การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย


สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2566

การอบรมและสื่อสารด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริต

พนักงาน ซีพี ออลล์

ได้รับการสื่อสาร

87490  คน

ลงนามรับทราบ

87490  คน

ได้รับการฝึกอบรม

87490  คน

พนักงาน บริษัทย่อย

ได้รับการสื่อสาร

7544  คน

ลงนามรับทราบ

7544  คน

ได้รับการฝึกอบรม

7544  คน

คู่ค้าลำดับที่ 1

ได้รับการสื่อสาร

2242  ราย

ลงนามรับทราบ

2242  ราย

ได้รับการฝึกอบรม

2242  ราย

จำนวนการทุจริต

อัตราการเกิดการทุจริตร้าน 7-Eleven เฉลี่ยต่อร้านต่อปี


จำนวนการทุจริต จำแนกตามพื้นที่

ร้าน 7-Eleven

ร้อยละ  98.70

ศูนย์กระจายสินค้า

ร้อยละ  0

สำนักงาน

ร้อยละ  0.01

บริษัทย่อย

ร้อยละ  0.92

ข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าผิดจริง

ข้อมูลลูกค้า

0  กรณี

ข้อมูลคู่ค้า

0  กรณี

หน่วยงานกำกับดูแล

0  กรณี

แนวทางการดำเนินงาน


จริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน

บริษัทจัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน สำหรับบุคลากรทุกระดับในองค์กรตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงาน ตลอดจนสำหรับคุ่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต และไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยในปี 2566 พนักงาน ซีพี ออลล์ บริษัทย่อย สโตร์บิซิเนสพาร์ทเนอร์ และคู่ค้าได้รับการสื่อสารและรับทราบนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันผ่านคู่มือจริยะรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานครอบร้อยละ 100

ประเภทข้อร้องเรียน ข้อสงสัย
การละเมิดจรรยาบรรณทางธุรกิจ
ข้อร้องเรียนทั้งหมดที่รับแจ้งจากพนักงานและ/หรือผู้มีส่วนได้เสีย "ตรวจสอบแล้วเสร็จพบว่ากระทำผิดจริง" มาตรการพิจารณาโทษทางวินัย การเยียวยา (ถ้ามี)
ตักเตือนด้วยวาจา ตัดเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร พักงาน เลิกจ้าง
ทุจริต
897
868
1
1
2
864
0
คอร์รัปชันและติดสินบน
2
2
0
0
0
2
0
การแข่งขันทางการค้า การผูกขาดทางการค้า
0
0
0
0
0
0
0
ไม่ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติงาน หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
192
177
13
158
2
4
0
การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
0
0
0
0
0
0
0
สิทธิมนุษยชน
0
0
0
0
0
0
0

สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

บริษัทได้จัดตั้งสำนักกฎหมาย กลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย โดยมีฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal & Compliance) เป็นส่วนหนึ่งของสำนักกฎหมาย กลุ่มธุรกิจฯ ทำหน้าที่ศึกษาค้นหาประกาศกฎหมายใหม่เป็นประจำ รวมทั้งติดตามร่างกฎหมายใหม่ที่ผ่นมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นรายสัปดาห์ เพื่อนำมาสื่อสารให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทุกเดือน ตลอดจนสร้างกลไกการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ผ่านการให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายกับหน่วยงานต่างๆ การประเมินขั้นตอนที่มีความเสี่ยง การจัดทำรายงานตรวจสอบตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ให้กับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง

ในปี 2566 บริษัทจัดทำนโยบายกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎบัตรของฝ่ายกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ทบทวนและปรับปรุงทะเบียนกฎหมายที่สำคัญของบริษัท รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เรื่อง กฎหมายการแข่งขันทางการค้าและแนวปฏิบัติทางการค้าให้กับสายงานจัดซื้อ สายงานการตลาดและบริหารผลิตภัณฑ์ สำนักประสานรัฐกิจ สำนักกฎหมาย กลุ่มธุรกิจฯ สำนักตรวจสอบและพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยที่สนใจเข้าอบรม จำนวนพนักงานที่เข้าร่วม 618 ราย กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ให้กับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) จำนวนพนักงานที่เข้าร่วม 60 ราย และมาตรฐานเครื่องหมายทางการค้าฮาลาลให้กับสายงานปฏิบัติการ จำนวนพนักงานที่เข้าร่วม 8,400 ราย เพื่อให้พนักงานได้มีความเข้าใจในกฎหมายที่สำคัญของบริษัท ตระหนักถึงความเสี่ยงทางกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตาม และนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ทั้งนี้ เพื่อให้การคัดกรองกฎหมาย และการติดตามการนำไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ IT (Compliance Universe System) และแอปพลิเคชัน เพื่อใช้รวบรวมและเป็นตัวกรองกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแต่ละหน่วยงานของ ซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย รวมถึงพัฒนากลไกการกำกับดูแล และระบบการตรวจสอบและรายงานผลการปฏิบัติตามกฎหมายของแต่ละสายงานของบริษัทและบริษัทย่อยด้วย

การสื่อสารให้ความรู้และสร้างกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนัก

บริษัทสร้างความตระหนักในเรื่องการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ผ่านการสื่อสารกับพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานทั้งสายสำนักงานและสายปฏิบัติการ รวมถึงบริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรเป็นไปตามคาถาบรรษัทภิบาล "ซื่อสัตย์ โปร่งใส ยุติธรรม คำนึงถึงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม" ทั้งนี้ บริษัทสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ

  • การทบทวนความรู้และสอบประเมินผลการเรียนรู้ CG Quiz ให้กับพนักงานทุกระดับ
  • โปรสเตอร์ในสำนักงานและร้าน 7-Eleven
  • วิดีโอสื่อสารและอบรม "พร้อมเป็นที่พึ่ง เคียงข้างสังคมและชุมชน"
  • เพจเฟซบุ๊ก "คน ซีพี ออลล์"
  • ข้อมูลประชาสัมพันธ์ทางอีเมล, CPALL Connect และแอปพลิเคชัน LINE
  • ติดตั้งการ์ดสำหรับตั้งโชว์ (Tent Card) "ช่องทางแจ้งเบาะแสสำหรับเรื่องร้องเรียน" ในสำนักงานทั้งกลุ่มธุรกิจฯ
  • วิดีโอสื่อสารเรื่องธรรมาภิบาล
  • เดินรณรงค์สื่อสารตอกย้ำสร้างความเข้าใจคาถาบรรษัทภิบาลและสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อความปลอดภัยให้กับพนักงาน
  • โครงการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ด้านธรรมาภิบาล (Mister & Miss Good Governance) สร้างตัวแทนผู้นำรุ่นใหม่ เป็น "แอมบาสเดอร์" ปฏิบัติหน้าที่ เป็นแบบอย่างที่ดีและนำสิ่งที่ได้ไปขยายผลให้เพื่อนร่วมงานเกิิดความเข้าใจและยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติตามต่อไป, ร่วมศึกษาดูงาน เพื่อวางแนวทางการดำเนินงาน ส่งเสริมธรรมาภิบาลขององค์กรอย่างยั่งยืน และเผยแพร่องค์ความรู้ร่วมกับผู้แทนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด

โดยในปี 2566 ได้สร้าง DNA ความดี 24 ชั่วโมง เพื่อชื่อชมพนักงานทำความดี ที่น่ายกย่อง ช่วยเหลือสังคม สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า สังคม ชุมชน อาทิ ช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้น ระงับเหตุเพลิงไหม้ เก็บเงินหรือทองส่งคืนให้กับลูกค้า โดยพนักงานทำความดีจะได้รับแต้ม ALL Meber ปี 2566 มีพนักงานได้รับรางวัลจำนวน 74 ราย คิดเป็นมูลค่า 41,500 บาท

