ผลการดำเนินงานเทียบเป้าหมาย
สรุปผลการดำเนินงาน ปี 2565
การอบรมและสื่อสารด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านการทุจริต
พนักงาน ซีพี ออลล์
พนักงาน บริษัทย่อย
คู่ค้าลำดับที่ 1
สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
การทุจริตคอร์รัปชัน
การรายงานทุจริตที่ตรวจพบ
ปี 2565 | ||
---|---|---|
![]() |
รายงานทุจริตที่ตรวจพบ |
|
![]() |
ตรวจสอบแล้วพบว่าทุจริตจริง |
|
![]() |
ดำเนินการแก้ไข |
|

สัดส่วนพื้นที่ดำเนินการที่เกิดการทุจริต
อัตราการทุจริตร้าน 7-Eleven เฉลี่ยต่อร้านต่อปี
ข้อร้องเรียนการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (กรณี) ที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่าผิดจริง

แนวทางการดำเนินงาน
จริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติในการทำงาน
เพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม ปี 2565 บริษัทมีการทบทวนและจัดทำคู่มือจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติการทำงาน สำหรับบุคลากรทุกระดับในองค์กรตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงาน ตลอดจนสำหรับคู่ค้าและผู้รับเหมา เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการทำงานด้วยความซื้อสัตย์สุจริต รวมถึงการไม่เกี่ยวข้องกับการทุจริต ตลอดจนไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต ดังนี้
โดยในปี 2565 พนักงานของ ซีพี ออลล์ บริษัทย่อย สโตร์บิซิเนสพาร์ตเนอร์ และคู่ค้าได้รับการสื่อสารนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันผ่านคู่มือจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำงานครบร้อยละ 100
สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
บริษัทจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย ทำการสืบค้นประกาศกฎหมายใหม่เป็นประจำทุกวัน พร้อมติดตามร่างกฎหมายใหม่ที่ผ่านมติการประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นรายสัปดาห์ และดำเนินการสื่อสารและให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายใหม่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกเดือน ในปี 2565 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องเครื่องหมายการค้าฮาลาล กับพนักงานที่ปฏิบัติงานในร้าน 7-Eleven ทั้งหมด 2 ระดับ ได้แก่ ระดับผู้จัดการร้านในพื้นที่ภาคเหนือและภาคใต้ รวมจำนวน 3,859 สาขา และระดับผู้ช่วยผู้จัดากรร้านในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ รวมจำนวน 1,683 สาขา นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการสร้างกลไกการปฏบิัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ผ่านการให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประเมินขั้นตอนที่มีความเสี่ยง การจัดทำรายงานตรวจสอบตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับให้กับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงสูง ในปี 2565 ไม่พบกรณีการละเมิดกฎหมาย ปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ IT สำหรับใช้ ในการตัดกรองกฎหมาย (Compliance Universe) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
การสื่อสารให้ความรู้และสร้างกิจกรรมรณรงค์สร้างความตระหนัก
บริษัทได้ดำเนินการสื่อสารและสร้างความตระหนักในเรื่องการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง ให้แก่ผู้บริหารและพนักงานทั้งสายสำนักงานและสายปฏิบัติการ รวมถึงบริษัทในกลุ่ม ซีพี ออลล์ เพื่อสนับสุนนการดำเนินธุรกิจตามคาถาบรรษัทภิบาล "ซื่อสัตย์ โปร่งใส ยุติธรรม คำนึงถึงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม" โดยสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่หลากหลาย ทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ อาทิ
โดยในปี 2565 มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานจำนวน 118,190 คน ทั่วประเทศ นอกจากนี้ บริษัทยังได้มีการประเมินการรับรู้และความเข้าใจด้านธรรมาภิบาลและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของพนักงานทุกระดับของกลุ่มธุรกิจ ซีพี ออลล์ พบว่าร้อยละ 100 ของพนักงานรับรู้และเข้าใจ
