสี่ยงแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment)

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 และคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไปได้รับการประเมินเชิงรุกรายปี

คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 และคู่ค้าที่สำคัญลำดับถัดไปได้รับการประเมินเชิงรุก ทุก 3 ปี

รวมทั้งหมด ร้อยละ  100  

คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงได้รับการประเมินเชิงรุกรายปี

คู่ค้าที่มีควมเสี่ยงสูงได้รับการประเมินเชิงรุก ทุก 3 ปี

รวมทั้งหมด ร้อยละ  100  

การจัดการความเสี่ยงเพื่อลดผลกระทบ

คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงมีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไข

คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงสามารถแก้ไขตามแผนปฏิบัติการแก้ไขแล้วเสร็จภายใน 1 ปี

ความเสี่ยงและโอกาส


การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพัฒนากระบวนการส่งมอบสินค้าไปสู่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดสรรคู่ค้าที่มีคุณภาพ การส่งเสริมศักยภาพของคู่ค้า ไปจนถึงการสร้างความผูกพันกับคู่ค้า โดยการเพิ่มกระบวนการบูรณาการด้านความยั่งยืนในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงด้านต้นทุน ความเสี่ยงด้านการขาดแคลนวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง และความเสี่ยงในการเกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ สิทธิในการได้สภาพที่ทำงานที่เหมาะสม สิทธิในการใช้ชีวิต มีเสรีภาพ และมีความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท รวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย ปัจจุบันองค์กรทุกภาพคส่วนต่างมุ่งยกระดับการบิรหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งบูรณาการแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ บริษัทได้สนับสนุนการดำเนินงานและส่งเสริมศักยภาพคู่ค้าทุกกลุ่มให้เติบโตไปพร้อมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม บรรษัทภิบาลและสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจลดความเสี่ยงในการดำเนินงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดสร้างการเปลี่ยนแปลงเสริมความแข็งแกร่งของคู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจอย่างยั่งยืน

แนวทางการดำเนินงาน


บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ("บริษัท") มุ่งดำเนินงานบริหารห่วงโซ่อุปทานให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรมคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน และมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มภายใต้นโยบายด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน ตามคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติของคู่ค้าที่คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าลำดับที่ 1 รวมไปถึงคู่ค้าลำดับอื่นในห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่ค้า แรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน สภาพการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย จริยธรรมธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมให้คู่ค้ามีนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน พร้อมกันนี้ บริษัทได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงคู่ค้าครอบคลุมคู่ค้าทุกกลุ่ม อาทิ คู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 ซึ่งหมายถึง คู่ค้าที่มีมูลค่ายอดซื้อสูง คู๋ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ คู่ค้าที่มีน้อยราย หรือไม่สามารถทดแทนได้ รวมถึงคู่ค้าลำดับที่ 1 ที่มีมูลค่ายอดซื้อน้อยถึงปานกลาง รวมถึงพัฒนาเครื่องมือการประเมินความเสี่ยงให้มีความเหมาะสมกับบริบททางธุรกิจของคู่ค้าแต่ละกลุ่มเพื่อการพัฒนาศักยภาพ และยกระดับผลการดำเนินด้านความยั่งยืนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้องค์กรสามารถลดความเสี่ยงด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานได้ อีกทั้งส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคู่ค้ากับชุมชนและสังคม ตลอดจนมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ภายใต้นโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

01

การจัดหา การจัดซื้อ การทำสัญญา การจัดการจัซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ บริการ และการก่อสร้างตามข้อกำหนดที่ทันเวลาในระดับบริหารสูงสุด (คุณภาพสินค้า ต้นทุน บริการหลังการขาย จัดส่ง)

02

การจัดการอุปสงค์และซัพพลายเชนแบบบูรณาการ (บนการสร้างสมดุลของปริมาณการใช้ข้อมูลและสะท้อนถึงการจัดการต้นทุนและอุปทาน)

03

พัฒนาร่วมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ และอุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ร่วมกับพันธมิตร/ซัพพลายเออร์ เพิ่มความหลากหลายและประสิทธิภาพการดำเนินงาน

04

เสริมสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการจัดการหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ยั่งยืน

จริยธรรมและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้า

บริษัทได้สนับสนุนคู่ค้าให้ปฏิบัติตามคู่มือจริยธรรมและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า ครอบคลุมคู่ค้าลำดับที่ 1 และลำดับถัดไปที่สำคัญ ตลอดห่วงโซ่อุปทานในทุกธุรกิจ ผ่านแนวปฏิบัติ 16 แนวปฏิบัติ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือจรรรยาบรรณธุรกิจและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า (Supplier' Code of Conduct and Guideline) โดยในรอบ 3 ปี บริษัทได้ดำเนินการสื่อสารคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 จำนวน 1,985 ราย และในปี 2565 บริษัทสื่อสารคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าไปยังคู่ค้าลำดับที่ 1 รายใหม่ จำวน 185 ราย คิดเป็น ร้อยละ 100

กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

กระบวนการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืน ลดความเสี่ยง ตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้างคุณค่าร่วมพัฒนา ส่งเสริม SMEs
01
สื่อสารความคาดหวัง สรรหาและคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ โดยผนวกหลักเกณฑ์ด้านความยั่งยืน
02
ให้ความรู้และบริหารความเสี่ยงคู่ค้าด้านความยั่งยืน
03
ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ
04
สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาว

1. การสื่อสารความคาดหวัง สรรหา และคัดเลือกคู่ค้าที่มีศักยภาพ

บริษัทมุ่งบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพ และไม่ละเมิดมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณราการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าไปในการสรรหาและคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ทุกขั้นตอน พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินศักยภาพและคุณสมบัติในการคัดเลือกคู่ค้า รายใหม่ ครอบคลุมประเด็กสำคัญ ดังนี้ คุณสมบัติและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ควมสามารถในการผลิตและการบริหารต้นทุนที่เหมาะสม ความสามารถในการส่งมอบและผลการประเมินด้าน ESG ตลอดจนสื่อสารให้คู่ค้ารับทราบความคาดหวังขององค์กร พร้อมทั้งลงนามรับทราบคู่มือจรรยาบรรณธุรกิจและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า การระบุคู่ค้าและการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย

โดยในปี 2565 มีคู่ค้ารายใหม่ 185 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ได้รับการพิจารณาคัดเลือกโดยหลักเกณฑ์ที่บูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและสิทธิมนุษยชน

2. บริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสำหรับคู่ค้า

บริษัทประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในกลุ่มคู่ค้าลำดับที่ 1 ทั้งหมดครอบคลุมคู่ค้ารายเดิม (Existing Suppliers) และคู่ค้ารายใหม่ (New Suppliers) โดยร่วมมือกับหน่วยงานจัดซื้อและหน่วยงานประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ทำหน้าที่รับผิดชอบในการประเมินความเสี่ยงเพื่อค้นหาความเสี่ยงเบื้องต้นตามอุตสาหกรรมของคู่ค้าด้วยเครื่องมือ Risk-Based Due Diligence โดยบริษัทพัฒนาเครื่องมือและเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับขนาดมูลค่าธุรกิจที่มีร่วมกัน ยอดซื้อคู่ค้า โดยประเมินจากประเด็นความเสี่ยงที่สำคัญของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ดังนี้

สิ่งแวดล้อม (Environmental : E)

  • การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน
  • การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
  • การจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน
  • การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ

สังคม (Social : S)

  • สิทธิมนุษยชนและการใช้แรงงาน
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การกำกับดูแลกิจการ (Governance : G)

  • การเสริมสร้างสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์)

หากผลการประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นพบว่าคู่ค้ารายใดมีความเสี่ยงบริษัทจะดำเนินการส่งแบบประเมินตนเองออนไลน์ให้กับคู่ค้า (Supplier Self-Assessment Questionnaires: SAQ) เพื่อแสดงหลักฐานและมาตรการจัดการความเสี่ยง กรณีคู่ค้าไม่สามารถแสดงหลักฐานและมาตรการในการจัดการความเสี่ยงได้ บริษัทจะดำเนินการเข้าตรวจประเมินคู่ค้าแบบเชิงรุกเพื่อค้นหาความเสี่ยงที่แท้จริง พร้อมทั้งจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ และให้คำแนะนำ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคู่ค้าสามารถนำไปจัดทำแผนและมาตรการลดความเสี่ยงพร้อมทั้งดำเนินการตามแผน