ในปี 2566 บริษัทจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานจำนวน 94,569 ราย ทั่วประเทศ พร้อมทั้งประเมินความเข้าใจด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของพนักงานทุกระดับของซีพี ออลล์ และบริษัทย่อย พบว่า ร้อยละ 100 ของพนักงานรับรู้และเข้าใจ

นอกจากนี้ บริษัทได้รับรางวัล Anit-Corruprion Awards 2566 รางวัลส่งเสริมการต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลประจำปี 2566 จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดขึ้นเพื่อยกย่อง เชิดชู และเป็นกำลังใจให้กับองค์กร หน่วยงาน บุคคลและสื่อมวลชน ที่ยึดหลักธรรมาภิบาลและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต

การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน และการบริหารจัดการกรณีทุจริต

บริษัทกำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสและการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblowing Policy) รวมถึงมีช่องทางแจ้งข้อมูลหรือข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมภายในองค์กร ผ่านช่องทางการรับข้อร้องเรียนที่หลากหลาย ดังนี้

ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

หมายเลขโทรศัพท์

02 826 7744

ผู้รับเรื่อง

Call Service

หมายเลขโทรศัพท์

02 071 2770 / หมายเลขโทรสาร 02 071 8623

ผู้รับเรื่อง

สำนักตรวจสอบ

ไปรษณีย์จ่าหน้าซองถึง

สำนักงานตรวจสอบ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
เลขที่ 119 ชั้น 16 อาคารธาราสาธร ซอยสาธร 5 ถนนสาธรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาธร กรุงเทพฯ 10120

ผู้รับเรื่อง

สำนักตรวจสอบ

จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

AuditCommittee@cpall.co.th
CGcommittee@cpall.co.th
BOD@cpall.co.th

ผู้รับเรื่อง

1. คณะกรรมการตรวจสอบ
2. คณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล
3. คณะกรรมการบริษัท

สื่อออนไลน์บริษัท

www.cpall.co.th/whistleblowing www.facebook.com/CPALL7 (Inbox)
แอปพลิเคชัน (สำหรับพนักงาน)
CP ALL Connect>More>Portal>Whistleblowing

ผู้รับเรื่อง

สำนักตรวจสอบ
สำนักบริหารการสื่อสารองค์กร
ผู้รับเรื่อง
สำนักตรวจสอบ

ทั้งนี้ หลังจากบริษัทได้รับแจ้งเหตุทุจริต หรือเบาะแสการทุจริต ผ่านช่องทางต่างๆ สำนักตรวจสอบ และหรือหน่วยงานทรัพยากรบุคคลจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยข้อร้องเรียนจะถูกเข้าถึงได้โดยผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบประเด็นที่ร้องเรียนเท่านั้น หากพบว่าข้อร้องเรียนเป็นข้อเท็จจริงจะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง ถ้าตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดจริงจะพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามมาตรการของบริษัทที่กำหนดหนดไว้ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัทต่อไป

นอกจากนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ บริษัทดำเนินการทบทวนหรือออกมาตรการเพิ่มเติมบูรณาการในกระบวนการทำงานประจำ และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป ในปี 2566 ข้อร้องเรียนทั้งหมดได้รับการพิจารณาตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยไม่มีเรื่องคงค้าง และมีเรื่องร้องเรียนที่ตรวจสอบแล้วพบว่าทุจริตจริง จำนวน 870 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหาต่อบริษัททั้งสิ้น 35.79 ล้านบาท

การรายงานทุจริตที่ตรวจพบ จำแนกตามประเภทและการดำเนินตามมาตรการ ปี 2566

จำนวนเรื่องร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสกระทำผิดซึ่งหน้าทั้งหมด (กรณี) สถานะการพิจารณาตรวจสอบ จำนวนเรื่องที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ พบว่าทุจริตจริง (กรณี) การกำหนดมาตรการ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
อยู่ระหว่างตรวจสอบ ตรวจสอบแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดำเนินการ ดำเนินการแล้วเสร็จ
899
9
890
870
0
870