นอกจากนี้ บริษัทร่วมสนับสนุนสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดพิธีมอบรางวัล ANTI-CORRUPTION AWARDS 2022 ยกย่องเชิดชูบุคคลตัวอย่าง หน่วยงาน และองค์กรที่ยึดมั่นดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล มีจริยธรรมในการทำงาน และมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงสนับสนุนสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่แผยแพร่ข่าวสาร ผลักดันการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในเชิงสร้างสรรค์
การบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน และการบริหารจัดการกรณีทุจริต
บริษัทจัดทำแพลตฟอร์มสำหรับพนักงาน เพื่อเป็นการสนับสนุนการรับข้อร้องเรียนหรือเบาะแสที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือพฤติกรรมที่ผิดจริยธรรมภายในองค์กร ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ได้แก่
โดยกระบวนการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลหรือข้อร้องเรียนถูกกำหนดให้เฉพาะผู้ที่จะตรวจสอบประเด็นที่ร้องเรียนเท่านั้นที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ เมื่อบริษัทได้รับแจ้งเหตุทุจริต หรือเบาะแสการทุจริต ผ่านช่องทางต่างๆ สำนักตรวจสอบและหน่วยงานทรัพยากรบุคคลจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม หากมีมูลจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนหาข้อเท็จจริง หากตรวจสอบพบว่ามีการกระทำผิดจริงจะพิจารณาลงโทษผู้กระทำผิดตามมาตรการของบริษัทที่กำหนดไว้ และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริษัท โดยมีมาตรการบรรเทาความเสียหายที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการแจ้งข้อมูล นอกจากนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ บริษัทดำเนินการทบทวนมาตรการหรือออกมาตรการเพิ่มเติมบูรรณาการในกระบวนการทำงานและสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันการเกิดเหตุซ้ำต่อไป ในปี 2565 บริษัทได้รับรายงานการทุจริตที่ตรวจสอบพบว่าผิดจริง จำนวน 701 กรณี และมีจำนวน 695 กรณี ที่ส่งผลกระทบต่อบริษัท คิดเป็นมูลค่าความเสียหาทั้งสิ้น 31 ล้านบาท โดยข้อร้องเรียนทั้งหมดได้รับการพิจารราแล้วเสร็จทั้งหมดโดยไม่มีเรื่องคงค้าง
การรายงานทุจริตที่ตรวจพบ จำแนกตามประเภทและการดำเนินตามมาตรการ ปี 2565
ประเภทการทุจริต (กรณี) | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนเรื่อง (กรณี) |
จำแนกการดำเนินการตามมาตรการ | |||||||
ตักเตือนด้วยวาจา | ตักเตือนเป็น ลายลักษณ์อักษร |
พักงาน | เลิกจ้าง | |||||
![]() |
|
|
|
|
|
|
|
|
![]() |
|
|
|
|||||
![]() |
|
|
|
ตัวอย่างการดำเนินการแก้ไข รวมถึงมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ
กรณีทุจริต ประเภทการยักยอกทรัพย์ พื้นที่สายงานปฏิบัติการร้าน 7-Eleven
กำกับดูแลให้พนักงานปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดอย่างถูกต้อง | สื่อสาร และสร้างความตระหนักให้กับพนักงานร้าน 7-Eleven | กลไกการติดตาม ตรวจสอบ |
---|---|---|
|
|
|
นโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
คู่มือนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน | ดาวน์โหลด |
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติสำหรับการต่อต้านการทุจริต | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติในการให้/รับของขวัญ ของชำร่วย และการรับรอง | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติในการบริจาคเพื่อการกุศล | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติในการให้เงินสนับสนุน | ดาวน์โหลด |
นโยบายการแจ้งเบาะแสและการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส | ดาวน์โหลด |
นโยบายการป้องกันการฟอกเงิน | ดาวน์โหลด |
แนวปฏิบัติกรณีกระทำการทุจริตผิดกฎหมาย | ดาวน์โหลด |