นอกจากนี้ สำหรับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 บริษัทจะดำเนินการเข้าตรวจประเมินแบบเชิงรุกในทุกรายเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้ามีการดำเนินธุรกิจตามแนวทางความยั่งยืนสอดคล้องกับความคาดหวังของบริษัท

ในปี 2565 บริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) คู่ค้าลำดับที่ 1 จำนวน 1,985 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 การตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) สำหรับคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 Supplier) จำนวน 119 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Supplier) จำนวน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 จากการตรวจประเมินเชิงรุกพบประเด็นความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการแรงงานและสิทธิมนุษยชน ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ

นอกจากนี้ บริษัทส่งเสริมให้คู่ค้ามีการจัดทำมาตรการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของตนเอง ซึ่งร้อยละ 100 ของคู่ค้าที่พบประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญหรือที่เรียกว่า Potential Finding จากการตรวจประเมินแบบเชิงรุก มีการกำหนดมาตรการจัดการความเสี่ยงที่สามารถแก้ไขตามแผนปฏิบัติงาน (Corrective Action Plans) ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ดังนี้

ประเด็นที่พบจากการตรวจประเมินด้านความยั่งยืน

มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental : E)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management)
- การจัดการสิ่งปฏิกูลตามประกาสกระทรวงอุตสาหกรรม
- การประเมินผลกระทบ และตรวจประเมินคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายกำหนด
- แจ้งขึ้นทะเบียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และจัดทำใบขออนุญาตต่างๆ ตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม (สก 1, 2, 3)
- จัดทำแบบประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและกำหนดมาตรการการแก้ไข
มิติด้านสังคม (Social : S)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Safety, Hygiene and Environment in the Workplace)
- จัดอบรม "อบรมดับเพลิง ซ้อมหนีไฟ และสารเคมีรั่วไหล" ให้กับพนักงาน
- คู่มือความปลอดภัย และจัดอบรม "ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน" ให้กับพนักงาน
- การตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน
- การตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในการทำงาน และอุปกรณ์เกี่ยวกับการระงับเหตุรวมถึงการทำป้ายบ่งชี้ต่างๆ
- จัดทำแผนการอบรมประจำปี และทำสรุปรายงานการจัดอบรม
- จัดทำคู่มือความปลอดภัย และจัดทำแผนการอบรมให้กับพนักงาน
- จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานประจำปี โดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
- วิเคราะห์การตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกฎหมาย
- จัดทำแผนการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ทั้งอุปกรณ์การทำงานและระงับเหตุ พร้อมทำป้ายบ่งชี้
การจัดการแรงงาน และสิทธิมนุษยชน (Labor Management and Human Rights)
- การตรวจสุขภาพพนักงานตามปัจจัยเสี่ยง
- คู่มือ Code of Conduct
- จัดทำคู่มือการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง และดำเนินการตรวจสุขภาพพนักงาน
- จัดทำคู่มือ Code of Conduct และสื่อสารให้พนักงานทราบ
มิติด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance : G)
ประเด็นความเสี่ยง มาตรการจัดการความเสี่ยง
การปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบ (Compliance with Laws and Regulations)
- ติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ
- คู่มือแรงงาน
- สัญญาจ้างงาน
- การติดตั้งถังดับเพลิง
- การขึ้นทะเบียน บุคลากร หรือหน่วยงานด้านความปลอดภัยในระดับบริหาร หัวหน้างาน เป็นต้น
- แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
- จัดทำทะเบียนกฎหมาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายต่างๆ 
- จัดทำคู่มือแรงงาน และสื่อสารให้พนักงานทราบ
- จัดทำสัญญาจ้างงาน ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยภาษาที่พนักงานเข้าใจ
- จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมุลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย (สอ.1) แจ้งต่อหน่วยงานราชการ
- ติดตั้งถังดับเพลิงตามกฎหมายกำหนด
- แต่งตั้งบุคลากรในระดับต่างๆ และส่งไปอบรม พร้อมทั้งแจ้งขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการติดตามความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไขความเสี่ยงของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคูค้าในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างการเติบโตของคู่ค้าไปพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน

3. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ

บริษัทมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คู่ค้าสามารถนำองค์ความรู้และทักษะไปต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่าน 3 แนวทางการพัฒนาศักยภาพคู่ค้า ดังนี้