ประเภทการทุจริต (กรณี) 2563 2564 2565 2566 มาตรการในการลงโทษ
ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็น
ลายลักษณ์อักษร
พักงาน เลิกจ้าง
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
0
0
0
0
0
0
0
0
การทุจริตในรายงาน (การปลอมแปลงเอกสารการทำข้อมูลเท็จ)
5
7
6
13
0
0
2
11
การยักยอกทรัพย์
404
427
803
855
1
1
0
853
คอร์รัปชัน
0
0
0
2
0
0
0
2

ตัวอย่างการดำเนินการแก้ไข รวมถึงมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ

กรณีทุจริต ประเภทการยักยอกทรัพย์ พื้นที่สายงานปฏิบัติการร้าน 7-Eleven

กำกับดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างถูกต้อง สื่อสาร และสร้างความตระหนักให้กับพนักงานร้าน 7-Eleven กลไกการติดตาม ตรวจสอบ
  • กำหนดเป้าหมายลดการทุจริตของสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven
  • แต่งตั้งคณะทำงานป้องกันการทุจริตสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven
  • ทบทวนระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขายสินค้าของร้านสาขา
  • ปรับปรุงมาตรฐานการทำงานของร้าน 7-Eleven เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินของพนักงาน
  • ปรับปรุงมาตรฐานการตรวจสอบระบบร้านคุณภาพ เช่น การตรวจสอบเงินสดของ Field Consultant การเข้าเครื่องคิดเงิน การทำธุรกรรมการเงินส่วนตัวของพนักงาน การตรวจสอบและตรวจนับเงินสดทันทีเมื่อถึงร้าน เป็นต้น
  • ปรับปรุงมาตรฐานการยืนยันตัวตนด้วยการใช้ Two Factor Authentacation (2FA) โดยการใช้ One-time-password (OTP) ร่วมกับ รหัส User เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยการเข้าถึงระบบปฏิบัติงาน เช่น เปลี่ยนรหัสเข้า Mobile POS โดยเพิ่มขั้นตอนให้มีการแจ้งรหัส OTP (One Time Password) เข้าเบอร์มือถือส่วนตัวของพนักงานเจ้าของ User ID เพื่อนำมาใช้ยืนยันตัวตนร่วมกับเลขบัตรประชาชนและข้อมูลส่วนตัวอื่นในการเปลี่ยนรหัสผ่าน
  • ติดตามผลกรณีการทุจริตในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำทุกเดือน
  • สื่อสารเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน ผ่านการประชุมของสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven แต่ละพื้นที่ทุกไตรมาสรวมถึงผ่านสื่อโปสเตอร์ "น้องจีจี้ขอบอก"
  • สื่อสาร เน้นย้ำให้พนักงานทุกะดับปฏิบัติตามนโยบายฯ และแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
  • จัดอบรมให้ความรู้ตัวแทนสายปฏิบัติการร้าน 7-Eleven ผ่านโครงการ Mister & Miss Good Governance
  • เน้นย้ำให้ผู้จัดการร้านต้องบันทึกข้อมูลพนักงานเข้าระบบให้เป็นปัจจุบัน และตรวจนับเงินสดที่ร้านสาขาครบทุกสาขาและทุกจุดที่จัดเก็บเงิน และหากพบว่ามีผลต่างขาด/เกินให้รีบติดตามหาสาเหตุและแจ้งผู้บังคับบัญชาให้ทราบทันที
  • ประชุมสร้างภูมิคุ้มกันกับกับดักชีวิตเพื่อปลูกฝันทัศนคติในการใช้ชีวิตและการทำงนของพนักงาน
  • ผู้บังคับบัญชาติดตาม/สอบทานการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เช่น 1. สุ่มตรวจนับเงินสดที่ร้านสาขาโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 2. ตรวจสอบการเบิกค่าแรงโดยทำการตรวจอสบตารางมอบหมายงานของร้านสาขา เปรียบเทียบกับการทำใบรับรองปฏิบัติงานในระบบ
  • พัฒนาระบบแจ้งเตือนการทำธุรกิจกรรมผ่านแบงก์กิ้งเอเจนท์ (Alert Banking Agent) เพื่อคัดแยกคนทำธุรกรรม บันทึกข้อมูลรายการที่ผิดปกติ และรายกการต้องสงสัยที่รับชำระผ่านช่องทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสทำให้สามารถตรวจสอบสิ่งผิดปกติและป้องกันการสูญเสียได้รวดเร็วขึ้น
  • มีระบตรวจสอบและ Lock ไม่ให้พนักงานทำรายกา Banking Agent ในสาขาที่ตนเองปฏิบัติงาน
  • พัฒนาระบบแจ้งเตือน (Alert) การขายทุกช่องทาง (Offlne/Delevery/Al Online) ผ่านเว็บไซต์ "Buddy" เพื่อตรวจติดตามและปิดงานการขายของร้านสาขาที่มีรายการผิดปกติ