  • Joint Business Plan : จัดทำแผนธุรกิจร่วมกับคู่ค้าเชิงกลยุทธ์
  • Project & Initiatives : การมององค์ความรู้ให้แก่คู่ค้าผ่านกิจกรรมต่างๆ
  • Implementation & Evaluation : จัดฝึกอบรมหลักสูตรด้านความยั่งยืน

ในปี 2565 บริษัทดำเนินโครงการที่หลากหลาย เพื่อสร้างองค์ความรู้และยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า โดยมีโครงการที่โดดเด่น ดังนี้

โครงการต่อเนื่องพัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้า

บริษัทดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพสำหรับคู่ค้ากลุ่มผู้รับเหมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อเตรียมความให้กับคู่ค้าก่อนเริ่มปฏิบัติงาน และสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน โดยจัดปฐมนิเทศให้แก่ผู้รับเหมารายใหม่ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมทั้งจัดอบรมหลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานสำหรับผู้รับเหมา กลุ่มผู้รับเหมางานก่อนสร้าง งานไฟฟ้า งานซ่อม งานเฉพาะทาง และกลุ่มผู้รับเหมาขนส่ง ในปี 2565 มีผู้รับเหมาที่เข้าร่วมการอบรมทั้งหมด 14 ราย

นอกจากนี้ บริษัทได้จัดอบรมโครงการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) ประจำปี 2565 ให้กับคู่ค้า ผู้ประกอบการ (SMEs) จำนวน 38 ราย ในรูปแบบออนไลน์ ตามวิถี New Normal เพื่อสร้างค่านิยมในการดำเนินงานด้วยหลัก สุจริต โปร่งใส ปราศจากการคอร์รัปชัน รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้กับคู่ค้ารายใหม่เกี่ยวกับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าในรูปแบบออนไลน์ โดยมีขอบเขตของเนื้อหาครอบคุลมด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติของสากลด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดการพลังงาน การจัดการของเสีย ด้านสังคม อาทิ แนวปฏิบัติด้านแรงงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย และด้านการกำกับดูแลกิจการ อาทิ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 71 ราย


โครงการ 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทย (ต่อเนื่อง)

บริษัทดำเนินโครงการ 7-Eleven เคียงข้างเกษตรกรไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตร และเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรได้ดียิ่งขึ้น ผ่านนวัตกรรมด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้ากล้วยหอมทองและขยายผลการดำเนินงานไปสู่กลุ่มสินค้าผลิตภัณฑ์ผักสด ผลไม้สดตามฤดูการ ผลักสลัด ผลไม้ตัดแต่ง และผักพร้อมปรุง พร้อมทั้งส่งเสริมให้โรงงานผลิตได้มาตรฐานการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice: GMP) ตลอดจนร่วมพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภครูปแบบใหม่ ที่มีความต้องการสินค้าและบริการที่ดูแลสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ผลลัพธ์และประโยชน์ที่ได้รับ

1932  ราย

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

80979  ไร่

พื้นที่เพาะปลูก

284  รายการ

เพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าที่จำหน่ายในร้าน

4. สร้างความผูกพันและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้า

บริษัทมุ่งสานสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วางแผน และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนจัดให้มีการประชุมคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและรักฟังข้อเสนอแนะต่างๆ ระหว่างคู่ค้ากับองค์กร

ซันซุ เยลลี่ บุก 0 แคล

7-Eleven ร่วมกับ ซารต์-ปัทมพร ปรีชาวุฒเดช และกานต์-อรรถกร รัตนารมย์ ผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่คิดค้น เยลลี่ บุก 0 แคล เจ้าแรกของประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่รักษาสุขภาพแต่ชอบทานของหวาน โดยใช้บุกเป็นส่วนผสมในเยลลี่ เพื่อเพิ่มคุณประโยชน์ และช่วยให้อิ่ม สินค้าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากการที่มียอดขายสูงถึง 140 ล้านบาท ในปี 2565 ทั้งนี้ กุญแจสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบสำเร็จ คือ การสร้างพันธมิตร โดย 7-Eleven ถือเป็นพันธมิตรคนสำคัญที่สอบและให้ความรู้ตั้งแต่เริ่มต้น แบบนับหนึ่งใหม่ตั้งแต่การบริหารจัดการสต๊อกสินค้า การบริหารจัดการต้นทุนการผลิตการพัฒนาสินค้า นอกจากนี้ การดูแลสต๊อกสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางแผนการสั่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งสามารถช่วยคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างจุดขายที่ชัดเจนจะช่วยโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ นำไปสู่การวางแผนการตลอดที่ตรงกลุ่ม


บริษัท ทริปเปิ้ล เฟรช จำกัด

หนึ่งในผู้ประกอบการ SMEs ที่เห็นช่องทางการเติบโตของตลาดผลไม้ในประเทศ และเริ่มจำหน่ายผลไม้พร้อมรับประทานให้กับร้าน 7-Eeleven ต้องการขยายธุรกิจแต่พบอุปสรรคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผลไม้สด โดยระยะเวลาอาจทำให้ผลไม้สูญเสียคุณภาพและคุณประโยชน์ก่อนการบริโภค ทีมผู้เชี่ยวชาญของทีม 7-Eleven ได้ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพสินค้า การตลาด ตลอดจนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถลดขั้นตอนและช่วงเวลาในการส่งมอบผลไม้สด ช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่และมีคุณภาพ จนได้มาเป็นผลไม้สดแพ็คสำเร็จที่สวยงาม พร้อมทาน สะอาด ปลอดภัย เหมาะกับการบริโภคในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ อาทิ ขนุน ส้มโอ มะละกอ ฝรั่งพร้อมพริกเกลือ แก้วมังกร ส้มสายน้ำผึ้งปอกเปลือกพร้อมรับทานสามารถจำหน่ายผ่านร้าน 7-Eleven กว่า 8,000 สาขา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มากกว่า 10,000 แพ็คต่อวัน

การบูรณาการความยั่งยืน (ESG) ในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทบูรณาการความยั่งยืน (ESG) เข้าในกลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้

วัตถุประสงค์หลัก วัตถุประสงค์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG กลยุทธ์การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เชื่อมโยงกับ ESG

เพิ่มขีดความสามารถของ SMEs

การเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับ การพัฒนาศักยภาพการบริหารห่วงโซ่อุปทาน อาทิ การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ การเงินการขนส่ง ตลอดจนด้านความยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDG) ข้อที่ 8.2 และสอดคล้องกับกลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทานของ ซีพี ออลล์ ที่มุ่งสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ และให้ความช่วยเหลือคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังผลลัพธ์คือการสร้างผลกระทบเชิงบวกทางด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคม ชุมชน

สร้างคุณค่าร่วม “พัฒนาส่งเสริม SMEs” ซีพี ออลล์ มุ่งมั่นในการยกระดับศักยภาพ คู่ค้าโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยการให้การอบรมการให้คำปรึกษาและคำแนะนำ การตรวจสอบมาตรฐาน การบริหารต้นทุน รวมถึงการร่วมคิดค้นนวัตกรรม เพื่อก่อนให้เกิดประสิทธิภาพการดำเนินงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการเป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน


ลดปริมาณขยะพลาสติกจากการใช้บรรจุภัณฑ์

ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์จากคู่ค้าในกระบวนการจัดการขยะ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายเศรษฐกิจหมุนเวียนของ ซีพี ออลล์ โดยแนวคิดนี้เพื่อตอบรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ข้อที่ 12.6 และกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนของ ซีพี ออลล์ ในการ “ปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ” ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้วัสดุ ซึ่งโครงการที่เกี่ยวข้องนั้นได้ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลยุทธ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (7 Go Green) ซีพี ออลล์ ยังได้ร่วมมือกับคู่ค้าด้านบรรจุภัณฑ์ในการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยมุ่งลดจำนวนขยะพลาสติก โครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นมิตรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการภายใต้แผนการพัฒนาปี พ.ศ. 2559-2565 โดยบริษัทได้ดำเนินโครงการนี้โดยยึดหลัก 3R (Reduce-Reuse-Recycle) เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากบรรรจุภัณฑ์ผ่านการลดใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดของเสียหลังการใช้บรรจุภัณฑ์ ซีพี ออลล์ ได้ประสานงานร่วมกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อลดปริมาณขยะจากพลาสติก