  • พัฒนาให้มีระบบแจ้งเตือน (Alert) และการตรวจสอบการเติมและชำระเงินผ่าน App 7Delivery และ Mobile POS ที่ผิดปกติ เช่น ไรเดอร์ที่มียอดเงิน ความถี่และจำนวนครั้งการเติมเงิน TMW สูง หรือลูกค้าแจ้งต้องการชำระเป็นเงินสด แต่การชำระจริงเป็น TMW เป็นต้น
  • เพิ่มมาตรการดำเนินการเมื่อพบว่ามีการขายไม่เป็นไปตามกฎระเบียบฯ
  • พัฒนาระบบให้มีความควบคุมและตรวจติดตามการสั่งสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้นำสินค้ามาขายผิดระเบียบ
  • ติดตามความผิดปกติของรายการยกเลิกการขาย (ยกเลิกใบเสร็จรับเงิน)
  • มีระบบการควบคุมและตรวจติดตามการขายสินค้าช่วงโปรโมชัน ต่างๆ เช่น มีรายงานรายการขายที่ผิดปกติช่วงโปรโมชันแสตมป์ แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบการขายของร้านสาขา เป็นต้น
  • ปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยจัดเก็บ Log เพิ่มเติมเมื่อทำรายการขายสินค้าผ่าน Mobile POS เช่น ข้อมูลอุปกรณ์, Location, Mac Address
  • พัฒนาระบบการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Mobile POS) ให้ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยของบริษัท หากไม่ใช่เครื่องที่ลงทะเบียนของบริษัทจะไม่สามารถทำรายการได้
  • ตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้องของสินค้าร้านสาขาโดยทีมบัญชีตรวจนับสินค้าร้านสาขา (Audit)
  • ติดตามการปฏิบัตงานผ่านกล้อง CCTV ในรูปแบบออนไลน์
  • การตรวจสอบระบบร้านคุณภาพโดยหน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานระบบร้านคุณภาพ

นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

คู่มือนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันดาวน์โหลด
       นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันดาวน์โหลด
       แนวปฏิบัติสำหรับการต่อต้านการทุจริตดาวน์โหลด
       แนวปฏิบัติในการให้/รับของขวัญ ของชำร่วย และการรับรองดาวน์โหลด
       แนวปฏิบัติในการบริจาคเพื่อการกุศลดาวน์โหลด
       แนวปฏิบัติในการให้เงินสนับสนุนดาวน์โหลด
นโยบายการแจ้งเบาะแสและการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ดาวน์โหลด
นโยบายการป้องกันการฟอกเงิน ดาวน์โหลด
แนวปฏิบัติกรณีกระทำการทุจริตผิดกฎหมาย ดาวน์โหลด

เว็บไซต์ cpall.co.th มีการเก็บคุกกี้ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน้า นโยบายการใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า