7 Go Green “บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” จากกระแสทั่วโลกที่รณรงค์ลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ ซีพี ออลล์ คือการสนับสนุนคู่ค้า ได้บูรณาการแนวคิดด้านความยั่งยืนในการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการเลือกใช้วัสดุ โดยได้มีโครงการร่วมกันระหว่างคู่ค้าด้านบรรจุภัณฑ์ เช่น การพัฒนา กระบวนการที่ลดปริมาณการใช้วัสดุ

นอกจากนี้ บริษัทนำเกณฑ์ด้านความยั่งยืนมาประยุกต์ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้ารายเดิมและรายใหม่ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท (Private Brand : PB) โดยคู่ค้าต้องทำการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนผ่านระบบการประเมินตนเองสำหรับคู่ค้า (Suppliers Self-Assesssment Questionnaires : SAQ) คู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องมีผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนผ่านเกณฑ์ที่บริษัทกำหนดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งบริษัทมีการกำหนดเกณฑ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน ได้แก่ ด้านมาตรฐานสินค้าและการผลิต การจ้างแรงงานและสวัสดิการ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

ดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทกำหนดดัชนีวัดความสำเร็จการจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยในปี 2565 มีดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เป้าหมาย และมีผลการดำเนินงาน ดังนี้

ลำดับ ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI)
ห่วงโซ่อุปทาน
เป้าหมาย ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปี
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จข้อที่ 1 คู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Suppliers) ด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) และเกิดการพัฒนาปรับปรุง ร้อยละ  100 ของคู่ค้าลำดับที่ 1 (Tier 1 Suppliers) ที่มีความเสี่ยงสูง (High Risk Suppliers) ด้านความยั่งยืนจะต้องถูกตรวจประเมินแบบเชิงรุก (Comprehensive Assessment) และเกิดการพัฒนาปรับปรุง ภายในปี 2573
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จข้อที่ 2 การเติบโตของยอดซื้อ SME (Procurement Spent) ยอดซื้อสินค้า เอสเอ็มอี (SMEs) เติบโต
ร้อยละ  10 ภายในปี 2568 (เทียบปีฐาน 2563)
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จข้อที่ 3 ระดับความผูกพันของคู่ค้า (Supplier Engagement) ร้อยละ  90 ระดับความผูกพันของคู่ค้า ภายในปี 2573
ดัชนีชี้วัดความสำเร็จข้อที่ 4 บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท (Private Brand) ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ ร้อยละ  100 ของบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่อยู่ในการควบคุมของบริษัท (Private Brand) ต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือนำมาใช้ใหม่ หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย ภายในปี 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในต่างประเทศ ภายในปี 2573

การมีส่วนร่วมช่วยเหลือและยกระดับความตระหนักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้แก่เจ้าหนี้ทางการค้า

บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ทุกรายด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยยึดมั่นในการปฏิบัติ ตามเงื่อนไขและสัญญาต่างๆ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ เงินทุนให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสม มีการสื่อสารกับเจ้าหนี้ถึงสถานะของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ และมุ่งมั่นในการรักษา สัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับเจ้าหนี้ นโยบายและแนวทางปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ของบริษัทฯ มีดังนี้

  • จัดทำสัญญากับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เสมอภาค เป็นธรรม และโปร่งใส โดยไม่เอาเปรียบคู่สัญญา
  • ไม่ใช้วิธีการทุจริต หรือปกปิดข้อมูล หรือข้อเท็จจริงสำคัญใดๆ ที่อาจทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงของสัญญาต่างๆ ที่ได้ทำไว้กับเจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างเคร่งครัด ถูกต้อง ตรงไปตรงมา
  • วางระบบการทำจ่ายเงินให้เจ้าหนี้โดยมีขั้นตอนการทำงานอย่างรัดกุม มีกระบวนการสอบทานและควบคุมขั้นตอน การปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจว่า มีการจ่ายเงินอย่างถูกต้องและทันตามกำหนดเวลา โดยระบุไว้ที่ 30-60 วัน ภายหลังจากมีการส่งสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่ทำกับแต่ละคู่ค้า (อาจมากกว่า หรือน้อยกว่า 30 วัน)
30-60  วัน

ระยะเวลาการชำระเงิน

55  วัน

ค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริงในปี 2565

  • ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ทุกประเภทอย่างครบถ้วนและตรงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงไว้

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

ข่าวสารและความเคลื่อนไหวไปยังลิงก์
นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนดาวน์โหลด
คู่มือจริยธรรม และแนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้าดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า